อาญา1 มสธ แนวข้อสอบอัตนัย ฐานความผิดมาตรา 62 ปีการศึกษา 1/61 | เล้ง นิติศาสตร์ มสธ
สวัสดีครับเพื่อนๆที่สนใจวิชากฏหมาย วันนี้เราจะไปดูแนวข้อสอบและทำคำตอบแบบอัตนัยกันอีกหนึ่งข้อครับ โจทย์ยังเป็นกฏหมายอาญา 1 ซึ่งเกี่ยวกับกฏบัญญัติทั่วไป(Criminal Law 1: General Principles)
โจทย์อัตนัย อาญา1 1/61
สมนึกและสมรศรีเป็นสามีภรรยาอยู่บ้านพักที่นนทบุรีกันสองคน โดยละแวกแถวบ้านโจรชุกชุมและเคยโดนโจรปล้นบ้านมาแล้ว สมนึกจึงนอนห้องด้านล่างเพื่อระวังโจร สมรศรีนอนห้องด้านบน แล้วก็หลับไปทั้งคู่ ต่อมากลางดึกหมาที่เลี้ยงไว้ในบ้านเห่าจนสมรศรีตื่น กลัวโจรจะขึ้นบ้านเลยลงไปชั้นล่างแอบอยู่ที่ฝาห้องข้างห้องสมนึก ประกอบกับสมนึกตื่นมาทีหลัง เห็นเงาตะคุ่มๆ นึกว่าโจร เลยหยิบมีดฟัน 1 ที สมรศรีถึงแก่ความตาย ถามว่าสมนึกต้องรับผิดทางอาญาหรือไม่ อย่างไร
Tab ติดตามวิชากฏหมาย: Attorney's journey: หนทางนักกฏหมาย
Tab ดู: แหล่งวิทยาการ นิติศาสตร์ มสธ
สมนึกและสมรศรีเป็นสามีภรรยาอยู่บ้านพักที่นนทบุรีกันสองคน โดยละแวกแถวบ้านโจรชุกชุมและเคยโดนโจรปล้นบ้านมาแล้ว สมนึกจึงนอนห้องด้านล่างเพื่อระวังโจร สมรศรีนอนห้องด้านบน แล้วก็หลับไปทั้งคู่ ต่อมากลางดึกหมาที่เลี้ยงไว้ในบ้านเห่าจนสมรศรีตื่น กลัวโจรจะขึ้นบ้านเลยลงไปชั้นล่างแอบอยู่ที่ฝาห้องข้างห้องสมนึก ประกอบกับสมนึกตื่นมาทีหลัง เห็นเงาตะคุ่มๆ นึกว่าโจร เลยหยิบมีดฟัน 1 ที สมรศรีถึงแก่ความตาย ถามว่าสมนึกต้องรับผิดทางอาญาหรือไม่ อย่างไร
แนวการตอบ
ประมวลกฏหมายอาญามาตรา 62 วางหลักไว้ว่า
ข้อเท็จจริงใด ถ้ามีอยู่จริงจะทำให้การกระทำไม่เป็นความผิด หรือทำให้ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ หรือได้รับโทษน้อยลง แม้ข้อเท็จจริงนั้นจะไม่มีอยู่จริง แต่ผู้กระทำสำคัญผิดว่ามีอยู่จริง ผู้กระทำย่อมไม่มีความผิด หรือได้รับยกเว้นโทษ หรือได้รับโทษน้อยลง แล้วแต่กรณี
ถ้าความไม่รู้ข้อเท็จจริงตามความในวรรคสามแห่งมาตรา 59 หรือความสำคัญผิดว่ามีอยู่จริงตามความในวรรคแรก ได้เกิดขึ้นด้วยความประมาทของผู้กระทำความผิด ให้ผู้กระทำรับผิดฐานกระทำโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะว่า การกระทำนั้นผู้กระทำจะต้องรับโทษแม้กระทำโดยประมาท
บุคคลจะต้องรับโทษหนักขึ้นโดยอาศัยข้อเท็จจริงใด บุคคลนั้นจะต้องได้รู้ข้อเท็จจริงนั้น
ข้อเท็จจริงตามปัญหา การที่นายสมนึกฟันนางสมรศรีจนถึงแก่ความตาย เป็นการกระทำที่ครบองค์ประกอบความผิดคือมีการลงมือกระทำและมีผลแห่งการกระทำคือความตายของนางสมรศรี
แต่การกระทำของสามีนั้นเป็นการกระทำเพื่อการป้องกันโดยสำคัญผิดในข้อเท็จจริง จากพฤติการณ์บ้านของคู่สามีภรรยาอยู่ในละแวกที่มีขโมยชุกชุม และเคยถูกลักทรัพย์มาก่อนแล้ว ในคืนเกิดเหตุนายสมนึกตื่นขึ้นเพราะได้ยินเสียงหมาเห่า และเห็นเงาตะคุ่มๆจึงฟันไปหนึ่งที การกระทำของนายสมนึกเป็นการกระทำด้วยเจตนาป้องกันภยันตรายที่ใกล้จะมาถึง มีสิทธิป้องกันได้โดยไม่ต้องพูดจาไต่ถามหรือรอให้ผู้นั้นแสดงกริยาว่าจะเข้ามาประทุษร้ายก่่อน กอปรกับเป็นเวลากลางคืนและมืดเป็นพฤติการณ์ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ชัดว่าเงาตะคุ่มๆนั้นเป็นเงาผู้ใด จึงเข้าใจว่าเป็นขโมยที่จะเข้ามาลักทรัพย์ซึ่งเคยมีเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นมาก่อนด้วยแล้ว
