แพ่ง 1 มสธ📚สภาพบุคคลตาม ปพพ. มาตรา 15 คำอธิบายภาษากฏหมายเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น | เล้ง นิติศาสตร์ มสธ
สวัสดีครับเพื่อนๆ ผมชื่อเล้ง นิติศาสตร์ มสธ ครับ ในฐานะที่เป็นนักศึกษากฏหมาย มีอะไรก็ต้องแบ่งๆกันไปล่ะครับ เก็บไว้คนเดียวมันจะไม่งาม...555
Tab ติดตามวิชากฏหมาย: Attorney's journey: หนทางนักกฏหมาย
Tab ดู: แหล่งวิทยาการ นิติศาสตร์ มสธ
เป็นอย่างไรกันบ้าง อากาศเริ่มเปลี่ยน โควิดก็ยังไม่หมด ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงกันด้วยนะครับ ด้วยรักและห่วงใยคุณๆทุกคนครับ
วันนี้เราจะมาดูสภาพบุคคลตามกฏหมายแพ่งและพาณิชย์กันครับ
ปพพ. ลักษณะ 2 บุคคล ในหมวด 1 จะบัญญัติเกี่ยวกับบุคคลธรรมดา ครับ โดยยังแบ่งส่วนๆอีกทั้งหมด 4 ด้วยกัน คือ
ส่วนที่ 1 สภาพบุคคล
ส่วนที่ 2 ความสามารถ
ส่วนที่ 3 ภูมิลำเนา
ส่วนที่ 4 สาบสูญ
สภาพบุคคล
สภาพบุคคลจะประกอบไปด้วยมาตราทั้งหมดเพียง 4 มาตราเท่านั้นครับ โดยเริ่มจากมาตรา 15 ถึง มาตรา 18 ครับ
บทบัญญัติมาตรา 15
สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก และสิ้นสุดลงเมื่อตาย
ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่างๆได้หากว่าภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก
Section 15.
Personality begins with the full completion of birth as a living child and ends with death.
A child en ventre sa mere is capable of rights provided that it is thereafter born alive.
ในวรรคแรกขยายความได้ว่าสภาพบุคคลย่อมเริ่มเมื่อคลอด การคลอดที่สมบูรณ์ตามกฏหมายคือเมื่ออวัยวะทั้งหมดของร่างกายทารกที่อยู่ในครรภ์มารดาได้พ้นจากช่องคลอดของมารดาแล้ว โดยไม่พิจารณาถึงเรื่องสายสะดือว่ายังติดอยู่กับมารดาหรือไม่แต่อย่างใด หมายความว่าหากว่าสายสะดือของทารกที่คลอดออกมานั้นแม้ว่ายังไม่ถูกตัดออกอันทารกนั้นก็มีสภาพเป็นบุคคลแล้วนั่นเอง
การอยู่รอดเป็นทารก หมายถึง ต้องปรากฏว่าทารกที่คลอดออกมานั้นได้มีการแสดงปฏิกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การหายใจ การเต้นของหัวใจหรือชีพจร การเคลื่อนไหวร่ายกายของทารก การเปล่งเสียงร้อง การเต้นของสายสะดือ การเต้นของกล้ามเนื้อ ฯ อาการดังกล่าวข้างต้นเป็นการได้ชื่อว่าเกิดสภาพบุคคลขึ้นแล้ว
สิ้นสุดลงเมื่อตาย ซึ่งเป็นช่วงท้ายของวรรคแรก เกณฑ์ใดที่จะนำมาใช้ในการตัดสินว่าบุคคลถึงแก่ความตาย ซึ่งหลักก็คือ ให้พิจารณาถึงอาการหยุดการทำงานของปอดหรือหัวใจเป็นสำคัญ หรือที่เรียกว่า การขาดใจตาย สำหรับในทางการแพทย์นั้น ให้พิจารณาถึงคำวินิจฉัยของแพทย์ที่ปรากฏว่าแกนสมองจะต้องถูกทำลายจนสิ้นสุดการทำงานโดยสิ้นเชิงตลอดไป
มาถึงตรงนี้ หวังว่าเพื่อนๆน่าจะได้เห็นประโยชน์ของข้อกฏหมายที่เอามาฝากกันนะครับ
แล้วพบกับกฏหมายในมาตราอื่นๆอีกเร็วๆนี้ครับ
รูปแสดงการอยู่รอดของทารก |
ปพพ. ลักษณะ 2 บุคคล ในหมวด 1 จะบัญญัติเกี่ยวกับบุคคลธรรมดา ครับ โดยยังแบ่งส่วนๆอีกทั้งหมด 4 ด้วยกัน คือ
ส่วนที่ 1 สภาพบุคคล
ส่วนที่ 2 ความสามารถ
ส่วนที่ 3 ภูมิลำเนา
ส่วนที่ 4 สาบสูญ
สภาพบุคคล
สภาพบุคคลจะประกอบไปด้วยมาตราทั้งหมดเพียง 4 มาตราเท่านั้นครับ โดยเริ่มจากมาตรา 15 ถึง มาตรา 18 ครับ
บทบัญญัติมาตรา 15
สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก และสิ้นสุดลงเมื่อตาย
ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่างๆได้หากว่าภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก
Section 15.
Personality begins with the full completion of birth as a living child and ends with death.
A child en ventre sa mere is capable of rights provided that it is thereafter born alive.
ในวรรคแรกขยายความได้ว่าสภาพบุคคลย่อมเริ่มเมื่อคลอด การคลอดที่สมบูรณ์ตามกฏหมายคือเมื่ออวัยวะทั้งหมดของร่างกายทารกที่อยู่ในครรภ์มารดาได้พ้นจากช่องคลอดของมารดาแล้ว โดยไม่พิจารณาถึงเรื่องสายสะดือว่ายังติดอยู่กับมารดาหรือไม่แต่อย่างใด หมายความว่าหากว่าสายสะดือของทารกที่คลอดออกมานั้นแม้ว่ายังไม่ถูกตัดออกอันทารกนั้นก็มีสภาพเป็นบุคคลแล้วนั่นเอง
การอยู่รอดเป็นทารก หมายถึง ต้องปรากฏว่าทารกที่คลอดออกมานั้นได้มีการแสดงปฏิกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การหายใจ การเต้นของหัวใจหรือชีพจร การเคลื่อนไหวร่ายกายของทารก การเปล่งเสียงร้อง การเต้นของสายสะดือ การเต้นของกล้ามเนื้อ ฯ อาการดังกล่าวข้างต้นเป็นการได้ชื่อว่าเกิดสภาพบุคคลขึ้นแล้ว
สิ้นสุดลงเมื่อตาย ซึ่งเป็นช่วงท้ายของวรรคแรก เกณฑ์ใดที่จะนำมาใช้ในการตัดสินว่าบุคคลถึงแก่ความตาย ซึ่งหลักก็คือ ให้พิจารณาถึงอาการหยุดการทำงานของปอดหรือหัวใจเป็นสำคัญ หรือที่เรียกว่า การขาดใจตาย สำหรับในทางการแพทย์นั้น ให้พิจารณาถึงคำวินิจฉัยของแพทย์ที่ปรากฏว่าแกนสมองจะต้องถูกทำลายจนสิ้นสุดการทำงานโดยสิ้นเชิงตลอดไป
มาถึงตรงนี้ หวังว่าเพื่อนๆน่าจะได้เห็นประโยชน์ของข้อกฏหมายที่เอามาฝากกันนะครับ
แล้วพบกับกฏหมายในมาตราอื่นๆอีกเร็วๆนี้ครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น