เฉลยข้อสอบเขียนกฎหมาย วิ แพ่ง 1 มสธ เรื่อง เขตอำนาจศาลแขวงรับฟ้องแย้งจำนวนทุนทรัพย์เท่าไหร่ | เล้ง นิติศาตร์

     สวัสดีครับเพื่อนๆ ผม พี่เล้ง นิติศาสตร์ ศิษย์เก่า มสธ วันนี้ผมมีแนวทำข้อสอบกฎหมายวิชา กฎหมายวิธีสบัญญัติ 1 มาเฉลยให้ดูเพื่อใช้เป็นความรู้ในการทำข้อสอบกันครับ



อย่าลืมกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะครับ

👨‍🎓 วิชากฎหมายสบัญญัติ 1 หรือที่เรียกกันง่ายๆว่า วิชา วิ แพ่ง 1 รหัสวิชาคือ 41341 เป็นวิชาที่อยู่ในช่วงเรียนปีกลางๆของการเรียนครับ

วิชานี้ค่อนข้างยากพอควรครับ ดังนั้นเพื่อนๆนักศึกษาที่เรียนวิชานี้จะต้องมีหนังสือประมวล วิธีพิจารณาความแพ่งเพื่อเอาไว้ท่องจำมาตราสำคัญๆที่ออกสอบบ่อยๆ และแน่นอนต้องฝึกทำข้อสอบเก่า ฟังคลิปวีดิโอ และขาดเสียมิได้ก็คือ ต้องอ่านตำราเรียนครับ

ติดตามเฟสบุค:✔ https://bit.ly/30lYOws
ติดตามบล็อกภาษาอังกฤษ:✔ https://titaek-english.blogspot.com/
สนับสนุนการทำคลิปแบบนี้ โอนเงินเข้าบัญชี 🏧 661 3 641 995 ธนาคารกรุงไทย วรวิทย์ ลาภานิกรณ์

🌟เฉลยแนวข้อสอบชุดวิชากฏหมายกฎหมายวิธีสบัญญัติ 1 มสธ : ว่าด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง 1

