แก้ปัญหาจำไม่ได้ นึกไม่ออก ข้อบังคับมรรยาททนายความโดย | เล้งถนัดสอน

✨ทนายความมีบทบาทสำคัญในกระบวนการยุติธรรม แต่ละคนมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน

บล็อกนี้รวบรวมข้อบังคับมรรยาททนายความที่สำคัญ

จัดทำโดย: วรวิทย์ ลาภานิกรณ์ (เล้งถนัดสอน) 

👨‍🎓บริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง 
👨‍🎓นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
🔹️Certificate of logistics from Pennsylvania university
👨‍🎓 หลักสูตรอบรมวิชาว่าความ สภาทนายความ

📌 สมัครสมาชิกเพื่อรับเนื้อหาใหม่ล่าสุด
📌 แชร์บล็อกนี้กับเพื่อนของคุณ
📌แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาด้านล่างโพสต์นี้

มาเรียนรู้กฎเกณฑ์และหลักปฏิบัติที่ทนายความควรยึดถือ

ป้องกันปัญหาและสร้างความน่าเชื่อถือในวิชาชีพทนายความ!  

 ปัญหาของการจำข้อบังคับมรรยาททนายความไม่ได้ ท่องแล้วได้หน้าลืมหลังจะหมดไป ด้วยวิธีการนี้!!!

มรรยาททนายเป็นข้อบังคับที่ใช้บังคับคุมคุมผู้ที่เป็นทนายความ และยังเป็นข้อสอบทั้งอัตนัยและปรนัยของสนามสอบให้เป็นทนายความอีกด้วย

| จำง่าย-ความหมายมรรยาททนาย

แม้ข้อบังคับมรรยาททนายความจะมีทั้งหมด 6 หมวด 21 ข้อบังคับ ประกาศ ณ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529

21 คำย่อ บอกความหมายรายข้อ "มรรยาททนายความ"

หมวด 1
บททั่วไป

ข้อ 1 = มรร (มัน) = ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ
ข้อ 2 = บัง =  บังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ 3 = เลิก = ให้ยกเลิกบทบัญญัติว่าด้วยมรรยาททนายความเดิม
ข้อ 4 =  ฝืน = ทนายความผู้ใดฝ่าฝืน ผู้นั้นประพฤติผิดมรรยาททนายความ

หมวด 2
มรรยาทต่อศาลและในศาล

ข้อ 5 = ไม่ = ไม่รับหน้าที่เมื่อผู้พิพากษาขอแรง (แรงหมด)
ข้อ 6 = หมิ่น = หมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในศาลหรือนอกศาล (ไม่รู้ที่ต่ำที่สูง)
ข้อ 7 = ลวง = ลวงให้ศาลหลงเพื่อทราบคําสั่ง หรือคําพิพากษา (ล้วงตับ)
ข้อ 8 = เสี้ยม = เสี้ยมสอนพยานให้เบิกความเท็จ (ปั้นน้ำเป็นต้ว)


หมวด 3
มรรยาทต่อตัวความ

ข้อ 9 = ยุ =  ยุยงให้มีการฟ้องร้องคดี (บ่างช่างยุ)
ข้อ 10 = จูง =  จูงใจให้ผู้ใดมอบคดีให้ (เหลี่ยมจัด / เจ้าเลห์เพทุบาย)
ข้อ 11 = เปิด = เปิดเผยความลับของลูกความที่ได้รู้ (ปากสว่าง)
ข้อ 12 = ขาด =  ขาดนัด หรือทอดทิ้งคดี ละเว้นหน้าที่ (โดดเรียน)
ข้อ 13 = รู้ = รู้เรื่องคดีแล้วช่วยเหลือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง (นกสองหัว)
ข้อ 14 = ใช้ = ใช้อุบายให้ตนได้รับประโยชน์เพิ่ม (ติดปลายนวม)
ข้อ 15 = ฉ้อ = ฉ้อโกง ยักยอก หรือตระบัดสินลูกความ (รู้หน้าไม่รู้ใจ)

