เฉลย กฏหมายระหว่างประเทศ มสธ โจทย์ ปรนัยหน่วย 1 ก่อนเรียน เรื่อง ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศ 10 ข้อ

สวัสดีครับเพื่อนๆ ผม พี่เล้ง นิติศาสตร์ มสธ วันนี้ผมมีแนวข้อสอบปรนัย กฎหมายระหว่างประเทศ รหัส 41451 มาเฉลยครับ


อย่าลืมกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะครับ


💝💝💝

👨‍🎓บางคนสอบตกหลายครั้ง แต่อาจพลาดที่ทำปรนัยตกก็เป็นได้ ดังนั้น ต้องทำให้ครบทั้งปรนัยและอัตนัยจึงจะมั่นใจว่าได้ H หรือ S อย่างแน่นอน

ติดตามเฟสบุค:✔ https://bit.ly/30lYOws
ติดตามบล็อกภาษาอังกฤษ:✔ https://titaek-english.blogspot.com/
สนับสนุนการทำคลิปแบบนี้ โอนเงินเข้าบัญชี 🏧 661 3 641 995 ธนาคารกรุงไทย วรวิทย์ ลาภานิกรณ์

⚖️ เฉลยแบบฝึกปฏิบัติชุดวิชากฎหมายระหว่างประเทศ International Law 41451 
แบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน หน่วยที่ 1 

🌟วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความรู้เดิมของนักศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง “ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศ”

คำแนะนำ: ขอให้นักศึกษาอ่านคำถามแล้วเขียนวงกลมล้อมรอบข้อคำตอบที่ถูกต้องที่สุด

1 ในปัจจุบันกฎหมายระหว่างประเทศใช้บังคับต่อความสัมพันธ์ข้อใด
ก ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ
ข ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับองค์กรระหว่างประเทศ
ค ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับองค์กรระหว่างประเทศซึ่งรวมองค์กรระหว่างประเทศที่มิใช่ระดับรัฐบาลด้วย
ง ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและปัจเจกชน
จ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลระหว่างประเทศต่างๆ
เฉลย จ หน้า 1-4

2 ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในคืออะไร
ก สภาพบังคับของกฎหมายระหว่างประเทศที่มีประสิทธิภาพน้อยกว่า
ข ผลบังคับของกฎหมายขึ้นอยู่กับความยินยอมของผู้อยู่ใต้บังคับของกฎหมาย
ค กฎหมายระหว่างประเทศถูกบัญญัติขึ้นโดยตรงจากผู้อยู่ใต้บังคับของกฎเกณฑ์เอง
ง ข้อ ก ข ค ถูก
จ ไม่มีข้อใดถูกต้อง
เฉลย ง หน้า 1-8

3 ข้อใดมิใช่ข้อพิสูจน์ว่ากฎหมายระหว่างประเทศเป็นกฎหมาย
ก การมีศาลระหว่างประเทศซึ่งนำกฎหมายระหว่างประเทศมาปรับใช้
ข การที่รัฐภาคีจำนวนมากของธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศยอมรับ
ค การที่รัฐยกอ้างหลักกฎหมายระหว่างประเทศในการเรียกร้องสิทธิต่างๆ
ง การที่องค์การสหประชาชาติทำการประมวลและพัฒนากฎหมายระหว่างประเทศ
จ ถูกทุกข้อ
เฉลย จ หน้า 1-9

4 มูลฐานของสภาพบังคับของกฎหมายระหว่างประเทศขึ้นอยู่กับข้อใด
ก เจตนาของผู้ทรงสิทธิของกฎหมาย
ข ทฤษฎีการจำกัดอธิปไตยของตนเอง ทฤษฎีเจตนารมณ์ร่วมกันและทฤษฎีกฎเกณฑ์ที่เหนือกว่า
ค ปัจจัยภายนอกที่มิใช่เจตนารมณ์ของรัฐ
ง พวกออพเจ็คทิวิสและมาร์กซิสต์
จ ข้อ ก และ ค ถูก
เฉลย จ หน้า 1-10, 1-11

5 วิวัฒนาการของกฎหมายระหว่างประเทศในด้านรูปแบบและเนื้อหามีสาเหตุมาจากอะไร
ก การเกิดขึ้นขององค์กรกฎหมายระหว่างประเทศในฐานะบุคคลระหว่างประเทศ
ข การพัฒนากระบวนการสร้างกฎหมายในรูปของสนธิสัญญา
ค การขยายตัวของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเนื่องจากพัฒนาการสื่อสารคมนาคม
ง ข้อ ก และ ค ถูก
จ ข้อ ก ข ค ถูก
เฉลย จ หน้า 1-15, 1-16

