15 หน่วยสรุปความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป รหัสวิชา 40101 มสธ | เล้ง นิติศาสตร์ มสธ
วิชากฏหมาย ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป รหัสวิชา 40101 มสธ - เป็นบันไดขั้นแรกที่ต้องเริ่มให้ดี เพราะก้าวต่อๆไปจะได้มั่นใจในทุกๆก้าวครับ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป |
สวัสดีครับเพื่อนๆ ผม พี่เล้ง นิติศาสตร์ มสธ วันนี้มีแนวสรุป ความรู้เบื้องต้นที่เกี่ยวกับวิชากฎหมายทั่วไปอันเป็นพื้นฐานของผู้เรียนนิติศาสตร์มาฝากกันครับ
สรุปและทำคำตอบเป็นหน่วย ทั้งหมด 15 หน่วยครับ (ปรนัย 120 ข้อ) ซึ่งเรียกว่า Full Function กันเลยทีเดียว
👉 พัฒนาการกำาเนิดความคิดทางกฎหมาย
1. การทำาความเข้าใจความหมายของ “กฎหมาย” ต้องทำาความเข้าใจในปรัชญากฎหมายในสำานัก
ความคิดต่างๆ และจะทำาให้ผู้ศึกษามีทัศนะคติที่กว้างขึ้น
2. สำานักความคิดต่างๆ หมายถึงแนวคิดหรือทฤษฎีทางกฎหมายที่นักปราชญ์กฎหมายกลุ่มหนึ่งมีความ
คิดเห็นหรือความเชื่อตรงกัน แม้ว่าจะเกิดขึ้นต่างยุคต่างสมัยก็ตาม
3. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อกฎหมายมีส่วนสำาคัญหลายประการ ทั้งแนวความคิดทางศาสนา จารีต
ประเพณี ความคิดเห็นของนักปรัชญากฎหมาย เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นล้วนเป็นปัจจัยที่สำาคัญใน
การเกิดการเปลี่ยนแปลง การใช้และการพัฒนากฎหมาย
1.1 ประวัติสำานักความคิดต่างๆ ในทางกฎหมาย
1. แนวความคิดของสำานักความคิดกฎหมายธรรมชาติ ให้ความสำาคัญอยู่ที่การใช้เหตุผลของมนุษย์
ตามธรรมชาติของมนุษย์ กฎหมายที่แท้จริงคือ เหตุผลที่ถูกต้อง สอดคล้องกับหลักธรรมชาติ ใช้
ประโยชน์ให้สอดคล้องกับการใช้อำานาจโดยชอบธรรม เป็นกระแสความคิดหลักในระบอบเสรี
ประชาธิปไตยที่มุ่งเน้นในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและถูกใช้เป็นเครื่องมือใน
การใช้เหตุผลในการโต้แย้ง การใช้อำานาจรัฐ
2. แนวความคิดของสำานักกฎหมายฝ่ายบ้านเมือง เน้นการมีระบบกฎหมายที่แน่นอน มีระเบียบ
และมีประสิทธิภาพ ทำาให้เกิดการพัฒนาแนวความคิดทางการเมืองและทฤษฎีกฎหมายที่จะ
สนับสนุนความชอบธรรมของการใช้อำานาจโดยเด็ดขาดของรัฐ ในการตรากฎหมายต่างๆ ขึ้นใช้
บังคับในการปกครองประเทศอย่างไม่มีข้อแม้ใดๆ
3. แนวความคิดของสำานักความคิดทางกฎหมาย ฝ่ายคอมมิวนิสต์ให้ความหมายของกฎหมาย คือ
ปรากฏการณ์ อันหนึ่งซึ่งเป็นผลสะท้อนมาจากการเมือง กล่าวคือ เศรษฐกิจและการเมือง
ต้องการจะแสดงคำาสั่งคำาบัญชาอย่างไร สิ่งที่แสดงออกมาคือกฎหมาย
4. แนวความคิดของสำานักความคิดฝ่ายสังคมวิทยากฎหมายเห็นว่า หากกฎหมายมีสภาพที่ตรงต่อ
ความจริงในสังคม ก็ควรมีการเปลี่ยนหลักแห่งกฎหมายทุกครั้งที่สังคมเปลี่ยนแปลง และหากผู้
ใช้กฎหมายเข้าใจในบริบทของสังคม การใช้กฎหมายจะลดความขัดแย้ง รวมทั้งทำาให้มีการ
พัฒนากฎหมายให้ดีขึ้น
1.1.1 ความหมายและความสำาคัญของสำานักความคิดในทางกฎหมาย
การศึกษาและจำาแนกความคิดในสำานักความคิดทางกฎหมายเป็นไปเพื่อประโยชน์ใด
สำานักความคิดทางกฎหมายสำานักต่างๆ เป็นพยายามสกัดเอาอุดมคติหรือคุณค่าที่แท้จริงหรือแก่นสาร
ของกฎหมาย เพื่อพยายามหาคำาตอบว่าด้วยความมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของกฎหมาย หรือบทบาทและ
หน้าที่ของกฎหมาย เพื่อหาหลักการพื้นฐานของกฎหมาย โดยวิธีการแสวงหาคำาตอบที่แตกต่างกัน กลุ่มที่มี
ความคิดอย่างเดียวกันถึงแม้จะเกิดขึ้นก่อนหรือภายหลัง แต่หากมีความคิดเห็นที่สอดคล้องไปในแนวทาง
เดียวกันหรือใกล้เคียงกัน หรือเพื่อให้ทราบถึงแนวความคิดที่ส่งผล หรือมีอิทธิพลต่อระบบกฎหมายหรือหลัก
กฎหมายที่ใช้อยู่ในแต่ละยุคสมัย
1.1.2 สำานักความคิดกฎหมายธรรมชาติ (School of Natural Law)
แนวความคิดสำานักกฎหมายธรรมชาติสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างไร
สำานักความคิดกฎหมายธรรมชาติ เน้นการใช้เหตุผลตามธรรมชาติเป็นหลักการพื้นฐานในการต่อสู้
และปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์สามารถใช้ประโยชน์ ให้สอดคล้องกับการใช้อำานาจโดยชอบธรรมในระบบ
เสรีประชาธิปไตยที่มุ่งเน้นในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และถูกใช้เป็นเครื่องมือในการใช้
เหตุผลในการโต้แย้งการใช้อำานาจของรัฐ
1.1.3 สำานักความคิดกฎหมายฝ่ายบ้านเมือง (School of Positive Law)
ประเทศไทยรับแนวความคิดสำาหรับนักกฎหมายฝ่ายบ้านเมืองได้อย่างไร และส่งผลต่อแนวความคิด
ของนักกฎหมายไทยอย่างไร
การส่งนักเรียนไทยไปศึกษาต่อในประเทศอังกฤษในขณะที่คำาสอนของออสติน ได้เป็นที่ยอมรับอย่าง
มากในวงการกฎหมายอังกฤษ ทำาให้มีการนำาสอนในประเทศไทย และส่งผลให้แนวความคิดดังกล่าวเป็นที่
ยอมรับในระบบความคิดของนักกฎหมายไทยมาเป็นเวลานาน พิจารณาได้จากการบรรยายความหมายของ
กฎหมายทำาให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า นักกฎหมายไทยหมกมุ่นกับการเล่นในตัวอักษรมากกว่าคุณค่าที่แท้จริง
ของกฎหมาย
1.1.4 สำานักความคิดกฎหมายฝ่ายคอมมิวนิสต์ (School of Communist Jurisprudence)
สำานักความคิดทางกฎหมายฝ่ายคอมมิวนิสต์เห็นว่ากฎหมายมีลักษณะและบทบาทอย่างไร
กฎหมายเป็น “ปรากฏการณ์” (Phenomenon) และไม่ยอมรับว่ากฎหมายเป็นสิ่งจำาเป็นสำาหรับสังคม
ปรัชญากฎหมายของฝ่ายคอมมิวนิสต์ คือความไม่เชื่อในกฎหมาย ไม่เชื่อในกฎแห่งธรรมชาติ หรือสิ่งที่อยู่นอก
เหนือขอบเขตของกฎหมายฝ่ายบ้านเมือง และแม้ภายในขอบเขตของกฎหมายฝ่ายบ้านเมืองเอง ฝ่าย
คอมมิวนิสต์ก็ไม่เชื่อว่าสูงสุด หรือเป็นสิ่งสมบูรณ์ (The Absoluteness) สำาหรับบทบาทของกฎหมายมีข้อสรุป
หลายประการคือ
1. กฎหมายเป็นผลผลิต หรือผลสะท้อนของโครงสร้างทางเศรษฐกิจหรือเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ
2. กฎหมายเป็นเสมือนหนึ่งเครื่องมือหรืออาวุธที่ชนชั้นปกครองสร้างขึ้น เพื่อปกป้องอำานาจของตน
3. ในสังคมคอมมิวนิสต์ที่สมบูรณ์ กฎหมายในฐานะที่เป็นเครื่องมือของการควบคุมสังคมจะเหือดหาย
และสูญสิ้นไป
1.1.5 สำานักความคิดกฎหมายฝ่ายสังคมวิทยา (School of Sociological Jurisprudence)
การศึกษาของสำานักความคิดทางกฎหมายฝ่ายสังคมวิทยา กฎหมายมีประโยชน์อย่างไร
การศึกษาในทางสังคมวิทยาจะช่วยอธิบายเหตุผล ของกฎเกณฑ์และเหตุผลของพฤติกรรมของคนใน
กลุ่มผลประโยชน์และบริบทของสังคมเพื่อใช้กฎหมายให้สอดคล้องกับจารีตประเพณี และวิถีชีวิตของคนส่วน
ใหญ่เป็นการลดความขัดแย้งระหว่างกฎหมายกับความประพฤติของบุคคล เป็นเครื่องช่วยให้การใช้กฎหมาย
เป็นธรรมขึ้น รวมทั้งช่วยการพัฒนากฎหมายให้ดีขึ้น โดยฝ่ายนิติบัญญัติ
1.1.6 สำานักความคิดกฎหมายฝ่ายสัจจนิยม (School of Realist Jurisprudence)
สำานักความคิดทางกฎหมายฝ่ายสัจจนิยม มองกฎหมายอย่างไร
สำานักความคิดทางกฎหมายฝ่ายสัจจนิยม สนใจในความเป็นจริง เพราะประเด็นข้อวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยว
กับกฎหมาย หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใช้กฎหมายก่อให้เกิดประสบการณ์ที่สั่งสมกันทำาให้บุคคลผู้เกี่ยวข้องเกิด
ความสงสัยหรือคับข้องใจกับการหาเหตุผลของกฎหมาย จึงเกิดแนวความ คิดที่พยายามอธิบายหรือหาคำาตอบ
ที่มุ่งแยกแยะหาเหตุผลต่างๆ ว่าเหตุใดกฎหมายจึงบัญญัติเช่นนั้นหรือ ทำาไมศาลจึงตัดสินเช่นนั้น โดยมีการนำา
วิธีการในวิชาอื่นๆ มาใช้อธิบายเรื่องต่างๆ ในทางกฎหมายด้วย
1.1.7 สำานักความคิดกฎหมายฝ่ายประวัติศาสตร์ (School of Historical Jurisprudence)
ซาวินยีมีความคิดเกี่ยวกับกฎหมายอย่างไร
ซาวินยีเห็นว่ากฎหมายมิได้เป็นเรื่องของเหตุผล แต่เพียงอย่างเดียว แต่เจือไปด้วยวัฒนธรรม และความ
รู้สึกร่วมกันเป็นเอกลักษณ์ของชนชาตินั้นๆ ตามอารมณ์ ความรู้สึกทางจิตใจของแต่ละชนชาติมีความแตกต่าง
กัน อารมณ์ ความรู้สึกที่ว่านี้คือ “จิตวิญญาณประชาชาติ” (Volksgeits หรือ The spirit of the people) และ
แสดงออกให้เห็นได้จากกฎหมายประเพณี (Gewohnheitsercht) และภาษา
1.1.8 แนวโน้มใหม่ๆ ในการพัฒนาความคิดทางกฎหมาย
แนวโน้มของการพัฒนา ความคิดทางกฎหมายในปัจจุบันมีแนวโน้มเป็นอย่างไร
แนวโน้มในปัจจุบัน คือการนำาปรัชญากฎหมายธรรมชาติมาผสมกับปรัชญากฎหมายฝ่ายบ้านเมืองเพื่อ
หาส่วนที่ละม้ายกันและเป็นประโยชน์ต่อสังคมให้มากที่สุด ปรัชญาใหม่ไม่มีชื่อเรียกเป็นทางการ บางครั้งเรียก
ว่า ปรัชญากฎหมายฝ่ายบ้านเมืองแผนใหม่ (The modern positive law)
1.2 ความคิดในเชิงปรัชญากฎหมาย
1. รัฎฐาธิปัตย์ คือผู้มีอำานาจสูงสุดในรัฐ แต่ต้องเป็นอำานาจด้วยความเป็นธรรม มิฉะนั้นอาจจะถูกล้มล้าง
ได้
2. ความยุติธรรม ตามความหมายโดยทั่วไปนั้นหมายถึง ความถูกต้อง ชอบด้วยเหตุผล ความหมายของ
ความยุติธรรมนั้นยากที่จะให้คำานิยาม เพราะขึ้นอยู่กับคตินิยม ปรัชญาของแต่ละคน
3. ดุลพินิจของผู้ใช้กฎหมาย ทำาให้เกิดการบังคับใช้กฎหมาย และการเปลี่ยนแปลงในกฎหมาย
4. กฎหมายเป็นเครื่องกำาหนดระเบียบวินัยของสังคม ประชาชนทั้งหลายจึงต้องเคารพนับถือกฎหมาย ผู้
บริหารประเทศย่อมไม่มีอำานาจตามอำาเภอใจ ต้องเคารพกฎหมายเช่นกัน
1.2.1 รัฎฐาธิปัตย์
หลักนิติรัฐและหลักการแบ่งแยกอำานาจมีผลต่อการจำากัดการใช้อำานาจของรัฎฐาธิปัตย์อย่างไร
หลักนิติรัฐหมายถึงรัฐที่ปกครองตามหลักแห่งเหตุผลเพื่อให้การอาศัยอยู่ร่วมกันของมนุษย์เป็นไปด้วย
ความสงบสุข หลักการแบ่งแยกอำานาจอธิปไตยเป็นหลักการที่กำาหนดขึ้นเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของ
ประชาชนจากการใช้อำานาจอธิปไตยของรัฐ ประเทศที่ปกครองด้วยหลักการดังกล่าวจะส่งผลให้รัฎฐาธิปัตย์ไม่
สามารถใช้อำานาจได้อย่างเต็มที่
1.2.2 ความยุติธรรม
อริสโตเติลได้กล่าวถึงความยุติธรรมอย่างไร
อยุติธรรมย่อมเกิดขึ้นเมื่อความเท่ากันถูกทำาให้ไม่ทัดเทียมกัน และเมื่อความไม่เท่ากันถูกทำาให้กลาย
เป็นความทัดเทียมกัน (In-just arises when equals are treated unequally, and also when unequals are
treated equally) อริสโตเติลไม่ยอมรับว่าความยุติธรรมเป็นคุณธรรมดังที่เปลโตเข้าใจ แต่บอกว่าความยุติธรรม
เป็นเรื่องของการจัดระเบียบความสัมพันธ์ของมนุษย์ในสังคม โดยถือหลักว่า สิ่งที่เหมือนกันควรได้รับการปฏิบัติ
เท่าเทียมกัน
1.2.3 ดุลพินิจของผู้ใช้กฎหมาย
การใช้ดุลพินิจของนักกฎหมายจะสอดคล้องกับความยุติธรรมในสังคมคืออะไร
การใช้ดุลพินิจจึงเป็นสิ่งสำาคัญสุดยอดข้อหนึ่ง ในการอำานวยความยุติธรรมเมื่อใดที่กฎหมายเปิดโอกาส
ให้ใช้ดุลพินิจ นักกฎหมายควรใช้ดุลพินิจไปในทางสอดคล้องต่อ “มโนธรรม ศีลธรรม และความต้องการของ
สังคม”
1.2.4 การนับถือกฎหมาย
ประเทศที่เป็นนิติรัฐมีลักษณะอย่างไร
ประเทศที่เป็นนิติรัฐนั้นจะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. ในประเทศนั้นกฎหมายจะต้องอยู่เหนือสิ่งใดทั้งหมด การกระทำาต่างๆ ในทางปกครองโดย
เฉพาะอย่างยิ่งการกระทำาของตำารวจจะต้องเป็นไปตามกฎหมายและชอบด้วยกฎหมาย
หลักประกันสิทธิและเสรีภาพของราษฎรอยู่ที่กฎหมาย ถ้าเจ้าพนักงานของรัฐมากลำ้ากลาย
สิทธิและเสรีภาพของราษฎร โดยไม่มีกฎหมายให้อำานาจ เจ้าพนักงานก็ย่อมมีความผิด
อาญา
2. ในประเทศที่เป็นนิติรัฐ ขอบเขตแห่งอำานาจหน้าที่ของรัฐย่อมกำาหนดไว้แน่นอน เริ่มตั้งแต่
การแบ่งแยกอำานาจและมีขอบเขตในการใช้อำานาจทั้งสามนี้ ถัดจากอำานาจรัฐ อำานาจของ
เจ้าพนักงานที่ลดหลั่นลงมาเป็นอำานาจที่วัดวัดได้ เป็นอำานาจที่มีขอบเขตเช่นเดียวกัน และ
ต้องมีการควบคุมการใช้อำานาจภายในขอบเขตเท่านั้น
3. ในประเทศที่เป็นนิติรัฐ ผู้พิพากษาต้องมีอิสสระในการพิจารณาพิพากษาคดี โดยจะต้องมี
หลักประกันดังกล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญและเพียงแต่รัฐได้จัดให้มีผู้พิพากษาเป็นอิสสระสำาหรับ
พิจารณาคดีแพ่งและคดีอาญาเท่านั้น
1.3 ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาความคิดในทางกฎหมาย
1. ศาสนาเป็นปัจจัยที่ให้ก่อให้เกิดกฎหมาย และมีอิทธิพลต่อการเกิดและการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย
2. จารีตประเพณี เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดกกหมาย และมีอิทธิพลต่อการใช้กฎหมาย
3. ความเห็นของนักกฎหมาย เป็นปัจจัยทำาให้เกิดกฎหมาย และมีอิทธิพลต่อการใช้กฎหมาย
4. เหตุการณ์ในสังคม มีส่วนทำาให้เกิดกฎหมาย และมีอิทธิพลต่อการใช้กฎหมาย
1.3.1 ศาสนา
กฎหมายตราสามดวงของประเทศไทยมีคติความเชื่อในทางศาสนาอย่างไร
กฎหมายตราสามดวงของประเทศไทยประกอบด้วยส่วนสำาคัญ 2 ส่วนคือ พระธรรมศาสตร์และพระราช
ศาสตร์ เป็นกฎหมายที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาในการก่อกำาเนิดขึ้น ผ่านคติความเชื่อในศาสนาฮินดูและศาสนา
พุทธ พระธรรมศาสตร์เป็นส่วนที่เน้นอุดมคติในเรื่องความยุติธรรม ส่วนพระราชศาสตร์ซึ่งเป็นเรื่องของบรรดา
กฎหมาย อรรถคดี พระราชบัญญัติ พระราชกำาหนด และพระราชวินิจฉัยของพระมหากษัตริย์และยังได้กล่าวถึง
ลักษณะของการเป็นผู้พิพากษาที่ดีต้องยึดหลักอินทภาษ คือ เวลาพิจารณาคดีจะต้องปราศจากอคติ 4 คือ
ฉันทาคติ (รัก) โทษาคติ (หลง) และภะยาคติ (กลัว) ล้วนแล้วมีความสอดคล้องกับความเชื่อในเรื่องสวรรค์และ
นรกในความเชื่อทางศาสนาทั้งสิ้น
1.3.2 จารีตประเพณี
จารีตประเพณีก่อให้เกิดกฎหมายได้อย่างไร
เมื่อจารีตประเพณีได้รับการยอมรับและยึดถือปฏิบัติ ก็จะมีการนำามาบัญญัติในกฎหมายลายลักษณ์
อักษรขึ้น แต่จารีตประเพณีอีกส่วนหนึ่งที่ไม่ได้มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่สังคมก็ยังยอมรับปฏิบัติ
กันต่อมา มีผลในการยอมรับปฏิบัติเสมือนเป็นกฎเกณฑ์ตามกฎหมาย
1.3.3 ความเห็นของนักปรัชญาทางกฎหมาย
ความเห็นของนักปราชญ์ทางกฎหมายมีอิทธิพลต่อกฎหมายอย่างไร
ความเห็นของนักปรัชญาทางกฎหมายหรือนักปราชญ์ทางกฎหมาย หรือคำาพิพากษาของศาลหรือระบบ
ของกฎหมายอาจเกิดขึ้นจากข้อคิดเห็น ข้อโต้แย้งที่มีต่อตัวบทกฎหมายหรือคำาพิพากษาของศาล หรือระบบของ
กฎหมายได้สร้างบทบาทและเปลี่ยนแปลงขึ้นในวงการกฎหมาย อาจส่งผลต่อระบบกฎหมายของประเทศ ระบบ
ศาล หรือมีกฎหมาย หรือแก้ไขกฎหมาย
1.3.4 เหตุการณ์
เหตุการณ์และสภาพปัจจัยแวดล้อมส่งผลกระทบต่อกฎหมายอย่างไร
เหตุการณ์และสภาพปัจจัยแวดล้อมของสังคมหรือของประเทศ มีส่วนสำาคัญอย่างยิ่งที่ทำาให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงในตัวบทกฎหมายหรือมีบทกฎหมายขึ้น หรืออาจส่งผลต่อการใช้ การตีความกฎหมายด้วย ดังเช่น
การนำาเทคโนโลยีโดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในชีวิตประจำาวัน การพัฒนาทางเทคโนโลยีทาง
คอมพิวเตอร์และโทรคมนาคมก่อให้เกิดระบบอินเทอร์เนต ส่งผลให้ต้องมีการตรากฎหมายขึ้นรองรับ
👉 แบบประเมินตนเองหน่วยที่ 1
1. สำานักความคิดทางกฎหมายคือ แนวคิดหรือทฤษฎีทางกฎหมายของนักคิดทั้งหลายซึ่งมีความคิดเห็น
ตรงกัน แม้ว่าแต่ละคนหรือแนวความคิดแต่ละอย่างเกิดขึ้นต่างสมัยกันก็ตาม
2. สำานักความคิดกฎหมายธรรมชาติมีแนวคิดเกี่ยวกับกฎหมายคือ กฎหมายต้องสอดคล้องกับธรรมชาติ
และความมีเหตุผล
3. การถือว่า “กฎหมายที่สมบูรณ์ใช้การได้จริงและเป็นไปตามเจตจำานงของผู้มีอำานาจรัฐ” เป็นแนวคิดของ
สำานักความคิดกฎหมายฝ่ายบ้านเมือง
4. แนวความคิดว่า “กฎหมายคือปรากฏการณ์อันหนึ่งซึ่งเป็นผลสะท้อนทางการเมือง” เป็นแนวคิดของ
สำานักความคิดทางกฎหมาย สำานักความคิดกฎหมายฝ่ายคอมมิวนิสต์
5. การมุ่งหาความจริงว่าเพราะเหตุใดกฎหมายจึงบัญญัติเช่นนั้น และทำาไมศาลจึงตัดสินคดีเช่นนั้นเป็น
แนว ความคิดของ สำานักความคิดกฎหมายฝ่ายสัจจะนิยม
6. สำานักความคิดทางกฎหมายใดที่เป็นว่ากฎหมายเป็นสิ่งที่ค้นพบ ไม่ได้ถูกสร้างขึ้น มีลักษณะเฉพาะเช่น
เดียวกับภาษา เป็นจิตวิญญาณของประชาชาติ สำานักความคิดกฎหมายฝ่ายนิยมประวัติศาสตร์
7. รัฐาธิปัตย ์ มีความหมายถุง ผู้มีอำานาจสูงสุดในรัฐ
8. กฎหมายจะสามารถใช้ให้เกิดความสงบสุขได้เมื่อ ประชาชนและผู้มีอำานาจต่างเคารพนับถือกฎหมาย
9. ศาสนามีผลต่อกฎหมายคือ (1)เป็นเครื่องกระตุ้นให้คนกระทำาในสิ่งที่เหมาะสมหรือมีความประพฤติ
เหมาะสม (2) ศาสนาเป็นเครื่องควบคุมสังคมเช่นเดียวกับกฎหมาย (3) กฎหมายบางเรื่องมีที่มาจาก
หลักคำาสอนทางศาสนา (4) การนับถือศาสนาส่งผลให้คนปฏิบัติสอดคล้องกับกฎหมาย
10. จารีตประเพณีมีความสำาคัญต่อกฎหมายคือ จารีตประเพณีเป็นบ่อเกิดของกฎหมาย
หน่วยที่ 2 วิวัฒนาการระบบกฎหมาย
1. กฎหมายนั้นได้วิวัฒนาการมาจากระเบียบ ความประพฤติ ศีลธรรม จารีตประเพณี ศาสนา แล้วก
ลายเป็นมีสภาพบังคับได้
2. ระบบกฎหมายไทยได้วิวัฒนาการมาเป็นขั้นตอนตามสภาพความเป็นเอกราชตลอดมา
3. ในการพัฒนาระบบกฎหมายไทยให้ถึงเป้าหมายนั้น ย่อมมีปัญหาและอุปสรรคหลายประการ
2.1 วิวัฒนาการของระบบกฎหมายที่สำาคัญของโลก
1. ในสมัยดั้งเดิมนั้นยังไม่มีภาษาเขียน จึงต้องใช้คำาสั่งของหัวหน้า ประเพณี ศีลธรรม ศาสนา และ
ความเป็นธรรมตามความรู้สึกของมนุษย์ ให้มีสภาพบังคับตามนามธรรมเป็นกฎหมายได้
2. เมื่อมนุษย์รู้จักภาษาเขียน ก็ได้เขียนบันทึกสิ่งที่บังคับตามนามธรรมขึ้นใช้ และต่อมาก็ได้พัฒนาขึ้น
ให้เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรหรือประมวลกฎหมาย
3. ในบางประเทศ เช่น ประเทศอังกฤษ ยังคงยึดจารีตประเพณีที่ปฏิบัติมา เป็นหลักกฎหมายและ
อาศัยคำาพิพากษาของศาลที่พิพากษาวางหลักใช้เป็นกฎหมายในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์
4. กฎหมายในระบบอื่น เช่น กฎหมายสังคมนิยม กฎหมายอิสลาม ย่อมจัดอยู่ในระบบประมวล
กฎหมาย
5. เมื่อหลักกฎหมายของประเทศต่างๆ คล้ายคลึงกัน ย่อมใช้กฎหมายฉบับเดียวกันได้ นักกฎหมายก็
สามารถใช้กฎหมายฉบับเดียวกันได้ทั่วโลก กลายเป็นหลักสากลขึ้น
2.1.1 กฎหมายในสังคมบรรพกาล
คำาสั่งหัวหน้าเผ่าเป็นกฎหมายได้อย่างไร
เมื่อมีกรณีพิพาทหรือโต้แย้งเกิดขึ้น ผู้ที่เป็นหัวหน้าเผ่าจะต้องเป็นผู้ชี้ขาด ซึ่งต้องอาศัยความถูกต้องตาม
กฎเกณฑ์ การชีขาดดังกล่าวบังคับแก่คู่กรณีได้ โดยจะต้องปฏิบัติตามและเชื่อฟังคำาชี้ขาดและกฎเกณฑ์เช่นนั้นจึงเป็นกฎหมาย
จารีตประเพณีเป็นกฎหมายได้อย่างไร
จารีตประเพณีเกิดจากพฤติกรรมการเลียนแบบของมนุษย์ตามความเคยชินที่คนในสังคมนั้นจะกระทำา
ตามคนส่วนใหญ่ เมื่อพฤติกรรมเหล่านั้นได้มีการปฏิบัติต่อเนื่องกันมาเลื่อยๆ เป็นระยะเวลาอันยาวนานหากผู้ใด
ฝ่าฝืนไม่ยอมประพฤติหรือปฏิบัติตามก็จะได้รับการตำาหนิอย่างรุนแรงจากสังคม ในบางครั้งก็จะมีสภาพเป็นการ
ลงโทษ ในที่สุดก็จะกลายเป็นหลักบังคับใช้กับประชาชนในถิ่นนั้นๆ และเป็นกฎหมายจารีตประเพณีโดยไม่รู้ตัว
2.1.2 วิวัฒนาการของระบบประมวลกฎหมาย
ระบบประมวลกฎหมายนั้นจะมีลักษณะอย่างไร
จะมีลักษณะเป็นรูปร่างของกฎหมาย 3 ประการคือ
1. เป็นระบบกฎหมายที่มาจากกฎหมายโรมันและใช้กันอยู่ทั่วไปในยุโรป ซึ่งแตกต่างไปจาก
กฎหมายจารีตประเพณี
2. เป็นการตั้งหลักเกณฑ์ที่ใช้บังคับถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งแตกต่างไปจากกฎหมาย
มหาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะแตกต่างไปจากกฎหมายอาญา
3. เป็นกฎหมายที่มีสภาพบังคับซึ่งตรงข้ามกับกฎหมายพระหรือศาสนจักร
2.1.3 วิวัฒนาการของระบบคอมมอนลอว์
หลักเอ็คควีตี้ (Equity) หมายความว่าอย่างไร
เป็นการตัดสินที่อาศัยหลักมโนธรรม (Conscience) ที่ให้ความเป็นธรรมแก่คู่กรณี โดยคำานึงถึง
ประโยชน์สุขและความยุติธรรมในสังคมเป็นใหญ่
2.1.4 วิวัฒนาการของระบบกฎหมายอื่นๆ
สตาลินได้เปลี่ยนหลักการใหม่ของกฎหมายสังคมนิยมว่าอย่างไร
สตาลินได้เปลี่ยนหลักการใหม่ของกฎหมายสังคมนิยมว่า ความยุติธรรมมีอยู่เท่าที่กฎหมายกำาหนด
เท่านั้นและต้องเป็นกฎหมายที่รัฐบาลชั้นกรรมาชีพซึ่งอยู่ภายใต้การนำาของพรรคคอมมิวนิสต์กำาหนดขึ้นเท่านั้น
2.1.5 แนวโน้มของวิวัฒนาการของระบบกฎหมายในโลกปัจจุบัน
แนวโน้มของการวิวัฒนาการของระบบกฎหมายในโลกปัจจุบันนี้จะเป็นอย่างไร
แนวโน้มในการวิวัฒนาการของระบบกฎหมายในโลกปัจจุบันนี้ จะเป็นการใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์
ทั้งหมด โดยสามารถจะจัดรูปแบบและพัฒนาได้โดยฝ่ายนิติบัญญัติ โดยนักนิติศาสตร์ของประเทศต่างๆก็จะนำา
ความคิดเห็นที่เป็นธรรมซึ่งมีอยู่โดยทั่วไป ไปบัญญัติใช้ในกฎหมายในประเทศของตนเพื่อให้เกิดความสอดคล้อง
กัน ต่อไปนานเข้าหลักเกณฑ์ต่างๆของกฎหมายก็จะคล้ายคลึงกันทุกประเทศในโลกเกือบจะเรียกว่าใช้กฎหมาย
ฉบับเดียวกันกัน ซึ่งนักกฎหมายก็จะสามารถใช้กฎหมายเรื่องเดียวกันได้ทั่วโลก ถือว่าเป็นหลักสากล
2.2 วิวัฒนาการของระบบกฎหมายไทย
1. ระบบกฎหมายไทยก่อนที่ยังไม่มีภาษาเขียนเป็นหนังสือ ซึ่งเริ่มใช้ในสมัยพ่อขุนรามคำาแหงมหาราช
ในสมัยสุโขทัยตอนปลาย และสมัยกรุงศรีอยุธยาจึงมีกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษรขึ้น
2. ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีการจัดทำากฎหมาย ในรูปของประมวลกฎหมายไทยสำาเร็จ เรียกว่า
กฎหมายตราสามดวง
3. ในปัจจุบันนี้ในประเทศไทยได้มีกฎหมายในรูปของประมวลกฎหมายครบถ้วน
2.2.1 ระบบกฎหมายก่อนกรุงรัตนโกสินทร์
ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำาแหงมหาราชเทียบได้กับกฎหมายอะไรที่สำาคัญ และนักนิติศาสตร์เรียกว่า
กฎหมายอะไร
ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำาแหงมหาราชเทียบได้กับมหากฎบัตร (Magna Carta) ของอังกฤษ ซึ่งของ
อังกฤษถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของอังกฤษ เพราะในศิลาจารึกมีข้อความที่เป็นหลักประกันสิทธิและ
เสรีภาพของราษฎรในสมัยนั้น และนักนิติศาสตร์บางท่านเรียกว่า “กฎหมายสี่บท” โดยเกี่ยวกับเรื่องกฎหมาย
มรดก กฎหมายที่ดิน กฎหมายวิธีพิจารณา และกฎหมายร้องทุกข์
2.2.2 ระบบกฎหมายต้นกรุงรัตนโกสินทร์
ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศไทยในระบบกฎหมายอะไร อย่างไร
ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศไทยได้ใช้ระบบประมวลกฎหมายหรือกฎหมายลายลักษณ์อักษร
เพราะพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ชำาระกฎหมายขึ้นใหม่โดยจัดทำาเป็นประมวล
กฎหมายขึ้นเรียกว่า “กฎหมายตราสามดวง” หรือ “ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1”
2.2.3 ระบบประมวลกฎหมายในประเทศไทย
ประเทศไทยในสมัยกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ ใช้กฎหมายระบบใด
ในสมัยกรุงสุโขทัยนั้น สมัยพ่อขุนรามคำาแหงมหาราชเป็นการใช้หลักกฎหมายทั่วไปที่เห็นว่าเป็นธรรม
และใช้ระบบกฎหมายในสังคมบรรพกาล ต่อมาในสมัยพญาเลอไท มีหลักฐานว่าได้มีการจารึกในลักษณะเป็น
กฎหมายลายลักษณ์อักษร โดยปรากฏเป็นเรื่องๆไป และหลักฐานยังปรากฏอีกว่า ในสมัยกรุงสุโขทัยยังมีการใช้
กฎหมายพระธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่สืบทอดมาจากมนูศาสตร์ของชาวฮินดู นอกจากนี้ ก็ยังใช้พระราช
ศาสตร์ คือคำาสั่งของพระมหากษัตริย์เป็นกฎหมายอีกด้วย
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีหลักฐานปรากฏชัดว่าได้ใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษรอย่างสมบูรณ์ กฎหมายที่
ใช้ก็คือ พระธรรมศาสตร์ อันเป็นหลักกฎหมายที่มีต้นกำาเนิดมาจากอินเดีย นอกจากนี้ พระมหากษัตริย์ได้ทรง
ตรากฎหมายขึ้นเพื่อใช้บังคับแก่ราษฎร เรียกว่าพระราชศาสตร์ ซึ่งมีกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรอยู่หลาย
เรื่องด้วยกัน
ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์คงใช้กฎหมายเดิมของกรุงศรีอยุธยา แต่ต่อมาได้มีการตรากฎหมายจัดทำา
เป็นประมวลกฎหมายขึ้นเรียกว่า “กฎหมายตราสามดวง” หรือ “ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1” ทั้งนี้เพื่อปรับปรุง
ให้เกิดความยุติธรรมยิ่งขึ้น จึงเป็นการใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษร โดยตรงต่อมารัชกาลที่ 5 ได้เริ่มดำาเนินการ
ชำาระกฎหมายขึ้นเป็นหมวดหมู่ในลักษณะของระบบประมวลกฎหมาย
ในปัจจุบันนี้ประเทศไทยได้ใช้กฎหมายในระบบประมวลกฎหมายหรือกฎหมายลายลักษณ์อักษรตาม
ระบบที่ต่างประเทศยอมรับและพัฒนาแล้ว ซึ่งมีการออกกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษรในระบบรัฐสภาอย่าง
สมบูรณ์
2.3 ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาระบบกฎหมายไทย
1. ปัจจุบันการศึกษาวิชานิติศาสตร์ได้กระจายอยู่ในหลายสถาบัน ทำาให้เกิดแนวความคิดการใช้
กฎหมายแตกต่างกัน เป็นภัยต่อแนวความคิดทางกฎหมายของประเทศเป็นอย่างยิ่ง
2. การฝึกอาชีพทางกฎหมายมีแยกจากกัน แล้วแต่หน่วยงานในอาชีพนั้นไม่อาจจะพัฒนาความคิดทาง
กฎหมายไปในแนวทางเดียวกัน
3. การร่างกฎหมายในปัจจุบันไม่เป็นไปตามระบบของการร่างกฎหมายที่ถูกต้อง จึงทำาให้ขัดต่อหลัก
การและกฎหมายอื่น
4. ประเทศไทยไม่มีระบบติดตามและประเมินผลการบังคับใช้กฎหมาย จึงมีกฎหมายบางฉบับไม่มี
ประชาชนปฏิบัติตาม
2.3.1 ระบบการศึกษานิติศาสตร์
การศึกษาทางนิติศาสตร์ที่จะทำาให้กฎหมายได้มีการพัฒนาไปโดยถูกทางจะท้องทำาอย่างไร
ย่อมขึ้นอยู่กับการเรียนการสอนที่ถูกต้องตามระบบของกฎหมายไทย โดยจะต้องมีการเรียน การสอนไป
ในทางเดียวกัน ให้ผู้ทำาการศึกษากฎหมายมีแนวความคิดเห็นของตนเองเป็นอิสระ และต้องปลูกฝังนักกฎหมาย
ให้มีคุณธรรมในการรับใช้ประชาชน ไม่ให้มีการเอารัดเอาเปรียบสังคม
2.3.2 สถาบันวิชาชีพกฎหมาย
การแยกฝึกอาชีพนักกฎหมายเป็นแต่ละสาขาอาชีพมีผลต่อการพัฒนากฎหมายอย่างไร
การฝึกอาชีพทางกฎหมายแต่ละสถาบันไม่อาจจะพัฒนาแนวความคิดทางกฎหมายไปในทางเดียวกัน
ได้ เพราะแต่ละสถาบันมีความคิดเห็นของตนเอง จะเกิดความแตกต่างในการพัฒนากฎหมาย
2.3.3 กระบวนการนิติบัญญัติ
การบัญญัติกฎหมายแต่ละฉบับนั้นจะต้องอาศัยหลักอะไร
จะต้องร่างกฎหมายด้วยอาศัยหลักคุณธรรมและคำานึงถึงธรรมะเป็นสำาคัญ โดยไม่ออกกฎหมายเพื่อ
รักษาผลประโยชน์ของผู้หนึ่งผู้ใดหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งโดยเฉพาะ
2.3.4 ระบบการติดตามและการประเมินผลการบังคับใช้กฎหมาย
เหตุใดที่ระบบกฎหมายไทยไม่พัฒนาไปเท่าที่ควร
เพราะฝ่ายนิติบัญญัติไม่มีระบบการติดตามและประเมินผลการบังคับใช้กฎหมายในประเทศไทยทำาให้มี
การออกกฎหมายและยกเลิกกฎหมายต่างๆอยู่เสมอ และบางครั้งกฎหมายออกมามากแต่ละฉบับจะขัดแย้งกัน
👉 แบบประเมินตนเองหน่วยที่ 2
1. ความคิดเห็นที่ถูกต้องตามทำานองคลองธรรมเป็น หลักกฎหมายทั่วไป
2. แบบอย่างที่ปฏิบัติสอดคล้องต้องกันมาในท้องถิ่นใดเป็นเวลาช้านาน จนสามารถบังคับใช้กับประชาชน
ในท้องถิ่นนั้นเรียกว่า กฎหมายจารีตประเพณี
3. กฎหมายฮินดู ถือว่าเป็นกฎหมายศาสนา
4. ลักษณะของระบบประมวลกฎหมาย มาจากกฎหมายโรมัน ซึ่งมีสภาพบังคับได้ถึงความสัมพันธ์ระหว่าง
บุคคล
5. ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี ถือว่าเป็นวิวัฒนาการเบื้องต้นของระบบประมวลกฎหมาย
6. กฎหมายที่ออกโดยรัฐอย่างสมบูรณ์ฉบับแรกคือ กฎหมายสิบสองโต๊ะ
7. หลักคอมมอนลอว์ เป็นการตัดสินคดีที่ต้องมีเหตุผล
8. หลักกฎหมายเอ็คคริตี้ ใช้ควบคู่กันไปกับ หลักคอมมอนลอว์
9. พื้นฐานหลักกฎหมายคอมมอนลอว์ ได้มาจาก ผู้พิพากษา
10. ในทางอาญา ในประเทศไทยใช้กฎหมายลักษณะ กฎหมายลายลักษณ์อักษร
11. กฎหมายเกิดจาก แนวความคิดเพื่อสร้างหลักเกณฑ์ในการควบคุมมนุษย์ที่อยู่ในสังคม
12. กฎหมายในสมัยบรรพกาลจะมีลักษณะ นามธรรม
13. จารีตประเพณีมาจากลักษณะของ การที่คนประพฤติปฏิบัติตามแบบอย่างที่ปฏิบัติสอดคล้องต้องกันมา
เป็นเวลาช้านาน หากผู้ใดฝ่าฝืนจะได้รับการตำาหนิอย่างรุนแรง
14. หลักกฎหมายทั่วไป เป็นกฎหมายดั้งเดิมของมนุษย์ในสังคม
15. พระเจ้าฮัมมูราบี เป็นคนคิดว่าประชาชนไม่สามารถอยู่อย่างอิสระปลอดภัย โดยปราศจากกฎหมาย
16. กฎหมายสิบสองโต๊ะ ถือได้ว่าเป็นการเริ่มต้นของวิชานิติศาสตร์ด้วยหลักการที่ว่า กฎหมายควรเป็นสิ่ง
เปิดเผยให้คนทั่วไปได้รู้ได้เห็นและศึกษาหาเหตุผลได้
17. ในสมัยแองโกล-แซกซอน ศาลตัดสินโดยใช้หลัก กฎหมายจารีตประเพณี
18. กฎหมายอิสลามจัดอยู่ในสกุล กฎหมายศาสนา
19. แนวโน้มในการวิวัฒนาการของระบบกฎหมายในโลกปัจจุบันนี้จะใช้หลักกฎหมายระบบ ประมวล
กฎหมายหรือซีวิลลอว์
หน่วยที่ 3 ที่มา ประเภท และศักดิ์ของกฎหมาย
1. ที่มาของกฎหมาย ในระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร ระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ระบบ
กฎหมายสังคมนิยมนั้น ย่อมแตกต่างกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับพื้นฐานของระบบกฎหมายแต่ละระบบ
2. การแบ่งประเภทของกฎหมาย อาจแบ่งออกได้เป็นหลายลักษณะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าจะยึดอะไรเป็นเกณฑ์
ในการแบ่ง
3. กฎหมายที่ออกมาใช้ในสังคมนั้น เกิดจากองค์กรที่มีอำานาจในการออกกฎหมายต่างกัน จึงมีลำาดับ
ความสำาคัญไม่เท่าเทียมกัน
4. กฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าหรือมีศักดิ์เท่ากันกับกฎหมายอีกฉบับหนึ่ง ย่อมแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิก
กฎหมายฉบับหลังนั้นได้
ที่มาของกฎหมาย
1. ที่มาของกฎหมายย่อมมีความหมายแตกต่างกันไปตามระบบกฎหมาย
2. ที่มาของกฎหมายในระบบลายลักษณ์อักษรนั้น ได้แก่ กฎหมายลายลักษณ์อักษร จารีตประเพณี และ
หลักกฎหมายทั่วไป
3. ที่มาของกฎหมายในระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ จารีตประเพณี คำาพิพากษาของศาล
กฎหมายลายลักษณ์อักษร ความเห็นของนักนิติศาสตร์ และหลักความยุติธรรม
4. ที่มาของกฎหมายในระบบกฎหมายสังคมนิยม คือ กฎหมายลายลักษณ์อักษร
ที่มาของกฎหมายในระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร
ลองบอกชื่อกฎหมายลายลักษณ์อักษร
รู้จักรูปแบบของกฎหมายดังต่อไปนี้
1) รัฐธรรมนูญ เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2517
2) ประมวลกฎหมาย เช่น ประมวลกฎหมายที่ดิน ประมวลรัษฎากร
3) พระราชบัญญัติ เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองสัตว์ป่าสงวนแห่งชาติ พระราชบัญญัติบริษัทมหาชน
พระราชบัญญัติส่งเสริมพาณิชย์นาวี
4) พระราชกฤษฎีกา เช่น พระราชกฤษฎีกากำาหนดเขตควบคุมศุลกากร เป็นต้น
จารีตประเพณีที่กลายมาเป็นกฎหมาย
ตัวอย่างของจารีตประเพณีที่กลายมาเป็นกฎหมาย คือ การที่บุตรต้องอุปการะเลี่ยงดูบิดามารดาซึ่งได้
นำาไปบัญญัติใน ป.พ.พ. มาตรา 1563
การให้สินสอดที่ฝ่ายชายให้แก่ฝ่ายหญิงนั้นเป็นจารีตประเพณีหรือไม่ และฝ่ายหญิงจะเรียกร้องจากฝ่าย
ชายได้เสมอไปหรือไม่
การให้สินสอดเป็นจารีตประเพณี เพราะเข้าตามหลักเกณฑ์ทั้ง 4 ประการ แต่ก็มิใช่เป็นเรื่องที่ฝ่ายหญิง
จะบังคับเอากับฝ่ายชายได้ เพราะเป็นเรื่องที่ฝ่ายชายต้องสมัครใจให้แก่ฝ่ายหญิงเพื่อตอบแทนการที่หญิงยอม
สมรสด้วย (ป.พ.พ. มาตรา 1437)
ลองสำารวจดูสุภาษิตกฎหมายที่เคยทราบมาแล้ว
สุภาษิตกฎหมายที่เคยทราบมาแล้ว เช่น
1) เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องให้ความยุติธรรมแก่คนที่เข้ามาหาศาล (ข้อ 13)
2) ผู้พิพากษาที่ดีย่อมวินิจฉัยคดีตามหลักความยุติธรรมและความถูกต้อง และถือความยุติธรรม
สำาคัญกว่ากฎหมาย (ข้อ 24)
3) ความทุจริตกับความยุติธรรมอยู่ด้วยกันไม่ได้ (ข้อ 59)
ที่มาของกฎหมายในระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
จารีตประเพณีมีความสัมพันธ์ต่อระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างไร
จารีตประเพณีเป็นต้นตอของกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อสมัยเริ่มแรกของระบบกฎหมายนี้
ศาลใช้จารีตประเพณีเป็นกฎหมายในการตัดสินคดีจารีตประเพณีจึงเป็นที่มาพื้นฐาน ของระบบกฎหมายไม่เป็น
ลายลักษณ์อักษร
เหตุผลสนับสนุนคำากล่าวที่ว่า“กฎหมายที่มาจากคำาพิพากษาของศาลเป็นหลักเกณฑ์ที่มั่นคง เช่นเดียว
กับหลักที่เกิดจากจารีตประเพณี”
คำาพิพากษาของศาลในระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นหลักเกณฑ์ที่มั่นคง เนื่องจากศาลใน
ระบบกฎหมายนี้ยึดถือหลักแนวบรรทัดฐานคำาพิพากษาของศาล จึงทำาให้คดีที่มีข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำาคัญ
อย่างเดียวกันได้รับการตัดสิน ให้มีผลอย่างเดียวกัน เมื่อเวลาผ่านไปหลักเกณฑ์ที่ศาลวางไว้ในการตัดสินคดี
ย่อมได้รับการยอมรับมากยิ่งขึ้น และกลายเป็นหลักกฎหมายที่มั่นคงในเวลาต่อมา
ในปัจจุบันกฎหมายลายลักษณ์อักษรกลับมีบทบาทสำาคัญต่อระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษรไม่
น้อยกว่ากฎหมายที่เกิดจากจารีตประเพณีและคำาพิพากษาของศาลนั้นเป็นความจริงเพียงใด
ในสมัยที่โลกมีความเจริญก้าวหน้า การที่จะรอให้กฎหมายเกิดขึ้นจากจารีตประเพณีหรือคำาพิพากษา
ของศาลในคดีที่ขึ้นสู่ศาลนั้นย่อมจะไม่ทันต่อความต้องการ จึงต้องออกกฎหมายล่วงหน้าเพื่อวางระเบียบและ
กฎเกณฑ์ในสังคม หากจะรอให้กฎหมายเกิดขึ้นเองจะไม่ทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงไปอย่าง
รวดเร็ว
เอคควิตี้คืออะไร
เอคควิตี้ คือระบบกฎหมายที่เป็นส่วนหนึ่งในระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เอคควิตี้เป็นระบบ
ที่ยึดถือหลักความยุติธรรม โดยมโนธรรมของผู้พิพากษาเป็นหลัก จึงก่อให้เกิดความยืดหยุ่นในการตัดสินคดีด้วย
ความเป็นธรรม โดยไม่ต้องอยู่ในกรอบของจารีตประเพณีหรือแนวบรรทัดฐานคำาพิพากษาของศาล
ศาลไทยยอมรับนับถือคำาพิพากษาของศาลในคดีก่อนเพียงใดหรือไม่
ศาลไทยอยู่ในระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร จึงไม่ถือว่าคำาพิพากษาเป็นกฎหมายที่ศาลทำาขึ้น ศาลคง
ยึดตัวบทกฎหมายเป็นสำาคัญในการตัดสินคดี แต่ก็คำานึงถึงผลและเหตุผลของคำาพิพากษาในคดีก่อนอยู่บ้าง โดย
เฉพาะคดีที่มีข้อเท็จจริงเช่นเดียวกับที่ศาลสูงเคยตัดสินไว้แล้ว แต่หากศาลล่าง (ที่อยู่ในชั้นตำ่ากว่า) มีเหตุผลเป็น
อย่างอื่น ก็อาจตัดสินให้เป็นอีกอย่างหนึ่งก็ได้ โดยไม่ต้อคำานึงถึงคำาพิพากษาในคดีก่อนๆนั้น
ความเห็นของนักนิติศาสตร์นั้นจะได้รับการยอมรับจากศาลในการพิจารณาพิพากษาคดีเพียงใด
แม้ว่าความเห็นของนักนิติศาสตร์จะไม่เป็นที่มาของกฎหมายในระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษรแต่
ความเห็น ของนักนิติศาสตร์ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในวงการกฎหมายโดยทั่วไป ก็อาจจะมีอิทธิพลต่อการ
ตัดสินใจคดีต่อมา
ที่มาของกฎหมายในระบบกฎหมายสังคมนิยม
พิจารณาว่าการที่ระบบกฎหมายสังคมนิยมมีที่มาของกฎหมาย คือกฎหมายลายลักษณ์อักษรแต่เพียง
อย่างเดียวนั้น จะสามารถให้ความยุติธรรมแก่อรรถคดีต่างๆได้เพียงพอหรือไม่
ในระบบกฎหมายสังคมนิยม ใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นกลไกในการควบคุมสังคมให้เป็นไปตาม
ที่วางเป้าหมายไว้ ความยุติธรรมจะมีเพียงใดย่อมขึ้นอยู่ความเป็นอิสระของศาลในการตัดสินคดี หากศาลต้อง
ปฏิบัติตามนโยบายของพรรคคอมมิวนิสต์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โอกาสที่ประชาชนจะได้รับความยุติธรรมก็ย่อมน้อยลงได้ตามลำาดับ
ประเภทของกฎหมาย
1. การแบ่งประเภทของกฎหมาย อาจแบ่งได้หลายลักษณะทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า จะยึดอะไรเป็นเกณฑ์ในการ
แบ่ง
2. กฎหมายนั้นอาจแบ่งได้อย่างคร่าวๆ เป็น 2 ประเภทคือ กฎหมายภายในและกฎหมายภายนอก
3. กฎหมายภายในอาจแบ่งได้เป็น
1) กฎหมายลายลักษณ์อัก และกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
2) กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
3) กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
4) กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
4. กฎหมายภายนอกอาจแบ่งออกได้เป็น
1) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
2) กฎหมายระว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
3) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
บทนำา
การแบ่งกฎหมายภายในแบบใดที่ควรได้รับการยอมรับมากที่สุด เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
การแบ่งกฎหมายภายในเป็นกฎหมายมหาชนและกฎหมาเอกชน น่าจะได้รับการยอมรับมากที่สุด
เพราะมีผลในการพิจารณาใช้หลักเกณฑ์ในการใช้และการตีความกฎหมาย เพื่อก่อให้เกิดความยุติธรรมแต่คดี
ตามลักษณะกฎหมาย
ประเภทของกฎหมายภายใน
Unwritten Law คือ อะไร
Unwritten Law คือกฎหมายที่ยังมิได้ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร
การแบ่งกฎหมายตามสภาพบังคับนั้นมีประโยชน์อย่างไรบ้าง
การแบ่งกฎหมายตามสภาพบังคับมีประโยชน์ในการพิจารณาคดีแยกคดีเพื่อฟ้องศาลได้ถูกต้องเช่น คดี
แพ่งจะฟ้องศาลใดที่กฎหมายกำาหนดได้บ้าง หรือคดีอาญาจะฟ้องศาลใดได้บ้าง
ถ้าไม่มีกฎหมายวิธีสบัญญัติจะเกิดผลประการใดบ้างต่อระบบกฎหมายของไทยในปัจจุบัน
ถ้าไม่มีกฎหมายวิธีสบัญญัติก็ไม่อาจดำาเนินคดีในศาลต่างๆ ได้
การแบ่งกฎหมายออกเป็นกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนนั้นมีประโยชน์อย่างไรบ้าง
การแบ่งกฎหมายเป็นกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนนั้น ประเทศไทยยังไม่อาจมองเห็นประโยชน์
ได้อย่างชัดเจน เพราะประเทศไทยยังไม่ได้แยกคดีที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายมหาชนให้ขึ้นศาลปกครอง ใน
ปัจจุบันคดีส่วนใหญ่ขึ้นศาลยุติธรรม ยกเว้นบางคดีที่จัดตั้งศาลพิเศษไว้พิจารณาพิพากษาคดีโดยเฉพาะ
ประเภทของกฎหมายภายนอก
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองมีความสำาคัญและมีบทบาทต่อสังคมประชาชาติเพียงใด
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองมีความสำาคัญมาก เพราะเป็นกฎหมายที่กำาหนดกฎเกณฑ์ที่ให้
รัฐต่างๆ ได้ปฏิบัติตามเพื่อความสงบสุขของสังคมประชาชาติแต่ในปัจจุบัน กฎหมายนี้ขาดความศักดิ์สิทธิ์
เพราะไม่มีองค์กรใดที่จะก่อให้เกิดสภาพบังคับ จึงกลายเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดความไม่สงบสุขขึ้นเสมอมา
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลมีบทบาทต่อสังคมปัจจุบันเพียงใด
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลมีบทบาทสำาคัญต่อสังคมยุคปัจจุบัน ที่ประชาชนในแต่ละรัฐมี
โอกาสติดต่อกัน หรือความสัมพันธ์กันในด้านต่างๆ ความสัมพันธ์ระหว่างคนต่างรัฐย่อมมีปัญหาที่จะใช้
กฎหมายของรัฐใดบังคับ จึงต้องมีกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลขึ้น เพื่อแก้ปัญหาว่าจะใช้กฎหมาย
ใดบังคับแก่ความสัมพันธ์เหล่านั้น
การจี้เครื่องบินจากประเทศอื่นแล้วมาร่อนลงในประเทศไทย แล้วบังคับเครื่องบินให้เดินทางต่อไปยัง
ประเทศที่สาม ประเทศไทยจะมีสิทธิเรียกให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดน ตามกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญาหรือไม่
การจี้เครื่องบินเป็นการกระทำาผิดกฎหมายตามอาญากฎหมายไทย หากผู้ร้ายที่กระทำาผิดบังคับเครื่อง
บินไปประเทศที่สาม และประเทศที่สามมีข้อตกลงที่จะร่วมมือกันส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับประเทศไทย ก็อาจจะมี
การส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้ แต่ความผิดนี้โดยปกติย่อมเป็นความผิดอาญาสากลซึ่งประเทศที่สามก็ย่อมจะลงโทษ
ได้อยู่แล้ว เพราะเป็นความผิดที่กระทำาอยู่ต่อเนื่องในอาณาเขตของประเทศนั้นด้วย
ศักดิ์ของกฎหมาย
1. กฎหมายที่ออกมาใช้ในสังคมย่อมเกิดจากองค์กรต่างกัน จึงมีลำาดับความสำาคัญไม่เท่าเทียมกัน
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่สูงที่สุด จะมีกฎหมายอื่นมาขัดกับรัฐธรรมนูญไม่ได้
2. กฎหมายที่ออกโดยรัฐสภา หรือรัฐธรรมนูญได้มอบอำานาจให้ตราขึ้นได้ในกรณีพิเศษ ตามความจำาเป็น
และตามเงื่อนไขที่กำาหนด ย่อมมีศักดิ์สูงรองลงมาจากรัฐธรรมนูญ
3. กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร โดยอาศัยอำานาจกฎหมายที่ออกโดยรัฐสภา ย่อมเป็นกฎหมายลำาดับรอง
ลงมาจากกฎหมายที่ออกโดยรัฐสภา
4. กฎหมายที่ออกโดยองค์กรปกครองตนเอง โดยอาศัยอำานาจกฎหมายอื่น ย่อมมีศักดิ์ตำ่ากว่ากฎหมายที่
ออกโดยรัฐสภาหรือฝ่ายบริหาร
5. การจัดลำาดับของกฎหมายตามศักดิ์ ก็เพื่อให้ทราบว่ากฎหมายฉบับใดมีความสำาคัญมากกว่ากัน และ
สามารถยกเลิกกฎหมายที่มีศักดิ์เท่ากันหรือตำ่ากว่าได้ แต่ไม่สามารถยกเลิกกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าได้
การจัดลำาดับความสำาคัญของกฎหมาย
เหตุใดจึงต้องมีการจัดลำาดับกฎหมายตามศักดิ์
การจัดลำาดับของกฎหมายนั้นย่อมขึ้นอยู่กับว่ากฎหมายนั้นออกโดยองค์กรใด และองค์กรนั้นมีความ
สำาคัญเพียงใด เมื่อออกกฎหมายมาแล้ว กฎหมายที่ออกมาโดยองค์กรที่มีอำานาจออกกฎหมายที่สูงกว่าย่อมมี
ศักดิ์สูงกว่ากฎหมายที่ออกโดยองค์กรที่ตำ่ากว่า ย่อมไม่สามารถยกเลิกเพิกถอนกฎหมายที่ออกโดยองค์กรที่สูง
กว่าซึ่งมีศักดิ์สูงกว่าได้
ประโยชน์ของการจัดลำาดับของกฎหมายตามศักดิ์
หาตัวอย่างการออกกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายระดับเดียวกันมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง
การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะหุ้นบริษัทโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่ม
เติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2521)
หาตัวอย่างการยกเลิกกฎหมายระดับเดียวกันมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง
พระราชบัญญัติแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2519) ยกเลิกประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5
👉 แบบประเมินตนเองหน่วยที่ 3
1. กฎหมายในระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษรหรือซีวิลลอว์ มีที่มาจาก กฎหมายลายลักษณ์อักษร จารีต
ประเพณี และหลักกฎหมายทั่วไป
2. ที่มาประการสำาคัญของกฎหมายในระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (Common Law System)
คือ จารีตประเพณีและคำาพิพากษา
3. ที่มาของกฎหมายในระบบกฎหมายสังคมนิยม (Socialist Law System) คือ กฎหมายลายลักษณ์อักษร
4. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จัดอยู่ในกฎหมายประเภท กฎหมายสารบัญญัติ
5. ประมวลกฎหมายอาญาจัดอยู่ในกฎเภท กฎหมายมหาชน
6. บริษัทไทยต้องการทำาสัญญาค้าขายกับบริษัทญี่ปุ่น ต่างฝ่ายต่างต้องการใช้กฎหมายในประเทศของตน
บังคับในสัญญาที่ทำาขึ้นระหว่างกัน กฎหมายที่ควรจะใช้บังคับกรณีที่มีความขัดแย้งกันนี้ คือ ประมวล
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
7. นายตี๋ ถูกจับและดำาเนินคดีข้อหาค้ายาเสพติดระหว่างคุมขังอยู่นายตี๋ เล็ดลอดหนีข้ามแดนออกไป
มาเลเซียได้ ต่อมาตำารวจมาเลเซียส่งตัวนายตี๋มาให้รัฐบาลไทยดำาเนินคดีและลงโทษต่อไป รัฐบาล
มาเลเซียปฏิบัติตาม กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
8. กฎบัตรสหประชาชาติหมายถึง กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
9. การเรียงลำาดับศักดิ์ของกฎหมายจากสูงไปตำ่า ควรเป็นดังนี้คือ รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราช
กฤษฎีกา เทศบัญญัติ
10. รัฐธรรมนูญ มีศักดิ์สูงกว่ากฎหมายใดๆทั้งสิ้น
หน่วยที่ 4 ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับศาสตร์อื่นๆ
1. เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์มีความสำาคัญที่จะทำาให้เกิดแนวความคิดในการยกร่าง ปรับปรุง แก้ไข
กฎหมาย ให้เป็นกติกาที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม
2. รัฐศาสตร์เป็นศาสตร์ที่จัดระบบกลไกการปกครอง โดยมีกฎหมายเป็นเครื่องมือในการปกครองและการ
บริหารประเทศ
3. เศรษฐศาสตร์เป็นศาสตร์ที่อาศัยกฎหมายในการกำาหนดทิศทางและควบคุม ดูแลระบบเศรษฐกิจของ
ประเทศ เพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม
4. กฎหมายมีบทบาทในการควบคุมการศึกษาค้นคว้า พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อมิให้เกิด
ผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์โลก
กฎหมายกับประวัติศาสตร์
1. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอันเป็นประวัติศาสตร์ในสังคมหนึ่งนั้น ย่อมมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับกฎหมายที่มี
อยู่ในปัจจุบัน และกฎหมายที่จะร่างขึ้นมาใช้ในอนาคต
2. การศึกษาประวัติศาสตร์ในเชิงวิเคราะห์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่จะนำามายกร่างหรือปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย
ย่อมจะทำาให้เกิดความชัดเจนในการยกร่างกฎหมาย หรือปรับปรุง แก้ไขกฎหมายให้เหมาะสม
สอดคล้องกับวิถีของสังคมยิ่งขึ้น และทำาให้สังคมได้รับประโยชน์จากกฎหมายมากยิ่งขึ้น
ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับประวัติศาสตร์
ยกตัวอย่างในอดีตที่มีผลต่อมาให้รัฐต้องออกกฎหมายมาควบคุม ดูแล รวม 2 เรื่อง
1) กรณีปั่นหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ทำาให้รัฐต้องปรับปรุงกฎหมายเดิม คือ พระราชบัญญัติ
ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2518 มาเป็นกฎหมายใหม่ คือ พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ
ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2525 ซึ่งจะมีการลงโทษผู้ที่ปั่นหุ้นทั้งทางแพ่งและทางอาญา
2) กรณีที่ประชาชนถูกธนาคารและสถาบันการเงินเอาเปรียบในเรื่องสัญญาต่างๆ ที่ทำากับ
ธนาคารและสถาบันการเงิน จึงมีการแก้ไขกฎหมายพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.
