เฉลยแนวข้อสอบ แพ่ง 𝟙 มสธ 𝟜𝟙𝟚𝟙𝟙 เรื่องนิติกรรมอำพราง หรือนิติกรรมลวง คำถาม นางวิภามีบุตร 3 คน ต้องการทำนิติกรรมให้บุตรเพียงคนเดียวแต่

   สวัสดีครับเพื่อนๆ ผม พี่เล้ง นิติศาสตร์ ศิษย์เก่า มสธ วันนี้ผมมีแนวข้อสอบกฎหมายวิชาแพ่ง 1 เกี่ยวกับเรื่องนิติกรรมอำพรางหรือนิติกรรลวงมาทำเฉลยให้เพื่อนๆได้ใช้เป็นแนวในการทำคำตอบครับ

นิติกรรมอำพรางมีมาตราหลักๆคือ มาตรา 155 ทั้งวรรคแรก และวรรคสอง ซึ่งเพื่อนๆต้องท่องจำให้ได้ครับ เพราะถ้าเขียนมาตราถูก อ้างมาตราถูกต้อง ก็ได้คะแนนในส่วนนี้อย่างแน่นอนครับ เรามาดูด้วยกันเลย

อย่าลืมกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะครับ


👨‍🎓 วิชาแพ่ง 1 เป็นวิชาแรกๆของผู้เรียนวิชากฎหมายหรือหลักสูตรนิติศาสตร์บัญฑิต เป็นเรื่องกฏหมายระหว่างกับเอกชต่อเอกชนฟ้องร้องกัน เช่น คดีละเมิด ความสามารถของบุคคลผู้ซึ่งทำนิติกรรม ฯ เป็นต้น

พี่เล้งเขียนบล็อกนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นทางเลือกเสริมให้น้องๆเพื่อนๆนักศึกษาได้ใช้เป็นแนวทางในการเรียนและฝึกทำข้อสอบครับ คำถามที่นำมาทำเฉลยจะเป็นข้อเท็จจริงที่คล้ายกับข้อสอบของวิชานิติศาสตร์ทั่วๆไปครับ ดังนั้นเพื่อนๆต้องศึกษาตำราหรือเรียนกับอาจารย์ที่สอนวิชานั้นๆโดยตรงจึงจะได้ความรู้ครบถ้วนครับ

ติดตามเฟสบุค:✔ https://bit.ly/30lYOws
ติดตามบล็อกภาษาอังกฤษ:✔ https://titaek-english.blogspot.com/
สนับสนุนการทำคลิปแบบนี้ โอนเงินเข้าบัญชี 🏧 661 3 641 995 ธนาคารกรุงไทย วรวิทย์ ลาภานิกรณ์

