‍⚖️เทคนิคการทำจำ 21 ข้อบังคับมรรยาททนายความ 2529 (Lawyer etiquette) | เล้งถนัดสอน

 เปิดเทคนิคสุดปัง! การสอบใบอนุญาตให้เป็นทนายความ  อีกหนึ่งเป้าหมายสำหรับผู้ที่จบสายนิติศาสตร์---วันนี้เราจะอธิบายให้ทราบและข้อบังคับที่ควรจำเพื่อใช้ตอบข้อสอบครับ

สวัสดีครับเพื่อนๆ ผม พี่เล้ง ถนัดสอน (Bachelor of Laws) ในฐานะที่ผมได้เข้าอบรมและสอบใบอนุญาตให้เป็นทนายความรุ่น 61 (Lawyer / Attorney) วันนี้จะขอแนะแนวการตอบข้อสอบอัตนัยข้อ มรรยาททนายความ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนแบ่งปันซึ่งกันและกันครับ

มรรยาททนายความ: Lawyer etiquette

ถ้าชอบช่วย กดไลค์กดแชร์กันด้วยนะครับ


21 คำย่อ บอกความหมายรายมาตรา มรรยาททนายความ

*สิ่งที่ต้องระมัดระวังในการตอบ คือ ขอให้ทำความเข้าใจก่อนว่า มรรยาททนายความเป็นเพียงข้อบังคับของสภาทนายความ มิใช่ตัวกฎหมายนะครับ ตัวอย่างเวลาตอบต้องเขียนว่า ข้อบังที่ 4 เป็นต้น อย่าเขียนว่า บทบัญญัติที่ 4 นะครับ เพราะไม่ถูกต้อง จะเสียคะแนนเอานะครับ

การก่อนท่องจำมรรยาทนายความ ก็ควรจะต้องท่องทุกข้อ ถ้าท่องไม่ทัน อย่างน้อยตั้งท่องหมวดที่ 1 ข้อที่ 4 และหมวดที่ 4 ข้อที่ 18 ให้ได้ครับ เพราะเป็นข้อบังครับที่เหมาเข่ง แปลความหมายได้ว่า ไม่ว่าทนายความจะทำความผิด ประพฤติผิดมรรยาทข้อใดๆก็ตาม จะเข้าเงื่อนไขว่า ทนายความผู้นั้นฝ่าฝืนมรรยาททนายความและประพฤติตนอันเป็นการเสื่อมเสียต่อศักดิ์ศรีและเกียรติคุณของทนายความครับ

หมวด 1
บททั่วไป

ข้อ 1 = มรร = ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ
ข้อ 2 = บัง =  บังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ 3 = เลิก = ให้ยกเลิกบทบัญญัติว่าด้วยมรรยาททนายความเดิม
ข้อ 4 =  ฝืน = ทนายความผู้ใดฝ่าฝืน ผู้นั้นประพฤติผิดมรรยาททนายความ

หมวด 2
มรรยาทต่อศาลและในศาล

ข้อ 5 = ไม่ = ไม่รับหน้าที่เมื่อผู้พิพากษาขอแรง
ข้อ 6 = หมิ่น = หมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในศาลหรือนอกศาล 
ข้อ 7 = ลวง = ลวงให้ศาลหลงเพื่อทราบคําสั่ง หรือคําพิพากษา
ข้อ 8 = เสี้ยม = เสี้ยมสอนพยานให้เบิกความเท็จ

หมวด 3
มรรยาทต่อตัวความ

ข้อ 9 = ยุ =  ยุยงให้มีการฟ้องร้องคดี
ข้อ 10 = จูง =  จูงใจให้ผู้ใดมอบคดีให้
ข้อ 11 = เปิด = เปิดเผยความลับของลูกความที่ได้รู้
ข้อ 12 = ขาด =  ขาดนัด หรือทอดทิ้งคดี ละเว้นหน้าที่
ข้อ 13 = รู้ = รู้เรื่องคดีแล้วช่วยเหลือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง
ข้อ 14 = ใช้ = ใช้อุบายให้ตนได้รับประโยชน์เพิ่ม
ข้อ 15 = ฉ้อ = ฉ้อโกง ยักยอก หรือตระบัดสินลูกความ