2521 เพิ่มเติมหมวดที่คุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้บริโภค
มากขึ้น
การศึกษาประวัติศาสตร์ในเชิงวิเคราะห์เพื่อใช้ในการร่างและปรับปรุงกฎหมาย
วิจารณ์การยกร่างกฎหมายโดยไม่คำานึงถึงความเป็นมาในทางประวัติศาสตร์ เกิดผลเสียอย่างไร ยก
ตัวอย่างมา 1 ตัวอย่างด้วย
กรณีเขียนบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญเรื่องคุณสมบัติของวุฒิสมาชิกหรือกรณีการใช้กฎหมายแรงงานกับ
รัฐวิสาหกิจ
กฎหมายกับรัฐศาสตร์
1. กฎหมายกับรัฐศาสตร์มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด รัฐศาสตร์จัดระบบกลไกการปกครองโดยให้มี
กระบวนการนิติบัญญัติ ซึ่งก่อให้เกิดกฎหมายขึ้นมาใช้บังคับแก่ประชาชน และในขณะเดียวกัน
กฎหมายก็เป็นเครื่องมือให้แก่การปกครองและการบริหารประเทศ
2. กฎหมายที่เป็นเครื่องมือในการปกครองนั้น ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งเป็นกฎหมาย
สูงสุด และกฎหมายรองลงมา คือ กฎหมายปกครอง และกฎหมายมหาชนอื่นๆ ที่จะช่วยให้การบริหาร
แผ่นดินบรรลุผลตามเป้าหมาย อันจะก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย ความอยู่ดีกินดี และความเป็น
ธรรมในสังคมไทย
ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับรัฐศาสตร์
วิชากฎหมายหรือนิติศาสตร์มีความสัมพันธ์กับวิชารัฐศาสตร์เพียงใด
ศาสตร์ทั้งสองตัวต้องพึ่งพาอาศัยกัน คือรัฐศาสตร์จะสร้างระบบและกลไกในกระบวนการนิติบัญญัติ
ของรัฐ เพื่อออกกฎหมายใช้บังคับแก่ประชาชน ในขณะเดียวกันกฎหมายก็จะเป็นกลไกสำาคัญในการเมืองการ
ปกครองที่จะให้อำานาจรัฐในการออกกฎหมายภายใต้ความยินยอมของประชาชน
กฎหมายในฐานะเป็นเครื่องมือในการปกครอง
วิเคราะห์ว่ากฎหมายใดบ้างเป็นเครื่องมือในการปกครอง และกฎหมายใดมีความสำาคัญสูงสุดในฐานะ
เป็นเครื่องมือในทางปกครอง
กฎหมายที่เป็นเครื่องมือในการปกครองคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายปกครองและ
กฎหมายมหาชนอื่นๆ
กฎหมายที่มีความสำาคัญสูงสุดในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการปกครองคือ รัฐธรรมนูญแห่งราช
อาณาจักรไทย
กฎหมายกับเศรษฐศาสตร์
1. เศรษฐศาสตร์กับกฎหมายต่างเป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่มีความเชื่อมโยงกัน เศรษฐศาสตร์ต้องอาศัย
ออกกฎหมายในการสร้างความเป็นธรรมให้แก่สังคม และกฎหมายก็ต้องอาศัยหลักการใน
เศรษฐศาสตร์มาประกอบการยกร่างกฎหมาย
2. กฎหมายเป็นเครื่องมือของรัฐในการกำาหนดทิศทางในด้านเศรษฐกิจของประเทศ และใช้เป็นกลไก
ควบคุม ดูแลระบบเศรษฐกิจ รวมทั้งการสร้างความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนที่ไม่ถูกเอรัดเอาเปรียบจาก
ผู้ประกอบธุรกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับเศรษฐศาสตร์
กฎหมายและเศรษฐศาสตร์มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
กฎหมายมีส่วนเป็นกลไกสำาคัญในการควบคุมระบบเศรษฐกิจทั้งในระดับเศรษฐกิจมหภาค คือระบบ
การเงินการคลังของประเทศและในระดับเศรษฐกิจจุลภาค คือกำากับดูแลให้ความเป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบ
การกับประชาชนผู้บริโภคสินค้าและบริการ
กฎหมายกับการกำากับ ดูแลระบบเศรษฐกิจ
ยกตัวอย่างกฎหมายที่กำากับดูแลเศรษฐกิจมา 2 ฉบับ
กฎหมายที่กำากับดูแลระบบเศรษฐกิจ คือ ประมวลรัษฎากร พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและ
บริการ พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอก
เงิน พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 พระราชบัญญัติสถานสินเชื่อท้องถิ่น พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช 2475
กฎหมายกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นศาสตร์ที่มนุษย์ได้ศึกษา ค้นคว้า และพัฒนา เพื่ออธิบายความเป็น
ไปของธรรมชาติและปากฎการณ์ต่างๆ และนำามาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ให้แก่มนุษย์จึงต้องมี
กรอบการใช้ประโยชน์ที่เหมาะสมแก่สภาพสังคม โดยอาศัยกฎหมายเป็นตัวกำาหนดกรอบเพื่อให้
สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในสังคม
2. เมื่อมีเหตุการณ์เรื่องใดที่เกิดผลกระทบต่อสังคม ก็ควรจะต้องนำากฎหมายมาช่วยควบคุม กำากับดูแล
เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น อันจะช่วยให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคม
ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กฎหมายมีบทบาทต่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างไร
กฎหมายมีบทบาทต่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคือ
1) ในด้านการควบคุมการศึกษาค้นคว้าและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้อยู่ใน
กรอบที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ และอยู่ในกรอบของศีลธรรมจรรยาอันก่อให้เกิดปัญหา
แก่สังคม และ
2) ในด้านการพิสูจน์พยานหลักฐานในคดีความ
กฎหมายกับการกำากับดูแลผลกระทบต่อสังคมอันเกิดจากวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
กฎหมายที่กำากับดูแลผลกระทบต่อสังคมอันเกิดจากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียกตัวอย่างมา 2 ฉบับ
พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติโรคติดต่อ
พ.ศ. 2523 พระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 พระราชบัญญัติเครื่องสำาอาง พ.ศ.
2535 พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พุทธศักราช 2498 พระราช
บัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2498 และพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. 2544 เป็นต้น
👉 แบบประเมินตนเองหน่วยที่ 4
1. การศึกษาประวัติศาสตร์มีส่วนช่วยในการศึกษาวิชากฎหมายเพราะว่า ช่วยให้เราเข้าใจเหตุผลของเรื่อง
ราวที่เกิดขึ้น
2. วิชาประวัติศาสตร์มีส่วนเกี่ยวข้องในการร่างและปรับปรุงกฎหมายคือ ใช้ประวัติศาสตร์มาประกอบการ
ศึกษาและพิจารณาในการยกร่างกฎหมาย
3. แนวความคิดที่ว่า “เมื่อประชาชนมอบอำานาจของตนให้รัฐแล้ว รัฐต้องมีหน้าที่ในการใช้อำานาจของรัฐ
เพื่ออำานวยประโยชน์ และก่อให้เกิดความมั่นคง ความผาสุกแก่ประชาชน” ข้อความนี้หมายถึง ทฤษฎี
สัญญาประชาคม
4. รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายที่มีความสำาคัญสูงสุดในการบริหารราชการแผ่นดิน
5. ความสัมพันธ์ระหว่างวิชานิติศาสตร์กับรัฐศาสตร์นั้นเปรียบเทียบกันแล้วจัดว่าเป็น ลักษณะคู่แฝด
6. กฎหมายกับเศรษฐศาสตร์มีความสัมพันธ์กันคือ นำาหลักเกณฑ์ในทางวิชาเศรษฐศาสตร์มาใช้เป็นหลัก
การและเหตุผลในการออกกฎหมาย
7. กฎหมายฉบับที่ดูแลสภาพคล่องของการเงินของประเทศคือ พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย
พ . ศ . 2485
8. กรณีที่เป็นการพิสูจน์หลักฐานในทางวิทยาศาสตร์เช่น การพิสูจน์สาเหตุการตายของศพที่พบ
9. การที่นักกฎหมายต้องเรียนรู้ศาสตร์อื่นๆ นอกเหนือจากวิชากฎหมายเพราะ ช่วยทำาให้นักกฎหมาย
เข้าใจศาสตร์ต่างๆ และสามารถใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้ความเป็นธรรมได้ดียิ่งขึ้น
10. กรณีที่ยังไม่มีกฎหมายใดที่จะช่วยลดผลกระทบต่อคนไทยและมนุษยชาติได้แก่ ภาวะเรือนกระจกบน
โลก
หน่วยที่ 5 การใช้เหตุผลในทางกฎหมาย
1. การนำากฎหมายมาใช้บังคับอาจมีผลกระทบหรือเกิดสภาพบังคับแก่บุคคล จำาเป็นต้องมีการให้เหตุผล
ในการใช้บังคับกฎหมายที่ดี เป็นธรรม สมเหตุผล หรือรับฟังได้ เพื่อให้เกิดการยอมรับของสังคม และ
แก้ไขปัญหาได้ตรงกับสภาพปัญหาที่แท้จริง ซึ่งจะทำาให้กฎหมายนั้นบรรลุวัตถุประสงค์และประสบผล
2. เหตุผลในกฎหมายสามารถวิเคราะห์ได้จากเหตุผลของผู้ร่างกฎหมาย ความเป็นธรรมของตัวกฎหมาย
นั้นเองและนำาผลการวิเคราะห์หาเหตุผลในกฎหมายมาใช้ประโยชน์ในการใช้กฎหมาย
3. การใช้เหตุผลในการวินิจฉัยคดีเป็นเรื่องสำาคัญที่จะช่วยรักษาความเป็นธรรมให้แก่คู่ความ โดยที่ฝ่ายแพ้
คดีและสังคมยอมรับ การใช้เหตุผลในคดีมีอยู่ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ในการต่อสู้คดีของคู่ความ การทำาคำา
พิพากษา การทำาความเห็นแย้งในคำาพิพากษา และในการให้ความเห็นทางกฎหมายโดยทั่วไปด้วย
ความสำาคัญของเหตุผลในทางกฎหมาย
1. เหตุผลของกฎหมายที่ดีและเป็นธรรมที่มีมาจากแนวความคิดทางปรัชญา โดยนักปรัชญาและนักนิติ
ปรัชญาได้พยายามพัฒนาแนวความคิดเกี่ยวกับเหตุผลในการตรากฎหมาย และการใช้กฎหมายมาโดย
ตลอด เพื่อให้ได้กฎหมายที่ดีและเป็นธรรมที่สุดแก่สังคม
2. การใช้เหตุผลในทางกฎหมายที่ดีมีคุณลักษณะสำาคัญประการหนึ่งคือ ความสมเหตุผลในทาง
ตรรกวิทยา ซึ่งช่วยให้สามารถตรากฎหมายและนำากฎหมายมาใช้ในการแก้ไขปัญหาได้ตรงกับสภาพ
ปัญหาที่แท้จริง ไม่เบี่ยงเบนไป
3. การให้เหตุผลในกฎหมายมีความสำาคัญ เนื่องจากเหตุผลที่ดี เป็นธรรม สมเหตุสมผล หรือรับฟังได้ ก่อ
ให้เกิดความเป็นธรรมและการยอมรับของบุคคลที่เกี่ยวข้องและสังคม และแก้ไขปัญหาได้ตรงกับสภาพ
ปัญหาที่แท้จริง ซึ่งจะทำาให้กฎหมายนั้นบรรลุวัตถุประสงค์และประสบผล
ปรัชญากับกฎหมาย
ในปัจจุบันมีการนำาหลักทฤษฎีทางปรัชญาใดมาใช้ในการให้เหตุผลทางกฎหมายอย่างไร
แนวความคิดคิดทางนิติปรัชญาที่ยังคงใช้อยู่ในการให้เหตุผลทางกฎหมายในปัจจุบัน เช่น แนวความคิด
เกี่ยวกับหลักนิติรัฐ (Legal State) ซึ่งปัจจุบันมีการใช้เหตุผลทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการใช้อำานาจของเจ้าหน้าที่
ของรัฐว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐจะใช้อำานาจในทางที่ลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของเอกชนได้ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายให้
อำานาจไว้อย่างชัดเจนเท่านั้น
ตรรกวิทยากับกฎหมาย
การใช้เหตุผลในกฎหมายโดยใช้หลักตรรกวิทยามีความสำาคัญอย่างไร
การใช้เหตุผลในกฎหมายโดยใช้หลักตรรกวิทยามีความสำาคัญ เพราะทำาให้เหตุผลที่ยกขึ้นกล่าวอ้างมี
ความสมเหตุผล และสามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงตามสภาพของปัญหาที่แท้จริง
แนวคิดและความสำาคัญของเหตุผลในกฎหมาย
การใช้เหตุผลในกฎหมายที่ดีมีความสำาคัญอย่างไร
การใช้เหตุผลในกฎหมายที่ดีมีความสำาคัญ คือ สามารถอำานวยความยุติธรรมแก่ผู้เกี่ยวข้องได้ตาม
ความเหมาะสมแก่กรณี และเป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไป
การวิเคราะห์หาเหตุผลในกฎหมาย
1. กฎหมายสร้างขึ้นโดยผู้ร่างกฎหมายด้วยเหตุผลหรือเจตนารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยผู้ร่างกฎหมาย
จะกำาหนดโครงสร้างและกลไกของกฎหมาย และเขียนบทบัญญัติเพื่อให้กฎหมายบรรลุเจตนารมณ์ตาม
ที่ได้มุ่งหมายไว้ การจะหยั่งทราบเหตุผลในกฎหมายจึงสามารถกระทำาได้โดยการค้นหาเหตุผลของผู้ร่าง
กฎหมายได้ทางหนึ่ง
2. เมื่อกฎหมายได้ถูกตราขึ้นแล้ว นักกฎหมายฝ่ายหนึ่งเห็นว่าตัวกฎหมายนั้นเองเป็นสิ่งแสดงเจตนารมณ์
หรือเหตุผลในตัวเอง การวิเคราะห์หาเหตุผลของกฎหมายจึงพิจารณาได้จากความเป็นธรรมของ
กฎหมายนั้นเอง
3. เหตุผลในกฎหมายจะถูกนำามาใช้เมื่อมีการใช้กฎหมาย เมื่อผู้ใช้กฎหมายได้ทำาการวิเคราะห์เพื่อหาเหตุ
ผลในกฎหมายได้โดยอาศัยกระบวนการต่างๆ แล้ว จะสามารถนำาเหตุผลนั้นมาใช้อธิบายคำาวินิจฉัยของ
ตนทั้งในการพิจารณาคดี และการให้ความเห็นทางกฎหมายโดยทั่วไปอย่างสมเหตุสมผลและมีความ
เป็นธรรม
เหตุผลของผู้ร่างกฎหมาย
การวิเคราะห์หาเหตุผลของผู้ร่างกฎหมายมีประโยชน์ในการใช้เหตุผลในกฎหมายอย่างไร
การวิเคราะห์หาเหตุผลของผู้ร่างกฎหมายมีประโยชน์ในการใช้เหตุผลในกฎหมายเพราะจะทำาให้วินิจฉัย
คดีได้ตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย มิใช่เป็นเหตุผลที่ผู้ใช้กฎหมายนึกคิดขึ้นเอง
ความเป็นธรรมของกฎหมาย
การวิเคราะห์หาเหตุผลจากความเป็นธรรมของกฎหมายสามารถพิจารณาได้จากสิ่งใด
การวิเคราะห์เหตุผลจากความเป็นธรรมของกฎหมาย สามารถพิจารณาได้จากตัวบทบัญญัติของ
กฎหมายนั้นเองตามทฤษฎีอำาเภอการณ์ อย่างไรก็ดี ในการใช้กฎหมาย นักกฎหมายส่วนใหญ่มักพิจารณา
ประกอบกับเหตุผลของผู้ร่างกฎหมายและหลักการตีความกฎหมายต่างๆด้วย
การนำาผลการวิเคราะห์หาเหตุผลในกฎหมายมาใช้ประโยชน์
เหตุผลในกฎหมายที่วิเคราะห์ได้สามารถนำามาใช้ได้เฉพาะในการพิจารณาคดีหรือไม่
เหตุผลในกฎหมายที่วิเคราะห์ได้ไม่เพียงสามารถใช้ได้ในการพิจารณาคดีเท่านั้น แต่สามารถนำาไปใช้ใน
การให้ความเห็นทางกฎหมายของนักกฎหมายโดยทั่วไปได้
เหตุผลในการวินิจฉัยคดีและการให้ความเห็นทางกฎหมาย
1. เมื่อบุคคลมีข้อพิพาททางกฎหมายต้อเสนอคดีต่อศาลเพื่อให้มีการวินิจฉัยชี้ขาด คู่ความแต่ละฝ่าย
ต่างมีสิทธิยกเหตุผลที่ตนเห็นว่าดีที่สุดในการต่อสู้คดีเพื่อโน้มน้าวให้ศาลเห็นว่าฝ่ายตนสมควรชนะ
คดี
2. ประเทศไทยเป็นระบบที่ใช้ประมวลกฎหมาย (Civil Law) ตามหลักแล้วต้องพิจารณาข้อกฎหมาย
ตามตัวบทกฎหมายโดยไม่จำาเป็นต้องยึดถือแนวคำาพิพากษาหรือคำาวินิจฉัยเป็นบรรทัดฐาน อย่างไร
ก็ดี ในทางปฏิบัติ คำาพิพากษาที่มีการใช้เหตุผลที่ดี สมเหตุสมผล และเป็นธรรม สามารถนำามาเป็น
แนวทางในการใช้เหตุผลในกฎหมายได้ในกรณีที่มีข้อเท็จจริงคล้ายคลึงกัน
3. การให้เหตุผลในการเขียนคำาพิพากษาหรือการให้ความเห็นทางกฎหมาย มีหลักการซึ่งต้องคำานึงถึง
หลายประการ เช่นหลักหรือทฤษฎีกฎหมาย หลักการร่างกฎหมาย หลักการตีความกฎหมายและการ
อุดช่องว่างกฎหมาย และหลักอื่นๆ เช่น หลักตรรกวิทยา สามัญสำานึก และศีลธรรมเป็นต้น
4. ในองค์คณะผู้พิจารณาคดีหรือผู้ให้ความเห็นทางกฎหมายอาจมีผู้ไม่เห็นด้วยกับความเห็นของอีก
ฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเป็นฝ่ายข้างมาก กฎหมายให้สิทธิฝ่ายข้างน้อยในการแสดงความเห็นแย้ง เพื่อประโยชน์
ในการทบทวน หรือตรวจสอบคำาพิพากษา หรือความเห็นทางกฎหมายของฝ่ายข้างมาก
เหตุผลในการต่อสู้คดี
การใช้เหตุผลในการต่อสู้คดีมีหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับการใช้เหตุผลในทางกฎหมายอื่นหรือไม่
การใช้เหตุผลในการต่อสู้คดีมีหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับการใช้เหตุผลในทางกฎหมายอื่น เพราะเป็นการใช้
กฎหมายเพื่อรักษาสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณี จึงต้องมีความสมเหตุสมผล เป็นธรรม และสามารถ
จูงใจให้ผู้อ่านคล้อยตามได้
แนวบรรทัดฐานแห่งคำาพิพากษา
ในประเทศไทยสามารถยึดแนวบรรทัดฐานแห่งคำาพิพากษาในการใช้เหตุผลทางกฎหมายได้หรือไม่
เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศในระบบกฎหมายซีวิลลอว์ หรือระบบประมวลกฎหมายจึงไม่จำาเป็น
ต้องยึดแนวคำาพิพากษาเป็นบรรทัดฐานในการใช้เหตุผลทางกฎหมายอย่างไรก็ดีคำาพิพากษาที่มีการใช้เหตุผลที่
ดี สมเหตุ สมผลและเป็นธรรมสามารถนำามาใช้เป็นแนวทางในการใช้เหตุผลในกรณีที่มีข้อเท็จจริงคล้ายคลึงกัน
ได้ในทางปฏิบัติ
เหตุผลในการเขียนคำาพิพากษาและความเห็นทางกฎหมาย
การหาเหตุผลที่ดีมีนำ้าหนักมาอธิบายให้ผู้เกี่ยวข้องยอมรับนับถือได้ จะต้องคำานึงถึงหลักเกณฑ์หรือ
เครื่องมือทางกฎหมายที่สำาคัญอย่างใด
การหาเหตุผลที่ดี มีนำ้าหนัก มาอธิบายให้ผู้เกี่ยวข้องยอมรับนับถือได้ จะต้องคำานึงถึงหลักเกณฑ์หรือ
เครื่องมือทางกฎหมายที่สำาคัญดังต่อไปนี้ คือ
1) หลักหรือทฤษฎีกฎหมาย
2) หลักการร่างกฎหมาย
3) หลักการตีความกฎหมายและการอุดช่องว่างกฎหมาย
4) หลักอื่นๆ เช่น หลักตรรกวิทยา สามัญสำานึก หรือศีลธรรม
การเขียนความเห็นแย้งในคำาพิพากษาหรือการให้ความเห็นทางกฎหมาย
การทำาความเห็นแย้งมีประโยชน์อย่างไร
การทำาความเห็นแย้งมีประโยชน์ในการทำาคำาพิพากษาหรือความเห็นทางกฎหมาย โดยเป็นการเปิด
โอกาสให้ผู้ใช้กฎหมายมีการพิจารณาเรื่องนั้นๆ อย่างรอบด้าน และเลือกใช้เหตุผลทางกฎหมายที่เห็นว่าเหมาะ
สมและเป็นธรรมมากที่สุด
👉 แบบประเมินตนเองหน่วยที่ 5
1. เหตุที่กฎหมายจำาเป็นต้องมีเหตุผลที่ดีคือ เพื่อให้กฎหมายนั้นเป็นที่ยอมรับของสมาชิกในสังคม
2. เหตุผลที่ดีควรมีลักษณะดังนี้ (1) เป็นธรรม (2) รับฟังได้ (3) สมเหตุสมผล (4) มีข้อเท็จจริงสนับสนุนที่
หนักแน่น
3. หลักปรัชญาช่วยในการใช้กฎหมายมีเหตุผลที่ดีคือ เป็นเหตุผลที่มีความเป็นธรรมตามยุคสมัย
4. หลักตรรกวิทยาช่วยให้กฎหมายมีเหตุผลที่ดีคือ (1) เป็นเหตุผลที่มีความสมเหตุสมผล (2) สอดคล้องกับ
ความเห็นของนักปรัชญา (3) เป็นเหตุผลที่มีความเป็นธรรมตามยุคสมัย (4) สอดคล้องกับวิถีชีวิตของ
สมาชิกในสังคม
5. การวิเคราะห์หาเหตุผลของกฎหมายสามารถศึกษาได้จาก (1) ผู้ร่างกฎหมาย (2) การอภิปรายในสภา
(3) บันทึกหลักการและเหตุผล (4) รายงานการประชุมพิจารณาร่างกฎหมาย
6. การค้นหาเหตุผลของกฎหมายตามทฤษฎีอำาเภอการณ์คือการหาเหตุผลจาก ตัวบทบัญญัติของ
กฎหมายนั้นเอง
7. การค้นหาเหตุผลเพื่อสร้างความเป็นธรรมควรพิจารณาจากเหตุผลของ ผู้ร่างกฎหมายประกอบกับตัว
บทบัญญัติของกฎหมาย
8. ผู้ที่สามารถใช้เหตุผลในทางกฎหมายได้คือ ทุกคนที่ใช้กฎหมาย
9. ในการพิจารณาของศาลไทย ศาลไม่ต้องผูกพันตามแนวคำาพิพากษาเพราะประเทศไทยเป็นระบบ
ประมวลกฎหมาย
10. การให้เหตุผลในการเขียนคำาพิพากษาควรคำานึงถึงหลัก (1) หลักศีลธรรม (2) ทฤษฎีกฎหมาย (3) หลัก
ตรรกวิทยา (4) หลักการตีความกฎหมายและการอุดช่องว่าง
11. กฎหมายที่มีการตราโดยมีเหตุผลที่ดีมีประโยชน์คือ ทำาให้กฎหมายสามารถอำานวยความเป็นธรรมได้
เหมาะแก่กรณี
12. เหตุผลที่ดีในการใช้กฎหมายมีที่มาจากหลักการคือ (1) ศีลธรรม (2) ปรัชญา (3) นิติปรัชญา (4)
ตรรกวิทยา
13. การศึกษารายงานการประชุมสภาในการพิจารณาร่างกฎหมายเป็นการค้นหา เหตุผลในลักษณะ
เหตุผลของผู้ร่างกฎหมาย
14. การทำาความเข้าใจกฎหมายจากเนื้อความของกฎหมายเป็นการหาเหตุผลในลักษณะ เหตุผลของตัว
กฎหมายนั้นเอง
15. การค้นหาเจตนารมณ์ของกฎหมายที่นักกฎหมายส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นวิธีที่ดีคือ (1) ค้นหาจากผู้ร่าง
กฎหมาย (2) ค้นหาจากตัวกฎหมายนั้นเอง (3) ค้นหาจากความเห็นของนักวิชาการ (4) ค้นหาจากหลัก
การตีความกฎหมายทั่วไป
16. การใช้เหตุผลในทางกฎหมายสามารถปรากฏได้ใน (1) การต่อสู้คดี (2) คำาพิพากษาของศาล (3)
บทบัญญัติของกฎหมาย (4) การให้ความเห็นทางกฎหมาย
17. ลักษณะเฉพาะของศาลในระบบซีวิลลอว์ ศาลไม่ต้องผูกพันตามแนวบรรทัดฐาน
18. การให้เหตุผลในการให้ความเห็นทางกฎหมายควรคำานึงถึงหลักในเรื่อง (1) หลักศีลธรรม (2) หลัก
ตรรกวิทยา (3) หลักการร่างกฎหมาย (4) หลักหรือทฤษฎีกฎหมาย
หน่วยที่ 6 กฎหมายกับการพัฒนาสังคม
1. สิทธิและเสรีภาพของบุคคลจะมีหลักประกันให้มั่นคงอยู่ได้ก็ต้องอาศัยกฎหมายเป็นสิ่งสำาคัญ
2. กฎหมายกับสังคมเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด การที่จะควบคุมสังคมได้ย่อมอาศัยกฎหมาย
เข้ามาช่วย
3. ในกรณีที่สังคมจะพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ย่อมต้องอาศัยกฎหมาย สังคมจะเปลี่ยนแปลงไปได้
อย่างมั่นคง
4. กฎหมายมีความจำาเป็นต้องตราออกมาควบคู่กับสังคมยุควิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เพื่อควบคุมการใช้
เทคโนโลยีในทางที่ถูกที่ควร
กฎหมายกับหลักประกันสิทธิเสรีภาพ
1. มนุษย์ต้องมีสิทธิต่างๆ อย่างที่มนุษย์มีกัน และจะต้องมีอยู่อย่างเท่าเทียมกัน ไม่ถูกกีดกัน การจำากัด
สิทธิจะมีได้แต่กฎหมายเท่านั้น
2. ประเทศไทยได้กำาหนดหลักประกันสิทธิ เสรีภาพของปวงชนชาวไทยไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณา
จักรไทย ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ
3. การใช้สิทธิและเสรีภาพของมนุษย์ในสังคมจะต้องมีกฎหมายควบคุมเสมอ
สิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชนหมายถึงอะไร
สิทธิมนุษยชนหมายถึง สิทธิความเป็นมนุษย์หรือสิทธิในความเป็นคน อันเป็นสิทธิตามธรรมชาติของ
มนุษย์ทุกคนที่เกิดมาก็มีสิทธิติดตัวมาตั้งแต่เกิด
หลักประกันสิทธิ เสรีภาพตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญได้กำาหนดขอบเขตการใช้สิทธิและเสรีภาพของบุคคลไว้เพียงใด
รัฐธรรมนูญได้กำาหนดขอบเขตการใช้สิทธิและเสรีภาพของบุคคลไว้ว่า บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตาม
รัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข หรือเพื่อให้ได้มาซึ่ง
อำานาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมิได้
กฎหมายกับสังคม
กฎหมายกับสังคมมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
กฎหมายเป็นสิ่งสำาคัญสำาหรับสังคม ซึ่งกฎหมายจะต้องเกิดขึ้นเสมอพร้อมกันไปกับการเปลี่ยนแปลง
ของสังคม ซึ่งหากมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางชั่วร้าย กฎหมายจะต้องเข้าไปควบคุมสังคมนั้นให้ดี เมื่อสังคมได้
เปลี่ยนแปลงไปก็ต้องมีการแก้ไขกฎหมายให้ทันต่อเหตุการณ์นั้น กฎหมายจึงได้ออกมาตามการเปลี่ยนแปลงใน
ทางสังคม ลักษณะของกฎหมายจึงต้องบัญญัติโดยคำานึงถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมในอนาคตจึงจะถือว่า
เป็นกฎหมายที่ดี
กฎหมายกับการควบคุมสังคม
1. กฎหมายมีความสำาคัญต่อความสงบเรียบร้อยในสังคมเป็นอย่างยิ่ง เพราะกฎหมายสามารถควบคุม
สังคมให้ตกอยู่ในความสงบเรียบร้อยได้
2. ความเป็นธรรมในสังคมจะมีได้ต้องอาศัยความถูกต้องของกฎหมายเท่านั้น
3. ปัญหาทุกปัญหาทางสังคมสามารถแก้ไขให้ยุติได้ด้วยกฎหมาย
กฎหมายกับความสงบเรียบร้อยของสังคม
กฎหมายเกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยของสังคมอย่างไร
ในแต่ละสังคมย่อมจะต้องมีกฎระเบียบ วินัย ทั้งนี้เพื่อให้สังคมนั้นมีความสงบเรียบร้อยได้ กฎ ระเบียบ
วินัย เช่นว่านี้จะต้องมีสภาพบังคับในสังคมนั้นได้ จึงจะทำาให้สังคมมีความสงบเรียบร้อย กรณีที่จะให้มีสภาพ
บังคับได้จะต้องตราขึ้นเป็นกฎหมาย เมื่อได้ตรากฎหมายขึ้นมาแล้ว ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามบทกฎหมายนั้นย่อมเป็นผู้
