มาตราเน้น พา 4 มสธ ตัวบทกฎหมายพาณิชย์ 4 หุ้นส่วน บริษัท | เล้ง นิติศาสตร์ มสธ
สอบครั้งเดียวผ่านถ้าจำและเข้าใจมาตราหลักๆที่ออกสอบบ่อยๆ พา 4 มสธ รหัส 41324
💝💝💝
ตัวบทกฎหมายพาณิชย์ 4
|
หุ้นส่วนและบริษัท หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป |
มาตรา
1012 ห้างหุ้นส่วนจัดตั้ง |
อันว่าสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น
คือสัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป
ตกลงเข้ากัน เพื่อกระทำกิจการร่วมกัน
ด้วยประสงค์ จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น |
มาตรา
1021 หน้าที่ของนายทะเบียน |
นายทะเบียนทุกคนจะต้องแต่งย่อรายการซึ่งได้ลง
ทะเบียนส่งไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเป็นคราวๆ ตามแบบซึ่งเสนาบดีเจ้ากระทรวงจะได้กำหนด |
|
ห้างหุ้นส่วนสามัญ |
มาตรา
1025 ห้างหุ้นส่วนสามัญ |
อันว่าห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น คือห้างหุ้นส่วนประเภท
ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนต้องรับผิดร่วมกัน เพื่อหนี้ทั้งปวงของหุ้นส่วน
โดยไม่มีจำกัด |
|
เจ้าหนี้จะฟ้องห้างหุ้นส่วนสามัญไม่ได้เพราะไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
ให้เจ้าหนี้ฟ้องผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งหรือทั้ง 3 คนก็ได้ |
|
ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันเอง |
มาตรา
1026 เงินทุน(หุ้นลมใช้ไม่ได้) |
ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาลงหุ้นด้วยในห้างหุ้นส่วน สิ่งที่นำมาลงด้วยนั้น จะเป็นเงินหรือทรัพย์สินสิ่งอื่นหรือลงแรงงานก็ได้ |
มาตรา
1027 การตีราคาทรัพย์สิน |
ในเมื่อมีกรณีเป็นข้อสงสัย
ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า สิ่งซึ่งนำมาลงหุ้นด้วยกันนั้นมีค่าเท่ากัน |
มาตรา
1028 การตีราคาแรงงาน |
ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดได้ลงแต่แรงงานของตนเข้า
เป็นหุ้นและในสัญญาเข้าหุ้นส่วนมิได้ตีราคาค่าแรงไว้ ท่านให้คำนวณ ส่วนกำไรของผู้ที่เป็นหุ้นส่วนด้วยลงแรงงานเช่นนั้นเสมอด้วยส่วนถัวเฉลี่ย ของผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งได้ลงเงินหรือลงทรัพย์สินเข้าหุ้นในการนั้น |
|
EX. กขคง. เข้าหุ้นส่วนกันในห้างหุ้นส่วนสามัญแห่งหนึ่ง ก.ลงทุนด้วยเงิน 1000 บาท
ข.ลงทุนด้วยเงิน 2000 บาท ค.ลงทุนด้วยรถจักรยานตีราคา 3000
บาท ง.ลงแรงงานไม่ได้ตีราคา ดังนั้น ทุนลงแรงงานของ ง. = ( 1000+2000+3000 )
= 2000 บาท |
มาตรา
1029 ผู้เป็นหุ้นส่วนเอาทรัพย์สินมาให้ห้างใช้เป็นการลงทุน |
ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งเอาทรัพย์สินมาให้ใช้เป็น
การลงหุ้นด้วยไซร้
ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นกับ ห้างหุ้นส่วนในเรื่องส่งมอบและซ่อมแซมก็ดี
ความรับผิดเพื่อชำรุดบก พร่องก็ดีความรับผิดเพื่อการรอนสิทธิก็ดี
ข้อยกเว้นความรับผิดก็ดี ท่านให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยเช่าทรัพย์ |
มาตรา
1030 ผู้เป็นหุ้นส่วนโอนกรรมสิทธ์ในทรัพย์สินให้ห้างเป็นการลงทุน |
ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
อันใดอันหนึ่งเป็นการลงหุ้นด้วยไซร้
ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็น หุ้นส่วนคนนั้นกับห้างหุ้นส่วนในเรื่องส่งมอบและซ่อมแซมก็ดี
ความ รับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องก็ดีความรับผิดเพื่อความรอนสิทธิก็ดี ข้อ ยกเว้นความรับผิดก็ดี
ท่านให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวล กฎหมายนี้ ว่าด้วยซื้อขาย |
|
EX.ถ้าห้างเลิกกิจการ
ห้างไม่ต้องคืนรถให้กับผู้ลงทุน
แต่ผู้ชำระบัญชีต้องขายรถคันนั้นไปและคืนราคารถให้กับผู้ลงทุน ถ้ามีเงินเหลืออยู่ที่จะคืนได้ |
มาตรา
1031 ผลของผู้เป็นหุ้นส่วนสามัญไม่ยอมส่งมอบส่วนลงหุ้น |
ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดละเลยไม่ส่งมอบส่วนลงหุ้นของตนเสียเลย ท่านว่าต้องส่งคำบอกกล่าวเป็นจดหมายจดทะเบียน
