อธิบายมาตรา 59 (ประมวลกฎหมายอาญา) อย่างละเอียด มีตัวอย่างฎีกาประกอบ | แนวข้อสอบกฎหมาย

   สวัสดีครับเพื่อนๆวันนี้ผม เล้งถนัดสอน ได้เขียนคำอธิบายมาตรากฎหมายอาญา มาตรา 59 ไว้อย่างละเอียด

ผู้ที่เรียนวิชานิติศาสตร์หรือเกี่ยวกับกฎหมายแล้วจำเป็นต้องท่องมาตรานี้ให้ได้และเข้าใจความหมายของตัวบทเป็นอย่างดี มิฉะนั้นจะขาดความรู้ฐานหลักของกฎหมายอาญาไป

| หัวใจหลักกฎหมายอาญา มาตรา 59

ตัวบท

มาตรา 59 บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา เว้นแต่จะได้กระทำความโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท หรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา

กระทำโดยเจตนา ได้แก่กระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น

ถ้าผู้กระทำมิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดจะถือว่าผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นมิได้

กระทำโดยประมาท ได้แก่กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัย และพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่

การกระทำ ให้หมายความรวมถึงการให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้นโดยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย

สรุปความหมายสั้นๆมาตรา 59 ได้แก่ ประกอบด้วย 5 วรรค

วรรคแรก ผู้กระทำความผิดต้องมีเจตนาเท่านั้น แต่บางมาตราของกฎหมายจะบัญญัติไว้ว่าแม้จะกระทำโดยประมาท หรือไม่ได้มีเจตนาและก็ไม่ได้ประมาทก็ถือว่าเป็นความผิดก็มี

วรรคสอง อธิบายถึงคำว่าเจตนาในวรรคแรกว่า ต้องเป็นการกระทำที่ต้องการให้เกิดผล เช่น ต้องการยิงคนให้ตาย หรือไม่ได้ต้องการให้เกิดผลเสียทีเดียวแต่รู้ได้ว่าถ้าทำลงไปแล้วย่อมมีผลตามมา เช่น โยนก้อนหินใส่รถยนต์ที่แล่นอยู่ เป็นต้น

วรรคสาม ถ้าทำไปโดยไม่เรื่องราวข้อเท็จจริงก็ไม่เป็นความผิด เช่น นาย A จะยิงนาย B จึงไปดักซุ่มยิง แต่มีนาย C เดินมานาย A เข้าใจว่าเป็นนาย B จึงยิงไปถูกนาย C ถือวานาย A ไม่รู้ข้อเท็จจริงจึงไม่ผิดตามมาตรา 59 วรรคสาม แต่จะไปผิดบทกฎหมายบทอื่นแทน

วรรคสี่ เป็นการกระทำความผิดโดยประมาท

 วรรคห้า ทำโดยให้เกิดผล เช่น ใส่ยาพิษให้ผู้อื่นดื่ม หรือไม่ทำเพื่อให้เกิดผล เช่น แม่ปล่อยให้ลูกทารกอดนมอดอาหารจนตาย เป็นต้น

อธิบายความหมายของมาตรา 59

มาตรา 59 ในพระราชบัญญัติควบคุมพิจารณาคดีและคำพิพากษา พ.ศ. 2477 (ประมวลกฎหมายอาญา) มีข้อความดังนี้:

บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา เว้นแต่จะได้กระทำความโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท หรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา กระทำโดยเจตนา ได้แก่กระทำโดยรู้สานึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น

ถ้าผู้กระทำมิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดจะถือว่าผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นมิได้ กระทำโดยประมาท ได้แก่กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจะต้องมีตามวิสัย และพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่

การกระทำ ให้หมายความรวมถึงการให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้นโดยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย

ในคำพิพากษาอาญานี้:

กฎหมายกำหนดว่าบุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาเมื่อทำความผิดโดยมีเจตนา นั่นคือเขาทราบถึงการกระทำและปรารถนาให้เกิดผลลักษณะที่กำหนดโดยกฎหมาย.

นอกเหนือจากนี้ กฎหมายยังกำหนดเงื่อนไขในกรณีที่บุคคลกระทำความผิดโดยประมาท ในกรณีเหล่านี้ บุคคลอาจไม่มีเจตนาในการกระทำความผิด แต่เขากระทำโดยขาดความระมัดระวังที่ควรจะมี.

สำคัญที่ผู้กระทำไม่จำเป็นต้องรู้ข้อเท็จจริงที่เป็นองค์ประกอบของความผิด แต่จะถือว่าเขาประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลของการกระทำ ในกรณีที่เขากระทำโดยรู้สานึกในการที่เขากระทำและปรารถนาให้เกิดผลลักษณะที่กำหนดโดยกฎหมาย.

