เฉลยข้อสอบ พา 3 ซ่อม 2/62 ข้อ 1 เรื่อง การค้ำประกัน | เล้ง นิติศาสตร์ มสธ
ดูแนวการตอบ พา 3 มสธ รหัส 41323 ช่วยสร้างความั่นใจให้สอบผ่าน
สวัสดีครับเพื่อนๆ ผม พี่เล้ง นิติศาสตร์ มสธ มีตัวอย่างทำเฉลยข้อสอบเก่าของหมวดวิชากฏหมายพาณิชย์ 3 มาให้เพื่อนๆได้อ่านและฝึกเขียนตอบอัตนัยกันครับ
Tab ติดตามวิชากฏหมาย: Attorney's journey: หนทางนักกฏหมาย
โจทย์ ข้อ 1.
นายดำกู้เงินนายแดง 100,000 บาท โดยมีหลักฐานเป็นหนังสือตกลงว่านายดำจะชำระหนี้ให้แก่นายแดงในวันที่ 1 มกราคม 2563 โดยการโอนเงินเข้าบัญชีของนายแดง เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินนี้ นางสาวฟ้าได้ตกลงลงลายมือชื่อของตนเป็นผู้ค้ำประกัน ในหนี้ดังกล่าวต่อมาหนี้ถึงกำหนดชำระปรากฏว่านายดำไม่ชำระหนี้ และในวันที่ 1 เมษายน 2563 นายแดงส่งหนังสือบอกกล่าวทวงถามไปยังนายดำและนางสาวฟ้าให้ชำระหนี้แก่ตนโดยไม่ทราบว่า นางสาวฟ้าได้ชำระหนี้โดยการโอนเข้าบัญชีของนายแดงในวันที่ 1มีนาคม 2563 แล้ว
ให้ท่านวินิจฉัยว่าการชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันของนางสาวฟ้าก่อนได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามจากนายแดงชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด
ดูเฉลยข้อ 2 > เฉลยข้อสอบ พา 3 ข้อ 2 เรื่อง จำนอง ซ่อม 2/62
นางสาวฟ้า - ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าน่าจะเป็นคนดี ทำอะไรก็น่าจะเป็นการกระทำในสิ่งที่ดีๆ ถูกต้องไหมครับ ฮาฮาฮา
ขอบคุณที่ติดตามบล็อกและเฟสบุคของ พี่เล้ง นิติศาสตร์ มสธ
สวัสดีครับ
ดูเฉลยข้อ 1 > เฉลยข้อสอบ พา 3 ซ่อม 2/62 ข้อ 1 เรื่อง การค้ำประกัน
👉อ้อ เพื่อนๆครับ โจทย์ข้อ 1 ของ กฏหมาย พา 3 จะเป็นเรื่องของ การค้ำประกัน ครับ อย่าหลงไปตอบเรื่องอื่น มันจะไม่ได้คะแนน
เมื่ออ่านโจทย์เสร็จแล้ว ต้องโยงความเชื่อมโยงของตัวละครและเรื่องราวต่างๆที่เกี่ยวข้องกันออกมาเป็นภาพให้ได้ก่อนครับ
เมื่อวิเคราะห์โจทย์แล้วจะเห็นว่า ตัวบทที่ต้องยกมาตอบมี 2 มาตราด้วยกัน ได้แก่ มาตรา 680 และ มาตรา 686
ลองอ่านตัวบทของมาตราทั้ง 2 ที่กล่าวจะเห็นว่า มาตรา 680 จะยกขึ้นมาเพราะเป็นมาตราบททั่วไปที่บัญญัติเรื่องการค้ำประกัน
ส่วนมาตรา 686 บทบัญญัติไว้ว่าไม่ตัดสิทธิผู้ค้ำประกันที่จะชำระหนี้เมื่อหนี้ถึงกำหนด
ตอบ
กรณีตามปัญหา ป.พ.พ. วางหลักว่า
มาตรา 680 อันว่าค้ำประกันนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ค้ำประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่ง เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น
อนึ่ง สัญญาค้ำประกันนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
มาตรา 686 เมื่อลูกหนี้ผิดนัด ให้เจ้าหนี้มีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด และไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใดเจ้าหนี้จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อนที่หนังสือบอกกล่าวจะไปถึงผู้ค้ำประกันมิได้ แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ค้ำประกันที่จะชำระหนี้เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ
ข้อเท็จจริงตามปัญหา การที่นางสาวฟ้าได้ชำระหนี้โดยการโอนเข้าบัญชีของนายแดงในวันที่ 1 มีนาคม 2563 ก่อนได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามจากนายแดงเป็นการชำระที่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อนายดำกู้เงินนายแดง 100,000 บาท โดยมีหลักฐานเป็นหนังสือตกลงว่านายดำจะชำระหนี้ให้แก่นายแดงในวันที่ 1 มกราคม 2563 โดยการโอนเงินเข้าบัญชีของนายแดง และนางสาวฟ้าได้ตกลงลงลายมือชื่อของตนเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้นั้น ภายหลังข้อเท็จจริงปรากฏว่านางสาวฟ้าได้ชำระหนี้โดยการโอนเข้าบัญชีของนายแดงในวันที่ 1มีนาคม 2563 เมื่อหนี้ถึงกำหนด นางสาวฟ้ามีสิทธิที่จะทำได้ในฐานะผู้ค้ำประกันที่จะชำระหนี้เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระเพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายอันอาจจะเกิดขึ้นภายหลังจากการชำระหนี้ล่าช้าเกินไปกว่ากำหนด เช่น ต้องเสียดอกเบี้ย ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เป็นต้น แม้ว่าต่อมาภายหลังคือวันที่ 1 เมษายน 2563 นายแดงส่งหนังสือบอกกล่าวทวงถามไปยังนายดำและนางสาวฟ้าให้ชำระหนี้ก็ตาม
สรุป การชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันของนางสาวฟ้าก่อนได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามจากนายแดงเป็นการชำระหนี้ที่ชอบด้วยกฎหมาย
**
นางสาวฟ้า - ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าน่าจะเป็นคนดี ทำอะไรก็น่าจะเป็นการกระทำในสิ่งที่ดีๆ ถูกต้องไหมครับ ฮาฮาฮา
ขอบคุณที่ติดตามบล็อกและเฟสบุคของ พี่เล้ง นิติศาสตร์ มสธ
สวัสดีครับ
ช่วยกด Like กด Share จะได้ช่วยกันเผยแพร่ให้พวกๆเรากันเองครับ
สไลด์ดูแนวข้อสอบอื่นๆ
ขออนุญาาตฝากลิ้งค์ แนวข้อสอบใหม่ล่าสุดครับ https://youtu.be/QUS2hKslm0A
ตอบลบ