เฉลยกฎหมายแพ่ง 𝟙 มสธ 𝟜𝟙𝟚𝟙𝟙 คำถาม นายเดชอายุ 15 ปีเป็นผู้เยาว์และเป็นบุคคลจริตวิกล ดังนี้นิติกรรมที่ทำลงมีผลเช่นไร | เล้ง นิติศาสตร์
สวัสดีครับเพื่อนๆ ผม พี่เล้ง นิติศาสตร์ ศิษย์เก่า มสธ วันนี้ผมนำแนวข้อสอบกฎหมายวิชาแพ่ง 1 มาเขียน
เพื่อจะมีส่วนช่วยให้เพื่อนทำข้อสอบได้ครับ หรือเพื่อนๆจะดูคลิปด้านล่างนี้ได้เช่นเดียวกันครับ
อย่าลืมกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะครับ
👨🎓 เพื่อนๆที่สอบไม่ผ่าน ต้องขยันให้มากขึ้น ฝึกทำปรนัย และหาแนวข้อสอบเก่าๆมาเขียนคำตอบดูก็จะช่วยเกิดความคุ้นเคยกับข้อสอบ เมื่อถึงเวลาสอบจริง
ติดตามเฟสบุค:✔ https://bit.ly/30lYOws
ติดตามบล็อกภาษาอังกฤษ:✔ https://titaek-english.blogspot.com/
สนับสนุนการทำคลิปแบบนี้ โอนเงินเข้าบัญชี 🏧 661 3 641 995 ธนาคารกรุงไทย วรวิทย์ ลาภานิกรณ์
🌟เฉลยแนวข้อสอบชุดวิชากฏหมายแพ่ง 1 ข้อ 1 มสธ
โจทย์
นายเดชอายุ 15 ปี เป็นบุตรชายของนายดำรง ได้ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์สมองได้รับความกระทบกระเทือนอย่างหนัก ทำให้กลายเป็นคนวิกลจริต เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2535 นายดำรงจึงยื่นคำร้องต่อศาลให้นายเดชเป็นคนไร้ความสามารถ ในระหว่างที่ศาลยังไม่มีคำสั่ง นายเดชได้ไปตกลงซื้อเครื่องรับโทรทัศน์จากนางมรกต 1 เครื่อง ซึ่งนางมรกตก็ขายให้ในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด เนื่องจากรู้จักนายดำรงบิดาของนายเดชและไม่ทราบว่านายเดชวิกลจริต ครั้นวันที่ 15 มีนาคม 2535 ศาลได้มีคำสั่งให้นายเดชตกเป็นคนไร้ความสามารถ ต่อมานายเดชได้ไปหลงรักนางสาวบุษบา จึงได้ยกเครื่องรับโทรทัศน์เครื่องดังกล่าวให้นางสาวบุษบา ดังนี้ ท่านเห็นว่านายดำรงจะเรียกคืนเครื่องรับโทรทัศน์จากนางสาวบุษบาได้หรือไม่ เพราะเหตุใด และจะขอบอกล้างสัญญาซื้อขายโทรทัศน์กับนางมรกตได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
แนวตอบ
กรณีตามปัญหา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ วางหลักว่า
1. มาตรา 21 ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใดๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน
การใดๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่ จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
2. มาตรา 29 การใดๆ อันบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทำลง การนั้นเป็นโมฆียะ
3. มาตรา 175 โมฆียกรรมนั้น บุคคลต่อไปนี้จะบอกล้างเสียก็ได้
(1) ผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้เยาว์ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่ผู้เยาว์จะบอกกล่าวก่อนที่ตนบรรลุนิติภาวะก็ได้ ถ้าได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม
(2) บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ เมื่อบุคคลนั้นพ้นจากการเป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถแล้ว หรือผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณี แต่คนเสมือนไร้ความสามารถจะบอกล้างก่อนที่ตนจะพ้นจากการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถก็ได้ถ้าได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์