หมวด 4
มรรยาทต่อทนายความด้วยกัน ต่อประชาชนผู้มีอรรถคดีและอื่น ๆ

ข้อ 16 = แย่ง = แย่งคดีของทนายความอื่น (ปาดหน้าเค้ก)
ข้อ 17 =  โฆษ = โฆษณาไม่รับค่าว่าความ หรือโฆษณาอวดตัวเอง  (คุยโม้โอ้อวด)
ข้อ 18 = เสื่่อม = ประพฤติตนผิดต่อศิลธรรมอันดีงาม (นอกรีต nonconformist)
ข้อ 19 = ลด = ลดค่าจ้างว่าความ จ่ายเงินเพื่อหาคดี (หมูไปไก่มา)

หมวด 5
มรรยาทในการแต่งกาย

ข้อ 20 = แต่ง = ทนายความจะต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อยตามหลักเกณฑ์

หมวด 6
มรรยาทในการปฏิบัติตามคําสั่งตามกฎหมายและข้อบังคับ

ข้อ 21 = เคร่ง = ทนายความจะต้องปฏิบัติตนตามคําสั่งอย่างเคร่งครัด

ข้อบังคับสภาทนายความ ว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. ๒๕๒๙

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๗ (๓) (จ) และมาตรา ๕๑ และด้วยความเห็นชอบของสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความตามมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. ๒๕๒๘ คณะกรรมการสภาทนายความออกข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความไว้ดังต่อไปนี้

หมวด ๑
บททั่วไป

ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า "ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. ๒๕๒๙"
ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกบทบัญญัติว่าด้วยมรรยาททนายความและการแต่งกายของทนายความตาม
ข้อบังคับของเนติบัณฑิตยสภา และตามบทกฎหมายอื่นที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๔ ทนายความผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับข้อใดข้อหนึ่งดังจะกล่าวต่อไปนี้ ให้
ถือว่าทนายความผู้นั้นประพฤติผิดมรรยาททนายความ

หมวด ๒
มรรยาทต่อศาลและในศาล

ข้อ ๕ ไม่รับหน้าที่เมื่อผู้พิพากษาได้ขอแรงให้เป็นทนายความแก้ต่างในคดีอาญา เว้นแต่จะ
มีข้อแก้ตัวโดยสมควร
ข้อ ๖ ไม่เคารพยำเกรงอำนาจศาล หรือกระทำการใดอันเป็นการดูหมื่นศาลหรือผู้พิพากษา
ในศาลหรือนอกศาล อันเป็นการทำให้เสื่อมเสียอำนาจศาลหรือผู้พิพากษา
ข้อ ๗ กล่าวความ หรือทำเอกสารหรือหลักฐานเท็จ หรือใช้กลอุบายลวงให้ศาลหลง หรือ
กระทำการใดเพื่อทราบคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลที่ยังไม่เปิดเผย
ข้อ ๘ สมรู้เป็นใจโดยทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อทำพยานหลักฐานเท็จ หรือเสี้ยมสอนพยาน
ให้เบิกความเท็จ หรือโดยปกปิดซ่อนงำอำพรางพยานหลักฐานใด ๆ ซึ่งควรนำมายื่นต่อศาล หรือสัญญา
จะให้สินบนแก่เจ้าพนักงาน หรือสมรู้เป็นใจในการให้สินบนแก่เจ้าพนักงาน