ไปรษณีย์ไปยังผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้น ให้ส่งมอบส่วนลงหุ้นของตนมา
ภายในเวลาอันสมควร มิฉะนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่น ๆ จะลงเนื้อเห็น พร้อมกันหรือโดยเสียงข้างมากด้วยกันสุดแต่ข้อสัญญา
ให้เอาผู้เป็น หุ้นส่วนคนนั้นออกเสียได้ |
|
มาตรานี้ใช้บังคับเฉพาะหุ้นส่วนที่ไม่ยอมส่งมอบค่าหุ้นของตนเลยซักบาท แต่ถ้าได้มีการส่งมอบค่าหุ้นแล้วบางส่วนจะใช้มาตรานี้บังคับไม่ได้ต้องใช้มาตรา
1057อนุ (1) EX.ถ้านาย ก.สัญญาว่าจะนำเงินมาลงทุน 10000 บาท
แต่นำมาให้เพียง 1000 บาท หุ้นส่วนคนอื่นจะจัดการตามมาตรา 1031
ไม่ได้ ต้องใช้วิธีฟ้องให้ศาลเลิกหุ้นส่วนเสียตามมาตรา 1057 |
มาตรา
1032 การเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาเดิมหรือประเภทแห่งกิจการ |
ห้ามมิให้เปลี่ยนแปลงข้อสัญญาเดิมแห่งห้าง
หุ้นส่วนหรือประเภทแห่งกิจการ นอกจากด้วยความยินยอมของ
ผู้เป็นหุ้นส่วนหมดด้วยกันทุกคน เว้นแต่จะมีข้อตกลงกันไว้เป็น
อย่างอื่น |
มาตรา 1033 ไม่ได้ตกลงแต่งตั้งหุ้นส่วนผู้จัดการไว้ |
ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนมิได้ตกลงกันไว้ในกระบวนจัดการ
ห้างหุ้นส่วนไซร้ ท่านว่าผู้เป็นหุ้นส่วนย่อมจัดการห้างหุ้นส่วนนั้นได้
ทุกคน แต่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดจะเข้าทำสัญญาอันใด
ซึ่งผู้ เป็นหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งทักท้วงนั้นไม่ได้ ในกรณีเช่นนี้ ท่านให้ถือว่าผู้เป็นหุ้นส่วนย่อมเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการทุกคน |
|
ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดก็ได้สามารถจัดการงานของห้างหุ้นส่วนโดยไม่ต้องปรึกษาผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นๆ ใครก็ได้ไม่ว่าจะลงทุนด้วยเงิน
ทรัพย์สินหรือแรงงาน จะเข้าทำสัญญาได้หมด
ยกเว้นมีผู้ทักท้วง |
มาตรา
1034 การลงมติใช้เสียงข้างมาก |
ถ้าได้ตกลงกันไว้ว่าการงานของห้างหุ้นส่วนนั้นจัก
ให้เป็นไปตามเสียงข้างมากแห่งผู้เป็นหุ้นส่วนไซร้
ท่านให้ผู้เป็นหุ้น ส่วนคนหนึ่งมีเสียงเป็นคะแนนหนึ่ง
โดยไม่ต้องคำนึงถึงจำนวนที่ลง หุ้นด้วยมากหรือน้อย |
มาตรา
1035 ตั้งหุ้นส่วนผู้จัดการหลายคน |
ถ้าได้ตกลงกันไว้ว่าจะให้ผู้เป็นหุ้นส่วนหลายคน จัดการห้างหุ้นส่วนไซร้
หุ้นส่วนผู้จัดการแต่ละคนจะจัดการห้างหุ้น ส่วนนั้นก็ได้ แต่หุ้นส่วนผู้จัดการคนหนึ่งคนใด
จะทำการอันใดซึ่ง หุ้นส่วนผู้จัดการอีกคนหนึ่งทักท้วงนั้นไม่ได้ |
|
ผู้ที่เป็นหุ้นส่วนที่สามารถทักท้วงได้นั้นต้องเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเท่านั้น ไม่ใช่หุ้นส่วนธรรมดา |
มาตรา
1036 การพ้นจากตำแหน่งของหุ้นส่วนผู้จัดการ |
อันหุ้นส่วนผู้จัดการนั้น
จะเอาออกจากตำแหน่งได้ ต่อเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายอื่นยินยอมพร้อมกัน
เว้นแต่จะได้ตกลง กันไว้เป็นอย่างอื่น |
มาตรา
1037 สิทธิที่จะไต่ถามการงานและตรวจคัดสำเนาสมุดบัญชีของห้าง |
ถึงแม้ว่าผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายได้ตกลงให้ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนเป็นผู้จัดการห้างหุ้นส่วนก็ดี
ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนนอกจากผู้จัดการย่อมมีสิทธิที่จะไต่ถามถึงการงานของห้างหุ้นส่วนที่จัดอยู่นั้นได้ทุกเมื่อและมีสิทธิที่จะตรวจและคัดสำเนา
สมุด บัญชี และเอกสารใด ๆ ของหุ้นส่วนได้ด้วย |
|
หมายเหตุ; หุ้นส่วนที่ไม่ได้เป็นผู้จัดการมีสิทธิ์ที่จะไต่ถามการงานของห้างหุ้นส่วนคือ
มีสิทธิ์ที่จะสอบถามผลการดำเนินการของห้างหุ้นส่วน
และแผนการปฏิบัติงานด้านต่างๆของหุ้นส่วนผู้จัดการ โดยสอบถามเป็นการส่วนตัวก็ได้ไม่จำเป็นต้องสอบถามในที่ประชุม |
มาตรา 1038 ห้ามค้าขายแข่งขันกับห้างหุ้นส่วนไม่จดทะเบียน |
ห้ามมิให้ผู้เป็นหุ้นส่วนประกอบกิจการอย่างหนึ่ง
