ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

อาญา1 มสธ แนวข้อสอบอัตนัย ฐานความผิดมาตรา 86 (ผู้สนับสนุน) ปีการศึกษา 1/61 - เล้ง นิติศาสตร์ มสธ

สวัสดีครับเพื่อนๆ ผมชื่อเล้ง นิติศาสตร์ มสธ ครับ ในฐานะที่เป็นนักศึกษากฏหมาย ย่อมเข้าใจว่าอาจมีบางอย่างที่อ่านแล้วมันไม่เข้าใจ แล้วจะทำยังไง ที่นี่ผมมีตัวช่วยครับบบ

วันนี้มีการนำข้อสอบเก่าเอามาลองทำกันดูครับ


คำถามที่จะนำมาวินิจฉัยกันเป็นโจทย์อัตนัยครับ เป็นกฏหมายอาญา 1 เกี่ยวกับกฏบัญญัติทั่วไป(Criminal Law 1: General Principles)

โจทย์อัตนัย อาญา1  1/61

💅เพื่อนๆลองหัดวาดโยงเรื่องราวให้ได้ว่าแต่ละคนต่างมีความเชื่อมโยงกันอย่างไรในโจทย์ด้วย ก็จะช่วยให้เห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้นครับ


นายโดดเด่น เกลียดชังพ่อตาคือนายร่ำรวย ทราบว่าละแวกบ้านมีโจรชุกชุม จึงตั้งใจเปิดหน้าต่างบ้านนายร่ำรวยไว้ โดยมีเจตนาให้โจรขึ้นมาลักทรัพย์ ต่อมาโจรได้มาลักทรัพย์บ้านนายร่ำรวยจนสำเร็จ แต่โจรไม่รู้มาก่อนว่านายโดดเด่นตั้งใจเปิดหน้าต่างไว้ นายโดดเด่นต้องรับผิดทางอาญาหรือไม่ อย่างไร

แนวการตอบ

 กรณีตามปัญหา ปอ. (มาตรา 86)  วางหลักไว้ว่า ผู้ใดกระทำการใดๆกันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดก่อนหรือขณะกระทำความผิด แม้ผู้กระทำความผิดจะมิได้รู้้ถึงการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกนั้นก็ตาม ผู้นั้นเป็นผู้สนับสนับการกระทำความผิดต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดที่สนับสนุนนั้น

💬ท่อนภาษาอังกฤษ ผมเอามาใส่ไว้ให้ได้ผ่านหูผ่านตาบ้างครับ มีประโยชน์แน่นอนครับ เช่น เมื่อไปเป็นทนายความ ผู้ให้คำปรึกษาด้านกฏหมาย ...หรือแม้กระทั่งการสอบเข้าทำงานบางแห่ง

Section 86 Whoever does for any reason whatsoever as assist or facility to any other person committing an offence before or late time of committing the offence, even though such assistance or facility is not known by the offender, such assistant deemed to be supporter in committing such offence shall be punished by two-thirds of the punishment as provided for such offence.

   ข้อเท็จจริงตามปัญหา หลักเกณฑ์ของผู้สนับสนุนคือ

1. ต้องมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น
2. ช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการลงมือของผู้กระทำความผิด
3. มีเจตนาช่วยเหลือหรือให้ความสะดวก
4. ก่อนหรือขณะกระทำความผิด
5. ไม่ว่าผู้กระทำความผิดจะได้รู้หรือไม่ถึงการช่วยเหลือนั้น

   นายโดดเด่นได้ตั้งใจเปิดหน้าต่างทิ้งไว้ต่อมาโจรจึงได้เข้าทางหน้าต่างลักทรัพย์สำเร็จ การกระทำของนายโดดเด่นเข้าเกณฑ์เป็นผู้สนับสนุน เพราะมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นแล้วคือโจรเข้าลักทรัพย์โดยการที่นายโดดเด่นให้ความสะดวกด้วยเจตนาเพราะนายโดดเด่นเกลียดชังพ่อตา การเปิดหน้าต่างของนายโดดเด่นเกิดขึ้นก่อนและถึงแม้ว่าโจรจะไม่ได้รู้ถึงการเปิดหน้าต่างของนายโดดเด่นก็ตาม นายโดดเด่นต้องรับโทษสองในสามของความผิดลักทรัพย์

    สรุป ด้วยเหตุผลและหลักกฏหมายดังที่ได้ปรับวินิจฉัยมาแล้วข้างต้น นายโดดเด่นมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนในการลักทรัพย์ ต้องระวางโทษสองในสามของการกระทำความผิดดังกล่าว เพราะนายโดดเด่นเปิดหน้าต่างทิ้งไว้แม้โจรจะไม่รู้ถึงการให้ความสะดวกของนายโดดเด่นก็ตาม การกระทำของนายโดดเด่นเข้าเกณฑ์เป็นผู้สนับสนุนตามที่วินิจฉัยไว้ดังเบื้องต้น

เพื่อนๆต้องหัดเขียนใส่กระดาษนะครับ เพราะเวลาสอบจะได้คุ้นชินกับมัน ด้านล่างเป็นตัวอย่างที่ผมทำครับ



Thanks for reading.