หมวด ๓
มรรยาทต่อตัวความ

ข้อ ๙ กระทำการใดอันเป็นการยุยงส่งเสริมให้มีการฟ้องร้องคดีกันในกรณีอันหามูลมิได้
ข้อ ๑๑ เปิดเผยความลับของลูกความที่ได้รู้ในหน้าที่ของทนายความ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากลูกความนั้นแล้ว หรือโดยอำนาจศาล
ข้อ ๑๐ ใช้อุบายอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวต่อไปนี้ เพื่อจูงใจให้ผู้ใดมอบคดีให้ว่าต่างหรือแก้ต่าง
(๑) หลอกลวงให้เขาหลงว่าคดีนั้นจะชนะ เมื่อตนรู้สึกแก่ใจว่าจะแพ้
(๒) อวดอ้างว่าตนมีความรู้ยิ่งกว่าทนายความอื่น
(๓) อวดอ้างว่าเกี่ยวเป็นสมัครพรรคพวกรู้จักคุ้นเคยกับผู้ใดอันกระทำให้เขาหลงว่าตนสามารถ
จะทำให้เขาได้รับผลเป็นพิเศษนอกจากทางว่าความ หรือหลอกลวงว่าจะชักนำจูงใจให้ผู้นั้นช่วยเหลือคดี
ในทางใด ๆ ได้ หรือแอบอ้างขู่ว่าถ้าไม่ให้ตนว่าคดีนั้นแล้วจะหาหนทางให้ผู้นั้นกระทำให้คดีของเขาเป็น
แพ้
ข้อ ๑๒ กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวต่อไปนี้ อันอาจทำให้เสื่อมเสียประโยชน์ของลูกความ
(๑) จงใจขาดนัด หรือทอดทิ้งคดี
(๒) จงใจละเว้นหน้าที่ที่ควรกระทำอันเกี่ยวแก่การดำเนินคดีแห่งลูกความของตน หรือปิดบัง
ข้อความที่ควรแจ้งให้ลูกความทราบ
ข้อ ๑๓ ได้รับปรึกษาหารือ หรือได้รู้เรื่องกรณีแห่งคดีใดโดยหน้าที่อันเกี่ยวข้องกับคู่ความฝ่ายหนึ่ง แล้วภายหลังไปรับเป็นทนายความหรือใช้ความรู้ที่ได้มานั้นช่วยเหลือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นปรปักษ์อยู่ในกรณีเดียวกัน
ข้อ ๑๔ ได้รับเป็นทนายความแล้ว ภายหลังใช้อุบายด้วยประการใด ๆ โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร เพื่อจะให้ตนได้รับประโยชน์นอกเหนือจากที่ลูกความได้ตกลงสัญญาให้
ข้อ ๑๕ กระทำการใดอันเป็นการฉ้อโกง ยักยอก หรือตระบัดสินลูกความ หรือครอบครอง หรือหน่วงเหนี่ยว เงินหรือทรัพย์สินของลูกความที่ตนได้รับมาโดยหน้าที่อันเกี่ยวข้องไว้นานเกินกว่าเหตุ โดยมิได้รับความยินยอมจากลูกความ เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควร

หมวด ๔
มรรยาทต่อทนายความด้วยกัน ต่อประชาชนผู้มีอรรถคดี และอื่น ๆ

ข้อ ๑๖ แย่ง หรือทำการใดในลักษณะประมูลคดีที่มีทนายความอื่นว่าต่างแก้ต่างอยู่แล้วมาว่าหรือรับ หรือสัญญาว่าจะรับว่าต่าง แก้ต่าง ในคดีที่รู้ว่ามีทนายความอื่นว่าอยู่แล้ว เว้นแต่
(๑) ได้รับความยินยอมจากทนายความที่ว่าความอยู่ในเรื่องนั้นแล้ว
(๒) มีเหตุผลอันควรเชื่อว่าตัวความได้ถอนทนายความคนก่อนจากการเป็นทนายความของเขาแล้ว หรือ
(๓) ทนายความผู้ว่าความในเรื่องนั้นปฏิเสธ หรือแสดงความไม่สมัครใจที่จะว่าความในคดีนั้นต่อไปแล้ว
ข้อ ๑๗ ประกาศโฆษณา หรือยอมให้ผู้อื่นประกาศโฆษณาใด ๆ ดังต่อไปนี้
(๑) อัตราค่าจ้างว่าความ หรือแจ้งว่าไม่เรียกร้องค่าจ้างว่าความ เว้นแต่การประกาศโฆษณาของทนายความเกี่ยวกับการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายซึ่งดำเนินการโดยสภาทนายความเอง หรือโดยสถาบัน สมาคม องค์การ หรือส่วนราชการใดที่เกี่ยวข้อง หรือ
(๒) ชื่อ คุณวุฒิ ตำแหน่ง ถิ่นที่อยู่ หรือสำนักงาน อันเป็นไปในทางโอ้อวดเป็นเชิงชักชวนให้ผู้มีอรรถคดีมาหาเพื่อเป็นทนายความว่าต่าง หรือแก้ต่างให้ เว้นแต่การแสดงชื่อ คุณวุฒิ หรืออื่น ๆ ดังกล่าวตามสมควรโดยสุภาพ
ข้อ ๑๘ ประกอบอาชีพ ดำเนินธุรกิจ หรือประพฤติตนอันเป็นการฝ่าฝืนต่อศีลธรรมอันดี หรือเป็นการเสื่อมเสียต่อศักดิ์ศรีและเกียรติคุณของทนายความ
ข้อ ๑๙ ยินยอมตกลง หรือให้คำมั่นสัญญาว่าจะให้ค่านายหน้าหรือบำเหน็จรางวัลใด ๆ ด้วยทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ แก่ผู้ที่หาคดีความหรือนำคดีความมาให้ หรือมีคนประจำสำนักงานดำเนินการจัดหาคดีความมาให้ว่า โดยทนายความผู้นั้นคิดค่าส่วนลดของค่าจ้างให้ หรือให้เงินเดือน หรือเงินจำนวนหนึ่งจำนวนใด หรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างใด ๆ แก่ผู้ที่หาคดีความมาให้นั้น แม้บุคคลผู้หาคดีความมาให้โดยลักษณะดังกล่าวจะเป็นเสมียนหรือลูกจ้างประจำสำนักงานของทนายความผู้นั้นก็ตาม

