แนวข้อสอบกฏหมายพาณิชย์ 3 ฟ้าเช่าทีดินเขียว 1 หมื่นบาท/เดือน เหลืองค้ำประกัน | เล้ง นิติ มสธ


สวัสดีครับเพื่อนๆทุกคน

Tab ติดตามวิชากฏหมาย: ATtorney's journey: หนทางนักกฏหมาย
Tab ดู: แหล่งวิทยาการ นิติศาสตร์ มสธ

วันนี้ผมจะนำแนวข้อสอบวิชากฏหมายแพ่งและพาณิชย์ 3 (พา 3) เป็นวิชาว่าด้วยประกันด้วยบุคคลและทรัพย์ ตั๋วเงินมาเขียนตอบให้เพื่อนๆได้อ่านและเอาไปใช้ได้เลย

โจทย์วันนี้เป็นโจทย์เรื่องค้ำประกันครับ มีมาตราประกอบ 2 มาตรา ซึ่งก็เป็นมาตราหลักของวิชานี้เสียด้วยสิครับ เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว เพื่อนๆต้องเปิดประมวลและทำเครื่องหมายไว้เลยครับว่าสำคัญและต้องจำให้ได้

โจทย์

ฟ้าทำสัญญาเช่าที่ดินของเขียวมีกำหนด 1 ปี ค่าเช่าเดือนละ 10,000 บาท โดยมีข้อตกลงว่าเมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าแล้ว ถ้าไม่มีการกำหนดสัญญาเช่ากันใหม่ ผู้เช่าต้องขนย้ายบริวารและสิ่งของออกจากที่เช่าภายใน 30 วัน มิฉะนั้นจะต้องใช้ค่าเสียหายให้แก่เขียว โดยมีเหลืองเป็นผู้ค้ำประกันค่าเช่าและค่าเสียหาย ซึ่งเขียวจะเรียกร้องจากฟ้า ในการไม่ปฏิบัติตามสัญญาเช่า

เมื่อเช่าได้ 8 เดือน เหลืองมีหนังสือไปถึงเขียวขอบอกเลิกการค้ำประกันสัญญาดังกล่าว

เมื่อครบกำหนด 1 ปี ฟ้าไม่ยอมออกจากที่เช่า เขียวจึงฟ้องเรียกค่าเสียหายตามสัญญาจากฟ้าและเหลือง เหลืองอ้างว่าตนหลุดพ้นความรับผิด เพราะบอกเลิกสัญญาค้ำประกันแล้วก่อนหน้านั้น เช่นนี้ ข้ออ้างของเหลืองฟังขึ้นหรือไม่

แนวการตอบ

กรณีตามปัญหา ปพพ. วางหลักไว้ว่า

(มาตรา 680) อันว่าค้ำประกันนั้นคือ สัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ค้ำประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น

(มาตรา 699) การค้ำประกันเพื่อกิจกรรมเนื่องกันไปหลายคราวไม่มีจำกัดเวลาเป็นคุณแก่เจ้าหนี้นั้น ท่านว่าผู้ค้ำประกันอาจจะเลิกเสียเพื่อคราวอันเป็นอนาคตได้โดยบอกกล่าวความประสงค์นั้นแก่เจ้าหนี้

ในกรณีเช่นนี่ ท่านว่าผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดในกิจการที่ลูกหนี้กระทำลงภายหลังคำบอกกล่าวนั้นได้ไปถึงเจ้าหนี้


จากข้อเท็จจริงตามปัญหา การประกันดังกล่าวเป็นการค้ำประกันหนี้มีกำหนดเวลา โดยไม่จำกัดความรับผิดหนี้ตามสัญญาเช่า ซึ่งเป็็นกิจการเดียวกัน และมีกำหนดระยะเวลา ไม่ใช่กรณีกิจการต่อเนื่องกันหลายคราว โดยไม่จำกัดเวลาเป็นคุณแก่เจ้าหนี้(มาตรา 699)

เหลืองผู้ค้ำประกันจึงไม่อาจบอกเลิกสัญญาค้ำประกันก่อนสัญญาเช่าครบกำหนดได้ ยังคงต้องผูกพันรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน(มาตรา 680) กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 699 ข้ออ้างของเหลืองฟังไม่ขึ้น

ดังนั้น จากกรณีตามปัญหาเหลืองจะอ้างว่าตนหลุดพ้นความผิดหาได้ไม่ดังที่กล่าวมาแต่ต้น


สุดท้ายนี้ อยากจะบอกเพื่อนๆว่า การท่องจำตัวบทสำคัญๆเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอในการที่จะนำไปทำข้อสอบ เราจะต้องเข้าใจตัวบทอย่างถ่องแท้และสามารถเรียบเรียงเป็นตัวหนังสือออกมาได้ซึ่งคือการปรับตัวบทเข้ากับข้อเท็จริง โดยที่จะได้คะแนนดีหรือไม่เพียงใด ก็อยู่ที่การเขียนคำตอบของเพื่อนๆว่าอาจารย์ท่านใช้ดุลพินิจแล้วจะให้คะแนนเท่าไรนั่นเองครับ

Thanks for reading.

ขอให้เพื่อนโชคดีได้ H กันทุกๆคนนะครับ




ช่วยกด Like กด Share จะได้ช่วยกันเผยแพร่ให้พวกๆเรากันเองครับ
คลิกดูเรื่องอื่นเพิ่ม

ความคิดเห็น