ก่อความไม่เรียบร้อยขึ้น ก็จะต้องถูกลงโทษไม่ว่าจะเป็นทางแพ่งหรืออาญา ความสงบเรียบร้อยก็ย่อมจะมีขึ้นได้
กฎหมายกับความเป็นธรรมในสังคม
เมื่อความไม่เป็นธรรมในสังคมเกิดขึ้นจะแก้ไขด้วยกฎหมายอย่างไร เพราะอะไร
สังคมที่ขาดความเป็นธรรม การที่จะแก้ไขต้องออกกฎหมายมาแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิ่งไม่เป็นธรรมนั้น
เพราะกฎหมายมีสภาพบังคับ สามารถออกกฎหมายให้ยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงการกระทำานั้นเสีย ความเป็น
ธรรมในสังคมนั้นก็จะเกิดขึ้น
กฎหมายกับการแก้ปัญหาในสังคม
กฎหมายช่วยแก้ไขปัญหาทางสังคมอย่างไร
เมื่อสังคมนั้นเกิดความขัดแย้งยากที่จะประสานให้เกิดความสามัคคีกันได้วิธีการที่จะขจัดปัญหาในทาง
สังคมได้จะต้องอาศัยกฎหมายเป็นสำาคัญเพราะหากมีกฎหมายบัญญัติในปัญหานั้นไว้อย่างไรแล้วก็ต้องปฏิบัติ
การให้เป็นไปตามกฎหมายหรือบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายนั้น ปัญหาข้อขัดแย้งก็เป็นอันยุติได้ หากมี
ปัญหาขึ้นแต่ยังไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้ง ก็สามารถตรากฎหมายเพื่อขจัดปัญหานั้นให้เสร็จสิ้นไปโดย
ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎหมายจึงมีความสำาคัญที่สามารถแก้ปัญหาในสังคมได้
กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาสังคม
1. การพัฒนาการเมือง จะต้องตราบที่กฎหมายหรือระเบียบแบบแผนต่างๆ ให้ชัดเจน เพื่อให้นักการ
เมืองได้มีการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมนั้นอย่างมีสภาพบังคับได้
2. การที่จะพัฒนาระบบเศรษฐกิจแบบเสรีได้ต้องอาศัยการออกกฎหมายมาบังคับเป็นสำาคัญ
3. การออกกฎหมายเพื่อพัฒนาสังคมสิ่งแวดล้อมนั้นจะต้องคำานึงถึงการพัฒนาคนและจิตใจของคนด้วย
กฎหมายกับการพัฒนาการเมือง
รัฐจะต้องพัฒนาทางการเมืองอย่างไร
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้กำาหนดว่า รัฐต้องจัดให้มีแผนพัฒนาการเมือง จัดทำา
มาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำารงตำาแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ และพนักงาน หรือลูกจ้างอื่น
ของรัฐ เพื่อป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ (รัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 40)
กฎหมายกับการพัฒนาเศรษฐกิจ
กฎหมายมีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาเศรษฐกิจแบบเสรีอย่างไร
ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่บรรลุเป้าหมายได้ ต้องอาศัยและเกี่ยวข้องกับกฎหมายทั้งสิ้น
เพราะหากไม่มีกฎหมายบังคับ การพัฒนาเศรษฐกิจก็ไม่อาจจะกระทำาได้สำาเร็จ และหากกฎหมายใดที่มีอยู่
เป็นการขัดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจแบบเสรี ก็ต้องยกเลิกกฎหมายฉบับนั้นเสีย หรืออาจจะมีการแก้ไขกฎหมาย
นั้นให้สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจแบบเสรีก็ได้
กฎหมายกับการพัฒนาสังคม สิ่งแวดล้อม
การพัฒนาคนต้องอาศัยกฎหมายให้มีการพัฒนาทางด้านใด จึงจะทำาให้สังคมมีความสงบสุข
การพัฒนาคนควรจะต้องมีกฎหมายให้มีการพัฒนาทางด้านจิตใจ เพราะตามหลักในการดำาเนินชีวิต
และการดำารงประเทศ จะต้องอาศัยจิตใจของคนเป็นสำาคัญ โดยจะต้องพัฒนาทางจิตใจของคนในสังคมให้มี
ธรรมะหรือให้มีคุณธรรม ทำาแต่ความดี เพื่อให้จิตใจมีความสงบ ก็จะทำาให้สังคมมีความราบรื่นมีความสงบสุข
กฎหมายกับสังคมยุควิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1. การที่จะพัฒนาวิทยาศาสตร์ให้ไปสู่ความสำาเร็จได้ ต้องอาศัยการตรากฎหมายขึ้นมาเพื่อให้มีสภาพ
บังคับได้
2. การทำาธุรกรรมทางอิเลคทรอนิกส์จะให้มีผลบังคับกันได้ จะต้องมีกฎหมายรับรอง
3. การวิจัยทางวิทยาศาสตร์จะบรรลุเป้าหมายและความสำาเร็จได้ ต้องอาศัยกฎหมายเป็นสำาคัญ
4. การที่จะไม่ให้มีการทำาลายสิ่งแวดล้อม ก็ต้องตราเป็นกฎหมายบังคับ จึงจะมีโอกาสสัมฤทธิ์ผลได้
กฎหมายกับงานด้านวิทยาศาสตร์
ขณะนี้มีกฎหมายอะไรบ้างที่เกี่ยวกับงานด้านวิทยาศาสตร์
ในขณะนี้มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานด้านวิทยาศาสตร์อยู่ 2 ฉบับ คือ
1) พระราชบัญญัติพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2534
2) พระราชบัญญัติพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ พ.ศ. 2540
กฎหมายกับคอมพิวเตอร์
ในปัจจุบันมีกฎหมายเกี่ยวกับงานด้านคอมพิวเตอร์อย่างไร
มีกฎหมายอยู่ 2 ลักษณะด้วยกัน คือ
1) กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้แก่ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทาง
อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544
2) กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต ซึ่งได้แก่ พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจ
ข้อมูลเครดิต พ.ศ. 2545
กฎหมายกับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์
ในกรณีที่จะพัฒนาการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ให้ประสบความสำาเร็จต่อไปนั้น ควรจะต้องทำาอย่างไร
หากมีการพัฒนาให้มีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ให้สำาเร็จต่อไปนั้น จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง แก้ไข
กฎหมายให้มีผลรองรับความก้าวหน้าในการพัฒนานั้น
กฎหมายกับสิ่งแวดล้อมในอนาคต
สิ่งแวดล้อมที่ทำาให้สังคมเกิดความเปลี่ยนแปลงในอนาคตจะอาศัยกฎหมายได้อย่างไร
สิ่งแวดล้อมที่ทำาให้สังคมเปลี่ยนแปลงในอนาคตซึ่งรัฐบาลจะต้องเข้าควบคุม จำาเป็นที่รัฐจะต้องออก
กฎหมายเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อมนี้ ทำาการควบคุมและห้ามกระทำาหรือให้กระทำาเพื่อไม่ให้สังคมต้อง
กระทบ กระเทือนต่อไปอีก
👉 แบบประเมินตนเองหน่วยที่ 6
1. การพัฒนาสังคมจะเกิดผลสำาเร็จได้ต้องอาศัย กฎหมาย
2. สิทธิและเสรีภาพของบุคคลจะมีอยู่ในสังคมได้นั้นต้องอาศัย กฎหมาย รองรับ
3. สิทธิมนุษยชนหมายถึง สิทธิความเป็นมนุษย์
4. ในเรื่องที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้กำาหนดสิทธิ และเสรีภาพของปวงชนชาวไทยไว้ ได้แก่
เสรีภาพในการวิจัยทางวิมทยาศาสตร์
5. กฎหมายได้พัฒนาขึ้นมาจาก ระเบียบที่ใช้ในสังคม
6. กฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อประโยชน์ของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจะเป็นลักษณะ กฎหมายที่ขาดความเป็นธรรม
7. เหตุที่การแก้ปัญหาในสังคมจะต้องอาศัยกฎหมาย เพราะกฎหมายมีสภาพบังคับใช้
8. การที่จะพัฒนาระบบเศรษฐกิจแบบเสรีได้สำาเร็จ ต้องให้รัฐเปลี่ยนแปลงกฎหมาย
9. การที่จะเป็นนักปกครองบ้านเมืองที่ดี นักปกครองจะต้องมี ธรรมะประจำาใจ
10. การทำาธุรกรรมทางอิเลคทรอนิกส์จะเกิดผลเป็นความสำาเร็จได้ต้องอาศัย กฎหมายที่บัญญัติขึ้น
11. สิ่งที่ทำาให้สังคมมีระเบียบได้คือ คำาสั่งของผู้มีอำานาจปกครองประเทศสูงสุด
12. สิทธิของคนหมายความว่า ประโยชน์ที่จะพึงมีพึงได้แก่ทุกคนตามหลักธรรมชาติ
13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยประกาศความเป็นมนุษย์ของชนชาวไทยไว้ว่า องค์กรของรัฐทุก
องค์กรที่ใช้อำานาจต้องคำานึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ
14. กฎหมายที่จะควบคุมสังคมได้จะต้องมีลักษณะ มีสภาพบังคับได้
15. การที่จะให้สังคมมีความสงบเรียบร้อยได้ต้องอาศัย กฎหมาย
16. กฎหมาย เป็นบทบาทสำาคัญที่จะสร้างความเป็นธรรมให้แก่สังคมได้
17. เมื่อสังคมเกิดปัญหาขัดแย้งรุนแรงขึ้นจะต้องอาศัย กฎหมายในการแก้ไขปัญหานั้น
18. นโยบายของรัฐตามรัฐธรรมนูญนั้นได้กล่าวถึงด้านการเมืองว่า (ก) รัฐจะต้องจัดให้มีแผนพัฒนาการ
เมือง (ข) รัฐจะต้องจัดทำามาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำารงตำาแหน่งทางการเมือง
19. ตามรัฐธรรมนูญให้รัฐจะต้องสนับสนุนเศรษฐกิจแบบ เสรี โดยอาศัยกลไกตลาดกำากับ ดูแลให้มีการ
แข่งขันแบบเป็นธรรม
20. การที่จะไม่ให้มีการทำาลายสิ่งแวดล้อมนั้นจะทำาได้โดย ออกเป็นกฎหมายบังคับ
หน่วยที่ 7 การศึกษา ค้นคว้า และวิจัยทางนิติศาสตร์
1. การศึกษาทางนิติศาสตร์ เป็นการเรียนรู้อย่างหนึ่งที่ต้องอาศัยขั้นตอนต่างจากการเรียนรู้วิชาอื่น เนื่อง
จากเป็นวิชาที่ต้องมีการประเมินสิ่งที่ผู้เรียนมีอยู่ อาทิ ด้านกายภาพ ด้านจิตวิทยา ด้านศักยภาพ
เป็นต้น นอกจากนั้น ต้องมีวิธีการศึกษาในชั้นเรียนในกรณีศึกษาการศึกษาในระบบปิด หรือมีวิธีการใน
การศึกษาด้วยตนเองในกรณีที่เป็นการเรียนในระบบเปิด เช่น การศึกษาทางไกล ซึ่งผู้เรียนต้องมีสื่อใน
การศึกษา คือ ตำาราและหนังสือต่างๆ รวมถึงการได้รับการสอนเสริมและการศึกษาเป็นกลุ่ม สิ่งที่สำาคัญ
สุดท้ายคือ วิธีตอบปัญหาและข้อสอบกฎหมาย
2. การค้นคว้าทางนิติศาสตร์ เป็นวิธีการที่ค้นหาแหล่งที่มาของความรู้ด้านต่างๆ ทางด้านนิติศาสตร์และ
ศาสตร์ความรู้อื่นที่นำามาใช้ผสมผสานกับความรู้ทางด้านกฎหมาย เป็นการค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลปฐม
ภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ โดยผ่านสื่อการศึกษา เช่นค้นคว้าจากตำาราจากห้องสมุด อาจารย์หรือบุคคลที่
เป็นที่ยอมรับในทางวิชาการ รวมทั้งการสังเกตจากวิธีปฏิบัติจริง นอกจากนี้ แหล่งค้นคว้าที่สำาคัญที่สุด
คือระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งผู้เรียนต้องมีเทคนิคในการค้นหา และทราบเว็บไซต์หรือแหล่งที่อยู่ที่
สำาคัญต่างๆ
3. การวิจัยทางนิติศาสตร์ เป็นการค้นหาความรู้หรือคำาตอบทางกฎหมายของแต่ละปัญหาที่มีความน่าเชื่อ
ถือ โดยมีวิธีการวิจัยหรือที่เรียกว่า วิทยวิธี ที่ใช้เป็นหลักในการทำาวิจัย การวิจัยทางนิติศาสตร์จำาเป็น
ต้องอาศัยข้อมูลจากตัวบทกฎหมาย คำาพิพากษา และตำาราต่างๆ โดยสามารถทำาได้ทั้งในเชิงคุณภาพ
และเชิงปริมาณ ในการศึกษาชั้นปริญญาตรีจะไม่เน้นการทำาวิจัย แต่ผู้เรียนควรทราบไว้เป็นความรู้เบื้อง
ต้นเพื่อเป็นแนว หรือเพื่อการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาต่อไป
7.1 การศึกษาทางนิติศาสตร์
1. ในการศึกษาทางนิติศาสตร์ ผู้เรียนต้องประเมินสิ่งที่ผู้เรียนมีอยู่ก่อนที่จะศึกษา สิ่งเหล่านี้คือความพร้อม
ด้านกายภาพ ด้านจิตวิทยา ด้านอารมณ์ ด้านสังคม รวมทั้งด้านการเงิน เพื่อให้การใช้ทรัพยากรหรือสิ่ง
ที่ผู้เรียนมีอยู่ดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล โดยคำานึงถึงลำาดับความสำาคัญ
2. วิธีการศึกษาทางนิติศาสตร์มีทั้งการศึกษาในชั้นเรียนในกรณีการศึกษาในระบบปิด หรือการศึกษาด้วย
ตนเองในกรณีที่เป็นการเรียนในระบบเปิด เช่นการศึกษาทางไกล ซึ่งทั้งสองวิธีผู้เรียนต้องมีสื่อในการ
ศึกษาคือ ตำาราและหนังสือต่างๆ มีการเตรียมตัวก่อนศึกษา และมีการทบทวนหลังการศึกษา โดยอาจ
กระทำาด้วยตนเองหรือศึกษาเป็นกลุ่ม ซึ่งรวมถึงการได้รับการสอนเสริมในระบบเปิดด้วย
3. โดยทั่วไป วิธีตอบปัญหาและข้อสอบกฎหมายนิยมใช้แบบอัตนัยในสองรูปแบบ คือ อธิบายหลัก
กฎหมาย และที่เป็นปัญหาสมมติหรือตั้งเป็นตุ๊กตา ส่วนในสถานศึกษาบางแห่ง อาจมีข้อสอบแบบ
ปรนัยและอัตนัยผสมกัน การตอบข้อสอบจึงต้องมีหลักเกณฑ์ในการตอบข้อสอบกฎหมาย
7.1.1 การประเมินสิ่งที่ผู้เรียนมีอยู่
อธิบายว่าในการศึกษาทางนิติศาสตร์ ผู้เรียนต้องประเมินสิ่งที่ผู้เรียนมีอยู่ก่อนที่จะศึกษาอย่างไร
การที่ผู้เรียนต้องประเมินสิ่งที่ผู้เรียนมีอยู่ก่อนที่จะศึกษาคือ การพิจารณาความพร้อมด้านกายภาพ ด้าน
จิตวิทยา ด้านอารมณ์ ด้านสังคม รวมทั้งด้านการเงิน เพื่อให้การใช้ทรัพยากรหรือสิ่งที่ผู้เรียนมีอยู่ดังกล่าวเป็นไป
อย่างมีประสิทธิผล
7.1.2 วิธีการศึกษา
อธิบายวิธีการศึกษาตัวบทกฎหมาย
วิธีการศึกษาตัวบทกฎหมายจะต้องมีความเข้าใจมากกว่าการท่องจำา การอ่านตัวบทกฎหมายนั้นต้อง
อ่านแล้วขีดเส้นใต้ถ้อยคำาสำาคัญ ไม่ต้องกลัวว่าประมวลกฎหมายหรือตัวบทกฎหมายจะดูไม่เรียบร้อยหรือ
สกปรกเมื่อมีการขีดเส้นใต้แล้วหากไม่เข้าใจอย่างชัดแจ้งหรือยากต่อการเข้าใจ ผู้เรียนต้องอาศัยหลักการบันทึก
ย่อขยายความเอาไว้ โดยอาจได้มาจากเอกสารการสอนหรือมาตราในตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวโยง หรือพิพากษา
ศาลฎีกาที่พิพากษาตีความถ้อยคำานั้นไว้แล้ว โดยให้บันทึกย่อในตัวบทกฎหมายนั้น หากเนื้อที่ไม่เพียงพอให้ใช้
กระดาษเปล่าทำาเป็นบันทึกต่อ
7.1.3 การตอบปัญหาและข้อสอบกฎหมาย
อธิบายวิธีการเขียนตอบข้อสอบแบบอัตนัย
ต้องมีหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น ต้องวินิจฉัยปัญหาโดยปรับข้อเท็จจริงเข้ากับหลักกฎหมาย
และสุดท้ายคือ การสรุปคำาตอบ
7.2 การค้นคว้าทางนิติศาสตร์
1. แหล่งสะสมตัวบทกฎหมาย เอกสารการสอน ตำารา และวรรณกรรมกฎหมายทุกประเภทที่ดีที่สุด
ได้แก่ ห้องสมุดกฎหมาย ผู้เรียนนิติศาสตร์จะต้องเข้าห้องสมุดกฎหมายเพื่อศึกษาการค้นหาเอกสาร
ที่ต้องการ ทั้งจากบัตรรายการและเครื่องมือสืบค้นต่างๆ รวมถึงฐานข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ ซีดีรอม
อินเทอร์เนต และอาจเป็นวิธีการสืบค้นและยืมเอกสารระหว่างห้องสมุดกฎหมาย
2. การค้นคว้าข้อมูลกฎหมายจากบุคคลอื่น อาจเป็นกรณีการสอนเสริม ซึ่งเป็นวิธีค้นคว้าจากอาจารย์ที่
ไปสอนเสริมและพบปะนักศึกษาหรือผู้เรียนเป็นคราวๆ หรือกรณีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับกลุ่มเพื่อน
หรือเป็นกรณีที่ได้รับคำาแนะนำาจากผู้ที่เป็นที่ยอมรับในวงการกฎหมาย
3. การค้นคว้าข้อมูลทางกฎหมายโดยการสังเกตและฝึกปฏิบัติ อาจโดยการสังเกตจากสถานการณ์ที่
เป็นจริง เช่น การพิจารณาในศาล หรือศาลจำาลอง และ การฝึกงานในหน่วยงานที่เกี่ยวกับกฎหมาย
4. การค้นคว้าข้อมูลทางกฎหมายในเครือข่ายอินเทอร์เนต เป็นแหล่งสำาคัญในการค้นคว้าทางกฎหมาย
การค้นหาจึงต้องอาศัย Internet Search Engine เพื่อค้นหาเว็บไซต์ แหลางข้อมูลที่เกี่ยวข้องและ
แหล่งข้อมูลที่เชื่อมต่อที่เกี่ยวข้อง (Links)
7.2.1 การค้นคว้าข้อมูลกฎหมายจากห้องสมุด
อธิบายหน้าที่และวัตถุประสงค์ของห้องสมุดกฎหมาย
หน้าที่และวัตถุประสงค์ของห้องสมุดกฎหมายคือ เพื่อการศึกษา เพื่อให้ความรู้และข่าวสาร เพื่อการ
ค้นคว้าวิจัย และเพื่อความจรรโลงใจ
7.2.2 การค้นคว้าข้อมูลกฎหมายจากบุคคลอื่น
อธิบายวิธีการค้นคว้าข้อมูลกฎหมายจากบุคคลอื่น
อาจเป็นกรณีสอนเสริม ซึ่งเป็นวิธีค้นคว้าจากอาจารย์ที่ไปสอนเสริม หรือกรณีแลกเปลี่ยนข้อมูลกับกลุ่ม
เพื่อน หรือเป็นกรณีที่ได้รับคำาแนะนำาจากผู้ที่เป็นที่ยอมรับในวงการกฎหมาย
7.2.3 การค้นคว้าข้อมูลกฎหมายจากการสังเกตและฝึกปฏิบัติ
อธิบายการฝึกงานในสำานักงานกฎหมายว่ามีลักษณะงานอย่างไร
ผู้เรียนจะได้ฝึกในลักษณะที่คอยช่วยเหลือ หรือภายใต้การควบคุมมอบหมายของทนายความที่ดูแลผู้
เรียนที่ไปฝึกหัดจะทำางานด้านการค้นคว้าข้อกฎหมายต่างๆ ค้นคำาพิพากษาฎีกา ทำาความเห็นต่างๆ ร่างเอกสาร
ต่างๆ เช่น หนังสือทวงหนี้ หนังสือบอกกล่าว คำาร้อง หรือคำาฟ้อง เป็นต้น
7.2.4 การค้นคว้าข้อมูลกฎหมายจากเครือข่ายอินเทอร์เนต
อธิบายวิธีการใช้ข้อมูลที่ได้จากอินเทอร์เนตที่สำาคัญ
การใช้ข้อมูลที่ได้จากอินเทอร์เนต ต้องตรวจสอบความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ได้มาก่อนนำา
ไปใช้
7.3 การวิจัยทางนิติศาสตร์
1. การวิจัยเป็นกระบวนการค้นคว้าหาความรู้ ความเข้าใจในสิ่งหรือปรากฏการณ์ที่เป็นเป้าหมายของการ
ศึกษาเพื่อให้เกิดผลที่เชื่อมั่นได้
2. วิธีการวิจัยทางนิติศาสตร์เป็นกระบวนการศึกษาจากปัญหากฎหมาย โดยนำาข้อมูลจากตัวกฎหมาย
บทความ คำาพิพากษา หลักกฎหมายต่างประเทศมาเปรียบเทียบ วิเคราะห์กับปัญหาหรือหัวข้อที่ตั้งขึ้น
โดยไม่ใช้วิธีการทางสถิติ แล้วสรุปลงท้ายด้วยข้อเสนอแนะว่าควรมีการแก้ไข กฎหมายที่มีอยู่ให้
ครอบคลุม หรือมีการตรากฎหมายขึ้นใหม่ นอกจากนั้น วิธีการวิจัยทางนิติศาสตร์ยังรวมถึงกระบวนการ
ศึกษาปัญหากฎหมาย โดยได้ข้อมูลจากความจริง โดยธรรมชาติมีการเก็บข้อมูล และนำาวิธีการทางสถิติ
มาวิเคราะห์เพื่อประมาณค่า วิเคราะห์กับปัญหาที่ตั้งขึ้นแล้วสรุปว่าควรมีการแก้ไข ปรับปรุงกฎหมาย
หรือปัญหาที่ตั้งขึ้นอย่างไร ตามที่ได้ตั้งในสมมติฐานไว้
3. การวิจัยทางนิติศาสตร์มีประโยชน์ต่อการพัฒนาการวิทยาการทางกฎหมาย และเป็นการถ่ายทอด
ประสบการณ์จากคนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง
7.3.1 ลักษณะทั่วไปของการวิจัย
การวิจัยทางนิติศาสตร์ หากแบ่งตามสาขาวิชาการจะเป็นการวิจัยด้านใด
การวิจัยทางนิติศาสตร์ เป็นการวิจัยด้านสังคมศาสตร์
7.3.2 วิธีการวิจัยทางนิติศาสตร์
การวิจัยทางนิติศาสตร์โดยทั่วไปมีกรณีใดบ้าง
โดยทั่วไปแล้วการวิจัยทางนิติศาสตร์ในเบื้องต้นมี 2 กรณี คือ กรณีแรก ศึกษาจากปัญหากฎหมายนำา
ข้อมูลจากตัวกฎหมาย บทความ คำาพิพากษา หลักกฎหมายต่างประเทศ มาเปรียบเทียบ วิเคราะห์กับปัญหา
หรือหัวข้อที่ตั้งขึ้น โดยไม่ใช้วิธีการทางสถิติ แล้วสรุปลงท้ายด้วยข้อเสนอ กับกรณีที่สอง ศึกษาปัญหากฎหมาย
โดยได้ข้อมูลจากความจริงโดยธรรมชาติหรือข้อมูลปฐมภูมิ มีการเก็บข้อมูล และวิธีการทางสถิติมาวิเคราะห์เพื่อ
ประมาณค่า วิเคราะห์กับปัญหาที่ตั้งขึ้นแล้วสรุป
7.3.3 ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัยทางนิติศาสตร์
การวินิจฉัยทางนิติศาสตร์มีประโยชน์อย่างไร อธิบายมา 3 ประการ
1) พัฒนากฎหมายที่จะมีผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศ
2) เป็นการถ่ายทอดประสบการณ์จากนักกฎหมายรุ่นหนึ่งไปยังนักกฎหมายอีกรุ่นหนึ่ง ซึ่งเป็นวิธีการที่
นักกฎหมายจะได้เพิ่มพูนวิทยาการความรู้ และความสามารถ
3) ช่วยให้ค้นพบทฤษฎี หรือแนวคิดทางกฎหมายใหม่ที่นำามาปรับใช้กับสภาพสังคมปัจจุบันที่
เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
👉 แบบประเมินตนเองหน่วยที่ 7
1. ในการศึกษาทางนิติศาสตร์ ผู้เรียนต้องมีสิ่งเหล่านี้ (ก) แรงจูงใจในการเรียนรู้ (ข) การติดต่อและร่วมมือ
กับเพื่อนๆ (ค) ความเป็นผู้ตื่นตัว (ง) ความอดทนต่อสิ่งที่กำากวม
2. ในการศึกษาทางนิติศาสตร์ ผู้เรียนต้องมีความอดทนต่อสิ่งที่กำากวมหมายความว่า (ก) ต้องคิดใน
ปัญหาต่างๆ (ข) ต้องมีการตีความในเรื่องต่างๆ (ค) ต้องอธิบายและโต้แย้งในความคิด
3. กฎหมายครอบครัวเรื่องอายุสมรสว่าชายหญิงต้องมีอายุท่าใด มีศาสตร์ที่เกี่ยวข้องคือ นิติศาสตร์
เศรษฐศาสตร์ ประชากรศาสตร์ ศาสนศาสตร์ รัฐศาสตร์
4. กฎหมายครอบครัวเรื่องอายุสมรสว่าชายและหญิงต้องมีอายุเท่าใด มีศาสตร์ที่เรียกว่า”ประชากร
ศาสตร์” เกี่ยวข้องคือ เป็นการกำาหนดอัตราการเพิ่มและลดของพลเมือง
5. วิธีศึกษาตัวบทกฎหมายที่ดี จะต้องทำาในสิ่งต่อไปรี้คือ (ก) อ่านแล้วขีดเส้นใต้คำาต่างๆ (ข) บันทึกย่อ
ข้อความ (ค) ศึกษาคำาพิพากษาฎีกาที่ตีความถ้อยคำาต่างๆ (ง) ศึกษามาตราอื่นที่เกี่ยวโยงกัน ส่วนเรื่อง
การท่องจำาให้ได้มากที่สุดนั้น ไม่ค่อยมีความจำาเป็น
6. การศึกษาตัวบทกฎหมายที่ดี ไม่ควรใช้การท่องจำาให้ได้ทุกมาตรา โดยคิดว่าจะทำาให้ตอบข้อสอบได้
มากที่สุด
7. ในการตอบข้อสอบนิติศาสตร์แบบอัตนัยนั้น อย่าเพิ่งตอบในขณะที่ยังตื่นเต้น
8. การค้นคว้าข้อมูลกฎหมายจากห้องสมุด เราสามารถสามารถใช้บริการสิ่งเหล่านี้คือ (ก) ยืมหนังสือ
ระหว่างห้องสมุด (ข) ใช้บริการหนังสืออ้างอิง (ค) สืบค้นข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ ( ง ) ยืมหนังสือเพื่อถ่าย
อกสาร แต่ไม่สามารถทำาได้ คือการจัดกลุ่มพูดคุยถกปัญหากฎหมาย
9. การค้นคว้าข้อมูลกฎหมายจากบุคคลอื่น “คำาว่าบุคคลอื่น” หมายถึงบุคคลต่อไปนี้คือ (ก) อาจารย์ผู้
สอนชุดวิชา (ข) อาจารย์กฎหมายสถาบันอื่น (ค) ผู้พิพากษา พนักงานอัยการ (ง) ปรมาจารย์ทาง
กฎหมาย ยกเว้นบุคคล เช่น เพื่อนนักศึกษาสาขาวิชาศิลปะศาสตร์
10. การค้นคว้าข้อมูลกฎหมายโดยการสังเกตและฝึกปฏิบัติเกี่ยวข้องกับสิ่งต่อไปนี้ (ก) ศาลจำาลอง (ข) การ
ฝึกงานในหน่วยงานราชการ (ค) การฝึกงานในบริษัท (ง) การสังเกตวิธีพิจารณาในศาล ยกเว้นการ
สอบถามบุคคลอื่นปากต่อปากไม่ใช่การค้นคว้า
11. การสืบค้นข้อมูลกฎหมายในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีปัญหาคือ (ก) ไม่มีแหล่งข้อมูลที่เพียงพอ (ข) ข้อมูล
ไม่ถูกต้องและขาดความน่าเชื่อถือ (ค) ข้อมูลไม่มีการจัดเป็นระเบียบ
12. การเขียนรายงานการวิจัยทางนิติศาสตร์มี 5 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 4 คือ บูรณาการกฎหมายกับข้อมูลหรือ
ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับปัญหา
13. การวิจัยเหตุของการเลื่อนคดีในศาลที่ทำาให้การพิจารณาคดีล่าช้า ผลการวิจัยสามารถนำามาใช้ในการ
พัฒนาวิธีจัดการและตัดสินใจของบุคคลต่อไปนี้ (ก) คู่ความ (ข) ทนายความ (ค) พนักงานอัยการ (ง) ผู้
พิพากษา โดยยกเว้นบุคคลต่อไปนี้คือ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ซึ่งไม่เกี่ยวข้อง
14. การเขียนตอบข้อสอบแบบอัตนัยว่า “ข้าพเจ้าเคยครอบครองปรปักษ์ที่ดินเช่นเดียวกับการครอบ ครอง
ในคำาถาม” เป็นการตอบที่ไม่ควรทำา เพราะเป็นการเขียนประสบการณ์ส่วนตัวประกอบคำาตอบ
15. การค้นคว้าข้อมูลกฎหมายจากจากห้องสมุด เราสามารถใช้บริการได้คือ (ก) ใช้บริการหนังสืออ้างอิง
(ข) สืบค้นข้อมูลจากคอมพิวเตอร ์ สว่ นการจัดกลุ่มพูดคุยถกปัญหากฎหมายห้ามทำา
16. การค้นคว้าข้อมูลกฎหมายจากบุคคลอื่นหมายถึงสิ่งต่อไปนี้ (ก) การสอนเสริมของอาจารย์จากสถาบัน
อื่น (ข) การสอนเสริมจากผู้ทรงคุณวุฒิ (ค) การได้รับคำาแนะนำาจากปรมาจารย์ทางกฎหมาย (ง) การ
ศึกษาเป็นกลุ่ม ยกเว้นการศึกษาจากศาลจำาลอง
17. การค้นคว้าข้อมูลกฎหมายโดยการฝึกปฏิบัติเกี่ยวข้องกับสิ่งต่อไปนี้ (ก) ศาลจำาลอง (ข) การฝึกงานใน
หน่วยงานราชการ (ค) การฝึกงานในบริษัท (ง) การเป็นผู้ช่วยทนายความ ยกเว้นการนั่งในห้อง
พิจารณาคดีในศาล
18. ตัวอย่างการค้นข้อมูลกฎหมายในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเช่น www.thailandlaw9.com