6 กฎหมายระหว่างประเทศมีพัฒนาการก้าวหน้าอย่างมากทั้งด้านปริมาณและสาระในยุคใด
ก ราวศตวรรษที่ 16
ข จากสิ้นศตวรรษที่ 16 ถึงสงครามโลกครั้งที่ 1
ค ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2
ง เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2
จ เมื่อสิ้นยุคสงครามเย็น
เฉลย ง หน้า 1-20

7 บ่อเกิดหลักของกฎหมายระหว่างประเทศตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 38 ของธรรมนูญศาลยุติธรรมคือข้อใด
ก สนธิสัญญาและจารีตประเพณีระหว่างประเทศ
ข จารีตประเพณีระหว่างประเทศและข้อมติขององค์การระหว่างประเทศ
ค จารีตประเพณีระหว่างประเทศและการกระทำฝ่ายเดียว
ง หลักกฎหมายที่ไปและคำพิพากษาระหว่างประเทศ
จ ถูกทุกข้อ
เฉลย ก หน้า 1-24


8 องค์ประกอบของจารีตประเพณีระหว่างประเทศคืออะไร
ก ทางปฏิบัติของนานาชาติ ระยะเวลา ความเชื่อมั่นว่ากฎหมายอนุญาตให้กระทำ
ข ทางปฏิบัติของนานาชาติ ความเชื่อมั่นว่ากฎหมายอนุญาตให้กระทำ
ค ทางปฏิบัติของนานาชาติ ระยะเวลา และความถี่ของทางปฏิบัติ
ง ทางปฏิบัติของนานาชาติ การยอมรับของประชาคมระหว่างประเทศ
จ ข้อ ค และ ง ถูก
เฉลย ก หน้า 1-30


9 ข้อใดเป็นบ่อเกิดลำดับรองของกฎหมายระหว่างประเทศที่บัญญัติไว้ในธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
ก หลักกฎหมายทั่วไปและคำพิพากษาระหว่างประเทศ
ข หลักกฎหมายทั่วไปและทฤษฎีผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายระหว่างประเทศ
ค ทฤษฎีผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายระหว่างประเทศและคำพิพากษาระหว่างประเทศ
ง คำพิพากษาระหว่างประเทศและการกระทำฝ่ายเดียว
จ ถูกทุกข้อ
เฉลย ค หน้า 1-31, 1-32


10 ข้อใดเป็นบ่อเกิดลำดับรองของกฎหมายระหว่างประเทศที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในธรรมนูญศาลยุติธรรม
ก หลักกฎหมายทั่วไป
ข ทฤษฎีผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายระหว่างประเทศ
ค คำพิพากษาระหว่างประเทศ
ง การกระทำฝ่ายเดียว
จ ทางปฏิบัติของรัฐ
เฉลย ง หน้า 1-32

👉 หากว่าเพื่อนๆมีคำแนะนำหรือจะขอให้ทางผมทำเรื่องอะไร แนวไหน สามารถเขียน comment ได้ตามด้านล่างนี้ครับ

ขอบคุณที่ติดตาม หากชอบช่วยกด Like กด Share ให้ผมด้วยนะครับ

แล้วพบกันใหม่
สวัสดีครับ
🙏🏿


***

ข้อสอบอัตนัยมี 3 ส่วน ได้แก่

1 ท่อนแรก ยกบทกฏหมาย

2 ท่อนสอง วินิจฉัย

3 ท่อนท้าย สรุปธงคำตอบ

คลิกดู 💣 รูปแบบฟอร์มการตอบ

เพื่อเป็นกำลังใจให้สู้ต่อไป ท้อได้เป็นบางครั้ง แต่อย่าได้หยุดเดินต่อนะครับ

เป้าหมายมีไว้ให้พุ่งเข้าใส่ครับ ติดต่อพูดคุยกันได้นะครับ

ขอบคุณที่ติดตามบล็อกและเฟสบุคของ พี่เล้ง นิติศาสตร์ มสธ

สวัสดีครับ


ช่วยกด Like กด Share จะได้ช่วยกันเผยแพร่ให้พวกๆเรากันเองครับ

สไลด์ดูแนวข้อสอบอื่นๆ

ความคิดเห็น