หมวด ๕
มรรยาทในการแต่งกาย

ข้อ ๒๐ ในเวลาว่าความ ทนายความจะต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อยตามหลักเกณฑ์ ต่อไปนี้
(๑) ทนายความชาย แต่งตามแบบสากลนิยม เป็นชุดสีขาว หรือสีอื่นที่ไม่ฉูดฉาด เชิ้ตขาว
ผ้าผูกคอสีดำหรือสีอื่นที่สุภาพไม่ฉูดฉาดแบบเงื่อนกะลาสี หรือแต่งเสื้อชุดไทยแบบแขนสั้นหรือยาว สีสุภาพ ไม่มีลวดลายแทนเสื้อชุดสากลก็ได้ รองเท้าหุ้มส้นสีขาว น้ำตาลหรือดำ ถุงเท้าสีคล้ายคลึงกับรองเท้า
(๒) ทนายความหญิง แต่งตามแบบสากลนิยม กระโปรงและเสื้อสีสุภาพไม่ฉูดฉาด รองเท้าหุ้มส้น
(๓) ทนายความที่มีสิทธิแต่งเครื่องแบบราชการ จะแต่งเครื่องแบบราชการก็ได้
(๔) ในขณะว่าความ ทนายความที่มีสิทธิสวมเสื้อครุยเนติบัณฑิต ต้องสวมเสื้อครุยนั้นด้วย
แก้ไข 23-2- 2566 ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน ข้อ 20 (2)ทนายความหญิงแต่งกายตามแบบสากลนิยมกระโปรงหรือกางเกงขายาวสีขาว กรมท่า ดำ หรือสีอื่น ซึ่งเป็นสีเข้มและไม่ฉูดฉาด โดยมีรูปแบบที่เหมาะสม เสื้อสีขาวหรือสีตามกระโปรงหรือกางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้นสีขาว น้ำตาลหรือดำ เข้าชุดกันกับเครื่องแต่งกาย

หมวด ๖
มรรยาทในการปฏิบัติตามคำสั่งตามกฎหมายและข้อบังคับ

ข้อ ๒๑ ทนายความจะต้องปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดเพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งของสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความ คณะกรรมการสภาทนายความ และคณะกรรมการมรรยาททนายความ ตลอดจนบรรดาข้อบังคับหรือข้อกำหนดที่บุคคลหรือคณะบุคคลดังกล่าวได้สั่งหรือมีไว้ แล้วแต่กรณี ตามอำนาจหน้าที่ซึ่งมีอยู่ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๙
ประธาน ดวงรัตน์
นายกสภาทนายความ

· คัดจาก ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๕, ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๙, ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐-๑๖.

#เล้งถนัดสอน #มรรยาททนายความ
ขอให้โชคดีทุกท่าน กรุณากดShare กด Like เพื่อเป็นกำลังใจให้ด้วยนะครับ

สวัสดีครับ

ขอบคุณที่ติดตามบล็อกและเฟสบุคของ พี่ เล้งถนัดสอน


ช่วยกด Like กด Share จะได้ช่วยกันเผยแพร่ให้พวกๆเรากันเองครับ

สไลด์ดูแนวข้อสอบอื่นๆ

ความคิดเห็น