หมวด 4
มรรยาทต่อทนายความด้วยกัน ต่อประชาชนผู้มีอรรถคดีและอื่น ๆ

ข้อ 16 = แย่ง = แย่งคดีของทนายความอื่น
ข้อ 17 =  โฆษ = โฆษณาไม่รับค่าว่าความ หรือโฆษณาอวดตัวเอง 
ข้อ 18 = เสื่่อม = ดําเนินธุรกิจ หรือประพฤติตนอันเป็นการเสื่อมเสียต่อศักดิ์ศรีและเกียรติ
ข้อ 19 = ลด = ลดค่าจ้างว่าความ

หมวด 5
มรรยาทในการแต่งกาย

ข้อ 20 = แต่ง = ทนายความจะต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อยตามหลักเกณฑ์

หมวด 6
มรรยาทในการปฏิบัติตามคําสั่งตามกฎหมายและข้อบังคับ

ข้อ 21 = เคร่ง = ทนายความจะต้องปฏิบัติตนตามคําสั่งอย่างเคร่งครัด

ประกาศ ณ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529
ประธาน ดวงรัตน์
นายกสภาทนายความ

เนื้อความเต็มตามบทบัญญัติ


ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาท พ.ศ.2529 ต้องท่องจำให้ได้
     อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 27(3)(จ) และมาตรา 51 และด้วยความเห็นชอบของสภานายกพิเศษ แห่งสภาทนายความตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 คณะกรรมการสภาทนายความออกข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความไว้ดังต่อไปนี้
หมวด 1 
บททั่วไป
ข้อ 1. ข้อบังคับนี้เรียกว่า "ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ.2529"
ข้อ 2. ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ 3. ให้ยกเลิกบทบัญญัติว่าด้วยมารยาททนายความและการแต่งกายของทนายความตามข้อบังคับของเนติบัณฑิตยสภา และตามกฎหมายอื่นที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับ
ข้อ 4 ทนายความผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับข้อใดข้อหนึ่งดังจะกล่าวต่อไปนี้ ให้ถือว่าทนายความผู้นั้นประพฤติผิดมรรยาททนายความ
หมวด 2
มรรยาทต่อศาลและในศาล
(ข้อ 5-8)
ข้อ 5. ไม่รับหน้าที่เมื่อผู้พิพากษาได้ขอแรงให้เป็นทนายความแก้ต่างในคดีอาญา เว้นแต่จะมีข้อตัวโดยสมควร
ข้อ 6. ไม่เคารพยำเกรงอำนาจศาล หรือกระทำการใดอันเป็นการดูหมิ่นศาล ในศาลหรือนอกศาล อันเป็นการทำให้เสื่อมเสียอำนาจศาลหรือผู้พิพากษา
ข้อ 7. กล่าวความ หรือทำเอกสารหรือหลักฐานเท็จ หรือใช้อุบายลวงให้ศาลหลง หรือกระทำการใดเพื่อทราบคำสั่ง หรือคำพิพากษาของศาลที่ยังไม่เปิดเผย
ข้อ 8. สมรู้เป็นใจโดยทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อทำพยานหลักฐานเท็จ หรือเสี้ยมสอนพยานให้เบิกความเท็จ หรือโดยปกปิดซ่อนงำอำพรางพยานหลักฐานใดๆ ซึ่งควรนำมายื่นต่อศาล หรือสัญญาจะให้สินบนแก่เจ้าพนักงาน หรือสมรู้เป็นใจในการให้สินบนแก่เจ้าพนักงาน
หมวด 3
มรรยาทต่อตัวความ 
(ข้อ 9-15)
ข้อ 9. กระทำการใดอันเป็นการยุยงส่งเสริมให้มีการฟ้องร้องคดีกัน ในกรณีอันหามูลมิได้
ข้อ 10. ใช้อุบายอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ เพื่อจูงใจให้ผู้ใดสอบคดีให้ว่าต่าง หรือ แก้ต่าง
