เฉลยข้อสอบ📚แพ่ง 3 ข้อ 1 เรื่อง การหมั้น การสมรส นางสาวพลอยอายุ 18 ปีหมั้นกับนายกนก อายุ 23 ปี...| เล้ง นิติศาสตร์ มสธ

         ข้อ 1 วิชากฏหมายแพ่ง 3 มสธ - พ่อแม่ฝ่ายชายไม่เห็นด้วยต่อการสมรส ผลเป็นอย่างไร? 

(อย่าพลาด! Bonus จากพี่เล้งตอนท้าย)

สวัสดีครับเพื่อนๆ ผม พี่เล้ง นิติศาสตร์ มสธ วันนี้มีแนวข้อสอบแพ่ง 3 รหัส 41311 ข้อ 1 การหมั้นมาเฉลยเป็นแนวทำคำตอบอัตนัยครับ

อย่าลืมกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะครับ



Tab ติดตามวิชากฏหมาย: Attorney's journey: หนทางนักกฏหมาย

โจทย์ ข้อ 1 (ชายหมั้นหญิงแล้วเปลี่ยนใจ)  

บทกฏหมายที่เกี่ยวข้อง: มาตรา 1436 , 1454

นางสาวพลอย อายุ 18 ปี หมั้นกับนายกนก อายุ 23 ปี โดยบิดามารดาของนางสาวพลอยไม่ทราบเรื่อง หลังจากนั้น 1 ปี นางสาวพลอยต้องการจดทะเบียนสมรสกับนายกนกจึงขอความยินยอมจากบิดามารดาของตน บิดามารดาของนางสาวพลอยได้ให้ความยินยอมถูกต้องตามกฎหมายให้นางสาวพลอยสมรสกับนายกนก หลังจากที่พ่อแม่ของนายกนกทราบเรื่องและไม่เห็นด้วยกับการสมรสดังกล่าว จึงอ้างว่าการสมรสไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการหมั้นระหว่างนางสาวพลอยกับนายกนกไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

ให้วินิจฉัยว่า การหมั้นและการสมรสของนางสาวพลอยกับนายกนกมีผลอย่างไร เพราะเหตุใด



👉 เทคนิคก่อนทำข้อสอบต้องเขียน Flow chart ความเชื่อมโยงของบุคคลทั้งหมดตามโจทย์ให้ครบ จากนั้นดูต่อว่ามีบทมาตราไหนที่ต้องนำมาพิจารณาตามข้อเท็จจริงตามโจทย์

ก่อนตอบทำ 3 ขั้นตอนด้านล่างนี้ก่อนครับ

1 ยกบทกฏหมายที่เข้ากับข้อเท็จ (พิจารณาข้อเท็จจริงและคำถามว่าเกี่ยวกับเรื่องอะไร)

2 วินิจฉัย (เรียบเรียงเนื้อความตัวบทจากข้อ 1 เข้ากับข้อเท็จจริงตามโจทย์)

3 สรุป (ฟันธงตอบคำถามให้ตรงประเด็นที่โจทย์ถาม)

แนวการตอบ

กรณีตามปัญหา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ วางหลักว่า

มาตรา 1437 ผู้เยาว์จะทำการหมั้นได้ต้องได้รับความยินยอมของบุคคลดังต่อไปนี้
(1) บิดาและมารดา ในกรณีที่มีทั้งบิดาและมารดา
(2) บิดาหรือมารดาในกรณีที่บิดาหรือมารดาตายหรือถูกถอนอำนาจปกครองหรือไม่อยู่ในสภาพหรือฐานะที่อาจให้ความยินยอมได้ หรือโดยพฤติการณ์ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมจากมารดาหรือบิดาได้
(3) ผู้รับบุตรบุญธรรม ในกรณีที่ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม
(4) ผู้ปกครอง ในกรณีที่ไม่มีบุคคลซึ่งอาจให้ความยินยอมตาม (1)(2)(3) หรือมีแต่บุคคลดังกล่าวถูกถอนอำนาจปกครอง
    การหมั้นที่ผู้เยาว์ทำโดยปราศจากความยินยอมดังกล่าวเป็นโมฆียะ