อย่างใดซึ่งมีสภาพดุจเดียวกัน และเป็นการแข่งขันกับกิจการของ ห้างหุ้นส่วนนั้น ไม่ว่าทำเพื่อประโยชน์ตนหรือประโยชน์ผู้อื่นโดย
มิได้รับความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่น ๆ ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดทำการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ มาตรานี้
ไซร้ ผู้ เป็นหุ้นส่วนคนอื่น ๆ
ชอบที่จะเรียกเอาผลกำไรซึ่งผู้นั้นหาได้ทั้งหมด หรือเรียกเอาค่าสินไหมทดแทน
เพื่อการที่ห้างหุ้นส่วนได้รับความ เสียหายเพราะเหตุนั้น แต่ท่านห้ามมิให้ฟ้องเรียกเมื่อพ้นเวลาปีหนึ่ง
นับแต่วันทำการฝ่าฝืน |
|
หมายเหตุ; ต้องดูองค์ประกอบอื่นๆด้วย เช่น
เวลาที่จำหน่ายหรือขายสินค้าตรงกันหรือไม่
และสถานที่ประกอบการอยู่ใกล้ชิดหรือห่างไกลกับห้างจนไม่อาจเป็นการแข่งขันได้หรือไม่ |
มาตรา
1039 ความระมัดระวังในการจัดการห้างหุ้นส่วน |
ผู้เป็นหุ้นส่วนจำต้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนด้วย
ความระมัดระวังให้มากเสมือนกับจัดการงานของตนเองฉะนั้น |
มาตรา
1040 ห้ามชักนำบุคคลอื่นเข้ามาเป็นหุ้นส่วน |
ห้ามมิให้ชักนำเอาบุคคลผู้อื่นเข้ามาเป็นหุ้นส่วนใน
ห้างหุ้นส่วน โดยมิได้รับความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนหมดด้วยกันทุกคน
เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น |
มาตรา
1041 การโอนหุ้นให้กับบุคคลภายนอก |
ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งโอนส่วนกำไรของตน ในห้างหุ้นส่วนทั้งหมดก็ดีหรือแต่บางส่วนก็ดี
ให้แก่บุคคลภายนอก โดยมิได้รับความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายอื่นไซร้
ท่านว่าบุคคลภายนอกนั้นจะกลายเป็นเข้าหุ้นส่วนด้วยก็หามิได้ |
|
โอนส่วนกำไร หมายถึงการโอนหุ้นให้กับบุคคลภายนอก |
มาตรา
1042 หุ้นส่วนผู้จัดการดำเนินการในฐานะตัวแทน |
ความเกี่ยวพันระหว่างหุ้นส่วนผู้จัดการกับผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายอื่นนั้น
ท่านให้บังคับด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยตัวแทน |
มาตรา
1043 การจัดการนอกสั่ง |
ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนมิได้เป็นผู้จัดการเอื้อมเข้ามาจัด
การงานของห้างหุ้นส่วนก็ดี หรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งเป็นผู้จัดการกระทำ ล่วงขอบอำนาจของตนก็ดี
ท่านให้บังคับด้วยบทบัญญัติแห่งประมวล กฎหมายนี้ ว่าด้วยจัดการงานนอกสั่ง |
มาตรา
1044 การแบ่งกำไร |
อันส่วนกำไรก็ดี
ส่วนขาดทุนก็ดี ของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกๆคนนั้น ย่อมเป็นไปตามส่วนที่ลงหุ้น |
มาตรา
1045 กำไร=ขาดทุน |
ถ้าหุ้นส่วนของผู้ใดได้กำหนดแต่เพียงข้างฝ่ายกำไร
ว่าจะแบ่งเอาเท่าไร หรือกำหนดแต่เพียงข้างขาดทุนว่าจะยอมขาด เท่าไรฉะนี้ไซร้ ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าหุ้นส่วนของผู้นั้นมีส่วนกำไร
และส่วนขาดทุนเป็นอย่างเดียวกัน |
มาตรา 1047 งดใช้ชื่อของตนเมื่อหุ้นส่วนออกจากห้างแล้ว |
ถ้าชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งออกจากหุ้นส่วนไปแล้ว
ยังคงใช้เรียกขานติดเป็นชื่อห้างหุ้นส่วนอยู่ ท่านว่าผู้เป็นหุ้นส่วนนั้น ชอบที่จะเรียกให้งดใช้ชื่อของตนเสียได้ |
|
ผู้เป็นหุ้นส่วนเมื่อออกจากห้างแล้วความเป็นหุ้นส่วนย่อมสิ้นสุดลงในขณะออก
แต่การที่ชื่อของเขายังถูกใช้อยู่เป็นชื่อห้าง
อาจเป็นเหตุให้ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกได้ตามมาตรา 1054 |
มาตรา
1048 สิทธิเรียกส่วนของตนจากหุ้นส่วนอื่น |
ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งจะเรียกเอาส่วนของตนจาก
หุ้นส่วนอื่น ๆ แม้ในกิจการค้าขายอันใดซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนก็ได้ |
|
ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนกับบุคคลภายนอก
(ห้างไม่จดทะเบียน) |
มาตรา 1049 |
ผู้เป็นหุ้นส่วนจะถือเอาสิทธิใด
ๆ แก่บุคคลภายนอก ในกิจการค้าขายซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนนั้นหาได้ไม่ |
|
EX.