19. การเขียนรายงานการวิจัยทางนิติศาสตร์มี 5 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 5 คือ สรุปและเสนอแนะ
20. การวิจัยว่า วิธีการควบคุมระบบสำานวนคดีโดยใช้ฐานข้อมูล หรือแถบรหัส หรือใช้มือ วิธีการใดสามารถ
ใช้ปฏิบัติงานได้ เป็นประโยชน์การทำาวิจัยทางนิติศาสตร์คือ เป็นการเลือกวิธีปฏิบัติงาน
หน่วยที่ 8 การบัญญัติกฎหมาย
1. การบัญญัติกฎหมายตองทำาตามวิธีการ เป็นขั้นตอน คือ จัดทำาร่างกฎหมาย เสนอร่างกฎหมายต่อผู้มี
อำานาจพิจารณา พิจารณาร่างกฎหมายเพื่อรับหลักการและแก้ไข ปรับปรุงให้เหมาะสม นำากฎหมายที่
พิจารณาเห็นชอบแล้วขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษา เพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมาย
2. การบัญญัติกฎหมายต้องคำานึงถึงหลักบางประการได้แก่ ความถูกต้อง ความแน่นอน ความสมบูรณ์
ความศักดิ์สิทธิ์ และสัมฤทธิ์ผล รวมทั้งความนิยมด้วย
8.1 วิธีการบัญญัติกฎหมาย
1. ผู้มีสิทธิเสนอให้บัญญัติกฎหมาย คือผู้ที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำาหนดไว้
2. การบัญญัติกฎหมายขึ้นใช้บังคับต้องเสนอร่างกฎหมายได้แก่รัฐสภา การพิจารณาร่างพระราช บัญญัติ
ต้องดำาเนินการตามวิธีการที่กำาหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ข้อบังคับการประชุมสภาผู้
แทนราษฎร และข้อบังคบการประชุมวุฒิสภา
3. การบัญญัติกฎหมายขึ้นใช้บังคับเป็นพระราชบัญญัติ เป็นพระราชอำานาจของพระมหากษัตริย์ตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แต่จะมีผลใช้บังคับได้ก็ต่อเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
8.1.1 การเสนอให้บัญญัติกฎหมาย
เป็นเป็นผู้มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติให้รัฐสภาพิจารณา ให้บอกมาให้ครบ
ผู้มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติให้รัฐสภาพิจารณา คือ
1) คณะรัฐมนตรี
2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
3) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 50,000 คน ซึ่งเข้าชื่อกันร้องขอต่อประธานสภา เพื่อให้รัฐสภาพิจารณา
กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย หรือเกี่ยวกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
8.1.2 การพิจารณาร่างกฎหมาย
(1) การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโดยสภาผู้แทนราษฎรต้องกระทำากี่วาระ แต่ละวาระให้ลง
มติอย่างไร
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโดยสภาผู้แทนราษฎรต้องกระทำา 3 วาระ คือ วาระที่หนึ่ง ให้ลงมติว่า
รับหลักการหรือไม่รับหลักการแห่งพระราชบัญญัตินั้น วาระที่สอง พิจารณาโดยคณะกรรมการที่สภาตั้งขึ้นหรือ
กรรมาธิการเต็มสภา แล้วรายงานให้สภาพิจารณาลงมติว่าจะแก้ไขอย่างไร หรือไม่ วาระที่สาม ให้ลงมติว่าเห็น
ชอบหรือไม่เห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัตินั้น
(2) ร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านการพิจารณาเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว แต่ต้องยับยั้ง
เพราะวุฒิสภาไม่เห็นชอบ สภาผู้แทนราษฎรอาจยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้เมื่อใด
ร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านการพิจารณาเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว แต่ต้องยับยั้งเพราะวุฒิสภา
ไม่เห็นชอบ สภาผู้แทนราษฎรอาจยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ ดังนี้
1) ร่างพระชาบัญญัติที่เกี่ยวกับการเงิน อาจยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ทันที่
2) ร่างพระราชบัญญัติที่ไม่เกี่ยวกับการเงิน อาจยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้เมื่อพ้น 180 วัน นับแต่วันที่
วุฒิสภาส่งคืนมายังสภาผู้แทนราษฎร หรือวันที่วุฒิสภาไม่เห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติที่
คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณา แล้วแต่กรณี
8.1.3 การบัญญัติเป็นกฎหมายใช้บังคับ
(1) พระมหากษัตริย์ทรงตราพระราชกำาหนดขึ้นใช้บังคับได้ในกรณีใด
พระมหากษัตริย์ทรงตราพระราชกำาหนดขึ้นใช้บังคับได้เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มี
ความจำาเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เฉพาะเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ
ความปลอดภัยของสาธารณะ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ หือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ และในกรณี
ที่มีความจำาเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวข้องด้วยภาษีอากรหรือเงินตรา ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและ
ลับ เพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน
(2) ร่างพระราชบัญญัติที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยและไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย อาจ
ประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายในกรณีใด หรือไม่
ร่างพระราชบัญญัติที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วย และไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย อาจประกาศใช้
เป็นกฎหมายได้ เมื่อรัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำานวนสมาชิกทั้งหมด
ที่มีอยู่ของทั้งสองสภา
(3) พระราชกำาหนดที่สภาผู้แทนราษฎรอนุมัติ แต่วุฒิสภาไม่อนุมัติ จะมีผลใช้บังคับได้ในกรณีใดหรือไม่
พระราชกำาหนดที่สภาผู้แทนราษฎรอนุมัติ แต่วุฒิสภาไม่อนุมัติ มีผลใช้บังคับเป็นพระราชบัญญัติต่อไป
ได้เมื่อสภาผู้แทนยืนยันการอนุมัติด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภา
ผู้แทนราษฎร
8.2 หลักในการบัญญัติกฎหมาย
1. การบัญญัติกฎหมายจ้องคำานึงถึงความถูกต้อง คือ ถูกวิธีการ ถูกแบบ ถูกเนื้อหา ถูกหลักภาษาและต้อง
เป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายในสังคมด้วย
2. การบัญญัติกฎหมายต้องคำานึงถึงความแน่นอนในถ้อยคำาและข้อความ โดยให้มีความชัดเจนและรัดกุม
3. การบัญญัติกฎหมายต้องคำานึงถึงความสมบูรณ์คือให้ได้สาระครบถ้วนครอบคลุมไม่ขาดตกบกพร่อง
สอดคล้องไม่ขัดกัน และเชื่อมโยงไม่ขาดตอน
4. การบัญญัติกฎหมายต้องคำานึงถึงความศักดิ์สิทธิ์ คือกฎหมายที่เป็นคำาบงการ (Command) ให้ใครทำา
อะไร ต้องให้มีสภาพบังคับ (Sanction) และต้องให้สัมฤทธิ์ผล คือให้ได้ผลบรรลุจุดประสงค์ในการตรา
กฎหมายฉบับนั้น
5. การบัญญัติกฎหมายต้องคำานึงถึงความนิยมเกี่ยวกับลีลา ถ้อยคำา และการใช้ตัวเลขแทนตัวหนังสือ
8.2.1 การบัญญัติกฎหมายให้ถูกต้อง
ให้บอกข้อบกพร่องของข้อความในร่างกฎหมายดังต่อไปนี้ และแก้ไขให้ถูกหลักภาษา
(1) “กรรมการร่างกฎหมายให้แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานดีเด่นถูก
ยอมรับโดยวงการกฎหมาย”
ข้อบกพร่องคือการใช้คำาว่า “ถูก” ประกอบคำากริยาในประโยคกรรมวาจกที่ไม่มีความหมายในทางไม่ดี
นั้น ไม่เป็นที่นิยมในภาษากฎหมาย ในกรณีนี้ต้องใช้คำาว่า “เป็นที่” แทนคำาว่า “ถูก”
(2) “คำาขอนั้น ต้องระบุชื่อ อายุ และประวัติของผู้ขอ และเอกสารหลักฐานประกอบคำาขอ”
ข้อบกพร่องคือ ข้อความดังกล่าวมีคำาว่า “ระบุ” เป็นคำากริยาร่วมของ 2 ประโยค เมื่ออ่านข้อความ
ทั้งหมดแล้วจะได้ความว่า “ต้องระบุชื่อ อายุ และประวัติของผู้ขอ” ประโยคหนึ่ง และ “ต้องระบุเอกสารหลักฐาน
ประกอบคำาขอ” อีกประโยคหนึ่ง ซึ่งประโยคหลังนี้ผิดไปจากความมุ่งหมายที่จะให้ “ส่ง” หรือ “แนบ” เอกสาร
หลักฐานไม่ใช่เพียง “ระบุ” เหมือนอย่างระบุพยานในการต่อสู้คดีในศาล ควรแก้ให้ถูกต้องและเหมาะสม เป็น “
ให้ผู้ขอระบุชื่อ อายุ และประวัติของตนเองลงในคำาขอ และส่ง (แนบ) เอกสารหลักฐานประกอบคำาขอด้วย”
(3) “ผู้ผลิตสารระเหยต้องจัดให้มี “เครื่องหมาย” ที่ภาชนะบรรจุสารระเหยเพื่อเป็นคำาเตือน
หรือข้อควรระวังใช้สารระเหยนั้น”
ข้อบกพร่องคือ ใช้คำาว่า “เครื่องหมาย” เป็นคำาหลักและใช้คำาว่า “คำาเตือน” กับ “ข้อควรระวัง” เป็นคำา
ขยาย ซึ่งไม่สอดคล้องกันเพราะ “เครื่องหมาย” ไม่ได้เป็น “คำา” หรือ “ข้อ” จึงไม่ถูกหลักภาษา ถ้าจะให้ถูกต้อง
เปลี่ยนคำาว่า “เครื่องหมาย” เป็น “ข้อความ” จึงจะสอดคล้องกัน เพราะ “ข้อความ” เป็น “คำา” ก็ได้ เป็น “ข้อ” ก็ได้
8.2.2 การบัญญัติกฎหมายให้แน่นอน
ให้บอกข้อบกพร่องของข้อความในร่างกฎหมายดังต่อไปนี้ และแก้ให้ชัดเจนและรัดกุม
(1) “ให้นำา พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน มาใช้บังคับแก่ข้าราชการ
กรุงเทพมหานครโดยอนุโลม”
ข้อบกพร่องคือ ใช้คำาว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้อราชการพลเรือน” ซึ่งเป็นคำาเฉพาะ โดยไม่ระบุ พ.ศ.
ที่ตราพระราชบัญญัติฉบับนั้นไม่ถูกต้องเพราะไม่ชัดเจนว่าเป็นพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับ
ไหน เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนมีการแก้ไขหลายฉบับ ต้องแกคำาว่า “พระราชบัญญัติ
ระเบียบข้าราชการพลเรือน” เป็น “กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน” ซึ่งเป็นคำาสามัญที่หมายถึงฉบับ
ที่ใช้อยู่รวมทั้งฉบับแก้ไขเพิ่มเติมที่ใช้อยู่ด้วย
(2) “เทศบาลมีหน้าที่จัดให้มีและบำารุงรักษาสถานที่สำาหรับการเล่นกีฬาและพลศึกษา”
ข้อบกพร่องคือ คำาว่า “พลศึกษา” ซึ่งหมายถึง “การสอนวิชาพละ” มาเขียน ให้เป็นหน้าที่ของเทศบาลที่
จะต้องจัดให้มีและบำารุงรักษารวมกับสถานที่สำาหรับการเล่นกีฬา จึงไม่ชัดเจนและไม่ตรงกับความมุ่งหมายที่จะ
ให้เทศบาลจัดให้มีและบำารุงรักษาสถานที่สำาหรับออกกำาลังกาย จึงต้องแก้เป็น “เทศบาลมีหน้าที่จัดให้มีและ
บำารุงรักษาสถานที่สำาหรับการเล่นกีฬาและการออกกำาลังกาย (หรือการบริหารร่างกาย)”
(3) “ถ้าพยานหลักฐานยืนยันสอดคล้องกัน น่าเชื่อว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำาผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ให้สั่งลงโทษไล่ออกหรือปลดออก”
ข้อบกพร่องคือ ไม่รัดกุม เพราะคำาว่า “น่าเชื่อ” ยังอยู่ในลักษณะมีมลทินหรือมัวหมอง ยังฟังไม่ได้ว่า
กระทำาผิดที่จะถูกลงโทษไล่ออกหรือปลดออก ถ้ามีพยานหลักฐานยืนยันแน่นอนก็ต้อง เชื่อได้” ไม่ใช่ “น่าเชื่อ” จึง
ต้องแก้เป็น “ถ้ามีพยานหลักฐานยืนยันสอดคล้องกัน ฟังได้ว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำาผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้สั่ง
ลงโทษไล่ออกหรือปลดออก”
8.2.3 การบัญญัติกฎหมายให้สมบูรณ์
ในการร่างเป็นพระราชบัญญัติ หากมีรายละเอียดเป็นหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติตามพ
ระราชบัญญัตินั้น โดยเหมาะสมกับเวลาหรือสถานที่ซึ่งยังไม่อาจกำาหนดไว้ในพระราชบัญญัตินั้นได้ ควรร่าง
อย่างไรจึงจะสมบูรณ์
ควรร่างออกให้เป็นกฎหมายลูกอีกชั้นหนึ่ง เช่น ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ให้ออกเป็นกฎกระทรวง ข้อ
บังคับ ระเบียบ หรือประกาศ หรือให้รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินั้น หรือคณะกรรมการที่ตั้งขึ้น
ตามพระราชบัญญัตินั้นกำาหนดรายละเอียดก็ได้
8.2.4 การบัญญัติกฎหมายให้ศักดิ์สิทธิ์และสัมฤทธิ์ผล
มาตรการบังคับ (Sanction) ที่จะเขียนในกฎหมายเพื่อดำาเนินการในกรณีที่มีผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม
กฎหมายนั้นมีอะไรบ้าง ยกมา 3 ประการ
มาตรการบังคับ (Sanction) ที่จะเขียนในกฎหมายมีหลายประการ เช่น
1) มาตรการทางแพ่ง เช่น ไม่รับรู้ผลในกฎหมาย คือ ให้การกระทำานั้นเป็นโมฆะ
2) มาตรการตามกฎหมายปกครอง เช่น พักใช้ใบอนุญาต หรือเพิกถอนใบอนุญาต
3) มาตรการทางอาญา ให้ได้รับโทษทางอาญา เช่น ประหารชีวิต จำาคุก ปรับ
8.2.5 การบัญญัติกฎหมายให้ต้องตามความนิยม
ในการร่างพระราชบัญญัติ หากมีคำาที่เกี่ยวกับจำานวนนับ หรือลำาดับ ควรใช้ตัวเลขหรือตัวหนังสือ
บางกรณีนิยมใช้ตัวเลข บางกรณีนิยมใช้ตัวหนังสือ คือ
กรณีที่ใช้ตัวเลข
(1) วันที่ พ.ศ. เช่น “ให้ไว้ ณ วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2518”
(2) จำานวนนับที่ไม่ใช่เนื้อหาสาระในกฎหมาย เช่น “เป็นปีที่ 30 ในรัชกาลปัจจุบัน”
(3) หมวด ส่วน มาตรา และอนุมาตราของกฎหมาย เช่น “หมวด 1” “ส่วนที่ 1” “มาตรา 6 (1)”
(4) หมายเลขเอกสารแนบท้ายกฎหมาย เช่น “บัญชีหมายเลข 3”
(5) ลำาดับชั้นหรือขั้น เช่น “ตำาแหน่งระดับ 10 รับเงินเดือนในอันดับ 10 ซึ่งมี 31 ขั้น”
(6) อันดับขั้นเงินเดือน เช่น “อันดับ 11 ขั้น 42,120 บาท”
(7) อัตราค่าธรรมเนียมในบัญชีท้ายกฎหมาย เช่น “ค่าธรรมเนียมต่อใบอนุญาต 100 บาท”
กรณีที่ใช้ตัวหนังสือ
(1) จำานวนนับที่เป็นเนื้อหาสาระในกฎหมาย เช่น “ใบอนุญาตตั้งโรงรับจำานำาให้ใช้ได้จนถึงวันที่
31 ธันวาคม ของปีที่ห้านับแต่ปีที่ออกใบอนุญาต”
(2) วรรคของมาตรา เช่น “คู่ความตามวรรคหนึ่ง” “พระราชกฤษฎีกาตามวรรคสอง”
(3) อายุของบุคคล เช่น “มีอายุไม่ตำ่ากว่าสิบแปดปี”
(4) ระยะเวลาเป็นชั่วโมง วัน เดือน ปี เช่น “ให้อุทธรณ์ได้ภายในสามสิบวันนับจากวันทราบคำา
สั่ง”
(5) โทษทางอาญา เช่น “ต้องระวางโทษจำาคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
หรือทั้งจำาทั้งปรับ”
👉 แบบประเมินตนเองหน่วยที่ 8
1. หลักการและเหตผุ ล เป็นส่วนสำาคัญ 2 สว่ นของร่างพระราชบัญญัติ
2. นายกรัฐมนตรีต้องนำาร่างพระราชบัญญัติที่สู่สภาให้ความเห็นชอบแล้ว ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย
เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยในระยะ เวลา 20 วนั
3. การเสนอร่างพระราชบัญญัติจะต้องเสนอต่อ สภาผู้แทนราษฎรก่อน
4. กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหารคือ พระราชกำาหนด
5. กฎหมายที่ออกในกรณีเร่งด่วนคือ พระราชกำาหนด
6. ร่างพระราชบัญญัติใดที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นด้วย ไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย ถ้ารัฐสภายืนยันตาม
เดิมจะต้องมี คะแนนเสียง 2 ใน 3 ของจำานวนสมาชิกทั้งหมดของทั้งสองสภา
7. พระราชกำาหนด เป็นกฎหมายที่พระมหากษตั ริย์ทรงตราขึ้นโดยคำาแนะนำาของคณะรัฐมนตรี
8. การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติในสภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาเป็น 3 วาระ คือ วาระรับหลักกา ร
วาระพิจารณา และวาระเห็นชอบ
9. วุฒิสภาจะต้องพิจารณาร่างกฎหมายที่ไม่เกี่ยวกับการเงินที่สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบแล้ว
ภายในระยะเวลา 60 วัน
10. ความสำาคัญของบทเฉพาะกาลในกฎหมาย คือเป็นการเชื่อมโยงบทกฎหมายเก่าและกฎหมายใหม่เข้า
ด้วยกันไม่ให้ขาดตอน
หน่วยที่ 9 หลักการใช้กฎหมาย
1. กฎหมายบัญญัติขึ้นตามหลักวิชาในทางนิติศาสตร์ ประสงค์ให้อ่านแล้วเข้าใจง่าย สามารถนำาไปปฏิบัติ
ได้ อย่างไรก็ดี อาจมีการใช้ภาษากฎหมายหรือภาษาเทคนิคอื่น ดังนั้น ผู้ใช้กฎหมายจึงควรทำาความ
เข้าใจกับหลักการร่างกฎหมาย และการใช้ภาษาในกฎหมายโดยทั่วไป ก่อนจะนำากฎหมายมาใช้กับข้อ
เท็จจริง
2. การใช้กฎหมายกับข้อเท็จจริง มีสองประการคือ การใช้กฎหมายในทางทฤษฎี และการใช้กฎหมายใน
ทางปฏิบัติ
3. การใช้กฎหมายเกี่ยวข้องกับการตีความกฎหมายและการใช้ดุลพินิจในทางกฎหมาย เมื่อบทกฎหมาย
นั้นมีถ้อยคำาไม่ชัดเจนหรืออาจแปลความได้หลายทาง
4. ในกรณีที่ไม่มีกฎหมายจะนำาไปปรับใช้แก่ข้อเท็จจริงได้โดยตรง ผู้ใช้กฎหมายจำาเป็นต้องอุดช่องว่างแห่ง
กฎหมายนั้น ตามหลักเกณฑ์ในทางนิติศาสตร์
9.1 หลักการใช้กฎหมายกับข้อเท็จจริง
1. กฎหมายเป็นสิ่งที่บัญญัติขึ้นตามหลักวิชาในทางนิติศาสตร์ เพื่อใช้บังคับแก่บุคคลเป็นการทั่วไป
โดยหลักจึงพยายามใช้ถ้อยคำาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย แต่บางกรณีอาจจำาเป็นต้องใช้ภาษากฎหมาย
หรือภาษาเทคนิคโดยเฉพาะ ผู้ใช้กฎหมายจึงควรทำาความเข้าใจกับหลักการร่างกฎหมายและการ
ใช้ภาษาในกฎหมายโดยทั่วไป เพราะสามารถช่วยให้เข้าใจความหมายของบทกฎหมายได้ดียิ่งขึ้น
2. การแปลความหมายของบทบัญญัติ เพื่อให้ทราบว่ากฎหมายบัญญัติไว้อย่างไร เป็นสิ่งสำาคัญ
เพราะกฎหมายจะกำาหนดสิทธิ หน้าที่ของบุคคล และสภาพบังคับแก่ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม
กฎหมายไว้ การแปลความหมายของบทบัญญัติสามารถกระทำาได้โดยการทำาความเข้าใจเนื้อหา
ของกฎหมายด้วยการอ่านกฎหมายทั้งฉบับ
3. การใช้กฎหมายกับข้อเท็จจริง มีสองประการ คือ การใช้กฎหมายทางทฤษฎี และการใช้กฎหมาย
ในทางปฏิบัติ การใช้กฎหมายในทางทฤษฎี เป็นเรื่องของหลักวิชาเพื่อใช้ในการบัญญัติกฎหมาย
โดยต้องพิจารณาถึงของเขตการบังคับใช้กฎหมาย เช่น บุคคล สถานที่ และวันเวลาที่เกี่ยวข้อง
ประเภทและลำาดับศักดิ์ของกฎหมาย ตลอดจนอำานาจในการตรากฎหมายการใช้กฎหมายในทาง
ปฏิบัติ เป็นเรื่องของการใช้กฎหมายกับข้อเท็จจริงเฉพาะเรื่องในชีวิตประจำาวัน
4. การใช้กฎหมายในทางปฏิบัติเป็นเรื่องซึ่งหาหลักเกณฑ์ได้ยาก เพราะบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกคนต่าง
เป็นผู้ใช้กฎหมายด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งมักใช้กฎหมายตามความรู้ ความเข้าใจของตน นอกจากนี้ตัวบท
กฎหมายเองก็อาจมีความบกพร่อง จึงอาจนำาไปสู่ปัญหาการใช้กฎหมาย ได้แก่ปัญหาการตีความ
กฎหมาย หรือการเกิดช่องว่างของกฎหมายได้
9.1.1 การอ่านและการเข้าใจกฎหมาย
การอ่านและเข้าใจกฎหมายมีประโยชน์แก่ผู้ใช้กฎหมายอย่างไรบ้าง
เนื่องจากผู้ใช้กฎหมาย หมายถึงบุคคลทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกฎหมายฉบับนั้น ไม่ว่าจะเป็น
ประชาชนผู้ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทำาหน้าที่บังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย เช่น เจ้า
พนักงานตามกฎหมาย หรือตำารวจ ตลอดจนผู้ดำาเนินคดีหรือวินิจฉัยข้อกฎหมายหรือชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้น
เนื่องจากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายนั้น เช่น นิติกร ทนายความ อัยการ หรือศาล ซึ่งแต่ละฝ่ายอาจมี
ความเข้าใจหลักการพื้นฐานของบทกฎหมายหรือแปลความกฎหมายไปในทิศทางเดียวกัน ก็จะช่วยให้เกิด
ปัญหาในการใช้กฎหมายน้อยลง หรือหากเกิดปัญหาจะต้องตีความกฎหมายหรืออุดช่องว่างของกฎหมายก็จะ
สามารถกระทำาได้อย่างเป็นธรรมและเหมาะสม
9.1.2 การแปลความหมายของบทบัญญัติ
การแปลความหมายบทบัญญัติของกฎหมายมีหลักในเบื้องต้นอย่างไร
การแปลความหมายบทบัญญัติของกฎหมายกระทำาไป เพื่อให้ได้ความว่าบทกฎหมายนั้นมีข้อ กำาหนด
ให้ใครต้องทำาอะไร ที่ไหน เมื่อได อย่างไร ถ้าไม่ปฏิบัติตามจะมีโทษหรือไม่ อย่างไร หรือหากทำาจะได้รับสิทธิ
ประโยชน์หรือได้รับผลดีอย่างไร มีหลักเบื้องต้นคือควรทำาความเข้าใจภาพรวมของกฎหมายและหาความหมาย
ของบทบัญญัติรายมาตรา โดยการอ่านกฎหมายประกอบกันทั้งฉบับ มิใช่เฉพาะมาตราใดมาตราหนึ่ง
9.1.3 การใช้บทบัญญัติกับข้อเท็จจริง
หน่วยงานของรัฐซึ่งมีหน้าที่ดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายฉบับหนึ่งพบว่ามีการฝ่าฝืนกฎหมายฉบับ
นั้นบ่อยครั้ง จึงได้มีการศึกษาข้อบกพร่องของกฎหมายและเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายเช่นนี้เจ้าหน้าที่ของ
หน่วยงานนั้นต้องใช้กฎหมายในทางทฤษฎีหรือในทางปฏิบัติ
เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานนั้นต้องใช้กฎหมายทั้งในทางทฤษฎี และในทางปฏิบัติโดยการจะทราบว่ามีผู้
ฝ่าฝืนหรือไม่เป็นการใช้กฎหมายในทางปฏิบัติ เพราะต้องทราบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ข้อกฎหมายที่จะนำามาใช้
จากนั้นต้องปรับข้อเท็จจริงเข้ากับกฎหมายเพื่อให้ทราบผลว่ามีการฝ่าฝืนกฎหมายหรือไม่ และยังมีการใช้
กฎหมายในทางทฤษฎีเมื่อมีการเสนอแก้ไขกฎหมายเพราะต้องมีการพิจารณาว่า กฎหมายนั้นยังควรมีขอบเขต
การใช้บังคับกับบุคคล ในเวลา หรือสถานที่ หรือมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเช่นเดิมหรือไม่ หรือควรจะมีการแก้ไข
ใหม่อย่างไร หรือควรยกเลิกกฎหมายนั้นเสียก็ได้
9.1.4 ปัญหาการใช้กฎหมาย
ปัญหาการตีความกฎหมายและช่องว่างในกฎหมายเกิดขึ้นเมื่อใด ปัญหาทั้งสองกรณีมีความเกี่ยวข้อง
กันได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ปัญหาการตีความกฎหมายเกิดขึ้นเมื่อมีกฎหมายจะนำามาปรับใช้แก่ข้อเท็จจริง แต่บทบัญญัติของ
กฎหมายนั้นยังมีความไม่ชัดเจน กำากวม หรือเคลือบคลุม จึงต้องมีการตีความเพื่อหาความหมายที่แท้จริง ส่วน
ช่องว่างในกฎหมายเกิดขึ้นเมื่อไม่มีบทกฎหมายลายลักษณ์อักษรจะนำามาปรับใช้แก่ข้อเท็จจริง
ปัญหาทั้งสองกรณีอาจมีความเกี่ยวข้องกันได้ เพราะบางครั้งอาจมีการตีความกฎหมายผิดพลาด โดย
คิดว่าเกิดช่องว่างในกฎหมายเพราะไม่มีบทกฎหมายจะนำามาปรับใช้ แต่ที่จริงแล้วมี เพียงแต่กฎหมายนั้นไม่
ชัดเจนซึ่งเป็นปัญหาการตีความกฎหมายตามธรรมดา หรือคิดว่าสามารถนำาบทกฎหมายซึ่งนำามาปรับใช้แก่ข้อ
เท็จจริงได้ แต่ที่จริงแล้วใช้ไม่ได้ และไม่มีบทกฎหมายอื่นที่จะนำามาใช้ได้ ซึ่งเป็นกรณีที่เกิดปัญหาช่องว่างใน
กฎหมายเป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าการตีความกฎหมายเป็นสิ่งสำาคัญที่จะเป็นตัวบ่งชี้ว่า กรณีนั้นๆ เกิดปัญหาใน
ลักษณะใด และจะนำาไปสู่การปรับใช้กฎหมายแก่ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องต่อไป
9.2 การตีความกฎหมาย
1. การตีความกฎหมายคือ การค้นหาความหมายของบทกฎหมายที่เคลือบคลุม ไม่ชัดเจน หรืออาจแปล
ความได้หลายนัย เพื่อนำากฎหมายนั้นมาใช้ปรับกับข้อเท็จจริง
2. การตีความกฎหมายต้องอาศัยหลักวิชา ความรู้หลายแขนง รวมทั้งประสบการณ์และสามัญสำานึกด้วย
อาจแยกได้เป็น 2 ประการ คือ การตีความตามลายลักษณ์อักษร และการตีความตามเจตนารมณ?