      (1) หลอกลวงให้เขาหลงว่าคดีนั้นจะชนะ เมื่อตนรู้สึกแก่ใจว่าจะแพ้
      (2) อวดอ้างว่าตนมีความรู้ยิ่งกว่าทนายความคนอื่น
      (3) อวดอ้างว่าเป็นสมัครพรรคพวกรู้จักคุ้นเคยกับผู้ใดอันจะทำให้เขาหลงว่าตนสามารถจะทำให้เขาได้รับผลเป็นพิเศษนอกจากทางว่าความ หรือหลอกลวงว่าจะชักนำจูงใจให้ผู้นั้นช่วยเหลือคดีในทางใดๆได้ หรือแอบอ้างขู่ว่าถ้าไม่ให้ตนว่าคดีนั้นจะหาหนทางให้ผู้นั้นกระทำให้คดีของเขาเป็นแพ้
ข้อ 11. เปิดเผยความลับของลูกความที่ได้รู้ในหน้าที่ของทนายความ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากลูกความนั้นแแล้ว หรือโดยอำนาจศาล
ข้อ 12. กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังจะกล่าวต่อไปนี้ อันอาจทำให้เสื่อมเสียประโยชน์ลูกความ
       (1) จงใจขาดนัด หร่อทอดทิ้งคดี
       (2) จงใจละเว้นหน้าที่ที่ควรกระทำอันเกี่ยวแก่การดำเนินคดีแห่งลูกความของตน หรือปิดบังข้อความที่ควรแจ้งให้ลูกความทราบ
ข้อ 13. ได้รับปรึกษาหารือ หรือได้รู้เรื่องกรณีแห่งคดีโดยหน้าที่อันเกี่ยวข้องกับลูกความฝ่ายหนึ่งแล้วภายหลังไปรับเป็นทนายความหรือใช้ความรู้ที่ได้รับมานั้นช่วยเหลือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นปรปักษ์อยู่ในกรณีเดียวกัน
ข้อ 14. ได้รับเป็นทนายความแล้ว ภายหลังใช้อุบายใดๆ โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร เพื่อจะให้ตนได้รับประโยชน์นอกเหนือจากที่ลูกความได้ตกลงสัญญาให้
ข้อ 15. กระทำอันเป็นการฉ้อโกง ยักยอก หรือตระบัดสินลูกความ หรือครอบครอง หรือหน่วงเหนี่ยว เงินหรือทรัพย์สินที่ตนได้รับมาโดยหน้าที่อันเกี่ยวข้องไว้นานเกินกว่าเหตุ โดยไม่ไก้รับความยินยอมจากลูกความ เว้นแต่มีเหตุอันสมควร
หมวด 4
มารยาทต่อทนายความด้วยกัน ต่อประชาชนผู้มีอรรถคดี และอื่นๆ 
(ข้อ 16-19)
ข้อ 16. แย่งหรือกระทำการใดในลักษณะประมูลคดีที่ทนายความอื่นว่าต่างหรือแก้ต่างอยู่แล้ว มาว่า หรือรับ หรือสัญญาว่าจะรับว่าต่าง แก้ต่างในคดีที่รู้ว่ามีทนายความอื่นว่าอยู่แล้ว เว้นแต่
      (1) ได้รับความยินยอมจากทนายความที่ว่าความอยู่ในเรื่องนั้นแล้ว
       (2) มีเหตุอันควรเชื่อว่าตัวความได้ถอนทนายความคนก่อนออกจากการเป็นทนายความของเขาแล้ว หรือ
       (3) ทนายความผู้ว่าความในเรื่องนั้นปฏิเสธ หรือแสดงความไม่สมัครใจที่จะว่าความในคดีนั้นต่อไปแล้ว
ข้อ 17. ประกาศโฆษณา หรือยอมให้ผู้อื่นประกาศโฆษณาใดๆ ดังต่อไปนี้
      (1) อัตราค่าจ้างว่าความ หรือแจ้งว่าไม่เรียกร้องค่าจ้างว่าความ  เว้นแต่การประกาศโฆษณาของความเกี่ยวกับการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายซึ่งดำเนินการโดยสภาทนายความเอง หรือโดยสุบัน สมาคม องค์การ หรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง หรือ