ขอให้เพื่อนโชคดีได้ H กันทุกๆคนนะครับ




ช่วยกด Like กด Share จะได้ช่วยกันเผยแพร่ให้พวกๆเรากันเองครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

15 หน่วยสรุปความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป รหัสวิชา 40101 มสธ | เล้ง นิติศาสตร์ มสธ

วิชากฏหมาย ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป รหัสวิชา 40101 มสธ - เป็นบันไดขั้นแรกที่ต้องเริ่มให้ดี เพราะก้าวต่อๆไปจะได้มั่นใจในทุกๆก้าวครับ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป สวัสดีครับเพื่อนๆ ผม พี่เล้ง นิติศาสตร์ มสธ วันนี้มีแนวสรุป ความรู้เบื้องต้นที่เกี่ยวกับวิชากฎหมายทั่วไปอันเป็นพื้นฐานของผู้เรียนนิติศาสตร์มาฝากกันครับ สรุปและทำคำตอบเป็นหน่วย ทั้งหมด 15 หน่วยครับ (ปรนัย 120 ข้อ) ซึ่งเรียกว่า Full Function กันเลยทีเดียว ดู:  Attorney's journey: หนทางนักกฏหมาย ดู:  แหล่งวิทยาการ นิติศาสตร์ มสธ ดู :  HealthWealth 💝💝💝 👉  พัฒนาการกำาเนิดความคิดทางกฎหมาย 1. การทำาความเข้าใจความหมายของ “กฎหมาย” ต้องทำาความเข้าใจในปรัชญากฎหมายในสำานัก ความคิดต่างๆ และจะทำาให้ผู้ศึกษามีทัศนะคติที่กว้างขึ้น 2. สำานักความคิดต่างๆ หมายถึงแนวคิดหรือทฤษฎีทางกฎหมายที่นักปราชญ์กฎหมายกลุ่มหนึ่งมีความ คิดเห็นหรือความเชื่อตรงกัน แม้ว่าจะเกิดขึ้นต่างยุคต่างสมัยก็ตาม 3. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อกฎหมายมีส่วนสำาคัญหลายประการ ทั้งแนวความคิดทางศาสนา จารีต ประเพณี ความคิดเห็นของนักปรัชญากฎหมาย...

‍⚖️ข้อสอบอัตนัยกฎหมาย มสธ. ไม่ยากอย่างที่คิด! เตรียมตัวอย่างไรให้มั่นใจก่อนสอบกับ | พี่เล้งถนัดสอน

 นิติศาสตร์ปี 1 ห้ามพลาด! เทคนิคพิเศษ พิชิตข้อสอบให้สอบผ่าน เรียนรู้หัวใจสำคัญ สู่ความสำเร็จในห้องสอบเนติศาสตร์ สวัสดีครับเพื่อนๆ ผมชื่อเล้ง ถนัดสอน นิติศาสตร์บันฑิต มสธ. ครับ รูปแบบมาตรฐานการตอบวิชากฏหมาย มสธ วันนี้ผมมีแนวการตอบโจทย์วิชากฏหมาย อัตนัย มาฝากเพื่อนๆครับ Tab ติดตามวิชากฏหมาย:  Attorney's journey: หนทางนักกฏหมาย Tab  ดู: แหล่งวิทยาการ นิติศาสตร์ มสธ การเตรียมตัวก่อนสอบ -ต้องจำหลักกฎหมายให้ได้และเข้าใจความหมาย -ต้องเข้าใจข้อเท็จจริงตามคำถามและปรับให้เข้ากับหลักกฎหมาย -ฝึกทักษะในการเขียนให้เกิดความชำนาญ -อ่านหนังสือให้เร็วและให้จบวิชาได้มากที่สุด หรือหลายๆครั้ง -จัดทำสรุปย่อและทบทวนก่อนสอบอย่างน้อย1อาทิตย์ -ทำความเข้าใจโครงสร้างการตอบข้อสอบของ มสธ. -วางแผนการทำปรนัย หรืออัตนัยตามที่มีความพร้อม หรือที่เตรียมความรู้มา -ก่อนถึงวันสอบทำสมาธิให้ดี อย่ากังวลปัญหาต่างๆ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายพอเหมาะ หาข้อมูลและวางแผนการเข้าสอบให้พร้อม -ไม่รับรู้ปัญหาต่างๆเข้ามากระทบสมองก่อนสอบ -ไม่ควรคุยกับเพื่อนๆที่พบเห็นก่อนเข้าสอบ อาจทำให้ลังเล หลงลืมเรื่องที่เตรียมมา -ไปสนา...

มาตราเน้น พา 1 มสธ สรุป อ่านง่าย เหมาะกับคนไม่ค่อยมีเวลา | เล้ง นิติศาสตร์ มสธ

  พา 1 มสธ  ดูมาตราเน้น แล้วเค้นเอาไปสอบ... ( มีโบนัสช่วงท้าย อย่าลืมล่ะ ) สวัสดีครับเพื่อนๆ พบกับ พี่เล้ง นิติศาสตร์ มสธ วันนี้มีแนวมาตราเน้นที่ควรท่องให้ได้มากเท่าที่จะทำได้ หรืออย่างน้อยต้องเข้าตัวบทชัดเจน รับรองสอบผ่านแน่นอนครับ อันนี้ไม่ได้พูดเล่นนะครับ หากเพื่อนๆเรียนกันมาถึงวิชานี้แล้ว แสดงว่าผ่านร้อนผ่านหนาวกันมาพอสมควรแล้วครับ ดังนั้นก็เป็นกำลังใจให้แก่กันและกันด้วยสรุปมาตราเน้นของวิชากฏหมายพาณิชย์ 1: ซื้อขาย เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ รหัส 41321 Commercial Law I: Sales, Hire and Hire-purchase 41321 Tab ติดตามวิชากฏหมาย:  Attorney's journey: หนทางนักกฏหมาย Tab  ดู:  แหล่งวิทยาการ นิติศาสตร์ มสธ 💝💝💝 กฎหมายพาณิชย์1 (หน่วยเน้น 2,3,9,10,12,13)       หน่วย 2 คำมั่น สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด มาตรา 453 สัญญาซื้อขาย          อันว่าซื้อขายนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ผู้ขายโอนกรรมสิทธ...