การกระทำของนายสมนึกถือว่าได้กระทำโดยสมควรแก่เหตุ และยังไม่พอถือว่าเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นด้วยความสำคัญผิดในข้อเท็จจริงโดยประมาทตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 62 วรรค 2
ด้วยเหตุผลและหลักกฏหมายดังที่ได้วินิจฉัยมาแล้วข้างต้น วินัจฉัยว่านายสมนึกไม่มีความผิดฐานฆ่าคนตาย เพราะการกระทำของนายสมนึกเป็นการกระทำโดยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงดังที่กล่าวมา
**บทความนี้เป็นความเห็นส่วนบุคคลเท่านั้น กรณีมีข้อบกพร่องใด ผู้เขียนขอน้อมรับ
ประมวลกฏหมายอาญามาตรา 62 วางหลักไว้ว่า
ข้อเท็จจริงใด ถ้ามีอยู่จริงจะทำให้การกระทำไม่เป็นความผิด หรือทำให้ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ หรือได้รับโทษน้อยลง แม้ข้อเท็จจริงนั้นจะไม่มีอยู่จริง แต่ผู้กระทำสำคัญผิดว่ามีอยู่จริง ผู้กระทำย่อมไม่มีความผิด หรือได้รับยกเว้นโทษ หรือได้รับโทษน้อยลง แล้วแต่กรณี
ถ้าความไม่รู้ข้อเท็จจริงตามความในวรรคสามแห่งมาตรา 59 หรือความสำคัญผิดว่ามีอยู่จริงตามความในวรรคแรก ได้เกิดขึ้นด้วยความประมาทของผู้กระทำความผิด ให้ผู้กระทำรับผิดฐานกระทำโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะว่า การกระทำนั้นผู้กระทำจะต้องรับโทษแม้กระทำโดยประมาท
บุคคลจะต้องรับโทษหนักขึ้นโดยอาศัยข้อเท็จจริงใด บุคคลนั้นจะต้องได้รู้ข้อเท็จจริงนั้น
ข้อเท็จจริงตามปัญหา การที่นายสมนึกฟันนางสมรศรีจนถึงแก่ความตาย เป็นการกระทำที่ครบองค์ประกอบความผิดคือมีการลงมือกระทำและมีผลแห่งการกระทำคือความตายของนางสมรศรี
แต่การกระทำของสามีนั้นเป็นการกระทำเพื่อการป้องกันโดยสำคัญผิดในข้อเท็จจริง จากพฤติการณ์บ้านของคู่สามีภรรยาอยู่ในละแวกที่มีขโมยชุกชุม และเคยถูกลักทรัพย์มาก่อนแล้ว ในคืนเกิดเหตุนายสมนึกตื่นขึ้นเพราะได้ยินเสียงหมาเห่า และเห็นเงาตะคุ่มๆจึงฟันไปหนึ่งที การกระทำของนายสมนึกเป็นการกระทำด้วยเจตนาป้องกันภยันตรายที่ใกล้จะมาถึง มีสิทธิป้องกันได้โดยไม่ต้องพูดจาไต่ถามหรือรอให้ผู้นั้นแสดงกริยาว่าจะเข้ามาประทุษร้ายก่่อน กอปรกับเป็นเวลากลางคืนและมืดเป็นพฤติการณ์ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ชัดว่าเงาตะคุ่มๆนั้นเป็นเงาผู้ใด จึงเข้าใจว่าเป็นขโมยที่จะเข้ามาลักทรัพย์ซึ่งเคยมีเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นมาก่อนด้วยแล้ว
การกระทำของนายสมนึกถือว่าได้กระทำโดยสมควรแก่เหตุ และยังไม่พอถือว่าเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นด้วยความสำคัญผิดในข้อเท็จจริงโดยประมาทตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 62 วรรค 2
