จะสอบใบอนุญาตให้เป็นทนายความต้องทำอย่างไร การสอบมีกี่ประเภท | เล้ง นิติศาสตร์

ใครอยากรู้เรื่องการสอบใบอนุญาตให้เป็นทนายความบ้าง  เพราะเป็นหนึ่งเป้าหมายสำหรับผู้ที่จบสายนิติศาสตร์---วันนี้เราจะอธิบายให้ทราบกันเลยครับ

สวัสดีครับเพื่อนๆ ผม พี่เล้ง นิติศาสตร์ (Bachelor of Laws) ในฐานะที่ผมอยู่ในขั้นตอนเตรียมตัวสอบใบอนุญาตให้เป็นทนายความ (Lawyer / Attorney)อยู่พอดี ซึ่งจะเป็นรุ่นที่ 61 ครับ จึงขอนำข้อมูลมาบอกกันดังนี้ครับ

ถ้าชอบช่วย กดไลค์กดแชร์กันด้วยนะครับ


👨‍🎓การสอบใบอนุญาตให้เป็นทนายความ (Licence for being an attorney-at-law) แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1) ประเภทตั๋วรุ่น
2) ประเภทตั๋วปี 

1) ประเภทตั๋วรุ่น

ตัวรุ่น หมายถึง การสอบให้เป็นทนายความที่ประกอบด้วยการสอบข้อเขียน 2 ภาคด้วยกัน โดยสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความแห่งสภาทนายความ จะทำการเปิดรับสมัครอบรมวิชาว่าความปีละ 2 รุ่น ซึ่งจะเปิดรับสมัครช่วงกลางปีกับช่วงปลายปี

ประเภทการสอบตั๋วรุ่น

1 ภาคทฤษฎี
2 ภาคปฏิบัติ

1 ภาคทฤษฎี

1.1 การสอบภาคนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ข้อสอบปรนัย จำนวน 20 ข้อ 20 คะแนน และ ข้อสอบอัตนัย จำนวน 4-6 ข้อ 80 คะแนน รวมเป็น 100 คะแนนเต็ม ผู้ที่สอบได้ตั้งแต่ 50 คะแนน ขึ้นไปถือว่าสอบผ่านข้อเขียนภาคทฤษฎี

ลักษณะข้อสอบ

ตัวอย่าง เรื่องที่ออกสอบและคะแนน

1 ข้อสอบส่วนแพ่ง                        = 28-35 คะแนน
2 ข้อสอบส่วนอาญา                     = 10-15 คะแนน
3 เขียนคำร้อง / คำขอ / คำแถลง  = 06-08 คะแนน
4 เขียนหนังสือ / สัญญา               = 10-12 คะแนน
5 มรรยาททนายความ                  =  08-10 คะแนน

2 ภาคปฏิบัติ

2.1 การสอบภาคนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ข้อสอบปรนัย จำนวน 20 ข้อ 20 คะแนน และ ข้อสอบอัตนัย จำนวน 4-6 ข้อ 80 คะแนน รวมเป็น 100 คะแนนเต็ม ผู้ที่สอบได้ตั้งแต่ 50 คะแนน ขึ้นไปถือว่าสอบผ่านข้อเขียนภาคปฏิบัติเช่นกัน

แต่มีภาคปฏิบัติมีส่วนที่แตกต่างไปจากข้อสอบภาคทฤษฎีคือข้อสอบอัตนัยจะต้องให้เขียนในแบบพิมพ์ศาล

ติดตามเฟสบุค:✔ https://bit.ly/30lYOws
ติดตามบล็อกภาษาอังกฤษ:✔ https://titaek-english.blogspot.com/

2) ประเภทตั๋วปี


การสอบใบอนุญาตให้เป็นทนายความ กรณีผู้ฝึกงานในสำนักงานทนายความไม่น้อยกว่า 1 ปี มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

   (1) บุคคลที่จะสมัครเป็นทนายความจะต้องไปติดต่อขอรับแบบแจ้งการฝึกงานในสำนักงาน 1 ปี จากสภาทนายความ แล้วนำไปขอฝึกงานกับทนายความผู้ที่มีใบอนุญาตมาแล้วไม่น้อยกว่า 7 ปี ลงชื่อรับรองการฝึกงานให้ด้วยและนำใบขอฝึกงานดังกล่าวส่งกลับสภาทนายความ

    (2) เมื่อฝึกงานครบกำหนด 1 ปี ถึงจะมีสิทธิลงทะเบียนสอบข้อเขียนได้ สำหรับการสอบข้อเขียนเนื้อหาจะแบ่งการให้คะแนนเป็น 2 ส่วน คือ ข้อสอบปรนัย และ ข้อสอบอัตนัย โดยให้เขียนในแบบพิมพ์ศาลเสมือนจริง รวม 100 คะแนน ลักษณะข้อสอบและการตรวจข้อสอบจะเหมือนกับการสอบภาคปฏิบัติ สำหรับผู้ที่สอบได้คะแนนตั้งแต่ 50 คะแนนขึ้นไปจึงถือว่าสอบผ่าน และถึงจะมีสิทธิไปลงทะเบียนเพื่อสอบปากเปล่าในขั้นตอนต่อไป

ลิงค์เวปแนะแนวการตอบวิชากฏหมาย https://lawselfassesment.blogspot.com
#ดูครบจบแน่​ #เตรียมสอบทนาย #เล้งนิติศาสตร์

***

เพื่อเป็นกำลังใจให้สู้ต่อไป ทุกครั้งที่มีด่านให้เราต้องใช้ความรู้ความสามารถ ให้คิดเสมอว่าด่านเหล่านั้นเป็นเครื่องพิสูจน์ศักยภาพ (Potentail) ของตัวเราว่าเราก็มีดีไม่น้อยไปกว่าคนอื่น

ขอบคุณที่ติดตามบล็อกและเฟสบุคของ พี่เล้ง นิติศาสตร์

โชคดีและสวัสดีครับ


ช่วยกด Like กด Share จะได้ช่วยกันเผยแพร่ให้พวกๆเรากันเองครับ

สไลด์ดูแนวข้อสอบอื่นๆ

ความคิดเห็น