ผู้เป็นหุ้นส่วนสามัญจะถือเอกสิทธิใด ๆ
แก่บุคคลภายนอกในกิจการค้าขาย ซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนเป็นคู่สัญญาหาได้ไม่ เพราะห้างหุ้นส่วนสามัญไม่ใช้นิติบุคคล
การทำสัญญาในกิจการใด ๆแม้จะทำในนามห้างก็ผูกพันเฉพาะคู่สัญญาที่ลงนามเท่านั้น
ไม่ผูกพันบุคคลอื่นแม้จะเป็นหุ้นส่วนด้วยก็ตาม (ป.พ.พ.มาตรา 1049) แต่ในความรับผิดชอบระหว่างหุ้นส่วนด้วยกัน หุ้นส่วนทุกคนจะต้องผูกพันและรับผิดชอบร่วมกันโดยไม่จำกันจำนวน
(ป.พ.พ.มาตรา 1050) |
มาตรา 1050 หนี้ที่เป็นธรรมดาการค้าของห้าง |
การใด ๆ
อันผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งได้จัดทำไป ในทางที่เป็นธรรมดาการค้าขายของห้างหุ้นส่วนนั้น ท่านว่าผู้เป็นหุ้นส่วน หมดทุกคนย่อมมีความผูกพันในการนั้น
ๆ ด้วย และจะต้องรับผิดร่วมกัน โดยไม่จำกัดจำนวนในการชำระหนี้อันได้ก่อให้เกิดขึ้น
เพราะจัดการไป เช่นนั้น |
มาตรา 1051 ความรับผิดในหนี้ของห้างฯก่อนออกจากห้าง |
ผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งออกจากหุ้นส่วนไปแล้วยังคงต้องรับผิดในหนี้ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนได้ออกจากหุ้นส่วนไป |
|
อธิบายเพิ่มเติม; หุ้นส่วนที่ถูกขับไล่ออกจากห้างในกรณีตามมาตรา 1031 นี้
ถ้าเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน
ยังจะต้องรับผิดในหนี้ของห้างที่เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะออกจากห้าง และต้องรับผิดตลอดอายุความของหนี้นั้น (ม.1051) แต่ถ้าเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
ก็จะต้องรับผิดในหนี้ของห้างที่เกิดขึ้นขณะที่ตนเป็นหุ้นส่วนเพียง 2
ปี นับแต่เมื่อออกจากห้างตามมาตรา 1068 |
มาตรา 1052 ความรับผิดในหนี้ของห้างก่อนเข้ามาเป็นหุ้นส่วน |
บุคคลผู้เข้าเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนย่อมต้องรับผิด
ในหนี้ใด ๆ
ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนเข้ามาเป็นหุ้นส่วนด้วย |
มาตรา
1053 ข้อจำกัดอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการ |
ห้างหุ้นส่วนซึ่งมิได้จดทะเบียนนั้น
ถึงแม้จะมีข้อ จำกัดอำนาจของหุ้นส่วนคนหนึ่งในการที่จะผูกพันผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่น
ๆ ท่านว่าข้อจำกัดเช่นนั้นก็หามีผู้ถึงบุคคลภายนอกไม่ |
|
แต่บุคคลภายนอกต้องสุจริตเท่านั้น
คือไม่รู้ถึงข้อตกลงกันระหว่างหุ้นส่วนด้วยกันว่ามีข้อจำกัดอำนาจเป็นอย่างไร |
มาตรา 1054 หลักทั่วไปของการแสดงตนเป็นหุ้นส่วน ว. 2
ใช้ชื่อของหุ้นส่วนที่ตายไปแล้วและทำสัญญาค้าขายกับบุคคลภายนอก |
บุคคลใดแสดงตนว่าเป็นหุ้นส่วนด้วยวาจาก็ดีด้วย
ลายลักษณ์อักษรก็ดี ด้วยกิริยาก็ดี ด้วยยินยอมให้เขาใช้ชื่อตนเป็น ชื่อห้างหุ้นส่วนก็ดี
หรือรู้แล้วไม่คัดค้านปล่อยให้เข้าแสดงว่าตนเป็น หุ้นส่วนก็ดี ท่านว่าบุคคลนั้นย่อมต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในบรรดา
หนี้ของห้างหุ้นส่วนเสมือนเป็นหุ้นส่วน ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดตายไปแล้ว
และห้างหุ้นส่วนนั้นยังคง ค้าต่อไปในชื่อเดิมของห้าง ท่านว่าเหตุเพียงที่คงใช้ชื่อเดิมนั้นก็ดี
หรือ ใช้ชื่อของหุ้นส่วนผู้ตายควบอยู่ด้วยก็ดี หาทำให้ความรับผิดมีแก่กอง ทรัพย์มรดกของผู้ตายเพื่อหนี้ใด
ๆ อันห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้น ภายหลังมรณะนั้นไม่ |
|
EX.