3. การตีความตามลายลักษณ์อักษรคือ การหยั่งทราบความหมายของถ้อยคำาจากตัวอักษรของบท
กฎหมายนั้นเอง โดยวิธีการต่างๆ เช่น การหาความหมายตามธรรมดาของถ้อยคำา การหาความหมาย
จากภาษาเทคนิคหรือภาษาทางวิชาการ หรือจากความหมายพิเศษ
4. การตีความตามเจตนารมณ์ คือการหยั่งทราบความหมายของถ้อยคำาในบทกฎหมายจากจาก
เจตนารมณ์ หรือความมุ่งหมายของกฎหมายนั้น โดยอาศัยเครื่องมือต่างๆ ทั้งจากตัวกฎหมายนั้นเอง
หรือสิ่งที่อยู่ภายนอกกฎหมาย
9.2.1 หลักการตีความกฎหมาย
การตีความกฎหมายตามหลักวิชามีหลักเกณฑ์ใหญ่ๆ กี่ประเภท และจะนำามาใช้เมื่อใด อย่างไร
การตีความกฎหมายตามหลักวิชามี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ การตีความตามลายลักษณ์อักษรหรือตามตัว
อักษร และการตีความตามเจตนารมณ์ หรือตามความมุ่งหมายของบทบัญญัติ จะนำามาใช้เมื่อเกิดปัญหาความ
ไม่ชัดเจน เคลือบคลุม หรือกำากวมของถ้อยคำา หากกฎหมายมีความชัดเจนอยู่แล้วก็ไม่จำาเป็นต้องมีการตีความ
ในการตีความอาจใช้หลักเกณฑ์ใดหลักเกณฑ์หนึ่งก็ได้ แต่โดยทั่วไปมักใช้การตีความตามตัวอักษรกับการ
ตีความตามเจตนารมณ์ประกอบกัน เพื่อช่วยให้หยั่งทราบหรือค้นหาความหมายของบทบัญญัติได้อย่างถูกต้อง
เหมาะสมหรือเป็นธรรมมากที่สุด
9.2.2 การตีความตามลายลักษณ์อักษร
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคแรก บัญญัติว่า “ในกรณีที่นายจ้างไม่คืน
เงินประกันตามมาตรา 10 วรรคสอง หรือไม่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำางานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวัน
หยุด ภายในเวลาที่กำาหนดตามมาตรา 70 หรือค่าชดเชยตามมาตรา 118 ค่าชดเชยพิเศษตามมาตรา 120
มาตรา 121 และมาตรา 122 ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี” ให้
อธิบายว่าบทบัญญัตินี้มีความหมายว่าอย่างไร อาจมีประเด็นการตีความถ้อยคำาตามลายลักษณ์อักษรตรง
ถ้อยคำาใดบ้าง และจะสามารถค้นหาความหมายของถ้อยคำานั้นได้จากที่ใด
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เป็นตัวอย่างของกฎหมายที่มีการเขียนบทบัญญัติในเชิง
เทคนิคทางกฎหมายฉบับหนึ่ง เมื่อพิจารณาดูกฎหมายทั้งฉบับอย่างคร่าวๆ แล้วจะเห็นว่าการใช้นิยามศัพท์และ
การอ้างอิงถึงมาตราอื่นค่อนข้างมาก เมื่ออ่านเฉพาะมาตรา 9 วรรคแรก ในเบื้องต้นจะพอเข้าใจได้ว่าเป็น
บทบัญญัติที่กำาหนดความรับผิดชอบของนายจ้างในกรณีที่ไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนในประการสำาคัญคือการไม่
จ่ายเงินอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้แก่ลูกจ้างดังนี้
(1) เงินประกัน หรือ
(2) ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำางานในวันหยุด หรือค่าล่วงเวลาในวันหยุด หรือ
(3) ค่าชดเชย หรือค่าชดเชยพิเศษ
ซึ่งหากนายจ้างผิดนัดไม่จ่ายเงินดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างตามกำาหนด กฎหมายกำาหนดสภาพบังคับ
ประการหนึ่งให้นายจ้างคือต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี
บทบัญญัตินี้อาจมีประเด็นการตีความถ้อยคำาแทบจะทุกถ้อยคำาที่ปรากฏเช่น “นายจ้าง” “ลูกจ้าง” “เงิน
ประกัน” “ค่าจ้าง” “ค่าล่วงเวลา” “ค่าทำางานในวันหยุด” “ค่าล่วงเวลาในวันหยุด” “ค่าชดเชย” “ค่าชดเชยพิเศษ”
“ผิดนัด” “ภายในเวลาที่กำาหนด” หรือ “ดอกเบี้ย” ซึ่งต้องมีการค้นหาความหมายจากตัวบทกฎหมายที่ปรากฏ
ก่อน หากพบแล้วก็ถือว่าไม่มีปัญหาการตีความ แต่หากยังยีข้อสงสัยอยู่จะนำามาปรับใช้แก่ข้อเท็จจริงได้หรือไม่
ก็ต้องใช้หลักการตีความต่างๆ ตีความตามถ้อยคำานั้นต่อไป จนกว่าจะได้ความหมายที่เห็นว่าถูกต้องเหมาะสม
ประเด็นที่ยกตัวอย่างขึ้นมาตีความ อาจแยกถ้อยคำาที่อาจมีปัญหาต้องตีความออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่ม
แรกคือถ้อยคำาที่อาจหาความหมายได้จากตัวบทกฎหมายฉบับนี้เอง และกลุ่มที่สองคือถ้อยคำาที่ไม่สามารถ
หาความหมายโดยตรงจากกฎหมายฉบับนี้ ซึ่งอาจต้องค้นหาความหมายโดยใช้เครื่องมืออย่างอื่นมาช่วย ดังนี้
กลุ่มแรก ได้แก่ถ้อยคำาซึ่งมีนิยามศัพท์ไว้ในตัวพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ เช่นคำาว่า “นายจ้าง”
“ลูกจ้าง” “ค่าจ้าง” “ค่าล่วงเวลา” “ค่าทำางานในวันหยุด” “ค่าล่วงเวลาในวันหยุด” “ค่าชดเชย” “หรือค่าชดเชย
พิเศษ” ซึ่งก็สามารถหาความหมายได้จากนิยามศัพท์ดังกล่าวโดยเฉพาะ
นอกนี้ยังมีถ้อยคำาอื่นที่ไม่มีนิยามศัพท์ไว้แต่อาจหาความหมายได้ระดับหนึ่งจากมาตราอื่นที่อ้างอิงถึง
เช่นคำาว่า “เงินประกัน” ซึ่งอ้างอิงอยู่ในเงินประกันตามมาตรา 10 วรรคสอง ซึ่งเมื่ออ่านเนื้อความตามมาตราดัง
กล่าวแล้วจะได้มาเพิ่มเติมว่าเงินประกันนั้นเป็นเงินที่นายจ้างเรียกหรือรับหรือทำาสัญญาประกันกับลูกจ้างเพื่อ
ชดใช้ค่าเสียหายในกรณีที่ลูกจ้างเป็นผู้กระทำา หรือคำาว่า “ภายในเวลาที่กำาหนด” เป็นกำาหนดเวลาที่นายจ้างจะ
ต้องจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำางานในวันหยุด หรือค่าล่วงเวลาในวันหยุด ซึ่งมีการอ้างอิงถึงกำาหนดเวลาตาม
มาตรา 70 ซึ่งมาตราดังกล่าวก็ได้มีการกำาหนดรายละเอียดเกี่ยวกับวันที่นายจ้างจะต้องจ่ายเงินค่าจ้าง ฯลฯ ไว้
เป็นต้น
กลุ่มที่สอง ได้แก่ถ้อยคำาเช่น คำาว่า “ผิดนัด” ซึ่งไม่มีนิยามศัพท์ไว้ในตัวพระราชบัญญัติคุ้มครองแร
งงานฯ ซึ่งคำานี้ หลักกฎหมายเรื่องหนี้ ตาม ป.พ.พ. แล้วจะทราบว่าเป็นศัพท์ที่กฎหมายมีบัญญัติ เช่น มาตรา
204 แห่ง ป.พ.พ. อธิบายความหมายกรณีลูกหนี้ผิดนัดไว้ว่า หมายถึงการที่หนี้ถึงกำาหนดชำาระแล้วลูกหนี้ไม่
ชำาระหนี้ เช่น เงินกู้เขามา เมื่อถึงกำาหนดจ่ายคืนแล้วไม่ยอมจ่าย ซึ่งแยกเป็น 2 กรณีคือ ถ้าหนี้นั้นไม่ได้กำาหนด
วันชำาระหนี้ไว้ลูกหนี้จะผิดนัดก็ต่อเมื่อเจ้าหนี้ได้เตือนให้ชำาระหนี้แล้วลูกหนี้ไม่ชำาระหนี้ กับอีกกรณีหนึ่งคือ มีการ
กำาหนดวันชำาระหนี้ตามวันแห่งปฏิทินไว้ หากลูกหนี้ไม่ชำาระหนี้ตามวันที่กำาหนดก็ถือว่าผิดนัดทันที โดยเจ้าหนี้ไม่
จำาเป็นต้องเตือนก่อน
เมือทราบความหมายของคำาว่า “ผิดนัด” ก็ให้ไปพิจารณามาตรา 9 ของกฎหมายคุ้มครองแรงงานฯอีก
ครั้งว่านายจ้าง (ซึ่งถือว่าเป็นลูกหนี้ในกรณีนี้เพราะมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้าง) จะผิดนัดเมื่อใด โดย
พิจารณาประกอบกับความหมายคำาว่า “ภายในเวลาที่กำาหนด” ที่ได้ค้นหาความหมายไว้แล้ว หากข้อเท็จจริง
นายจ้างไม่จ่ายเงินให้ลูกจ้าง (หรือมาตรา 204 ป.พ.พ. เรียกว่าเป็นการ “ไม่ชำาระหนี้”) ภายในเวลาที่กำาหนดดัง
กล่าว ก็ถือว่านายจ้างผิดนัด ก็ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัด ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้าง
ในระหว่างเวลาผิดนัดนั้นร้อยละสิบห้าต่อปี
ประเด็นที่อาจจะเป็นข้อสงสัยซึ่งต้องมีการตีความต่อไปอีก เช่น หากนายจ้างจ่ายเงินเป็นเช็คหรือเป็น
ตราสารอื่นเช่นนี้ จะถือว่านายจ้างได้จ่ายเงินแล้วหรือไม่ เพราะในเวลาที่ลูกจ้างนำาเช็คไปขึ้นเงิน อาจไม่มีเงินใน
บัญชี หรือที่เรียกว่าเช็คเด้ง ซึ่งก็ต้องตีความกันต่อไปว่า การจ่ายเงินของนายจ้างด้วยวิธีดังกล่าวถือเป็นการจ่าย
เงินให้ลูกจ้างแล้วหรือไม่ ดังนี้เป็นต้น
9.2.3 การตีความตามเจตนารมณ์
มีประเด็นการตีความว่า “รถเข็นโรตี” จะอยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522
มาตรา 78 ซึ่งบัญญัติกรณีผู้ขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นหรือไม่ โดยข้อเท็จจริงคือจำาเลย
ได้เข็นรถขายโรตีไปตามไหล่ถนนและถูกรถจักรยานยนต์ที่ผู้อื่นขับตามหลังมาเฉี่ยวชน เป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่
ความตาย โดยจำาเลยหลบหนีไปไม่ให้ความช่วยเหลือ และในเรื่องนี้มีการกำาหนดความหมายของถ้อยคำาที่
เกี่ยวข้องดังนี้
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 4(15) บัญญัตินิยามคำาว่า “รถ” ว่าหมายถึงยาน
พาหะนะทางบกทุกชนิด เว้นแต่รถไฟและรถราง
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานกำาหนดความหมายของคำาว่า “ยาน” คือเครื่องนำาไป พาหนะต่างๆ
เช่นรถ เกวียน เรือ
คำาว่า “พาหนะ” คือเครื่องนำาไป เครื่องขับขี่ยานต่างๆ มีรถและเรือ เป็นต้นเรียกว่ายานพาหนะ และ
คำาว่า “ขับ” คือ บังคับให้เคลื่อนไป เช่นขับรถ ขับเรือ
ให้พิจารณาตามหลักการตีความตามเจตนารมณ์ของกฎหมายว่ารถเข็นโรตีจะอยู่ในบังคับพระราช
บัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 หรือไม่ ด้วยเหตุด้วยผล
กรณีนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงตามคำาพิพากษาฎีกาที่ 4445/2543 ซึ่งศาลฎีกาตีความกฎหมาย ดังนี้
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 4(15) บัญญัตินิยามคำาว่า “รถ” ไว้ว่า ยานพาหนะ
ทางบกทุกชนิด เว้นแต่รถไฟและรถราง ทั้งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 กำาหนดความ
หมายของคำาว่า “ยาน” คือ เครื่องนำาไป พาหนะต่างๆ เช่นรถ เกวียน เรือ คำาว่า “พาหนะ” คือเครื่องนำาไป เครื่อง
ขับขี่ คือ บังคับให้เคลื่อนไป เช่น ขับรถ ขับเรือ ดังนี้ “รถเข็น” ของจำาเลยเป็นเพียงวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องใช้ใน
การประกอบอาชีพขายโรตี มิใช่ด้วยเจตนามุ่งประสงค์ในอันที่จะขนเคลื่อนบุคคลหรือทรัพย์สินใดจากที่แห่งหนึ่ง
ไปยังที่อีกแห่งหนึ่งในลักษณะของยานพาหนะ จึงมิใช่ “รถ” ตามความหมายที่บัญญัตินิยามไว้ดังกล่าว และ
ย่อมไม่อยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 78 (แต่จำาเลยต้องรับผิดตามกฎหมายอื่น เช่น
ตาม ปอ มาตรา 129 ฐานกระทำาโดยประมาทให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย)
ซึ่งเห็นได้ว่าศาลฎีกาได้นำาความหมายจากนิยามศัพท์คำาว่า “รถ” ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ
มาพิจารณาในชั้นแรก แต่เนื่องจากนิยามนั้นเองยังมีความไม่ชัดเจนว่า “ยานพาหนะ” หมายความว่าอย่างไรจึง
ได้นำาความหมายตามพจนานุกรมมาใช้ประกอบ จึงเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
9.3 การอุดช่องว่างในกฎหมาย
1. เมื่อเกิดช่องว่างในกฎหมาย คือการที่ไม่มีบทกฎหมายจะยกมาปรับแก่คดีได้ในทางแพ่งและ
พาณิชย์ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น หรือโดยอาศัยเทียบเคียงบทกฎหมาย
ใกล้เคียงอย่างยิ่ง หรือตามหลักกฎหมายทั่วไปตามลำาดับ
2. การอุดช่องว่างโดยจารีตประเพณี เป็นการพิจารณาว่าในกรณีที่ไม่มีกฎหมายจะนำามาใช้บังคับ
นั้น ในท้องถิ่นที่เกิดคดีมีจารีตประเพณี ซึ่งหมายถึงสิ่งที่ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาจนเป็นกรอบ
ปฏิบัติของกลุ่มชนในเรื่องนั้นหรือไม่ ถ้าหากมี ให้วินิจฉัยไปตามนั้น
3. การอุดช่องว่างโดยเทียบเคียงกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่ง เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายและจารีต
ประเพณีแห่งท้องถิ่น จะนำามาใช้บังคับก็ให้นำาบทกฎหมายที่บัญญัติไว้สำาหรับข้อเท็จจริงที่ใกล้
เคียงกันมาใช้วินิจฉัยแก่คดี
4. การอุดช่องว่างโดยหลักกฎหมายทั่วไป เป็นกรณีที่ไม่มีทั้งกฎหมาย จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น
และกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งจะนำามาใช้บังคับ ก็ให้นำาหลักกฎหมายทั่วไป ได้แก่หลักกฎหมาย
ที่ได้สกัดได้จากเรื่องเฉพาะเรื่องหลายเรื่อง หลักกฎหมายที่ใช้กันจนเป็นหลักสากล หรือสุภาษิต
กฎหมาย เป็นต้น มาใช้วินิจฉัยแก่คดี
5. กฎหมายบางประเภท เช่น กฎหมายอาญามีหลักการตีความไว้โดยเฉพาะ ไม่สามารถใช้หลัก
การอุดช่องว่างของกฎหมายในทางแพ่งนี้ได้หรือหากกฎหมายอื่นได้กำาหนดวิธีอุดช่องว่างของ
กฎหมายไว้โดยเฉพาะ ก็ให้ใช้วิธีอุดช่องว่างตามกำาหนดไว้นั้น
9.3.1 การอุดช่องว่างโดยจารีตประเพณี
จารีตประเพณีที่จะนำามาปรับแก่คดีได้ จะต้องมีลักษณะอย่างไร
จารีตประเพณีที่จะนำามาปรับแก่คดีได้ จะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) ต้องใช้บังคับมาเป็นเวลานาน
(2) ต้องเป็นที่ยอมรับและถือตามของมหาชนทั่วไป
(3) ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย
(4) ต้องไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
9.3.2 การอุดช่องว่างโดยเทียบเคียงกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่ง
ในการค้นหาบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งเพื่อมาปรับใช้แก่กรณีผู้อุดช่องว่างในกฎหมายควรต้องมี
คุณลักษณะสำาคัญอย่างไร
เนื่องจากกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งคือบทกฎหมายที่บัญญัติไว้สำาหรับข้อเท็จจริงที่ใกล้เคียงกันกับ เรื่อง
ที่เป็นประเด็นปัญหา ดังนั้น ผู้อุดช่องว่างในกฎหมายซึ่งต้องค้นหาบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่ง จึงควรมี
คุณสมบัติสำาคัญ คือควรศึกษาหลักกฎหมายในเรื่องต่างๆ ให้แตกฉานว่า กฎหมายแต่ละลักษณะมีหลักการ
สำาคัญอย่างไร และนำามาใช้ในกรณีใดบ้าง เพราะบ่อยครั้งที่กฎหมายมีลักษณะเบื้องต้นใกล้เคียงกันมาก เช่น
การซื้อขายเงินผ่อน และการเช่าซื้อซึ่งมีการนำาทรัพย์สินที่ตกลงทำานิติกรรมกันมาใช้ได้ก่อนและมีการชำาระราคา
กันเป็นงวดเช่นเดียวกัน แต่ต่างกันที่การโอนกรรมสิทธิ์ โดยการซื้อขายเงินผ่อน กรรมสิทธิ์จะโอนมายังผู้ซื้อทันที
แต่การเช่าซื้อกรรมสิทธิ์จะโอนมายังผู้เช่าซื้อต่อเมื่อได้ชำาระเงินครบตามงวดที่ตกลงกันไว้
การเข้าใจหลักกฎหมายจะช่วยให้ทราบว่าในเรื่องนั้น ๆ มีกฎหมายที่จะนำามาปรับใช้โดยตรงหรือไม่
หากไม่มี จะมีบทกฎหมายใดที่มีลักษณะใกล้เคียงกันได้บ้าง ซึ่งจะสามารถนำามาปรับใช้แก้ข้อเท็จจริงที่เป็น
ปัญหานั้นได้อย่างเหมาะสม
9.3.3 การอุดช่องว่างโดยกฎหมายทั่วไป
การอุดช่องว่างโดยใช้หลักกฎหมายทั่วไปในกฎหมายแพ่งฯ และกฎหมายอาญามีความเหมือนหรือต่าง
กันอย่างไร
การอุดช่องว่างโดยใช้หลักกฎหมายทั่วไปในกฎหมายแพ่งฯ และกฎหมายอาญามีความเหมือนกันคือ
ในกรณีที่ไม่มีบทกฎหมายหรือจารีตประเพณีมาปรับใช้แก่ข้อเท็จจริงได้ ผู้ใช้กฎหมายอาจอุดช่องว่างใน
กฎหมายเพื่อความเป็นธรรมหรือเป็นคุณแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องได้ แต่การอุดช่องว่างในกฎหมายแพ่งและ
กฎหมายอาญามีความต่างกันคือ ตามกฎหมายอาญาจะอุดช่องว่างแห่งกฎหมายให้เป็นการลงโทษแก่บุคคล
หรือให้เป็นการลงโทษหนักขึ้นไม่ได้
👉 แบบประเมินตนเองหน่วยที่ 9
1. บุคคลที่เป็นผู้ใช้กฎหมายคือ อัยการ ประชาชน ผู้พิพากษา ทนายความ
2. การบัญญัติกฎหมาย เป็นสิ่งที่มีหลักเกณฑ์ตาม หลักการร่างกฎหมาย
3. ในกฎหมายฉบับหนึ่งๆตามปกติจะขึ้นต้นด้วย ชื่อกฎหมาย
4. การทำาความเข้าใจเนื้อหาสาระของกฎหมายฉบับหนึ่งๆ ผู้อ่านควรอ่านและทำาความเข้าใจกฎหมายทั้ง
ฉบับ
5. เมื่อตัวบทกฎหมายเกิดความเคลือบคลุมไม่ชัดเจน ผู้ใช้กฎหมายจำาเป็นจะต้องใช้วิธีการ ตีความ
กฎหมาย เพื่อแก้ไขปัญหา
6. การตีความตามตัวอักษร คือวิธีการตีความกฎหมายตามหลักวิชาการ
7. การหยั่งทราบเจตนารมณ์ในการตรากฎหมายสามารถพิจารณาได้จาก (1) ชื่อกฎหมาย (2) คำาปรารภ
ของกฎหมาย (3) หมายเหตุท้ายกฎหมาย (4) ตัวบทบัญญัติของกฎหมาย
8. การอุดช่องว่างของกฎหมายในคดีแพ่งของไทยนำาหลักการมาจาก มาตรา 4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์
9. เมื่อไม่มีกฎหมายมาปรับใช้แก่ข้อเท็จจริงให้นำา จารีตประเพณีมาปรับใช้
10. กฎหมายอาญาต้องตีความ อย่างเคร่งครัด
11. ภาษที่ใช้ในกฎหมายได้แก่ ภาษาเทคนิค ภาษวิชาการ ภาษาธรรมดา และภาษต่างประเทศ
12. ชื่อกฎหมายมีส่วนช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจกฎหมายฉบับนั้นคือ (1) เพื่อบ่งชี้ขอบเขตการใช้บังคับกฎหมาย
โดยรวบยอด (2) เพื่อบ่งชี้ประเภทของกฎหมาย และเนื้อหาสาระของกฎหมายโดยรวบยอด
13. การอ่านกฎหมายทั้งฉบับ จึงจะช่วยให้แปลความกฎหมายได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
14. ผู้ใช้กฎหมายจำาเป็นจะต้องตีความกฎหมายเมื่อ บทบัญญัติไม่มีความชัดเจน
15. การตีความกฎหมายตามหลักวิชาการ จะต้อง (1) การตีความตามตัวอักษร (2) การตีความตาม
เจตนารมณ์
16. เครื่องช่วยในการตึความกฎหมายตามเจตนารมณ์ ได้แก่ คำาพิพากษาของศาล ความเห็นของนัก
วิชาการ หลักการตีความกฎหมายทั่วไป รายงานการประชุมรัฐสภา
17. สิ่งที่นำามาใช้ในการอุดช่องว่างของกฎหมายในคดีแพ่งของไทย ได้แก่ จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น
กฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่ง หลักกฎหมายทั่วไป
หน่วยที่ 10 การบังคับใช้กฎหมาย และการยกเลิกกฎหมาย
1. กฎหมายซึ่งบัญญัติขึ้นนั้น เมื่อจะนำามาบังคับใช้มีหลักสำาคัญที่ต้องพิจารณาอยู่ 3 ประการ คือ เวลา
สถานที่ และบุคคลที่ใช้บังคับ
2. ในการบังคับใช้กฎหมายให้ได้มีประสิทธิผลนั้น รัฐเองมีหน้าที่จะต้องเตรียมการให้พร้อมในด้านสถานที่
บุคลากร และประชาสัมพันธ์
3. การยกเลิกกฎหมาย คือการที่กฎหมายนั้นสิ้นสุดลง ไม่สามารถใช้บังคับได้อีกต่อไป การยกเลิก
กฎหมายนั้นแบ่งออกได้เป็น 2 กรณี คือ การยกเลิกกฎหมายโดยตรง และการยกเลิกกฎหมายโดย
ปริยาย
10.1 การบังคับใช้กฎหมาย
1. เวลาที่กฎหมายใช้บังคับนั้น ก็คือเวลาที่กฎหมายกำาหนดไว้ในตัวกฎหมายนั้นเองว่าจะให้กฎหมายนั้น
ใช้บังคับเมื่อใด อาจเป็นวันที่ประกาศใช้ หรือโดยกำาหนดวันใช้ไว้แน่นอน หรือกำาหนดให้ใช้เมื่อระยะ
เวลาหนึ่งล่วงพ้นไป
2. สถานที่ที่กฎหมายใช้บังคับ กฎหมายของประเทศไดก็ใช้บังคับได้ในอาณาเขตของประเทศนั้นๆ ซึ่ง
เป็นการใช้หลักดินแดน
3. กฎหมายย่อมใช้บังคับแก่บุคคลทุกคนที่อยู่ในอาณาเขตของประเทศนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลสัญญาติ
นั้นเองหรือบุคคลต่างด้าวก็ตาม
4. การบังคับใช้กฎหมายให้ได้ผล ต้องมีการเตรียมการทั้งในด้านการประชาสัมพันธ์ บุคลากร สถานที่ และ
อุปกรณ์
10.1.1 เวลาที่กฎหมายใช้บังคับ
การบังคับใช้กฎหมายแบ่งได้เป็นกี่ประเภท
การบังคับใช้กฎหมายแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1) เวลาที่ใช้บังคับ
2) สถานที่ที่กฎหมายใช้บังคับ
3) บุคคลที่กฎหมายใช้บังคับ
อธิบายหลักทั่วไปของกำาหนดเวลาที่กฎหมายใช้บังคับ
กำาหนดเวลาที่กฎหมายใช้บังคับสามารถแบ่งได้เป็น 4 กรณี คือ
1) กรณีทั่วไป คือ โดยปกติกฎหมายมักจะกำาหนดวันใช้บังคับในวันถัดจากวันประกาศในราช
กิจจานุเบกษา
2) กรณีเร่งด่วน เป็นกรณีที่ต้องการใช้บังคับกฎหมายอย่างรีบด่วนให้ทันสถานการณ์ จึง
กำาหนด ให้ใช้ในวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
3) กำาหนดเวลาให้ใช้เมื่อระยะเวลาหนึ่งล่วงไป เช่น เมื่อพ้นจากวันนับแต่วันประกาศในราชกิจ
จานุเบกษาทั้งนี้ เพื่อให้เวลาแก่ทางราชการที่เตรียมตัวให้พร้อมในการบังคับใช้กฎหมายนั้น
และให้ประชาชนได้เตรียมศึกษาเพื่อปฏิบัติตามได้ถูกต้อง
4) กรณีพิเศษ กฎหมายอาจกำาหนดให้พระราชบัญญัตินั้นใช้บังคับในวันถัดจากวันประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษา แต่พระราชบัญญัตินั้นจะใช้ได้จริง ในท้องที่ใด เวลาใด
10.1.2 สถานที่ที่กฎหมายใช้บังคับ
หลักดินแดนหมายความว่าอย่างไร
“หลักดินแดน” หมายความว่า กฎหมายของประเทศใดก็ให้ใช้บังคับกฎหมายของประเทศนั้นภายใน
อาณาเขตของประเทศนั้น
10.1.3 บุคคลที่กฎหมายใช้บังคับ
บุคคลใดบ้างที่รัฐธรรมนูญยกเว้นไม่ให้ใช้บังคับกฎหมาย
บุคคลที่รัฐธรรมนูญยกเว้นไม่ให้ใช้บังคับกฎหมายได้แก่
1. พระมหากษัตริย์ เพราะเป็นที่เคารพสักการะ ใครจะล่วงละเมิดฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ไม่ได้ ไม่ว่า
ทางแพ่งหรือทางอาญา
2. สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รัฐมนตรี กรรมาธิการ และบุคคลที่ประธานสภาฯ
อนุญาตให้แถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็นในสภาตลอดจนบุคคลผู้พิมพ์รายงานการ
ประชุมตามคำาสั่งของสภาฯ เหตุที่กฎหมายให้เอกสิทธิ์ไม่ให้ผู้ใดฟ้องบุคคลดังกล่าวในขณะปฏิบัติ
หน้าที่ในสภา ก็เพื่อแสดงความคิดเห็นได้เต็มที่เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของสภานั้นเอง เว้นแต่
การประชุมนั้นจะมีการถ่ายทอดทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์
10.1.4 การเตรียมการบังคับใช้กฎหมาย
การเตรียมการบังคับใช้กฎหมายมีกี่ประเภท อะไรบ้าง
การเตรียมการบังคับใช้กฎหมายแบ่งออกเป็น 3 กรณี
1. ด้านประชาสัมพันธ์ มีการเตรียมการ โดยผ่านสื่อต่างๆ ไม่ว่าทางวิทยุโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อให้
บุคคลต่างๆ ได้ทราบข้อมูล
2. ด้านเจ้าหน้าที่ ต้องมีการเตรียมการให้เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายมีความรู้ ความชำานาญ และ
ความเข้าใจ เพื่อจะบังคับใช้กฎหมายได้ถูกต้อง
3. ด้านสถานที่และอุปกรณ์ มีการเตรียมสถานที่เพื่อให้เพียงพอให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ
กฎหมายเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย
10.2 การยกเลิกกฎหมาย
1. การยกเลิกกฎหมาย คือการทำาให้กฎหมายที่เคยใช้บังคับอยู่นั้นสิ้นสุดลง โดยยกเลิกโดยตรง และ
ยกเลิกโดยปริยาย
2. การยกเลิกกฎหมายโดยตรงนั้น แบ่งออกเป็น 3 กรณี คือ
1) ตัวกฎหมายนั้นเอง กำาหนดวันที่ยกเลิกกฎหมายนั้นไว้
2) ยกเลิกโดยมีกฎหมายใหม่ ซึ่งมีลักษณะอย่างเดียวกัน กำาหนดให้ยกเลิกไว้โดยตรง
3) ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติ
3. การยกเลิกกฎหมายโดยปริยายนั้น เป็นเรื่องที่ไม่มีกฎหมายใหม่บัญญัติให้ยกเลิกกฎหมายเก่าโดยชัด
แจ้ง แต่เป็นที่เห็นได้ว่ากฎหมายใหม่ย่อมยกเลิกกฎหมายเก่า เพราะกฎหมายใหม่ย่อมดีกว่ากฎหมาย
เก่า และหากประสงค์จะใช้กฎหมายเก่าอยู่ก็คงไม่บัญญัติกฎหมายในเรื่องเดียวกันขึ้นมาใหม่
10.2.1 การยกเลิกกฎหมายโดยตรง
อธิบายการยกเลิกกฎหมายโดยตรง
การยกเลิกกฎหมายโดยตรงแบ่งออกได้เป็น 3 กรณี คือ
1. ในกฎหมายนั้นเองกำาหนดวันยกเลิกไว้เช่น ให้กฎหมายนี้สิ้นสุดลงเมื่อพ้นกำาหนด 3 ปี
2. เมื่อมีกฎหมายใหม่มีลักษณะเช่นเดียวกัน ระบุยกเลิกไว้โดยตรง ซึ่งอาจจะยกเลิกทั้งฉบับหรือบาง
มาตราก็ได้
3. เมื่อพระราชกำาหนดที่ประกาศใช้ถูกยกเลิก เมื่อพระราชกำาหนดได้ประกาศใช้แต่ต่อมาได้มีพระราช
บัญญัติไม่อนุมัติพระราชกำาหนดนั้น มีผลทำาให้พระราชกำาหนดนั้นถูกยกเลิกไป
10.2.2 การยกเลิกกฎหมายโดยปริยาย
เมื่อยกเลิกพระราชบัญญัติแล้ว พระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยอำานาจของกฎหมายนั้นจะถูกยกเลิกหรือไม่
เมื่อยกเลิกพระราชบัญญัติแล้ว พระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยอำานาจของกฎหมายนั้นจะถูกยกเลิกไปใน