🌟เฉลยแนวข้อสอบชุดวิชากฏหมายแพ่ง 1 มสธ

กฎหมายแพ่ง 1 : บุคคล นิติกรรม สัญญา
คําถาม (นิติกรรมอำพราง) นางวิภามีบุตร 3 คน นายสมเกียรติเป็นบุตรคนที่ 3 และเป็นบุตรเพียงคนเดียวที่คอยดูแลเลี้ยงดูนางวิภาผู้เป็นแม่ในยามชรามาโดยตลอด วันหนึ่งนางวิภาจึงคิดอยากจะให้อาคารพาณิชย์ 1 คูหาแก่นายสมเกียรติที่กตัญญูและเลี้ยงดูตนอย่างดี นางวิภาจึงทําสัญญายกอาคารพาณิชย์ให้แก่นายสมเกียรติ แต่ด้วยเกรงว่าบุตรคนอื่นจะรู้ว่าตนยกอาคารพาณิชย์ให้นายสมเกียรติเพียงคนเดียวจึงได้ทําสัญญาซื้อขายอาคารพาณิชย์กับนายสมเกียรติอีกฉบับ ให้ท่านวินิจฉัยว่านิติกรรมระหว่างนางวิภากับนายสมเกียรติจะมีผลในทางกฎหมายอย่างไร แนวตอบ หลักกฎหมาย กรณีตามปัญหาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ วางหลักว่า มาตรา 155 วรรคแรก “การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นโมฆะ แต่จะยกเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทําการโดยสุจริต และต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้นมิได้” มาตรา 155 วรรคสอง “ถ้าการแสดงเจตนาลวงตามวรรคหนึ่งทําขึ้นเพื่ออําพรางนิติกรรมอื่น ให้นําบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอําพรางมาใช้บังคับ” วินิจฉัย ข้อเท็จจริงตามปัญหา กรณีนี้เป็นเรื่องนิติกรรมอําพรางตาม ปพพ. มาตรา 155 วรรคสองซึ่งเป็นเรื่องสืบเนื่องจากการแสดงเจตนาลวงตามมาตรา 155 วรรคหนึ่ง ซึ่งนิติกรรมอําพรางนี้เป็นนิติกรรมที่ผู้แสดงเจตนาทําขึ้นมาอีกอันหนึ่งเพื่อปิดบังอําพรางนิติกรรมที่บุคคลดังกล่าวได้ทําขึ้นจริง ซึ่งกรณีนี้ การที่นางวิภาทําสัญญายกอาคารพาณิชย์ให้แก่นายสมเกียรติ แต่ด้วยเกรงว่าบุตรคนอื่นจะรู้ว่าตนยกอาคารพาณิชย์ให้นายสมเกียรติเพียงคนเดียวจึงได้ทําสัญญาซื้อขายอาคารพาณิชย์กับนายสมเกียรติอีกฉบับ เช่นนี้สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นนิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวง (นิติกรรมที่เปิดเผย) หรือนิติกรรมที่คู่กรณีได้ทําขึ้นมาโดยไม่มีเจตนาให้มีผลใช้บังคับกัน แต่ได้ทําขึ้นมาเพื่อลวงให้บุคคลอื่นเข้าใจว่าคู่กรณีได้ตกลงทํานิติกรรมลักษณะนี้กันและเพื่อเป็นการอําพรางหรือปกปิดนิติกรรมที่แท้จริงคือนิติกรรมการยกให้ เช่นนี้ นิติกรรมซื้อขายอาคารพาณิชย์เกิดจากการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันระหว่างคู่กรณีดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ปพพ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ส่วนนิติกรรมการยกให้เป็นนิติกรรมที่แท้จริงอันเกิดจากการแสดงเจตนาที่แท้จริง นั้นแต่ถูกปกปิดไว้ไม่ให้คนอื่นรู้ย่อมมีผลบังคับได้เพราะถือว่าเป็นนิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาที่ตรงกับเจตนาภายในใจที่แท้จริงตาม ปพพ. มาตรา 155 วรรคสอง สรุป นิติกรรมซื้อขายอาคารพาณิชย์ตกเป็นโมฆะตาม ปพพ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ส่วนนิติกรรมการยกให้มีผลบังคับได้เพราะถือว่าเป็นนิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาที่ตรงกับเจตนาภายในใจที่แท้จริงตาม ปพพ. มาตรา 155 วรรคสอง ลิงค์เวปแนะแนวการตอบวิชากฏหมาย มสธ https://lawselfassesment.blogspot.com #ดูครบจบแน่​ #แพ่ง1มสธ #เล้งนิติศาสตร์


***

ข้อสอบอัตนัยมี 3 ส่วน ได้แก่

1 ท่อนแรก ยกบทกฏหมาย

2 ท่อนสอง วินิจฉัย

3 ท่อนท้าย สรุปธงคำตอบ

คลิกดู 💣 รูปแบบฟอร์มการตอบ

เพื่อเป็นกำลังใจให้สู้ต่อไป ท้อได้เป็นบางครั้ง แต่อย่าได้หยุดเดินต่อนะครับ

เป้าหมายมีไว้ให้พุ่งเข้าใส่ครับ ติดต่อพูดคุยกันได้นะครับ

ขอบคุณที่ติดตามบล็อกและเฟสบุคของ พี่เล้ง นิติศาสตร์ มสธ

สวัสดีครับ


ช่วยกด Like กด Share จะได้ช่วยกันเผยแพร่ให้พวกๆเรากันเองครับ

สไลด์ดูแนวข้อสอบอื่นๆ

ความคิดเห็น