ด้วยเหตุผลและหลักกฏหมายดังที่ได้วินิจฉัยมาแล้วข้างต้น วินัจฉัยว่านายสมนึกไม่มีความผิดฐานฆ่าคนตาย เพราะการกระทำของนายสมนึกเป็นการกระทำโดยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงดังที่กล่าวมา
**บทความนี้เป็นความเห็นส่วนบุคคลเท่านั้น กรณีมีข้อบกพร่องใด ผู้เขียนขอน้อมรับ
ภาษาอังกฤษ
Section 62 Whenever any fact, if really existing, will cause the doing of any act not to be an offence, or the doer not to be punishable, or to receive less punishment, and even though such fact does not really exist, but the doer understands mistakenly that it really exists, the doer shall not be guilty, or shall be exempted from the punishment, or shall receive less punishment, as the case may be.
If ignorance of fact according to the third paragraph of Section 59, or the mistake as to the existence of fact according to the first paragraph has occurred through the negligence of the offender, the doer shall be liable for committing the offence by negligence in case of the law specifically provides that the doer shall be criminally liable for the act though committed by negligence.
A person shall receive heavier punishment on account of any fact only when such person must have known of such fact.
Section 62 Whenever any fact, if really existing, will cause the doing of any act not to be an offence, or the doer not to be punishable, or to receive less punishment, and even though such fact does not really exist, but the doer understands mistakenly that it really exists, the doer shall not be guilty, or shall be exempted from the punishment, or shall receive less punishment, as the case may be.
If ignorance of fact according to the third paragraph of Section 59, or the mistake as to the existence of fact according to the first paragraph has occurred through the negligence of the offender, the doer shall be liable for committing the offence by negligence in case of the law specifically provides that the doer shall be criminally liable for the act though committed by negligence.
A person shall receive heavier punishment on account of any fact only when such person must have known of such fact.
กฏหมายเป็นเรื่องที่ต้องเรียน ศึกษาบทบัญญัติให้แตกฉานเข้าใจอย่างลึกซึ้ง แล้วกฏหมายจะเป็นของสนุกที่เรามองเห็นมันอยู่ใกล้ตัวเราทุกวัน
เคล็ดลับสอบผ่าน และได้เกรดดีๆ
💚ดูหน่วยเน้นของภาคการศึกษานั้นๆให้เข้าใจ
💚ท่องมาตราเน้นให้ได้
💚หัดเขียนตอบอัตนัยบ่อยๆ
💚ทำแบบประเมินตนเอง ก่อนเรียน และ หลังเรียน ครบทุกบท และทำทบทวนหลายๆครั้ง
แล้วพบกันใหม่นะครับ สวัสดีครับ
ขอให้เพื่อนโชคดีได้ H กันทุกๆคนนะครับ
ช่วยกด Like กด Share จะได้ช่วยกันเผยแพร่ให้พวกๆเรากันเองครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น