ตัวด้วยเพราะพระราชบัญญัติเป็นกฎหมายแม่บท เมื่อกฎหมายแม่บทถูกยกเลิกไปแล้ว พระราชกฤษฎีกาซึ่งออก
มาเพื่อจะให้มีดำาเนินการให้เป็นกฎหมายแม่บทก็จะถูกยกเลิกไปด้วย
👉 แบบประเมินตนเองหน่วยที่ 10
1. การบังคับใช้กฎหมาย มี 3 ประเภท คือ ใช้บังคับกับเวลา สถานที่ และบุคคล
2. “พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป” เป็นเวลาที่
กฎหมายใช้บังคับ ในกรณีทั่วไป
3. ทะเลห่างจากฝั่งที่เป็นดินแดนไทย 15 ไมล์ทะเล ไม่อยู่ในความหมายคำาว่า “ราชอาณาจักร” (12 ไมล์
ทะเลจึงอยู่ในราชอาณาจักร)
4. กรณีหลักดินแดน (1) หลักดินแดนคือหลักที่ว่ากฎหมายของประเทศใดย่อมใช้บังคับเฉพาะใน
อาณาเขตของประเทศนั้น (2) ศาลไทยพิพากษาความผิดต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรไทยได้แม้
เกิดนอกราชอาณาจักร (3) ศาลไทยพิพากษาความผิดเกี่ยวกับการปลอมเงินตราได้แม้เกิดนอกราช
อาณาจักร (4) ศาลไทยพิพากษาความผิดฐานปล้นทรัพย์ซึ่งได้กระทำาในทะเลหลวงได้
5. กฎหมายไทยไม่สามารถใช้บังคับแก่บุคคลต่อไปนี้ได้แก่ (1) ประมุขแห่งรัฐต่างๆ (2) ทูตและบริวาร (ค)
กองทัพต่างประเทศที่เข้ามายึดครองราชย์อาณาจักร (ง) บุคคลที่ทำางานในหน่วยงานองค์การ
สหประชาชาติ
6. บุคคลที่รัฐธรรมนูญให้ใช้บังคับกฎหมายได้แก่ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
7. การเตรียมการบังคับใช้กฎหมาย มี 3 ประเภท
8. การยกเลิกกฎหมายโดยตรงทำา ได้ 3 วธิ ี
9. เกี่ยวกับการยกเลิกกฎหมาย (1) ได้กำาหนดวันยกเลิกกฎหมายไว้ในกฎหมายนั้นเอง (2) ได้ออก
กฎหมายใหม่ที่มีลักษณะเช่นเดียวกัน (3) เมื่อพระราชกำาหนดไม่ได้รับการอนุมัติ (4) เมื่อมีกฎหมาย
ใหม่ลักษณะพิเศษ บัญญัติในเรื่องเดียวกับกฎหมายเก่าลักษณะทั่วไป
10. เกี่ยวกับกฎหมายที่มีผลย้อนหลัง (1) จะออกกฎหมายย้อนหลังให้ลงโทษบุคคลไม่ได้ (2) จะออก
กฎหมายย้อนหลังเพิ่มโทษบุคคลให้สูงขึ้นไม่ได้ (3) โดยหลักการทั่วไปแล้วกฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง
(4)มีผลย้อนหลังได้โดยที่กฎหมายต้องระบุไว้โดยกฎหมายนั้น
หน่วยที่ 11 กฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน
1. ในระบบประมวลกฎหมาย (Civil Law System) มีการแบ่งแยกประเภทกฎหมายเอกชนและกฎหมาย
มหาชน
2. กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่ใช้ระหว่างเอกชนกับเอกชน ซึ่งอยู่บนพื้นฐานความเท่าเทียมของบุคคล
3. กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับเอกชน ซึ่งอยู่บนพื้นฐานที่ไม่เท่าเทียมกัน
11.1 การแบ่งแยกกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน
1. การแบ่งแยกกฎหมายออกเป็นกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน เป็นลักษณะเด่นของระบบ
กฎหมายแบบโรมาโน-เยอรมานิก
2. หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่งแยกกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนมีหลายประการ เช่น เนื้อหา
วัตถุประสงค์ นิติวิธี เป็นต้น
3. ประเทศไทยเริ่มมีการแบ่งแยกกฎหมายเอกชนออกจากกฎหมายมหาชนอย่างชัดเจน หลังจากมีการ
เปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475
11.1.1 ความจำาเป็นในการแบ่งกฎหมายออกเป็นกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน
ในสมัยโรมันมีการแบ่งแยกประเภทออกเป็นกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนหรือไม่
ในสมัยโรมันมีการแบ่งแยกประเภทออกเป็นกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน แต่เป็นการแบ่งเพื่อ
จะไม่ต้องศึกษากฎหมายมหาขน
11.1.2 หลักเกณฑ์ในการแบ่งกฎหมายออกเป็นกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน
การแบ่งกฎหมายออกเป็นกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนใช้หลักเกณฑ์ใดบ้าง
เกณฑ์การแบ่งกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนอาจใช้หลักเกณฑ์คือ
(1) เกณฑ์ที่เกี่ยวกับบุคคลผู้ก่อนิติสัมพันธ์
(2) เกณฑ์ที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของนิติสัมพันธ์
(3) เกณฑ์ที่เกี่ยวกับวิธีการที่ใช้ในการก่อนิติสัมพันธ์ระหว่างกัน
(4) เกณฑ์ที่เกี่ยวกับเนื้อหา
11.1.3 พัฒนาการแบ่งแยกกฎหมายออกเป็นกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนใน
ประเทศไทย
ประเทศไทยมีการแบ่งกฎหมายออกเป็นกฎหมาย เอกชนและกฎหมายมหาชนอย่างชัดเจนในสมัยใด
ประเทศไทยมีการแบ่งแยกกฎหมายออกเป็นกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนอย่างชัดเจนในช่วง
หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
11.2 การแบ่งแยกสาขาย่อยในกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน
1. กฎหมายเอกชนประกอบด้วยกฎหมายสาขาย่อยที่สำาคัญคือ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
2. กฎหมายมหาชนประกอบด้วยกฎหมายสาขาย่อยที่สำาคัญคือ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง
และกฎหมายการคลังและภาษีอากร
3. การแบ่งสาขาย่อยของกฎหมายมหาชนในแต่ละประเทศอาจมีความแตกต่างกันได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับ
ประวัติศาสตร์ แนวคิดของนักวิชาการของประเทศนั้นๆ
11.2.1 การแบ่งสาขาย่อยในกฎหมายเอกชน
กฎหมายใดที่ถือว่าอยู่ในสาขาย่อยของกฎหมายเอกชน
กฎหมายที่ถือว่าอยู่ในสาขาย่อยของกฎหมายเอกชน คือ กฎหมายแพ่ง กฎหมายพาณิชย์ กฎหมาย
อาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและธรรมนูญศาล กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
11.2.2 การแบ่งสาขาย่อยในกฎหมายมหาชน
กฎหมายใดที่ถือว่าอยู่ในสาขาย่อยของกฎหมายมหาชน
กฎหมายที่ถือว่าอยู่ในสาขาย่อยของกฎหมายมหาชน คือ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง
กฎหมายการคลังและภาษีอากร กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
👉 แบบประเมินตนเองหน่วยที่ 11
1. กฎหมายการคลัง จัดว่าเป็นกฎหมายมหาชน (กฎหมายแพ่งฯ กฎหมายอาญา กฎหมายพาณิชย์
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา->ไม่เป็น)
2. ลักษณะของกฎหมายมหาชนคือ ใช้บังคับกับนิติสัมพันธ์ที่ไม่ต้องอาศัยความสมัครใจของผู้ก่อนิติ
สัมพันธ์ของอีกฝ่ายหนึ่ง
3. กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็น กฎหมายที่วางระเบียบในการปกครองประเทศ
4. ประเทศไทยมีการแบ่งแยกกฎหมายมหาชนออกจากกฎหมายมหาชนอย่างชัดเจนในสมัย หลังการ
เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ . ศ . 2475
5. ระบบกฎหมายไทยจัดอยู่ในระบบกฎหมาย โรมาโน - เยอรมานิก
6. ประเทศไทยมีการปฏิรูประบบกฎหมายครั้งใหญ่ในสมัย รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร ์
7. กฎหมายตราสามดวง ได้มีการปรับปรุงกฎหมายครั้งใหญ่ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์
8. ก่อนมีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายและพาณิชย์ ประเทศไทยนำาหลักกฎหมายของประเทศอังกฤษ
มาใช้สอนในโรงเรียนกฎหมาย
9. การจัดตั้งศาลปกครอง พ . ศ . 2542 เป็นเหตุการณ์ที่ทำาให้มีการพัฒนากฎหมายมหาชนครั้งใหญ่ใน
ประเทศไทย
10. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย ได้รับอิทธิพลจากประมวลกฎหมายของประเทศ เยอรมนี
11. กฎหมายจารีตนครบาล เป็นกฎหมายที่มีการปรับปรุงกฎหมายครั้งใหญ่ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์
หน่วยที่ 12 ระบบกระบวนการยุติธรรมไทย
1. กระบวนการยุติธรรมเป็นเรื่องที่มีความสำาคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากมีผลกระทบต่อประชาชนในประเทศ
เพราะเป็นกระบวนการวินิจฉัยข้อขัดแย้งของบุคคลในสังคมให้ได้รับความเป็นธรรม และก่อให้เกิด
ความสงบสุขแก่สังคม ทั้งยังเป็นสาระสำาคัญของการปกครองในระบบประชาธิปไตยภายใต้หลัก
นิติธรรม
2. กระบวนการยุติธรรมปัจจุบันของไทยได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตในหลายด้าน เพื่อให้เหมาะสม
สอดคล้องกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป และสามารถอำานวยความยุติธรรมและคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ
ของประชาชนตามกฎหมาย
3. เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมดำาเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และประสาทความยุติธรรมให้แก่ประชาชน
ได้จึงจำาเป็นต้องมีหลักประกันความเป็นธรรมและความเป็นอิสระของผู้พิพากษาและตุลาการ
4. ในปัจจุบันยังมีองค์กรอื่นที่ทำาหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทของประชาชน ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่
ไม่ใช่องค์กรตุลาการก็ได้
12.1 กระบวนการยุติธรรมไทยในอดีต
1. กระบวนการยุติธรรมในสมัยสุโขทัยไม่มีระบบชัดเจนแน่นอน ราษฎรเมื่อมีข้อพิพาทก็อาจไปถวายฎีกา
เพื่อขอความเป็นธรรมจากพระเจ้าแผ่นดินได้ด้วยตัวเอง
2. กระบวนการยุติธรรมในสมัยอยุธยาเป็นระบบและชัดเจนกว่าสมัยสุโขทัย ซึ่งในสมัยอยุธยามีทั้ง
กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติใช้ โดยในการบัญญัติกฎหมายได้รับเอาคัมภีร์พระ
ธรรมศาสตร์มาเป็นหลักในการบัญญัติกฎหมาย
3. กฎหมายตราสามดวงซึ่งชำาระขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ส่วนใหญ่เป็นกฎหมายที่
รวบรวมมาจากกฎหมายสมันอยุธยา ซึ่งแยกออกเป็นลักษณะต่างๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับวิธีพิจารณาความ
ในศาล ได้แก่ ลักษณะพระธรรมนูญ ลักษณะรับฟ้อง ลักษณะพยาน ลักษณะพิสูจน์ดำานำ้า ลุยเพลิง
ลักษณะตระลาการ และลักษณะอุทธรณ์
4. ระบบการศาลไทยก่อนยุคปฏิรูปการศาลในสมัยรัชกาลที่ 5 ศาลเป็นหน่วยงานที่ขึ้นอยู่กับกรมต่างๆ มี
ตระลาการทำาหน้าที่พิจารณาคดีตามที่กรมที่ตนสังกัดอยู่ มอบหมายให้มีลูกขุน ณ ศาลหลวงทำาหน้าที่
พิพากษาคดี และมีผู้ทำาหน้าที่ปรับบทความผิดและวางบทลงโทษผู้กระทำาผิดให้เหมาะสมแก่ความผิด
5. ระบบการศาลไทยหลังการปฏิรูประบบกฎหมายและการศาลในสมันรัชกาลที่ 5 เป็นระบบศาลเดี่ยว
โดยระบบศาลไม่ต้องสังกัดอยู่กับกรมต่างๆอีกต่อไป มีศาลยุติธรรมเป็นองค์กรเดียวที่ใช้อำานาจตุลาการ
ทำาหน้าที่พิจารณาพิพากษาอรรถคดีโดยเฉพาะ
6. ปัจจุบันประเทศไทยใช้ระบบประมวลกฎหมาย (Civil Law) และระบบศาลเป็นระบบศาลคู่ คือมีศาลที่มี
ความรู้ ความชำานาญ และประสบการณ์ในคดีเรื่องนั้นๆ โดยเฉพาะทำาหน้าที่คู่เคียงไปกับศาลยุติธรรม
และมีการจัดแบ่งโครงสร้างของศาลเป็นตามลำาดับชั้นและประเภทของคดี
12.1.1 กระบวนการยุติธรรมสมัยสุโขทัย
อธิบายลักษณะของกระบวนการยุติธรรมในสมัยสุโขทัย
ระบบการยุติธรรมในสมัยกรุงสุโขทัย ไม่มีระบบที่ชัดเจน แต่เมื่อราษฎรมีข้อพิพาทกันก็สามารถไปสั่น
กระดิ่งที่แขวนไว้ที่หน้าประตูเพื่อให้พระมหากษัตริย์มาสอบสวนและตัดสินคดีความได้
12.1.2 กระบวนการยุติธรรมสมัยอยุธยา
อธิบายลักษณะของกระบวนการยุติธรรมในสมัยอยุธยา
กระบวนการยุติธรรมในสมัยอยุธยาเป็นระบบกว่าในสมัยสุโขทัย มีการจัดตั้งศาลเพื่อพิจารณาคดีต่างๆ
ซึ่งกระจายอยู่ตามตัวกระทรวงต่างๆ
12.1.3 กระบวนการยุติธรรมสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
เพราะเหตุใดในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นจึงได้มีชำาระกฎหมายขึ้นใหม่
กฎหมายที่ใช้ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น เป็นกฎหมายที่ตกทอดสืบมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยา
ตอนปลาย แต่เนื่องจากกฎหมายต่างๆ ถูกเผาทำาลายไป กฎหมายที่เหลืออยู่ไม่เหมาะสมกับกาลสมัยไม่อาจ
อำานวยความยุติธรรมได้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงได้โปรดให้มีการชำาระกฎหมายขึ้นใหม่
12.1.4 กระบวนการยุติธรรมในปัจจุบัน
อธิบายถึงความเปลี่ยนแปลงที่สำาคัญของระบบกระบวนการยุติธรรมไทยในปัจจุบัน
การเปลี่ยนแปลงที่สำาคัญของระบบยุติธรรมไทย คือ มีการเปลี่ยนแปลงจากระบบศาลเดี่ยวเป็นระบบ
ศาลคู่ คือมีการจัดตั้งศาลหลายประเภท โดยแบ่งชนิดของตามประเภทของคดี
12.2 หลักการสำาคัญของการดำาเนินกระบวนการยุติธรรมในศาล
1. เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมดำาเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ประชาชน
จำาเป็นจะต้องการกำาหนดหลักประกันความเป็นธรรมให้แก่ผู้พิพากษา เพื่อให้ผู้พิพากษาสามารถ
อำานวยความยุติธรรมให้แก่คู่ความได้
2. เพื่อให้ผู้พิพากษาได้ตัดสินคดีต่างๆ อย่างเที่ยงธรรมโดยมิต้องเกรงกลัวอิทธิพลใดๆ หรือให้ถูกแทรกแซง
โดยอำานาจอื่น จำาเป็นต้องมีหลักประกันความเป็นอิสระของผู้พิพากษา
3. แม้นฝ่ายตุลาการจะมีหลักประกันความเป็นธรรมและความเป็นอิสระ แต่กระบวนการยุติธรรมก็อาจถูก
ตรวจสอบได้และต้องมีความโปร่งใสด้วย
12.2.1 หลักประกันความยุติธรรมของผู้พิพากษาและตุลาการ
หลักประกันความเป็นธรรมของผู้พิพากษาและตุลาการซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2540 กำาหนดไว้ไว้ได้แก่หลักการใดบ้าง
หลักประกันความเป็นธรรมของผู้พิพากษาและตุลาการ ได้แก่
1) การพิจารณาคดีจะกระทำาโดยองค์คณะและต้องครบองค์คณะ
2) มีการพิจารณาคดีแบบต่อเนื่อง
12.2.2 หลักประกันความเป็นอิสระของผู้พิพากษาและตุลาการ
มาตรการที่เป็นหลักประกันความเป็นอิสระของผู้พิพากษาและตุลาการจากองค์กรภายนอกได้แก่
มาตรการใด
มาตรการที่เป็นหลักประกันความเป็นอิสระของผู้พิพากษาและตุลาการจากองค์กรภายนอก ได้แก่
1) มีหน่วยธรการเป็นอิสระ
2) แยกบุคคลที่ดำารงตำาแหน่งผู้พิพากษาและตุลาการออกจากฝ่ายนิติบัญญัติและบริหาร
12.2.3 หลักการพิจารณาโดยเปิดเผย
หลักการพิจารณาคดีโดยเปิดเผยในศาลมีประโยชน์ในกรณีใดบ้าง
หลักการพิจารณาโดยเปิดเผยมีประโยชน์ในด้านการควบคุม และตรวจสอบการทำางานของผู้พิพากษา
และตุลาการ ว่าดำาเนินการไปโดยสุจริตและยุติธรรมหรือไม่
12.3 กระบวนการยุติธรรมอื่น
1. ในระบอบประชาธิปไตยที่มีการแยกองค์กรที่ใช้อำานาจอธิปไตยออกเป็นหลายองค์กร ศาลมิใช่องค์กร
เดียวเท่านั้นที่ทำาหน้าที่มนการวินิจฉัยข้อพิพาท
2. องค์กรที่มีอำานาจในการวินิจฉัยข้อพิพาทอาจเป็นหน่วยราชการหรือองค์กรที่ไม่ใช่หน่วยราชการก็ได้ซึ่ง
เรียกว่า องค์กรกึ่งตุลาการ (Quasi Judicial)
12.3.1 องค์กรวินิจฉัยอิสระ
ยกตัวอย่างองค์กรวินิจฉัยอิสระที่ไม่ได้เป็นส่วนราชการ
องค์กรวินิจฉัยอิสระที่ไม่ได้เป็นส่วนราชการ เช่น
1. คณะกรรมการ ป.ป.ช.
2. คณะกรรมการเลือกตั้ง
12.3.2 องค์กรวินิจฉัยของหน่วยราชการ
คำาวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ เมื่อวินิจฉัยชี้ขาดเรื่องร้องทุกข์แล้วมีผลประการใด
คำาวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ยังไม่มีผลบังคับแก่คู่กรณี ต้องส่งให้นายกรัฐมนตรีสั่งการ
อีกทีหนึ่ง
👉 แบบประเมินตนเองหน่วยที่ 12
1. บุคคลที่มีอำานาจฟ้องคดีอาญาได้แก่ พนักงานอัยการและผู้เสียหาย
2. บุคคลจะมีอำานาจฟ้องคดีได้เมื่อ สิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายแพ่งถูกโต้แย้ง
3. ลักษณะของระบบศาลไทยก่อนการปฏิรูปการศาลในรัชกาลที่ 5 เป็นหน่วยงานที่ขึ้นอยู่กับกรมต่างๆ ทำา
หน้าที่พิจารณาคดีตามที่กรมที่ตนสังกัดอยู่มอบหมาย
4. ลักษณะของระบบศาลคู่ของประเทศไทยในปัจจุบันคือ มีศาลยุติธรรมคู่กับศาลปกครอง
5. องค์กรที่ทำาหน้าที่ตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำารงตำาแหน่งทางการเมือง คือ คณะ
กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
6. องค์กรที่ทำาหน้าที่ไต่สวนกรณีการเข้าชื่อร้องขอถอดถอนนายกรัฐมนตรี เนื่องจากมีพฤติกรรมรำ่ารวยผิด
ปกติคือ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำารงตำาแหน่งทางการเมือง
7. หลักในการพิจารณาคดีของศาลอาญาคือ การพิจารณาและสืบพยานต้องกระทำาโดยเปิดเผยต่อหน้า
จำเลย
8. มาตรการที่เป็นหลักประกันความเป็นอิสระของผู้พิพากษาและตุลาการขององค์กรภายนอกคือ การ
กำาหนดให้หน่วยงานธุรการของศาลเป็นอิสระขึ้นต่อประธานศาล
9. ในคดีมาก่อนการปฏิรูประบบศาลไทย ในสมัยรัชกาลที่ 5 ระบบการพิจารณาคดีในศาลเป็นระบบ
ไต่สวน
หน่วยที่ 13 ระบบศาลไทย
1. ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นศาลชำานัญพิเศษที่จัดตั้งขึ้น มีอำานาจหน้าที่ที่สำาคัญ คือ พิจารณาคดีที่เกี่ยวข้อง
กับรัฐธรรมนูญ
2. ศาลยุติธรรม เป็นศาลที่มีอำานาจพิจารณาพิพากษาที่เป็นการทั่วไป คือคดีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่
ในอำานาจศาลอื่น
3. ศาลปกครอง เป็นศาลชำานัญพิเศษที่จัดตั้งขึ้น มีอำานาจที่พิจารณาคดีปกครอง
4. ศาลทหาร เป็นศาลที่มีอำานาจพิจารณาคดีที่เกี่ยวกับวินัยทหารเป็นหลัก
13.1 ศาลรัฐธรรมนูญ
1. ศาลรัฐธรรมนูญเป็นศาลประเภทหนึ่งที่มีอำานาจในการพิจารณาคดีเกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็น
กฎหมายสูงสุดของประเทศ
2. ศาลรัฐธรรมนูญจะเริ่มดำาเนินการเองไม่ได้ ต้องมีผู้เสนอคำาร้องให้พิจารณา ผู้มีอำานาจฟ้องคดีต่อศาล
รัฐธรรมนูญได้กำาหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น ศาล ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ประธาน
รัฐสภา นายกรัฐมนตรี เป็นต้น
3. ศาลรัฐธรรมนูญมีวิธีพิจารณาคดีที่กำาหนดขึ้นมาเอง โดยความเห็นชอบเป็นเอกลักษณ์ของตุลาการ
รัฐธรรมนูญ
4. คำาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอื่นของรัฐ
13.1.1 ขอบเขตอำานาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ
ยกตัวอย่างคดีที่ในขอบเขตอำานาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ 2 คดี
คดีที่อยู่ในขอบเขตอำานาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ เช่น
1. กรณีวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชกำาหนดขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ
2. วินิจฉัยว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ
13.1.2 สิทธิเสนอคำาร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ
ในกรณีที่มีปัญหาว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ ใครเป็นผู้มีสิทธิเสนอคำาร้องให้ศาล
ยุติธรรมพิจารณา
มี 2 กรณีคือ
1. ศาลทุกศาล ทั้งในกรณีที่ศาลเห็นเองหรือมีคู่กรณีโต้แย้งว่าบทบัญญัติใดของกฎหมายขัด
ต่อรัฐธรรมนูญ
2. ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเห็นว่าบทบัญญัติของกฎหมาย มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบ
ด้วยรัฐธรรมนูญ
13.1.3 การดำาเนินกระบวนพิจารณา
วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญมีลักษณะพิเศษอย่างไร
ศาลรัฐธรรมนูญสามารถกำาหนดวิธีพิจารณาคดีได้ด้วยตนเอง ซึ่งกระทำาโดยมติเอกฉันท์ของคณะ
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่วิธีพิจารณาคดีของศาลอื่นนั้นจะต้องตราเป็น
กฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติ
13.1.4 ผลของคำาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
ผลของคำาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลอย่างไร
คำาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันทุกองค์กรให้ปฏิบัติตาม
13.2 ศาลยุติธรรม
1. ศาลยุติธรรมเป็นศาลที่มีอำานาจทั่วไป คดีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำานาจศาลอื่นจึงอยู่ในเขต
อำานาจศาลยุติธรรม
2. ผู้มีสิทธิเริ่มคดีได้ต้องเป็นบุคคลที่กฎหมายบัญญัติให้มีสิทธิฟ้องคดีได้
3. การดำาเนินการกระบวนพิจารณาของศาลยุติธรรมเป็นระบบกล่าวหา คือ ผู้ใดกล่าวอ้าง ผู้นั้นมีหน้าที่
นำาสืบ
4. คำาพิพากษาของศาลย่อมมีผูกพันคู่กรณี และการบังคับคดีกระทำาโดยศาลออกคำาบังคับ
5. การดำาเนินคดีอาญาของผู้ดำารงตำาแหน่งทางการเมือง เป็นการดำาเนินคดีอาญากับผู้ดำารงตำาแหน่ง
ทางการเมือง เพื่อเป็นการสร้างระบบควบคุมตรวจสอบผู้ดำารงตำาแหน่งทางการเมือง โดยกำาหนดเป็นวิธี
พิเศษขึ้น
13.2.1 ระบบศาลยุติธรรมและขอบเขตอำานาจหน้าที่
ศาลยุติธรรมมีอำานาจพิจารณาคดีประเภทใดบ้าง
คดีทุกประเภทที่มิได้มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำานาจของศาลอื่น เช่น คดีแพ่ง คดีอาญา คดีแรงงาน
คดีภาษีอากร คดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ คดีล้มละลาย คดีเด็กเยาวชนและครอบครัว
13.2.2 การเริ่มคดี
ผู้มีสิทธิฟ้องคดีอาญามีใครบ้าง
ผู้มีสิทธิฟ้องคดีอาญา ได้แก่
1) รัฐ
2) ผู้เสียหาย
13.2.3 การดำาเนินกระบวนการพิจารณา
ในคดีอาญา การพิจารณาคดีต้องกระทำาต่อหน้าจำาเลย โดยมีข้อยกเว้นในกรณีใดบ้าง
ในคดีอาญา การพิจารณาคดีต้องกระทำาต่อหน้าจำาเลย ยกเว้นกรณีต่อไปนี้
1. ในคดีมีอัตราจำาคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี จะมีโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตาม หรือในคดีมีโทษ
ปรับสถานเดียว เมื่อจำาเลยมีทนายและจำาเลยได้รับอนุญาตจากศาลที่จะไม่มาฟังการ
พิจารณาและการสืบพยาน
2. ในคดีที่มีจำาเลยหลายคน ถ้าศาลพอใจคำาแถลงของโจทก์ว่าการพิจารณาและการสืบพยาน
ตามที่โจทก์ขอให้กระทำาไม่เกี่ยวแก่จำาเลยคนใด ศาลจะพิจารณาและสืบพยานลับหลัง
จำาเลยคนนั้นก็ได้
3. คดีที่มีจำาเลยหลายคน ถ้าศาลเห็นสมควรจะพิจารณาและสืบพยานจำาเลยคนหนึ่งๆ ลับ
หลังจำาเลยคนอื่นก็ได้
13.2.4 คำาพิพากษาและการบังคับคดี
การบังคับคดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตและจำาเลยไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์จะต้องดำาเนินการ
อย่างไร
ในคดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำาเลยและไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นจะต้องส่ง
สำานวนคดีนั้นไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีกครั้งหนึ่ง จะบังคับคดีทันทีไม่ได้ หากศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำา
พิพากษาของศาลชั้นต้นจึงจะถือว่าคดีนั้นถึงที่สุด แต่ยังนำาตัวจำาเลยไปประหารไม่ได้ ต้องปฏิบัติในเรื่องของ
พระราชทานอภัยโทษก่อน
13.2.5 การดำาเนินคดีอาญาของผู้ดำารงตำาแหน่งทางการเมือง
บุคคลใดที่อาจถูกฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำารงตำาแหน่งทางการเมือง
บุคคลที่อาจถูกฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำารงตำาแหน่งทางการเมืองได้แก่
1) ผู้ดำารงตำาแหน่งทางการเมือง เช่น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
สมาชิก วุฒิสภา ข้าราชการการเมืองอื่น ผู้บริหารท้องถิ่น บุคคลที่เป็นตัวการผู้ใช้หรือผู้
สนับสนุน
2) กรรมการ ป.ป.ช.
