ว่าด้วยกฎหมายลิขสิทธิ์ งานใดบ้างที่ไม่จัดเป็นงานอันติดลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 | เล้งถนัดสอน

   แนวสอบปรนัยทนายความ ว่าด้วยคำถามเรื่องงานที่กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาไม่คลุม

| งานค้นพบสูตรคณิตศาสตร์ไม่จัดเป็นงานมีลิขสิทธิ์

ตัวอย่างเช่น:

ตย.1 

ถาม: งานใดที่ไม่จัดเป็นงานที่กฎหมายกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property Law) บัญญัติให้ความคุ้มครองไว้

ตอบ: 

1. แนวความคิด 

2. หลักการ 

3. การค้นพบทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์

 ดูข้อมูลและตัวบทกฎหมายประกอบตามรายละเอียดด้านล่างดังต่อไปนี้

หมวด 1

ลิขสิทธิ์

ส่วนที่ 1

งานอันมีลิขสิทธิ์

มาตรา 6 งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่งานสร้างสรรค์ประเภท

วรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียง

แพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ของผู้สร้างสรรค์ไม่ว่า

งานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด

การคุ้มครองลิขสิทธิ์ไม่คลุมถึงความคิด หรือขั้นตอน กรรมวิธี ระบบ วิธีใช้หรือทำงาน แนวความคิด หลักการ การค้นพบ ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์

---

อธิบายเพิ่มเติมได้ว่า


งานอันมีลิขสิทธิ์ตาม มาตรา 6 พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ แบ่งประเภทของงานอันมีลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ (types of work) ต่างๆเป็น  ได้แก่

1] วรรณกรรม (Literary works) หมายถึง งานนิพนธ์ทุกชนิด รวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย

2] นาฏกรรม (Dramatic works) หมายถึง งานเกี่ยวกับการ การเต้น การทำท่า หรือการแสดงที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว

3] ศิลปกรรม (artistic works)
- งานจิตรกรรม เป็นงานที่ต้องท าลงให้ปรากฏบนวัสดุอย่างใดอย่างหนึ่ง
- งานประติมากรรม จะต้องเป็นงานที่มีรูปทรง มีส่วนลึกส่วนนูนปรากฏอยู่เป็นสามมิติที่สัมผัสและจับต้องได้
- งานภาพพิมพ์ เป็นงานที่สร้างโดยการพิมพ์ เป็นการถ่ายแบบจากแม่พิมพ์ โดยเน้นให้ความคุ้มครองถึงตัวแม่พิมพ์งานนั้น
- งานสถาปัตยกรรม
แยกเป็น 4 ชนิด
   (1) การออกแบบอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง หมายถึงแบบในขั้นที่สามารถนำไปใช้ในการก่อสร้างได้ ไม่ใช่เพียงภาพสเกตช์ซึ่งยังคงอยู่ในขั้นความคิดเท่านั้น
   (2) การออกแบบตกแต่งภายในหรือภายนอกอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง
   (3) การออกแบบตกแต่งบริเวณของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง
และ
   (4) การสร้างหุ่นจำลองของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง
- งานภาพถ่าย เป็นงานเกี่ยวกับการจ าลองภาพเหมือนของวัตถุจริงที่เกิดโดยใช้เครื่องมือบันทึกภาพ
- งานภาพประกอบ แผนที่ โครงสร้าง ภาพร่าง หรืองานสร้างสรรค์รูปทรงสามมิติอันเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ หรือวิทยาศาสตร์
- งานศิลปะประยุกต์ เป็นศิลปะที่มุ่งเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งไม่ใช่เพื่อชมคุณค่าในตัวงานนั้นเอง อาจเป็นประโยชน์เพื่อการค้าหรือไม่ก็ได้

* งานศิลปกรรมต่างๆ เหล่านี้ได้รับความคุ้มครองไม่ว่าจะมีคุณค่าทางศิลปะหรือไม่ และงานต่างๆให้รวมถึงภาพถ่ายและแผนผังของงานด้วย

4] ดนตรีกรรม (musical works) งานเพลงซึ่งมีทำนองและคำร้องหรือมีเฉพาะทำนอง และรวมถึงโน้ตเพลงและแผนภูมิเพลง

5] โสตทัศนวัสดุ (audiovisual works) งานอันประกอบด้วยลำดับของภาพโดยบันทึกลงในวัสดุอย่างใดอย่างหนึ่งอันสามารถที่จะน ามาเล่นซ้าได้อีก รวมถึงเสียงประกอบงานนั้น

6] ภาพยนตร์(cinematographic works) – เป็นโสตทัศนวัสดุที่ประกอบด้วยลำดับของภาพซึ่งสามารถนำออกฉายต่อเนื่องได้อย่างภาพยนตร์ และให้หมายความรวมถึงเสียงประกอบภาพยนตร์ด้วย

7] สิ่งบันทึกเสียง (sound recording) งานอันประกอบด้วยลำดับของเสียงดนตรี เสียงการแสดง หรือเสียงอื่นใด โดยบันทึกลงในวัสดุไม่ว่าจะมีลักษณะใดๆ อันสามารถนำมาเล่นซ้ำได้อีก รวมถึงเสียงประกอบภาพยนตร์หรือเสียงประกอบโสตทัศนวัสดุอย่างอื่น

8] งานแพร่เสียงแพร่ภาพ (broadcasting works) – ต้องเป็นสิ่งที่นำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
- การแพร่เสียงทางวิทยุกระจายเสียง
- การแพร่เสียงและหรือภาพทางวิทยุโทรทัศน์
- การแพร่เสียงและหรือภาพโดยวิธีอย่างอื่น

9] งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลป

///

ขอให้โชคดีทุกท่าน กรุณากดShare กด Like เพื่อเป็นกำลังใจให้ด้วยนะครับ

สวัสดีครับ

ขอบคุณที่ติดตามบล็อกและเฟสบุคของ พี่ เล้งถนัดสอน


ช่วยกด Like กด Share จะได้ช่วยกันเผยแพร่ให้พวกๆเรากันเองครับ

สไลด์ดูแนวข้อสอบอื่นๆ

ความคิดเห็น