ข้อเท็จจริงตามตามปัญหา บุคคลจะพ้นจากการเป็นผู้เยาว์โดยบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์แต่นายเดชอายุ 15 ปีจึงยังเป็นผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใดๆ จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมคือ นายดำรงก่อน เมื่อนายดำรงยังมิได้ให้ความยินยอมในนิติกรรมซื้อเครื่องรับโทรทัศน์ นิติกรรมนั้นมีผลเป็นโมฆียะ การที่นายเดชเป็นบุคคลวิกลจริตนั้นจึงไม่จำต้องมาวินิจฉัยในปัญหานี้ เพราะนายเดชยังเป็นผู้เยาว์อยู่ ส่วนกรณีที่นายเดชได้ยกเครื่องรับโทรทัศน์ดังกล่าวให้นางสาวบุษบานั้น นายเดชเป็นบุคคลซึ่งศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถแล้ว นายเดชไม่สามารถทำนิติกรรมใดๆได้ ต้องให้ผู้อนุบาลเป็นผู้ทำแทน ดังนั้น การยกให้นี้จึงตกเป็นโมฆียะเช่นกัน
จากหลักกฎหมายประกอบเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าเห็นว่า นิติกรรมการซื้อขายและนิติกรรมการยกให้ ตกเป็นโมฆียะ ดังนั้น นายดำรงสามารถบอกล้างนิติกรรมการยกให้โดยเรียกคืนเครื่องรับโทรทัศน์จากนางสาวบุษบาได้ในฐานะที่ตนเป็นผู้อนุบาล และสามารถบอกล้างสัญญาซื้อขายโทรทัศน์กับนางมรกตได้ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรม
วิเคราะห์
ตามคำถามข้อนี้ สามารถแบ่งประเด็นตอบได้ 2 ประเด็น ประเด็นแรกคือ การที่นายเดชไปตกลงซื้อเครื่องรับโทรทัศน์จากนางมรกต 1 เครื่อง สัญญาซื้อขายมีผลเป็นอย่างไร คำตอบคือ สัญญาซื้อขายเครื่องรับโทรทัศน์ย่อมตกเป็นโมฆียะ เนื่องจากนายเดชนายเดชยังเป็นผู้เยาว์ การทำสัญญานั้นต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมคือนายดำรงก่อน โดยไม่ต้องนำมาตรา 30 เรื่องบุคคลวิกลจริตที่ศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถมาวินิจฉัย
ส่วนประเด็นที่ 2 การที่นายเดชซึ่งเป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้ยกเครื่องรับโทรทัศน์ให้แก่นางสาวบุษบา การนี้มีผลอย่างไร คำตอบคือ การให้ตกเป็นโมฆียะ ตามมาตรา 29 ซึ่งคนไร้ความสามารถจะทำนิติกรรมใดๆไม่ได้เลย ต้องให้ผู้อนุบาลทำแทนเท่านั้น
⚖️ โครงสร้างการเขียนคำตอบของวิชากฏหมาย มสธ แบ่งเป็น 3 ส่วน
ส่วนที่1
การยกบทหลักกฎหมาย (อ้างตัวบทว่ามีกฏหมายบัญญัติไว้)
กรณีตามปัญหา ประมวลกฎหมาย...............วางหลักไว้ว่า
เขียนตัวบทในมาตราที่เกี่ยวข้องกับโจทย์
ส่วนที่2
วินิจฉัย (นำตัวบทกฏหมายส่วนที่ 1 มาเขียนเรียบเรียงแจกแจงโดยอธิบายอ้างอิงกันระหว่างตัวบทและโจทย์)
ข้อเท็จตามปัญหา การที่........
ส่วนที่ 3
สรุป.....ฟันธงตอบคำถามให้ตรงประเด็น
ลิงค์ตอบวิชากฏหมาย มสธ https://lawselfassesment.blogspot.com
เฉลยแนวข้อสอบวิชากฏหมายโดย admin "Y-Law?" ซึ่งศึกษานิติศาสตร์ที่ มสธ จึงทราบปัญหาดีว่าเพื่อนส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีเวลาอ่านหนังสือ ทั้งวิชากฏหมายต้องตีความหมายหลายชั้นเพราะเป็นคำศัพท์ภาษาเฉพาะและมีคำโบราญ ดังนั้น admin จึงพยายามหาวิธีสื่อสารที่เข้าใจง่าย เขียนผังความเชื่อมโยงเหตุการณ์จากโจทย์
ข้อที่ 1 มักออกข้อสอบเกี่ยวกับเรื่องสภาพของบุคคล เช่น ผู้เยาว์ บุคคลไร้ความสามารถ ทำการใดๆ หรือนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ผลเป็นอย่างไร
มาตราที่ควรท่องจำหรือทำความเข้าใจ สำหรับทำคำตอบ วิชา กฏหมายแพ่ง 1 ข้อ 1 เช่น
👉 มาตรา 21, 29, 175
***
ข้อสอบอัตนัยมี 3 ส่วน ได้แก่
1 ท่อนแรก ยกบทกฏหมาย
1 ท่อนแรก ยกบทกฏหมาย
2 ท่อนสอง วินิจฉัย
เพื่อเป็นกำลังใจให้สู้ต่อไป ท้อได้เป็นบางครั้ง แต่อย่าได้หยุดเดินต่อนะครับ
เป้าหมายมีไว้ให้พุ่งเข้าใส่ครับ ติดต่อพูดคุยกันได้นะครับ
ขอบคุณที่ติดตามบล็อกและเฟสบุคของ พี่เล้ง นิติศาสตร์ มสธ
สวัสดีครับ
ช่วยกด Like กด Share จะได้ช่วยกันเผยแพร่ให้พวกๆเรากันเองครับ
สไลด์ดูแนวข้อสอบอื่นๆ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น