มาตรา 1454 ผู้เยาว์จะทำการสมรสให้นำความในมาตรา 1436 มาบังคับใช้โดยอนุโลม

ข้อเท็จจริงตามปัญหา นางสาวพลอยอายุ 18 ปี ผู้เยาว์หมั้นกับนายกนกอายุ 23 ปี โดยบิดามารดาของนางสาวพลอยไม่ทราบเรื่อง เช่นนี้ การหมั้นตกเป็นโมฆียะตามมาตรา 1436 เพราะเป็นการหมั้นที่ผู้เยาว์ทำโดยปราศจากความยินยอมของบิดาและมารดา  หลังจากนั้น 1 ปี นางสาวพลอยต้องการจดทะเบียนสมรสกับนายกนก จึงขอความยินยอมจากบิดามารดาของตนและบิดามารดาของนางสาวพลอยได้ให้ความยินยอมถูกต้องตามกฏหมายให้นางสาวพลอยสมรสกับนายกนก เช่นนี้เป็นการสมรสที่สมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1454 แม้การหมั้นระหว่างนางสาวพลอยกับนายกนกจะตกเป็นโมฆียะมาก่อนก็ตาม

สรุป  การหมั้นระหว่างนางสาวพลอยกับนายกนกมีผลเป็นโมฆียะ แต่การสมรสระหว่างนางสาวพลอยกับนายกนกมีผลสมบูรณ์

***

ตอบเสร็จแล้วครับ ถ้าเพื่อนๆทำข้อสอบข้อ 1 ได้ก็จะเป็นสัญญาณที่ดีครับเพราะว่าเป็นข้อที่ค่อนข้างง่ายกว่าข้อ 2 และข้อ 3 ครับ

ดังนั้นไม่ควรพลาดที่จะต้องทำให้ได้คะแนนดีที่สุดครับ

ช่วง Bonus จากพี่เล้ง:😇 

ข้อสอบกฏหมายแพ่ง 3 ค่อนข้างที่จะมีหลายบทมาตรา ดังนั้นทำอย่างไรจึงจะสอบให้ผ่าน

พี่เล้งมีคำแนะนำดังต่อไปนี้ครับ

✅ฝึกทำข้อสอบอัตนัยให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (หาข้อสอบจากลิ้งค์ของบทความของพี่เล้งได้ที่นี่)

✅ทำความเข้าใจกฏหมายมาตราหลักๆของหมวดวิชากฏหมายแพ่ง 3 ให้ครอบคลุม ได้แก่ บรรพ 5 ครอบครัว และ บรรพ 6 มรดก

✅่่ท่องมาตราเน้นเพราะเป็นตัวช่วยที่จะทำให้เราได้คะแนนมาส่วน 1 ใน 3 ส่วนของการตอบแต่ละข้อสอบ

ข้อสอบอัตนัยมี 3 ส่วน ได้แก่

1 ท่อนแรก ยกบทกฏหมาย

2 ท่อนสอง วินิจฉัย

3 ท่อนท้าย สรุปธงคำตอบ

คลิกดู 💣 รูปแบบฟอร์มการตอบ

เพื่อเป็นกำลังใจให้สู้ต่อไป ท้อได้เป็นบางครั้ง แต่อย่าได้หยุดเดินต่อนะครับ

เป้าหมายมีไว้ให้พุ่งเข้าใส่ครับ ติดต่อพูดคุยกันได้นะครับ

ขอบคุณที่ติดตามบล็อกและเฟสบุคของ พี่เล้ง นิติศาสตร์ มสธ

สวัสดีครับ


ช่วยกด Like กด Share จะได้ช่วยกันเผยแพร่ให้พวกๆเรากันเองครับ

สไลด์ดูแนวข้อสอบอื่นๆ

ความคิดเห็น