ผู้เป็นหุ้นส่วนที่ออกจากห้างไปแล้ว
ความเป็นหุ้นส่วนของเขาย่อมสิ้นสุดลงในขณะที่ออก
แต่การที่ชื่อของเขายังถูกใช้อยู่เป็นชื่อห้าง อาจเป็นเหตุให้เขาต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกได้ตาม
ม. 1054 ดังนั้น ม. 1047 จึงให้สิทธิแก่หุ้นส่วนคนนั้นมีสิทธิเรียกร้องให้หุ้นส่วนคนอื่นที่เหลืออยู่ งดใช้ชื่อของตนเสียเพื่อไม่ต้องรับผิดตาม ม.1054 วรรค 2 นั้นทายาทของหุ้นส่วนที่ตายจึงไม่ต้องรับผิดในหนี้ของห้างที่เกิดขึ้นภายหลังหุ้นส่วนตายแต่ประการใด |
|
การเลิกและชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนสามัญ |
มาตรา
1055 เหตุของการเลิกห้าง |
ห้างหุ้นส่วนสามัญย่อมเลิกกันด้วยเหตุดังกล่าวต่อไปนี้ |
|
หมายเหตุ; ในอนุมาตรา 5 นี้ถ้าทายาทของหุ้นส่วนที่ตายเข้ามาถือหุ้นแทน และผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายยินยอมก็สามารถทำได้ไม่ต้องเลิกห้าง |
มาตรา
1056 อายุของห้างหุ้นส่วนสามัญ |
ถ้าห้างหุ้นส่วนได้ตั้งขึ้นไม่มีกำหนดกาลอย่างหนึ่ง
อย่างใดเป็นยุติ ท่านว่าจะเลิกได้ต่อเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่ง
บอกเลิกเมื่อสิ้นรอบปีในทางบัญชีเงินของห้างหุ้นส่วนนั้น และผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นต้องบอกกล่าวความจำนงจะเลิกล่วงหน้าไม่น้อยกว่า
6 เดือน |
มาตรา
1057 การเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญโดยคำสั่งศาล |
ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดร้องขอเมื่อมีกรณีอย่างใด
อย่างหนึ่งดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ ศาลอาจสั่งให้ห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกัน
เสียก็ได้คือ |
|
บทบังคับอย่างใดๆ =
เช่นไม่ยอมส่งมอบค่าลงหุ้นที่ค้างส่งอยู่แก่ห้างหุ้นส่วน |
มาตรา
1058 ฟ้องขอให้ศาลสั่งกำจัดหุ้นส่วนผู้ค้าขายแข่งขันกับห้างออกจากหุ้นส่วนแทนสั่งให้เลิกห้างก็ได้ |
เมื่อเหตุอันใดอันหนึ่งเกิดขึ้นเกี่ยวด้วยผู้เป็นหุ้นส่วน
คนหนึ่งซึ่งตามความใน ในการแบ่งทรัพย์สินระหว่างห้างหุ้นส่วนกับผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งถูก
กำจัดนั้นท่านให้ตีราคาทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนตามราคาที่เป็นอยู่ใน เวลานั้นแรกยื่นคำร้องขอให้กำจัด |
มาตรา
1059 การเลิกห้างหุ้นส่วนในกรณีนี้มีข้อยกเว้น |
ถ้าเมื่อสิ้นกำหนดกาลซึ่งได้ตกลงกันไว้
และผู้เป็น หุ้นส่วนทั้งหลาย หรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งเคยได้จัดการอยู่ในระหว่าง กำหนดนั้นยังคงดำเนินการค้าของห้างหุ้นส่วนอยู่ต่อไปโดยมิได้ชำระ
บัญชี หรือชำระเงินกันให้เสร็จไปไซร้ ท่านให้ถือว่าผู้เป็นหุ้นส่วน ทั้งปวงได้ตกลงคงทำการเป็นหุ้นส่วนกันสืบไปโดยไม่มีกำหนดกาล |
มาตรา
1061 การชำระบัญชีและข้อยกเว้นที่ไม่ต้องมีการชำระบัญชี |
เมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกันแล้วก็ให้จัดการชำระบัญชี
เว้นแต่จะได้ตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็น หุ้นส่วนด้วยกันหรือว่าห้างหุ้นส่วนนั้นศาลได้พิพากษาให้ล้มละลาย ถ้าการเลิกห้างหุ้นส่วนนั้นได้เป็นไปโดยที่เจ้าหนี้เฉพาะตัวของผู้
เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งได้ให้คำบอกกล่าวก็ดี หรือโดยที่ผู้เป็นหุ้นส่วน คนใดคนหนึ่งล้มละลายก็ดี
ท่านว่าจะงดการชำระบัญชีเสียได้ต่อเมื่อ เจ้าหนี้คนนั้นหรือเจ้าพนักงานรักษาทรัพย์ยินยอมด้วย
(ปัจจุบันคือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์) การชำระบัญชีนั้น ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดด้วยกันจัดทำ
หรือให้ บุคคลอื่นซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนได้ตั้งแต่งขึ้นนั้นเป็นผู้จัดทำ การตั้งแต่งผู้ชำระบัญชี
ให้วินิจฉัยชี้ขาดโดยคะแนนเสียงข้างมาก ของผู้เป็นหุ้นส่วน |
มาตรา
1062 ลำดับของการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน |
การชำระบัญชี
ให้ทำโดยลำดับดั่งนี้ คือ |
|
Ø กรณีลงด้วยเงิน คืนเป็นเงินเท่ากับที่ได้นำเงินมาลงทุน Ø กรณีลงด้วยทรัพย์สิน แยกได้
2 กรณี 1.