13.3 ศาลปกครอง
1. ศาลปกครองเป็นศาลชำานัญพิเศษมีอำานาจในการพิจารณาพิพากษาคดีเฉพาะที่กฎหมายบัญญัติไว้
2. ผู้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง จะต้องเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือด ร้อน
หรือเสียหายจากการกระทำา หรืองดเว้นการกระทำาของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือ
มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง หรือกรณีอื่นใดที่อยู่ในเขตอำานาจศาลปกครอง
3. การดำาเนินกระบวนพิจารณาของศาลปกครองใช้หลักการดำาเนินการ โดยใช้พยานเอกสารเป็นหลักและ
ใช้ระบบไต่สวนในการพิจารณา
4. คำาพิพากษาของศาลปกครองย่อมผูกพันคู่กรณีให้ต้องปฏิบัติตาม
13.3.1 ขอบเขตของอำานาจหน้าที่
คำาว่า “หน่วยงานปกครอง” ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองหมายถึงหน่วย
งานใด
คำาว่า “หน่วยงานปกครอง” หมายถึง กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะ
เป็นกรม “ราชการส่วนภูมิภาค” เช่น จังหวัด อำาเภอ “ราชการส่วนท้องถิ่น” เช่น เทศบาล รัฐวิสาหกิจ “หน่วย
ราชการอื่นของรัฐ” ที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำานาจปกครองหรือได้ดำาเนินกิจการทางปกครอง “องค์กรมหาชน”
หน่วยงานเอกชนที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำานาจปกครอง
13.3.2 การฟ้องคดีปกครอง
ในกรณีฟ้องว่าพระราชกฤษฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมายต้องฟ้องต่อศาลใด
ต้องฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุด
13.3.3 การดำาเนินการกระบวนพิจารณา
วิธีพิจารณาคดีของศาลปกครองเป็นแบบใด
ศาลปกครองใช้วิธีพิจารณาคดีแบบไต่สวนและใช้พยานเอกสารเป็นหลัก แต่อย่างไรก็ตาม จะมีการนั่ง
พิจารณาอย่างน้อย 1 ครั้ง
13.3.4 การพิพากษาและการบังคับคดี
คำาพิพากษาของศาลปกครองมีผลย้อนหลังได้ในกรณีใด
ในกรณีที่ศาลปกครองมีคำาสั่งให้เพิกถอนกฎหรือคำาสั่ง หรือสั่งห้ามการกระทำาทั้งหมดหรือบางส่วนใน
กรณีฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำาการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
13.4 ศาลทหาร
1. ศาลทหารมีอำานาจพิจารณาพิพากษาลงโทษผู้กระทำาผิดกฎหมายทหาร หรือกฎหมายอื่นในทางอาญา
ในคดีซึ่งผู้กระทำาเป็นบุคคลที่อยู่ในอำานาจของศาลทหารในขณะกระทำาผิด
2. ผู้ฟ้องคดีในศาลทหารมีได้เฉพาะอัยการทหารและผู้เสียหายเท่านั้น
3. กระบวนการพิจารณาในศาลทหารเป็นไปตาม พ.ร.บ. ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498
4. คำาพิพากษาของศาลทหารยังไม่มีผลบังคับทันที เมื่อศาลทหารมีคำาพิพากษาลงโทษแล้วจะต้องออก
หมายแจ้งโทษให้ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้สั่งลงโทษจำาเลย
13.4.1 ขอบเขตอำานาจหน้าที่ของศาลทหาร
ศาลทหารมีอำานาจในการพิจารณาพิพากษาคดีใด
ศาลทหารมีอำานาจในการพิจารณาพิพากษาคดีที่ผู้กระทำาผิดกฎหมายทหาร หรือกฎหมายอื่นในทาง
อาญาในคดีซึ่งผู้กระทำาเป็นบุคคลที่อยู่ในอำานาจของศาลทหารในขณะกระทำาความผิดและมีอำานาจสั่งลงโทษ
บุคคลที่กระทำาความผิดฐานละเมิดอำานาจศาลทหารด้วย
13.4.2 การฟ้องคดีในศาลอาหาร
บุคคลใดมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลทหาร
ผู้มีสิทธิฟ้องคดีในศาลทหาร ได้แก่
1) อัยการทหาร
2) ผู้เสียหาย ภายใต้เงื่อนไข คือ
- ผู้เสียหายเป็นบุคคลในอำานาจศาลทหาร
- ความผิดที่ฟ้องร้องเกิดในเวลาปกติ
13.4.3 กระบวนพิจารณาในศาลทหาร
องค์คณะของศาลทหารแตกต่างจากศาลพลเรือนหรือไม่ อย่างไร
องค์คณะของศาลทหารแตกต่างจากศาลพลเรือน โดยจะต้องมีนายทหารเป็นองค์คณะรวมกับตุลาการ
พระธรรมนูญด้วย
13.4.4 ผลของคำาพิพากษา
การบังคับคดีของศาลทหารแตกต่างจากการบังคับคดีของศาลพลเรือนหรือไม่
การบังคับคดีของศาลทหารแตกต่างจากการบังคับคดีของศาลพลเรือน โดยเมื่อศาลทหารพิพากษา
ลงโทษจำาเลยแล้วจะไม่ออกหมายไปยังเรือนจำา แต่จะออกหมายแจ้งไปให้ผู้บังคับบัญชาทหารทราบและสั่งลงโทษจำาเลย
👉 แบบประเมินตนเองหน่วยที่ 13
1. องค์กรใดทำาหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ คือ ศาลรัฐธรรมนูญ
2. วิธีการพิจารณาคดีในศาลรัฐธรรมนูญเป็นแบบไต่สวน
3. ศาลยุติธรรม เป็นศาลที่มีอำานาจทั่วไป
4. คดีอุทธรณ์การประเมินภาษีอากร เป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำานาจศาลปกครอง
5. การสืบพยานในศาลใช้พยานเอกสารเป็นหลัก ไม่ใช่หลักในการพิจารณาคดีแพ่ง
6. ผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา เป็นบุคคลที่ไม่ได้อยู่ในเขตอำานาจของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำารง
ตำาแหน่งทางการเมือง
7. ในศาลปกครองใช้วิธีการดำาเนินกระบวนการพิจารณาแบบไต่สวน
8. คดีฟ้องว่าพระราชกฤษฎีกาขัดต่อพระราชบัญญัติ อาจฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดได้
9. องค์คณะของศาลทหารแตกต่างจากศาลพลเรือนคือ มีนายทหารร่วมเป็นคณะกับตุลาการพระธรรมนูญด้วย
10. ความแตกต่างของการฟ้องคดีต่อศาลปกครองกับการฟ้องคดีในศาลยุติธรรมคือ การฟ้องคดีปกครองอาจฟ้องทางไปรษณีย์ได้
หน่วยที่ 14 กฎหมายกับความเป็นธรรมในสังคม
1. กฎหมายเป็นสิ่งที่รัฐกำาหนดขึ้นเพื่อให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างมีความสงบสุข และเพื่อเป็นธรรมในสังคม
อย่างไรก็ดี กฎหมายบางฉบับอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม เช่น กฎหมายที่มีบทบัญญัติล้าสมัย หรือ
มีบทบัญญัติที่ไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ในสังคม
2. กฎหมายไม่สามารถบัญญัติขึ้นให้ครอบคลุมข้อเท็จจริงทุกกรณีได้ จึงมีบทบัญญัติให้ดุลพินิจแก่ผู้บังคับ
ใช้กฎหมายเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่น โดยอาจกำาหนดแนวทางหรือกรอบในการใช้ดุลพินิจไว้หรือไม่ก็ได้
ตามความเหมาะสม รวมทั้งมีกระบวนการแก้ไขการใช้ดุลพินิจที่ไม่เป็นธรรม
3. ในการสร้างความเป็นธรรมในสังคมโดยกฎหมาย นอกจากกฎหมายจะตราขึ้นโดยมีเจตนารมณ์เพื่อ
ความเป็นธรรมแล้ว ผู้ใช้กฎหมายต้องใช้กฎหมายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และเมื่อพบว่ากฎหมายใด
มีบทบัญญัติที่ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในสังคม ย่อมจำาเป็นต้องมีการแก้ไขกฎหมายนั้นให้เกิดความ
เป็นธรรมต่อไปด้วย
14.1 บทบัญญัติของกฎหมายที่ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม
1. ปัจจุบันสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำาให้แนวความคิดของประชาชนในสังคมได้เปลี่ยน
แปลงไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งวิทยาการและและเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง ส่งผลให้กฎหมายที่
บัญญัติขึ้นในสภาพสังคมยุคหนึ่งๆ ล้าสมัยไม่เหมาะสมที่จะนำามาใช้ในยุคปัจจุบัน การยังคงใช้
กฎหมายที่ล้าสมัย ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้เกี่ยวข้องและสังคม
2. กฎหมายบางฉบับบัญญัติขึ้นบนพื้นฐานของสภาวการณ์ช่วงหนึ่งๆ ของสังคมต่อมาเมื่อ สภาวการณ์
นั้นๆ ได้สิ้นสุดลงหรือเปลี่ยนแปลงไปการยังคงใช้กฎหมายนั้นต่อไปจึงไม่สอดคล้องกับ สภาวการณ์ใน
ปัจจุบันก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่สังคมหรือกฎหมายนั้นไม่อาจนำามาใช้บังคับได้โดยปริยาย
14.1.1 บทบัญญัติที่ล้าสมัย
ยกตัวอย่างบทบัญญัติของกฎหมายที่เห็นว่าล้าสมัยและไม่เป็นธรรม เพราะแนวคิดของสังคมในยุค
ปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไป โดยในปัจจุบันได้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายดังกล่าวแล้วหรือไม่ก็ได้
ตัวอย่างบทบัญญัติของกฎหมายอื่นที่ล้าสมัยและไม่เป็นธรรม เพราะแนวคิดของสังคมในยุคปัจจุบันได้
เปลี่ยนแปลงไป เช่น บทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ซึ่งแต่เดิม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 พ.ศ. 2478 บัญญัติให้สามีแต่เพียงผู้เดียวเป็นผู้มีอำานาจในการ
จัดการสินสมรส ซึ่งสภาพสังคมปัจจุบันฝ่ายหญิงก็มีส่วนช่วยหารายได้ให้แก่ครอบครัว และรัฐธรรมนูญยอมรับ
ให้มีสิทธิเท่าเทียมกับชาย จึงไม่เป็นธรรมที่จะให้ฝ่ายชายแต่เพียงฝ่ายเดียวเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของครอบครัว
ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ได้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยครอบครัว ให้สามีและภริยา
เป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกัน และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมหลักกฎหมายดังกล่าวอีกหลายครั้ง ล่าสุดในปี พ.ศ.
2533 ได้มีการแก้ไขให้สามีหรือภริยาจัดการสินสมรสโดยลำาพังได้ เว้นแต่ในกิจการที่สำาคัญบางประการที่ต้อง
จัดการร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง ปรากฏตามมาตรา 1476 ซึ่งยังมีผลใช้บังคับอยู่ใน
ปัจจุบัน
14.1.2 บทบัญญัติที่ไม่สอดคล้อง
ยกตัวอย่างบทบัญญัติของกฎหมายที่เห็นว่าไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ในยุคปัจจุบัน โดยปัจจุบันได้มี
การปรับปรุง แก้ไข หรือยกเลิกใช้แล้ว
ตัวอย่างบทบัญญัติของกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ในยุคปัจจุบัน เช่น พระราชกำาหนดจัด
ตั้งศาลพิเศษเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีความผิดฐานขบถภายนอกราชอาณาจักร พุทธศักราช พ.ศ. 2483 และ
พระราชบัญญัติอนุมัติพระราชกำาหนดจัดตั้งศาลพิเศษเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีความผิดฐานขบถภายนอกพระ
ราชอาณาจักร พุทธศักราช 2483 ซึ่งในปัจจุบันมีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
2540 มาตรา 234 วรรคสอง บัญญัติว่า “การตั้งศาลขึ้นใหม่เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งหรือคดีที่มี
ข้อหาฐานใดฐานหนึ่งโดยเฉพาะ แทนศาลที่มีอยู่ตามกฎหมายสำาหรับพิจารณาพิพากษาคดีนั้นจะกระทำามิได้”
และกฎหมายดังกล่าวถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติยกเลิกกฎหมายบางฉบับที่ไม่เหมาะสมกับกาลปัจจุบัน
พ.ศ. 2546 แล้ว
14.2 ดุลพินิจของผู้ใช้กฎหมายกับความเป็นธรรม
1. เนื่องจากกฎหมายไม่สามารถบัญญัติขึ้นให้ครอบคลุมข้อเท็จจริงทุกกรณีได้ จึงจำาเป็นต้องมีบท บัญญัติ
ที่ให้ดุลพินิจแก่ผู้บังคับใช้กฎหมายเพื่อความยืดหยุ่น ให้สามารถปรับใช้กฎหมายเพื่ออำานวยความ
ยุติธรรมได้ตามความเหมาะสมแก่กรณี
2. ในการให้ดุลพินิจในกฎหมาย อาจเป็นการให้ดุลพินิจโดยเด็ดขาดแก่ผู้ใช้กฎหมาย หรือโดยกำาหนด
แนวทาง หรือกรอบในการใช้ดุลพินิจหรือไม่ก็ได้ ตามความเหมาะสมหรือความสำาคัญของเรื่องที่
กฎหมายนั้นให้ดุลพินิจไว้
3. การใช้ดุลพินิจย่อมขึ้นอยู่กับบุคคลผู้ใช้ดุลพินิจที่กฎหมายกำาหนดไว้ บางครั้งอาจมีการใช้ดุลพินิจอย่าง
ไม่เหมาะสมหรือไม่เป็นไปตามกฎหมาย จึงจำาเป็นต้องมีกระบวนการแก้ไขการใช้ดุลพินิจที่ไม่เป็นธรรม
โดยองค์กรต่างๆ
14.2.1 ดุลพินิจในกฎหมาย
กฎหมายฉบับหนึ่งบัญญัติว่า “เมื่อปรากฏแกเจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าอาคารหรือส่วนของอาคารใดหรือ
สิ่งหนึ่งสิ่งใดซึ่งต่อเนื่องกับอาคาร มีสภาพชำารุดทรุดโทรม หรือปล่อยให้มีสภาพรกรุงรังจนอาจเป็นอันตรายต่อ
สุขภาพของผู้อยู่อาศัย หรือมีลักษณะไม่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะของการใช้เป็นที่อยู่อาศัย ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น
มีอำานาจออกคำาสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารนั้นจัดการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรื้อถอนอาคาร
หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดซึ่งต่อเนื่องกับอาคารทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหรือจัดการอย่างอื่นตามความจำาเป็นเพื่อมิให้เป็น
อันตรายต่อสุขภาพ หรือให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ ภายในเวลาซึ่งกำาหนดให้ตามสมควร” บทบัญญัติดังกล่าวมี
ลักษณะเป็นการให้ดุลพินิจแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือไม่
บทบัญญัติของกฎหมายข้างต้นมีลักษณะเป็นการให้ดุลพินิจแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ เนื่องจากก่อนออกคำา
สั่ง เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นจะต้องใช้ดุลพินิจพิจารณาว่าอาคารมีสภาพที่ “อาจเป็นอันตราต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัย
หรือมีลักษณะไม่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะของการใช้เป็นที่อยู่อาศัย” หรือไม่
14.2.2 แนวทางการใช้ดุลพินิจ
เหตุใดจึงจำาเป็นต้องมีแนวทางในการใช้ดุลพินิจในกฎหมาย
กฎหมายจำาเป็นต้องกำาหนดแนวทางในการใช้ดุลพินิจเพื่อให้การใช้ดุลพินิจเป็นไปในทางเดียวกัน เพื่อ
เป็นหลักประกันการใช้ดุลพินิจในการให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เกี่ยวข้องเพราะผุ้ใช้ดุลพินิจได้คำานึงถึงเงื่อนไข
ต่างๆที่กฎหมายวางกรอบไว้ และเพื่อเป็นพื้นฐานในการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจอีกทางหนึ่งด้วย
14.2.3 การแก้ไขการใช้ดุลพินิจที่ไม่เป็นธรรม
การแก้ไขการใช้ดุลพินิจที่ไม่เป็นธรรมของฝ่ายตุลาการ โดยทั่วไปสามารถกระทำาได้โดยวิธีใด
การแก้ไขการใช้ดุลพินิจที่ไม่เป็นธรรมของฝ่ายตุลาการ โดยทั่วไปสามารถกระทำาได้โดยการอุทธรณ์คำา
พิพากษาหรือคำาสั่งของศาลชั้นต้น ตามมาตรา 223-มาตรา 246 และการฎีกาคำาพิพากษาหรือคำาสั่งของศาล
อุทธรณ์ ตามมาตรา 247 - มาตรา 252 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตามลำาดับ หรือการ
อุทธรณ์ฎีกาตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีของศาลชำานัญพิเศษอื่นของศาลยุติธรรม เช่นศาลแรงงาน ศาล
ภาษีอากร
14.3 การใช้กฎหมายให้เกิดความเป็นธรรม
1. กฎหมายทั้งหลายตราขึ้นโดยมีเจตนารมณ์ประการหนึ่ง คือ เพื่อการรักษาความสงบสุขและความเป็น
ธรรมของสังคมโดยรวม บนพื้นฐานของความชอบธรรมตามกฎหมายและศีลธรรม
2. การใช้กฎหมายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม คือ การใช้กฎหมายให้ตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมายให้
มากที่สุด หรือในการที่ต่อมาบทบัญญัติของกฎหมายอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่บุคคลผู้ต้อง
ปฏิบัติตามกฎหมายด้วยสาเหตุต่างๆ ผู้ใช้กฎหมายจึงจำาเป็นต้องหาหนทางใช้กฎหมายให้เกิดความ
เป็นธรรมให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำาได้
3. เจตนารมณ์ของกฎหมายเพื่อสร้างความเป็นธรรมในยุคหนึ่ง อาจมองว่าไม่เป็นธรรมในอีกยุคสมัยหนึ่ง
หากสังคมมีการเปลี่ยนแปลงไป ทำาให้กฎหมายทั้งฉบับหรือบทบัญญัติบางบทบัญญัติของกฎหมายก่อ
ให้เกิดความไม่เป็นธรรมอย่างชัดแจ้ง โดยที่ผู้ใช้กฎหมายไม่สามารถหาหนทางในการใช้กฎหมายอย่าง
เป็นธรรมได้ จำาเป็นต้องแก้ไขกฎหมายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อไป
14.3.1 เจตนารมณ์ของกฎหมายกับความเป็นธรรม
เพราะเหตุใดเจตนารมณ์ของกฎหมายจึงมีส่วนสำาคัญในการสร้างความเป็นธรรมให้แก่สังคม
เจตนารมณ์ของกฎหมายมีความสำาคัญในการสร้างความเป็นธรรมให้แก่สังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน
ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศในระบบที่ใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษร โดยหลักแล้วผู้ใช้กฎหมายจำาเป็น ต้องใช้กฎหมายซึ่งตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งเป็นตัวแทนของปวงชนและในการตรากฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่ง นั้นย่อมมีความมุ่งหมายที่จะสร้างความสงบสุขและเป็นธรรมแก่สังคม หรือเพื่อแก้ไขปัญหาของสังคมอยู่แล้ว
14.3.2 การใช้กฎหมายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม
การใช้กฎหมายให้เกิดความเป็นธรรมเกิดขึ้นได้อย่างไร
การใช้กฎหมายให้เกิดความเป็นธรรมเกิดขึ้นได้จากหลายองค์ประกอบ เช่น จากเจตนารมณ์และ
บทบัญญัติของกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อความเป็นธรรม และจากตัวของผู้ใช้กฎหมายที่ต้องเป็นผู้มีคุณธรรมในจิตใจ
14.3.3 การแก้ไขกฎหมายให้เกิดความเป็นธรรม
การแก้ไขกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมเป็นหน้าที่ของผู้ใด
การแก้ไขกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมเป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคน และทุกองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
👉 แบบประเมินตนเองหน่วยที่ 14
1. กฎหมายลักษณะที่ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่สังคม ได้แก่ กฎหมายที่ล้าสมัย
2. กฎหมายที่ล้าสมัยเนื่องจากสาเหตุ (1) เทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น (2) ความคิดของคนในสังคมเปลี่ยนไป
3. กฎหมายล้าสมัยเนื่องจากสาเหตุ ความคิดของคนแต่ละยุคสมัยที่มีต่อกฎหมายนั้นเปลี่ยนแปลงไป
4. กฎหมายเกี่ยวกับรถลาก เป็นกฎหมายที่ไม่เหมาะสมแก่สภาวการณ์ปัจจุบัน
5. กฎหมายที่ไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบันได้แก่ (1) กฎหมายว่าด้วยรถลาก (2) กฎหมาย ตาม
ช้าง ร . ศ . 127 (3) กฎหมายลักษณะพยา น ร . ศ . 113 (4) กฎหมายการเปรียบเทียบคดีอาญา
พุทธศักราช 2481
6. ในการใช้กฎหมายควรมีการใช้ดุลพินิจบ้าง เพราะทำาให้สามารถปรับใช้กฎหมายให้เหมาะสมในแต่ละ
กรณีได้
7. เจ้าหน้าที่ออกใบอนุญาตเมื่อกิจการนั้นไม่ขัดต่อศีลธรรม ถือว่าเป็นการใช้ดุลพินิจ
8. การรับแจ้งการดำาเนินกิจการของเอกชน ไม่ใช่การใช้ดุลพินิจ
9. แนวทางการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐอาจพบได้จาก (1) รัฐธรรมนูญ (2) กฎหมายในเรื่องนั้นๆ
(3) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (4) ประมวลกฎหมายอาญา (5) แนวปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ใน
เรื่องนั้นๆ
10. บุคคลหรือองค์กรที่สามารถทบทวนการใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐคือ (1) ศาล (2)
รัฐมนตรี (3) นายกรัฐมนตรี (4) คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
11. หากเห็นว่าเจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบ บุคคลผู้ถูกกระทบสิทธิสามารถดำาเนินการ (1) ฟ้องศาล (2)
ขอให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นพิจารณาใหม่ (3) อุทธรณ์ไปยังองค์กรพิจารณาอุทธรณ์ (4) ร้องเรียนไปยังผู้บังคับ
บัญชาของเจ้าหน้าที่ผู้นั้น
12. หากเห็นว่าคำาพิพากษาของศาลไม่ถูกต้อง คู่ความสามารถ (1) ฎีกาคำาพิพากษา (2) อุทธรณ์คำา
พิพากษา
13. ผู้ใช้กฎหมายสามารถใช้กฎหมายให้เกิดความเป็นธรรมได้โดย ใช้กฎหมายตามเจตนารมณ์ของ
กฎหมายนั้น
14. การแก้ไขกฎหมายเกิดได้จากเหตุผล (1) การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ (2) การปฏิรูประบบราชการ (3) ความ
เจริญทางเทคโนโลยี (4) แนวความคิดของสังคมเปลี่ยนไป
15. กฎหมายที่สร้างความเป็นธรรมแก่สังคม ได้แก่ กฎหมายที่เหมาะสมแก่สภาวการณ์
16. วิธีการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจของศาลในการพิจาณาคดี คือ การอุทธรณ์คำาสั่งของศาล
17. สิ่งช่วยให้การใช้กฎหมายเกิดความเป็นธรรมได้แก่ (1) รัฐธรรมนูญ (2) ตัวผู้ใช้กฎหมาย (3) เจตนารมณ ์
ของกฎหมาย (4) หลักกฎหมายทั่วไป เช่นหลักตาม ป . พ . พ .
18. เหตุผลของการแก้ไขกฎหมายตามหลักการของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540 ได้แก่ การมีส่วนร่วม
ของประชาชน
หน่วยที่ 15 การประกอบวิชาชีพกฎหมาย และจรรยาบรรณของนักกฎหมาย
1. การประกอบวิชาชีพกฎหมายแบ่งออกได้เป็นหลายการประกอบวิชาชีพกฎหมาย โดยตรงได้แก่ การเป็น
ผู้พิพากษา อัยการ หรือทนายความ ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของเนติบัณฑิตยสภา ส่วนการประกอบ
อาชีพกฎหมายโดยทั่วไป อาจทำาได้โดยเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน
2. หลักการของวิชาชีพกฎหมายโดยทั่วไป คือ การอำานวยความยุติธรรมและเป็นผู้นำามติมหาชน นอกจาก
นี้ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายยังต้องมีหลักธรรมเฉพาะเฉพาะอาชีพของตนเพื่อทำาหน้าที่บริการ
ประชาชนให้ดีที่สุดและช่วยให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม
15.1 การประกอบวิชาชีพกฎหมาย
1. วิชาชีพกฎหมายเป็นการประกอบวิชาชีพซึ่งมีองค์การควบคุม มีการศึกษาอบรม มีเจตนารมณ์ เพื่อ
บริการประชาชน และเพื่ออำานวยความสะดวกยุติธรรม
2. การประกอบวิชาชีพกฎหมายแบ่งออกได้เป็น การประกอบวิชาชีพกฎหมายโดยตรง ซึ่งได้แก่ การเป็นผู้
พิพากษา อัยการ หรือทนายความ อีกประเภทหนึ่งคือ การประกอบวิชาชีพกฎหมายโดยทั่วไป โดยเป็น
พนักงานเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน
3. องค์การที่ควบคุมการประกอบวิชาชีพกฎหมายคือเนติบัณฑิตยสภา
15.1.1 ความหมายของวิชาชีพกฎหมาย
ให้อธิบายความหมายของ “วิชาชีพกฎหมาย”
วิชาชีพกฎหมายเป็นการศึกษาอบรมชั้นสูงที่เน้นให้ผู้รับการศึกษาอบรมสามารถนำาไปประกอบอาชีพ
เพื่อให้บริการแก่ประชาชนและรักษาความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม
15.1.2 การประกอบวิชาชีพกฎหมาย
ผู้สำาเร็จการศึกษาเป็นนิติศาสตร์บัณฑิตอาจประกอบอาชีพใดได้บ้าง
ผู้สำาเร็จการศึกษาเป็นนิติศาสตร์บัณฑิตอาจประกอบอาชีพได้ดังนี้
1) ประกอบวิชาชีพกฎหมายโดยตรง ได้แก่ การเป็นผู้พิพากษา อัยการ หรือทนายความ
2) ประกอบอาชีพกฎหมายอื่น เช่น เป็นนิติกร ตำารวจ ทหาร อาจารย์ ปลัดอำาเภอ หรือเจ้าพนักงา
นอื่นๆ ในหน่วยงานของรัฐ หรือเป็นนิติกร หรือเจ้าหน้าที่ในห้างร้าน บริษัท และธนาคารพาณิชย์ ซึ่ง
เป็นหน่วยงานของเอกชน
15.1.3 องค์การที่ควบคุมการประกอบวิชาชีพกฎหมาย
องค์กรใดที่ควบคุมการประกอบวิชาชีพกฎหมายในประเทศไทย
องค์การที่ควบคุมการประกอบวิชาชีพกฎหมายในประเทศไทยคือ เนติบัณฑิตยสภา
15.2 หลักวิชาชีพนักกฎหมาย
1. หลักการของวิชาชีพทางกฎหมาย คือการอำานวยความยุติธรรมและการเป็นผู้นำามติมหาชน
2. ทนายความมีหน้าที่ต้องซื่อตรงต่อตัวเอง ต่อลูกความ ต่เพื่อนร่วมอาชีพ ต่อชุมชน และต่อการอำานวย
ความยุติธรรม
3. ผู้พิพากษาต้องไม่มีฉันทาคติ โทสาคติ และภยาคติ และยังต้องมีใจเป็นธรรม อิสระ เปิดเผย เห็นใจผู้อื่น
และสำานึกในภาวะสังคม
4. อัยการเป็นทนายของแผ่นดินทั้งในคดีอาญาและในคดีแพ่ง เป็นส่วนหนึ่งของราชการ อำานวยความ
ยุติธรรม มีอิสระในการดำาเนินคดีความแทนรัฐ เพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ประชาชน
15.2.1 หลักการของวิชาชีพทางกฎหมาย
หลักการของวิชาชีพทางกฎหมายที่นักกฎหมายโดยทั่วไปพึงต้องมีนั้นมีประการใดบ้าง
หลักการวิชาชีพทางกฎหมาย คือการอำานวยความยุติธรรมและการเป็นผู้นำามติมหาชน
หากกฎหมายไม่สอดคล้องกับความยุติธรรม นักกฎหมายควรปฏิบัติอย่างไร
หากกฎหมายไม่สอดคล้องกับความยุติธรรม นักกฎหมายควรต้องแก้ไขกฎหมายเข้าสู่ความยุติธรรม
และหากยังไม่อาจแก้ไขกฎหมายได้ ก็ต้องใช้กฎหมายให้ได้ความยุติธรรมมากที่สุด โดยบรรเทาความไม่ยุติธรรม
ให้เหลือน้อยที่สุด
เหตุใดนักกฎหมายจึงมักจะเป็นผู้นำามติมหาชนอยู่เสมอ
เหตุที่นักกฎหมายเป็นผู้นำามติมหาชน เพราะ
1) โดยสภาพของงานวิชาชีพทางกฎหมาย นักกฎหมายเป็นคนกลางประสานประโยชน์ของ
กลุ่มต่างๆในสังคม
2) ภารกิจของนักกฎหมายมีส่วนสำาคัญและมีอิทธิพลในการกำาหนดนโยบาย และการตัดสินใจ
ของวงการธุรกิจเอกชนและกิจการของรัฐ
3) ความกล้าในการแสดงความคิดเห็นต่อมหาชนอย่างมีเหตุผล
15.2.2 หลักธรรมของทนายความ
นักกฎหมายมีหน้าที่ในทางวิชาชีพที่จะต้องปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างไร
นักกฎหมายมีหน้าที่ในทางวิชาชีพที่จะต้องปฏิบัติต่อผู้อื่นดังนี้ คือ
1) หน้าที่ต้องซื่อตรงต่อลูกความ
2) หน้าที่ต้องซื่อตรงต่อกิจการอำานวยความยุติธรรม ซึ่งได้แก่ ผู้พิพากษา อัยการ ตัวความและพยาน
ในคดี
3) หน้าที่ซึ่งตรงต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพ
4) หน้าที่ซื่อตรงต่อชุมชน โดยส่งเสริมความยุติธรรมให้เกิดขึ้นทั้งในและนอกศาล
15.2.3 หลักธรรมของผู้พิพากษา
ผู้พิพากษาจะต้องมีหลักธรรมประการใดบ้างจึงจะประสาทความยุติธรรมให้แก่ประชาชนได้
ผู้พิพากษาจะต้องมีหลักธรรม คือ ปราศจากคติสี่ประการคือ ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ
และนอกจากคติดังกล่าวแล้ว ผู้พิพากษายังต้องมีหลักธรรมที่ยึดปฏิบัติอีกดังนี้คือ (1) ต้องเป็นอิสระไม่ถูก
อิทธิพลแทรกแซง (2) ให้ความสะดวกและเป็นธรรมในการพิจารณาคดี (3) การพิจารณาคดีต้องเปิดเผยไม่งุบงิบ
ตุกติก (4) ในคำาสั่งหรือคำาพิพากษาต้องมีเหตุมีผลและกะทัดรัด (5) ความยุติธรรมต้องมีโดยรวดเร็วและทั่วถึง
แม้แก่คนที่ยากจนไม่สามารถจับจ่ายในทางคดีได้
15.2.4 หลักธรรมของข้าราชการอัยการ
หลักธรรมของอัยการนั้นมีประการใดบ้าง จึงจะช่วยให้เกิดความยุติธรรมในการดำาเนินคดี
หลักธรรมของอัยการนั้นนอกจากจะมีคติเช่นเดียวกับนักกฎหมายโดยทั่วไป แล้วยังต้องมีคติเพิ่มเติม
ดังนี้ คือ
1) มีอิสระในการทำางาน เพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ประชาชน
2) สำานึกในหน้าที่ เพื่ออำานวยความยุติธรรมแก่ประชาชนเป็นใหญ่ยิ่งกว่าอื่นใด ไม่มุ่งจะเอาจำาเลยเข้า
คุกทุกเรื่องไป
3) การสั่งฟ้องคดีหรือไม่ฟ้องคดีต้องทำาโดยมีเหตุผล เพื่อความยุติธรรมแก่ประชาชน
4) การพิจารณาใช้ดุลพินิจในการสั่งคดี การอุทธรณ์ ฎีกา ควรใช้ความเอื้อเฟื้อนึกถึงประโยชน์เทียบ
กับความเดือดร้อนของจำาเลยในคดี
👉 แบบประเมินตนเองหน่วยที่ 15
1. วิชาชีพกฎหมายคือ วิชาชีพ ซึ่งมีองค์การ การศึกษาอบรม และอุดมการณ์เพื่อบริการประชาชน2. ผู้ที่ประกอบอาชีพกฎหมายโดยตรงคือ ทนายความ
3. ผู้จัดการธนาคารพาณิชย ์ ไม่ถือว่าเป็นการประกอบวิชาชีพกฎหมาย
4. องค์การที่ควบคุมการประกอบวิชาชีพกฎหมายในประเทศไทยคือ องค์การเนติบัณฑิตสภา
5. หลักการของวิชาชีพกฎหมายคือ การอำานวยความยุติธรรมและการเป็นผู้นำามติมหาชน
6. ทนายความย่อมมีพันธะต่อลูกความคือ (1) ต้องอุทิศตนเพื่อประโยชน์ของลูกความ (2) ต้องรักษาความ
ลับของลูกความ
7. ทนายความมีหน้าที่ต่อศาลคือ ไม่เสี้ยมสอนพยานให้เบิกความเท็จ หรืออำาพรางพยานหลักฐานใดๆ
8. ทนายความมีหน้าที่ต่อประชาชนคือ คัดค้านผู้ที่ขาดคุณสมบัติหรือมีประวัติหรือพฤติการณ์อันไม่เหมาะ
สมเข้ามาเป็นผู้ร่วมวิชาชีพ
9. ผู้พิพากษาที่ดีต้องประพฤติตนดังนี้ พิจารณาคดีโดยเปิดเผย ไม่งุบงิบตุกติก
10. อัยการที่ดีต้องประพฤติตนโดย คำานึงถึงความยุติธรรมแก่ประชาชนยิ่งกว่าอื่นใด.
สำหรับวิชากฏหมายอื่นๆส่วนใหญ่จะเป็นข้อสอบ 2 ประเภทในวิชาเดียวกันคือ
ส่วนหนึ่ง ปรนัย และส่วนที่สองคือ อัตนัย
แนวการเตรียมตัวทำข้อสอบอัตนัยมี 3 ส่วน ได้แก่
2 ท่อนสอง วินิจฉัย
คลิกดู 💣 รูปแบบฟอร์มการตอบ
สวัสดีครับ
สไลด์ดูแนวข้อสอบอื่นๆ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น