กฎหมายกำหนดให้การกระทำความผิดหมายความรวมถึงการให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้นโดยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย. ในกรณีที่การกระทำทำให้เกิดผลลักษณะที่กำหนดโดยกฎหมายและไม่ได้กระทำเพื่อป้องกันผลนั้น กฎหมายอาญาสามารถใช้ให้ความผิดต่อผู้กระทำได้.

คำพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับมาตรา 59 ในประมวลกฎหมายอาญาที่ครอบคลุม 3 ข้อเป็นดังนี้:

ข้อ 1: มาตรา 59 กำหนดว่าบุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาเมื่อกระทำความผิดโดยเจตนา โดยมีความรู้และปรารถนาให้เกิดผลที่เป็นการกระทำความผิดตามกฎหมาย.

ข้อ 2: การพิพากษาในมาตรา 59 ยกเว้นบุคคลจากรับผิดในทางอาญาเมื่อกระทำความผิดโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อกระทำความผิดโดยประมาท หรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้กระทำความผิดโดยไม่มีเจตนา.

ข้อ 3: มาตรา 59 ระบุถึงความแตกต่างระหว่างการกระทำความผิดเจตนาและการกระทำความผิดโดยประมาท โดยการกระทำความผิดเจตนาเกิดขึ้นเมื่อบุคคลรู้สานึกในการกระทำและปรารถนาให้เกิดผล ในขณะที่การกระทำความผิดโดยประมาทคือการกระทำความผิดโดยไม่มีเจตนา แต่ก็กระทำโดยขาดความระมัดระวังที่ควรจะมี.

คำพิพากษาฎีกาเหล่านี้ช่วยกำหนดเงื่อนไขและบทบาทของบุคคลในกระบวนการคดีอาญาและความผิดตามกฎหมายในประเทศไทยตลอดจนมีบทบาทในการรักษาความยุติธรรมและความเท่าเทียมในคดีอาญา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16412/2555

วันเวลาเกิดเหตุจำเลยพาผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นหญิงคนรักนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ ระหว่างทางได้เกิดอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ที่จำเลยขับล้มลงทำให้ผู้เสียหายที่ 2 ตกจากรถจักรยานยนต์ได้รับอันตรายสาหัสนอนหมดสติในพงหญ้าข้างทาง แล้วจำเลยหลบหนีไม่ให้ความช่วยเหลือ ทิ้งให้ผู้เสียหายที่ 2 นอนหมดสติในที่เกิดเหตุ เป็นเวลานานถึง 8 วัน และไม่แจ้งให้ผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาทราบ จนมีผู้ไปพบผู้เสียหายที่ 2 จำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่า การงดเว้นไม่ให้ความช่วยเหลือ ผู้เสียหายที่ 2 อาจถึงแก่ความตายได้ เมื่อผู้เสียหายที่ 2 ไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 และมาตรา 59 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3828/2531

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136, 137, 326, และ 328 อันเป็นคดีที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี แม้โจทก์จะยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดก็ต้องนำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง

ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้กระทำโดยขาดเจตนา มีผลให้จำเลยไม่ต้องรับผิดในทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 59 ดังนั้นการวินิจฉัยปัญหาตามฎีกาของโจทก์ที่ว่าการกระทำของโจทก์จะเป็นการปฏิบัติหน้าที่อันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136 หรือไม่ จึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ข้อกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระ

ในการไต่สวนมูลฟ้งแม้จะได้ความว่าจำเลยได้กระทำการตามฟ้องแต่เมื่อศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวไม่เป็นความผิดไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยขาดเจตนาหรือมีกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นไม่เป็นความผิด ศาลก็ชอบที่จะทำการวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องไปได้เลยไม่จำเป็นต้องประทับฟ้องไว้แล้วไปพิพากษายกฟ้องในภายหลัง

ขอให้โชคดีทุกท่าน กรุณากดShare กด Like เพื่อเป็นกำลังใจให้ด้วยนะครับ

สวัสดี

#เล้งถนัดสอน #หมายศาล #หมายเรียก #หมายเรียกพยาน

***
ขอบคุณที่ติดตามบล็อกและเฟสบุคของ พี่ เล้งถนัดสอน



ช่วยกด Like กด Share จะได้ช่วยกันเผยแพร่ให้พวกๆเรากันเองครับ

สไลด์ดูแนวข้อสอบอื่นๆ

ความคิดเห็น