โอนกรรมสิทธิ์ให้ห้างแล้ว ตีราคาทรัพย์นั้นแล้วคืนเป็นเงิน 2.
นำทรัพย์สินมาใช้ในการลงทุน
(ไม่ได้โอน) คืนตามสภาพที่เป็นอยู่ Ø กรณีลงด้วยแรงงาน
เวลาเลิกห้างไม่ต้องคืนอะไร |
มาตรา
1063 เมื่อชำระบัญชีแล้วเหลือเงินไม่พอ |
ถ้าเมื่อได้ชำระหนี้ซึ่งค้างชำระแก่บุคคลภายนอก
และชดใช้เงินทดรองและค่าใช้จ่ายแล้ว สินทรัพย์ที่ยังอยู่ไม่พอจะคืน
แก่ผู้เป็นหุ้นหุ้นส่วนให้ครบจำนวนที่ลงหุ้นไซร้ ส่วนที่ขาดนี้คือขาดทุน
ซึ่งต้องคิดเฉลี่ยช่วยกันขาด |
|
การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญ |
มาตรา
1064 อนุ6 จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญ |
อันห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น
จะจดทะเบียนก็ได้ |
มาตรา 1065 สิทธิของผู้เป็นหุ้นส่วนในการถือเอาประโยชน์จากบุคคลภายนอก |
ผู้เป็นหุ้นส่วนอาจถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอก
ในบรรดาสิทธิอันห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนนั้นได้มา แม้ในกิจการซึ่งไม่
ปรากฏชื่อของตน |
มาตรา 1066 ห้ามมิให้หุ้นส่วนค้าขายแข่งขันกับห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล |
ห้ามมิให้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดในห้างหุ้นส่วน
จดทะเบียนประกอบกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดอันมีสภาพเป็นอย่าง เดียวกันและเป็นการแข่งขันกับกิจการของห้างหุ้นส่วนนั้น
ไม่ว่าทำ เพื่อประโยชน์ตนหรือเพื่อประโยชน์ผู้อื่น หรือไปเข้าเป็นหุ้นส่วนไม่
จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนอื่น ซึ่งประกอบกิจการอันมีสภาพ เป็นอย่างเดียวกัน
และแข่งขันกับกิจการของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนนั้น เว้นไว้แต่จะได้รับคำยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นทั้งหมด |
|
หมายเหตุ; แต่ถ้าสถานที่ห่างไกลกันมาก
ก็จะไม่เข้าในมาตรานี้ |
มาตรา
1067 การค้าขายแข่งขันกับห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน |
ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดกระทำฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ
ในมาตราก่อนนี้ไซร้ ท่านว่าห้างหุ้นส่วนซึ่งจดทะเบียนนั้นชอบที่จะเรียก
เอาผลกำไรอันผู้นั้นหาได้ทั้งหมด หรือเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อ ความเสียหายซึ่งห้างหุ้นส่วนได้รับเพราะเหตุนั้น |
มาตรา 1068 ความรับผิดในหนี้ของผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน |
ความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
อันเกี่ยวแก่หนี้ ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนออกจากหุ้นส่วน
นั้น ย่อมมีจำกัดเพียงสองปีนับแต่เมื่อออกจากหุ้นส่วน |
|
หมายความว่า ถ้าหนี้ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 2 ปีหลังจากที่หุ้นส่วนลาออกจากห้างไปแล้ว หุ้นส่วนผู้นั้นไม่ต้องรับผิดชอบ |
มาตรา
1070 เมื่อห้างหุ้นส่วนผิดนัดชำระหนี้ |
เมื่อใดห้างหุ้นส่วนซึ่งจดทะเบียนผิดนัดชำระหนี้ เมื่อนั้นเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนนั้นชอบที่จะเรียกให้ชำระหนี้เอาแต่
ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งก็ได้ |
|
การควบห้าง หุ้นส่วนจดทะเบียนเข้ากัน |
มาตรา
1073 การควบห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนเข้ากัน |
ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหนึ่งจะควบเข้าเป็นอันเดียว
กับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนอีกห้างหนึ่งก็ได้ โดยความยินยอมของผู้เป็น หุ้นส่วนทั้งหมด เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น |
|
หมายเหตุ; อาจจะควบตั้งแต่ 2 ห้างหรือมากกว่า 2 ห้างก็ได้
และต้องเป็นห้างที่อยู่ในระหว่างดำเนินการ ถ้าห้างที่เลิกไปแล้วจะควบไม่ได้ เมื่อควบกันแล้วห้างแรกจะเสียเปรียบ