        (2) ชื่อ คุณวุฒิ ตำแหน่ง ถิ่นที่อยู่ หรือสำนักงาน อันเป็นไปในทางโอ้อวดเป็นเชิงชักชวนให้ผู้มีอรรถคดีมาหาเพื่อนเป็นทนายความว่าต่าง หรือแก้ต่างให้ เว้นแต่การแสดงชื่อ คุณวุฒิ หรืออื่นๆ ดังกล่าวตามสมควรโดยสุภาพ
ข้อ 18. ประกอบอาชีพ ดำเนินธุรกิจ หรือประพฤติตนอันเป็นการฝ่าฝืนต่อศีลธรรมอันดี หรือเป็นการเสื่อมเสียต่อศักดิ์ศรีและเกียรติคุณของทนายความ
ข้อ 19. ยินยอมตกลง หรือให้คำมั่นสัญญาว่าจะให้ค่านายหน้าหรือบำเหน็จรางวัลใดๆ ด้วยทรัพย์สินหรือประโยชน์ใดๆ แก่ผู้ที่หาคดีความหรือนำคดีความมาให้ หรือมีคนประจำสำนักงานดำเนินการจัดหาคดีความมาให้ว่า โดยทนายความผู้นั้นคิดค่าส่วนลดของค่าจ้างให้ หรือให้เงินเดือน หรือเงินจำนวนหนึ่งจำนวนใด หรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างใดๆ แก่ผู้ที่หาคดีความมาให้นั้น แม้บุคคลผู้หาคดีความมาให้โดยลักษณะดังกล่าวจะเป็นเสมียนหรือลูกจ้างประจำสำนักงานของทนายความผู้นั้นก็ตาม
หมวด 5
มรรยาทในการแต่งกาย
ข้อ 20. ในเวลาว่าความ ทนายความจะต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
       (1) ทนายความชาย แต่งกายตามแบบสากลนิยม เป็นชุดสีขาว หรือสีอื่นที่ไม่ฉูดฉาด เชิ้ตขาว ผ้าผูกคอสีดำหรือสีอื่นที่สุภาพไม่ฉูดฉาด แบบเงื่อนกะลาสี หรือแต่งเสื้อชุดไทยแบบแขนสั้นหรือยาวสีสุภาพ ไม่มีลวดลายแทนเสื้อชุดสากลก็ได้ รองเท้าหุ้มส้นสีขาว น้ำตาล หรือดำ ถุงเท้าสีคล้ายคลึงกับรองเท้า
       (2) ทนายความหญิง แต่งตามแบบสากลนิยม กระโปรงและเสื้อสีสุภาพไม่ฉูดฉาด รองเท้าหุ้มส้น
       (3) ทนายความที่มีสิทธิแต่งเครื่องแบบราชการ จะแต่งเครื่องแบบราชการก็ได้
      (4) ในขณะว่าความ ทนายความที่มีสิทธิสวมเสื้อครุยเนติบัณฑิต ต้องสวมเสื้อครุยนั้นด้วย
หมวด 6
มรรยาทในการปฏิบัติตามคำสั่งตามกฎหมายและข้อบังคับ
ข้อ 21. ทนายความจะต้องปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดเพื่อใหัเป็นไปตามคำสั่งของสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความ คณะกรรมการสภาทนายความ และคณะกรรมการมรรยาททนายความ ตลอดจนบรรดาข้อบังคับหรือข้อกำหนดที่บุคคลหรือคณะบุคคลดังกล่าวได้สั่งหรือมีไว้ แล้วแต่กรณี ตามอำนาจหน้าที่ซึ่งมีอยู่ตามบัญญัติแห่งกฎหมาย
ประกาศ ณ วันที่ 18 กุมภาพันธ์
พ.ศ2529
               ประธาน ดวงรัตน์
         นายกสภาทนายความ

ลิงค์เวปแนะแนวการตอบวิชากฏหมาย https://lawselfassesment.blogspot.com
#ดูครบจบแน่​ #เตรียมสอบทนาย #เล้งนิติศาสตร์

***

เพื่อเป็นกำลังใจให้สู้ต่อไป ทุกครั้งที่มีด่านให้เราต้องใช้ความรู้ความสามารถ ให้คิดเสมอว่าด่านเหล่านั้นเป็นเครื่องพิสูจน์ศักยภาพ (Potentail) ของตัวเราว่าเราก็มีดีไม่น้อยไปกว่าคนอื่น

ขอบคุณที่ติดตามบล็อกและเฟสบุคของ พี่เล้ง นิติศาสตร์

โชคดีและสวัสดีครับ


ช่วยกด Like กด Share จะได้ช่วยกันเผยแพร่ให้พวกๆเรากันเองครับ

สไลด์ดูแนวข้อสอบอื่นๆ

ความคิดเห็น