เฉลยข้อสอบ แพ่ง 3 ข้อ 1 เรื่อง การหมั้น นายทวีศักดิ์หมั้นนางสาวสุวรรณด้วยแหวนทอง...| เล้ง นิติศาสตร์ มสธ

        ข้อ 1 วิชากฏหมายแพ่ง 3 มสธ - หมั้นแล้วต่างฝ่ายไม่นำพาไปสู่การสมรส สิทธิของหมั้นเป็นของใคร? 

(อย่าพลาด! Bonus จากพี่เล้งตอนท้าย)

สวัสดีครับเพื่อนๆ ผม พี่เล้ง นิติศาสตร์ มสธ วันนี้มีแนวข้อสอบแพ่ง 3 รหัส 41311 ข้อ 1 การหมั้นมาเฉลยเป็นแนวทำคำตอบอัตนัยครับ

อย่าลืมกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะครับ

ข้อสอบแพ่ง 3 มสธ การหมั้น

Tab ติดตามวิชากฏหมาย: Attorney's journey: หนทางนักกฏหมาย

โจทย์ ข้อ 1 (ชายหมั้นหญิงด้วยลูกหมา)  

บทกฏหมายที่เกี่ยวข้อง: มาตรา 1437 และ 1439


นายทวีศักดิ์หมั้นกับนางสาวสุวรรณ โดยมีแหวนทองเป็นของหมั้น หลังจากหมั้นกันแล้ว ทั้งคู่ตกลงจะสมรสกันอีก 6 เดือน หลังจากครบ กำหนดเวลาแล้ว นายทวีศักดิ์ ไปติดพันหญิงอื่น ส่วนนางสาวสุวรรณ ไปศึกษาต่อต่างประเทศ ไม่ประสงค์จะกลับประเทศไทยอีกแล้ว นายทวีศักดิ์ต้องการเรียกแหวนทองคืนจากนางสาวสุวรรณ เพื่อมาหมั้นกับหญิงคนใหม่

ให้วินิจฉัยว่า นายทวีศักดิ์ จะเรียกแหวนทองคืนจากนางสาวสุวรรณได้หรือไม่ เพราะเหตุใด


👉 เทคนิคก่อนทำข้อสอบต้องเขียน Flow chart ความเชื่อมโยงของบุคคลทั้งหมดตามโจทย์ให้ครบ จากนั้นดูต่อว่ามีบทมาตราไหนที่ต้องนำมาพิจารณาตามข้อเท็จจริงตามโจทย์

ก่อนตอบทำ 3 ขั้นตอนด้านล่างนี้ก่อนครับ

1 ยกบทกฏหมายที่เข้ากับข้อเท็จ (พิจารณาข้อเท็จจริงและคำถามว่าเกี่ยวกับเรื่องอะไร)

2 วินิจฉัย (เรียบเรียงเนื้อความตัวบทจากข้อ 1 เข้ากับข้อเท็จจริงตามโจทย์)

3 สรุป (ฟันธงตอบคำถามให้ตรงประเด็นที่โจทย์ถาม)

แนวการตอบ

กรณีตามปัญหา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ วางหลักว่า

มาตรา 1437 วางหลักไว้ว่า การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินเป็นของหมั้นให้แก่ฝ่ายหญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น
เมื่อหมั้นแล้วให้ของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิง
    สินสอด เป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองของฝ่ายหญิง แล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง หรือโดยมีพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้
    ถ้าจะต้องคืนของหมั้นหรือสินสอด ตามหมวดนี้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา 412 ถึงมาตรา 418 แห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับโดนอนุโลม

มาตรา 1439 เมื่อมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้น อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกให้รับผิดใช้ค่าทดแทน ในกรณีที่ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น ให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชายด้วย


ข้อเท็จจริงตามปัญหา  นายทวีศักดิ์ หมั้นกับนางสาวสุวรรณ โดยมีแหวนทองเป็นของหมั้น หลังจากหมั้นกันแล้ว ตกลงจะสมรสกันอีก 6 เดือน หลังจากครบกำหนดเวลาแล้ว  นายทวีศักดิ์ไปติดพันหญิงอื่น ส่วนนางสาวสุวรรณไปศึกษาต่อต่างประเทศและไม่ประสงค์จะกลับประเทศไทยอีกแล้ว  เช่นนี้ เป็นกรณีที่ทั้งสองฝ่ายไม่นำพาที่จะทำการสมรสกัน จะถือว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้น ตามมาตรา 1437 ไม่ได้  นายทวีศักดิ์ ย่อมไม่มีสิทธิเรียกคืนแหวนทองที่เป็นของหมั้นซึ่งตกเป็นสิทธิของนางสาวสุวรรณไปแล้วตามมาตรา 1437

สรุป  นายทวีศักดิ์ จะเรียกแหวนทองคืนจากนางสาวสุวรรณไม่ได้

***

ตอบเสร็จแล้วครับ ถ้าเพื่อนๆทำข้อสอบข้อ 1 ได้ก็จะเป็นสัญญาณที่ดีครับเพราะว่าเป็นข้อที่ค่อนข้างง่ายกว่าข้อ 2 และข้อ 3 ครับ

ดังนั้นไม่ควรพลาดที่จะต้องทำให้ได้คะแนนดีที่สุดครับ

ช่วง Bonus จากพี่เล้ง:😇 

ข้อสอบกฏหมายแพ่ง 3 ค่อนข้างที่จะมีหลายบทมาตรา ดังนั้นทำอย่างไรจึงจะสอบให้ผ่าน

พี่เล้งมีคำแนะนำดังต่อไปนี้ครับ

✅ฝึกทำข้อสอบอัตนัยให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (หาข้อสอบจากลิ้งค์ของบทความของพี่เล้งได้ที่นี่)

✅ทำความเข้าใจกฏหมายมาตราหลักๆของหมวดวิชากฏหมายแพ่ง 3 ให้ครอบคลุม ได้แก่ บรรพ 5 ครอบครัว และ บรรพ 6 มรดก

✅่่ท่องมาตราเน้นเพราะเป็นตัวช่วยที่จะทำให้เราได้คะแนนมาส่วน 1 ใน 3 ส่วนของการตอบแต่ละข้อสอบ

ข้อสอบอัตนัยมี 3 ส่วน ได้แก่

1 ท่อนแรก ยกบทกฏหมาย

2 ท่อนสอง วินิจฉัย

3 ท่อนท้าย สรุปธงคำตอบ

คลิกดู 💣 รูปแบบฟอร์มการตอบ

เพื่อเป็นกำลังใจให้สู้ต่อไป ท้อได้เป็นบางครั้ง แต่อย่าได้หยุดเดินต่อนะครับ

เป้าหมายมีไว้ให้พุ่งเข้าใส่ครับ ติดต่อพูดคุยกันได้นะครับ

ขอบคุณที่ติดตามบล็อกและเฟสบุคของ พี่เล้ง นิติศาสตร์ มสธ

สวัสดีครับ


ช่วยกด Like กด Share จะได้ช่วยกันเผยแพร่ให้พวกๆเรากันเองครับ

สไลด์ดูแนวข้อสอบอื่นๆ

ความคิดเห็น