ส่วนห้างหลังจะได้เปรียบ |
มาตรา
1074 ต้องบอกกล่าวการควบห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน |
เมื่อห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างใดปลงใจจะควบ
เข้ากันกับห้างอื่น ห้างหุ้นส่วนนั้นต้องโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่ง ท้องที่นั้นสองครั้งเป็นอย่างน้อย และส่งคำบอกกล่าวความประสงค์
ที่จะควบเข้ากันนั้นแก่บรรดาผู้ซึ่งห้างหุ้นส่วนรู้ว่าเป็นเจ้าหนี้ และขอ
ให้เจ้าหนี้ผู้มีข้อคัดค้านอย่างใดอย่างหนึ่งในการที่จะทำนั้นส่งคำคัดค้าน ไปภายในสามเดือนนับแต่วันบอกกล่าว |
|
เจ้าหนี้นั้นหมายถึง เจ้าหนี้ของฝ่ายที่ควบและถูกควบ |
มาตรา
1075 การจดทะเบียนควบห้างหุ้นส่วน |
เมื่อห้างได้ควบเข้ากันแล้ว
ต่างห้างก็ต่างมีหน้าที่จะต้องนำความนั้นไปจดลงทะเบียน
ว่าได้ควบเข้ากันเป็นห้างหุ้นส่วนขึ้นใหม่ |
|
จดทะเบียนภายใน
14 วันนับแต่วันควบเข้ากัน |
|
ห้างหุ้นส่วนจำกัด
(จดทะเบียน) |
มาตรา 1077 ความหมายของห้างหุ้นส่วนจำกัด |
อันห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น
คือห้างหุ้นส่วนประเภทหนึ่ง ซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วนสองจำพวก ดังจะกล่าวต่อไปนี้
คือ |
มาตรา 1078 รายการจดทะเบียนของห้างหุ้นส่วนจำกัด |
อันห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น
ท่านบังคับว่าต้องจดทะเบียน |
มาตรา 1079 ผลก่อนจดทะเบียน |
อันห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น
ถ้ายังมิได้จดทะเบียนอยู่ ตราบใด ท่านให้ถือว่าเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมด
ย่อมต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วน โดยไม่มีจำกัด จำนวนจนกว่าจะได้จดทะเบียน |
มาตรา 1080 การนำบทบัญญัติในห้างหุ้นส่วนสามัญมาใช้บังคับกับห้างหุ้นส่วนจำกัด |
บทบัญญัติว่าด้วยห้างหุ้นส่วนสามัญข้อใดๆ
หากมิ ได้ยกเว้นหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงไปโดยบทบัญญัติแห่งหมวด 3 นี้ ท่านให้นำมาใช้บังคับแก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดด้วย |
มาตรา 1081 ห้ามเอาชื่อมาเป็นชื่อห้าง |
ห้ามมิให้เอาชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด มาเรียกขานระคนเป็นชื่อห้าง |
|
เอาชื่อ
หมายถึง ทั้งชื่อตัว ชื่อรอง ชื่อสกุล |
มาตรา 1082 ความรับผิดของผู้ที่เอาชื่อตัวมาเป็นชื่อห้าง |
ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดคนใดยินยอม
โดยแสดงออกชัด หรือโดยปริยายให้ใช้ชื่อของตนระคนเป็นชื่อห้างไซร้ ท่านว่าผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกเสมือนดังว่า
เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดฉะนั้น |
|
วรรค
2 หมายถึง รับผิดเท่ากับสัญญาหุ้นส่วน |
มาตรา
1083 การลงทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด |
การลงหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดนั้น ท่านว่าต้องให้ลงเป็นเงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่น
ๆ |
|
หุ้นส่วนพวกจำกัดความรับผิดจะลงเป็นแรงงานไม่ได้ |
มาตรา
1086 ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงต้องจดทะเบียน |
ข้อซึ่งตกลงกันในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลาย
เพื่อจะเปลี่ยนแปลงประเภททรัพย์สินที่ลงหุ้น หรือเพื่อจะลดจำนวน
ลงหุ้นแห่งผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดคนหนึ่งคนใดนั้น ท่านว่ายังไม่เป็นผลแก่บุคคลภายนอกจนกว่าจะได้จดทะเบียน |
มาตรา 1087 ผู้จัดการห้างต้องเป็นพวกไม่จำกัดความรับผิด |
อันห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น
ท่านว่าต้องให้แต่เฉพาะ ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้นเป็นผู้จัดการ |
|
ผู้เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดมีสิทธิดังนี้ 1.
สิทธิที่จะลงหุ้นด้วยแรงงาน 2.
สิทธิเป็นผู้จัดการห้าง 3.