คําถาม คดีแพ่งเรื่องหนึ่ง โจทก์ฟ้องต่อศาลแขวงลําปาง ซึ่งโจทก์จําเลยมีภูมิลําเนา เรียกค่าสินไหมทดแทนในการที่จําเลยขับรถโดยประมาทชนรถของโจทก์เสียหาย เป็นเงิน 150,000 บาท จําเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ต่างหากที่เป็นฝ่ายละเมิดขับรถโดยประมาททําให้รถจําเลยเสียหายและฟ้องแย้งขอให้ โจทก์ใช้ค่าสินไหมทดแทน 320,000 บาท ให้จําเลย ดังนี้ ศาลแขวงลําปางจะรับฟ้องแย้งของจําเลยไว้พิจารณาพิพากษาได้หรือไม่ แนวตอบ กรณีตามปัญหา พระธรรมนูญศาลยุติธรรม วางหลักว่า มาตรา 17 วรรคแรก บัญญัติว่า “ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีและมีอํานาจทําการไต่สวนหรือมีคําสั่งใดๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจดังที่ระบุไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง” มาตรา 25 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวมี เป็นองค์คณะอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอํานาจ ของศาลนั้นดังต่อไปนี้ (4) พิจารณาพิพากษา คดีแพ่งซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกินสามแสนบาท” ข้อเท็จจริงตามปัญหา จําเลยถูกฟ้องคดีแพ่งต่อศาลแขวงลําปาง จําเลยฟ้องแย้งเรียกค่าสินไหมทดแทน จากโจทก์ ฟ้องแย้งของจําเลยจะต้องอยู่ภาย ใต้บังคับของพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา25 วรรคหนึ่ง (4) เช่นเดียวกัน คือราคาทรัพย์ สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องต้องไม่เกิน 300,000 บาท ถ้าเกินกว่า 300,000 บาท ศาลแขวงก็รับฟ้องแย้งนั้นพิจารณาพิพากษาไม่ได้ ฟ้องแย้งเกินอํานาจศาลแขวง ศาลแขวงลําปางรับฟ้องแย้งนั้นไว้พิจารณาพิพากษาไม่ได้ คงถือเป็นเพียงคําให้การต่อสู้ฟ้องเดิมเท่านั้น จําเลยชอบที่จะนําฟ้องแย้งของตนไปฟ้องยังศาลจังหวัดลําปาง (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 461/2491) สรุป ศาลแขวงลําปางจะรับฟ้องแย้งของจําเลยไว้พิจารณาพิพากษาหาได้ไม่ จบ อธิบายเพิ่มเติม ศาลแขวง หมายถึง เป็นศาลยุติธรรมที่พิจารณาคดีทั้งคดีแพ่งซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน 300,000 บาท (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม ม.25 (4)) และคดีอาญาที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ทั้งนี้จะลงโทษจำคุกเกิน 6 เดือน หรือปรับเกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งโทษจำคุกหรือปรับนั้นอย่างหนึ่งอย่างใดหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้ (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม ม.25 (5)) ถ้าศาลแขวงเห็นว่าสมควรลงโทษจำเลยเกินอัตราดังกล่าวแล้วก็ให้มีอำนาจพิพากษาได้แต่จะต้องให้ผู้พิพากษาอย่างน้อย 1 คนตรวจสำนวน และลงลายมือชื่อในคำพิพากษาเป็นองค์คณะ ศาลจังหวัด หมายถึง เป็นศาลยุติธรรมชั้นต้นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นในแต่ละจังหวัดหรือในบางอำเภอ มีเขตอำนาจศาลตามที่พระราชบัญญัติกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรเอาไว้ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น ในกรณีที่มีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลจังหวัด และคดีนั้นเกิดขึ้นในเขตของศาลแขวงและอยู่ในอำนาจของศาลแขวง ศาลจังหวัดนั้นต้องมีคำสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงที่มีเขตอำนาจ การฟ้องแย้ง หมายถึง การที่จำเลยฟ้องกลับโจทก์ในคดีเดิม โดยทำการฟ้องมาในคำให้การในคดีที่ตนถูกฟ้องเป็นจำเลย ซึ่งการฟ้องแย้งของจำเลยมีหลักเกณฑ์ว่าจะต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคดีเดิมเท่านั้น ตัวอย่างเช่น นายหนึ่งเป็นโจทก์ฟ้องนายสองว่าปลูกสร้างบ้านเรือนรุกล้ำมาในที่ดินของนายหนึ่ง นายสองได้ต่อสู้เรื่องกรรมสิทธิ์โดยอ้างว่าได้ปลูกสร้างบ้านในที่ดินของตนเอง และขอฟ้องแย้งนายหนึ่งโดยให้ขอให้ศาลพิพากษาให้หนึ่งไปทำการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้แก่นายสองตามสิทธิ์

The End

มาตราที่เกี่ยวข้องและต้องท่องจำสำหรับเรื่องนี้ ได้แก่ ปพพ. มาตรา 164 และ 165

ลิงค์เวปแนะแนวการตอบวิชากฏหมาย มสธ https://lawselfassesment.blogspot.com
#ดูครบจบแน่​ #แพ่ง1มสธ #เล้งนิติศาสตร์

***
ข้อสอบอัตนัยมี 3 ส่วน ได้แก่

1 ท่อนแรก ยกบทกฏหมาย

2 ท่อนสอง วินิจฉัย

3 ท่อนท้าย สรุปธงคำตอบ

คลิกดู 💣 รูปแบบฟอร์มการตอบ

เพื่อเป็นกำลังใจให้สู้ต่อไป อย่าได้ท้อถอยหรือหยุดเดินต่อนะครับ ความมุ่งมั่นตั้งใจ จะทำให้เพื่อนๆประสบความสำเร็จ

ขอบคุณที่ติดตามบล็อกและเฟสบุคของ พี่เล้ง นิติศาสตร์ มสธ

โชคดีและสวัสดีครับ


ช่วยกด Like กด Share จะได้ช่วยกันเผยแพร่ให้พวกๆเรากันเองครับ

สไลด์ดูแนวข้อสอบอื่นๆ

ความคิดเห็น