สิทธิไต่ถามการงานของห้างและตรวจคัดสำเนาสมุดบัญชี
เอกสารของห้าง 4.
สิทธิของดใช้ชื่อตนในห้าง 5.
สิทธิเรียกเอาส่วนของตนในกิจการซึ่งไม่มีชื่อตน 6.
สิทธิบอกเลิกห้าง 7.
สิทธิขอให้ศาลบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของห้างก่อน |
มาตรา 1088 ผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด
เข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้าง |
ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดผู้ใดได้
เข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วน ท่านว่าผู้นั้นจะต้องรับผิดรวมกันในบรรดาหนี้ทั้งหลายของห้างหุ้นส่วนนั้นโดยไม่จำกัดจำนวน |
มาตรา
1089 หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดนั้น
จะตั้ง ให้เป็นผู้ชำระบัญชีได้ |
ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดนั้น
จะตั้ง ให้เป็นผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนก็ได้ |
มาตรา
1090 หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดสามารถประกอบธุรกิจแข่งขันกับห้างหุ้นส่วนได้ |
ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดจะประกอบการค้าขายอย่างใด
ๆ เพื่อประโยชน์ตนหรือเพื่อประโยชน์บุคคล ภายนอกก็ได้ แม้ว่าการงานเช่นนั้นจะมีสภาพเป็นอย่างเดียวกันกับ
การค้าขายของห้างหุ้นส่วนก็ไม่ห้าม |
มาตรา 1091 หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดโอนหุ้นของตนได้ |
ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดจะโอนหุ้น
ของตนปราศจากความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นๆ ก็โอนได้ |
มาตรา
1092 หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดตาย
ห้างไม่ต้องเลิก |
การที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดตาย
ก็ดี ล้มละลายหรือตกเป็นคนไร้ความสามารถก็ดี หาเป็นเหตุให้
ห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องเลิกกันไม่ เว้นแต่จะได้มีข้อสัญญากันไว้เป็นอย่างอื่น |
มาตรา
1093 ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดผู้ใดตาย
ทายาทเข้าเป็นหุ้นส่วน |
ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดผู้ใดตาย ท่านว่าทายาทของผู้นั้นย่อมเข้าเป็นหุ้นส่วนแทนที่ผู้ตาย เว้นแต่จะได้มีข้อสัญญากันไว้เป็นอย่างอื่น |
มาตรา
1094 หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดล้มละลาย |
ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดผู้ใด
ล้มละลาย ท่านว่าต้องเอาหุ้นของผู้นั้นในห้างหุ้นส่วนออกขายเป็นสินทรัพย์ในกองล้มละลาย |
มาตรา 1095 สิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้จากเจ้าหนี้ของห้างเมื่อห้างยังไม่เลิก |
ตราบใดห้างหุ้นส่วนจำกัดยังมิได้เลิกกันตราบนั้น
เจ้าหนี้ของห้างย่อมไม่มีสิทธิจะฟ้องร้องผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดได้ |
|
บริษัทจำกัด
ส่วนที่ 1 สภาพและการตั้งบริษัทจำกัด |
มาตรา
1096 ความหมายของบริษัท |
อันว่าบริษัทจำกัดนั้น
คือบริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้น ด้วยแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่า ๆ กัน
โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัด เพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ |
มาตรา
1097 ผู้เริ่มก่อการบริษัท |
บุคคลใด ๆ ตั้งแต่ 3
คนขึ้นไป จะเริ่มก่อการและตั้งเป็นบริษัทจำกัดก็ได้
โดยเข้าชื่อกันทำหนังสือบริคณห์สนธิ และกระทำการอย่างอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ |
มาตรา
1098 ลายละเอียดของหนังสือบริคณห์สนธิ |
หนังสือบริคณห์สนธินั้น
ต้องมีรายการดั่งต่อไปนี้คือ |
|
ผู้เริ่มก่อการ
= ต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ บุคคลล้มละลาย
โดยผู้ก่อการที่เป็นผู้เยาว์ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 12 ปีและต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม |
มาตรา
1099 หนังสือบริคณห์สนธิ |
หนังสือบริคณห์สนธินั้น
ท่านให้ทำเป็นต้นฉบับไว้ ไม่น้อยกว่าสองฉบับ และให้ลงลายมือชื่อของบรรดาผู้เริ่มก่อการและ
ลายมือชื่อทั้งปวงนั้นให้มีพยานลงชื่อรับรองด้วยสองคน |
มาตรา
1100 ผู้เริ่มก่อการต้องมีหุ้นด้วย |
ผู้เริ่มก่อการทุกคนต้องลงชื่อซื้อหุ้น
ๆ หนึ่งเป็นอย่างน้อย |
มาตรา
1101 ความรับผิดของกรรมการ |
บุคคลซึ่งเป็นกรรมการของบริษัทจำกัดจะรับผิดโดยไม่
จำกัดก็ได้
ถ้ากรณีเช่นนั้นไซร้ ท่านว่าต้องจดแถลงความรับผิดเช่นนั้นลงไว้ใน
หนังสือบริคณห์สนธิด้วย |
มาตรา
1102 |
ห้ามมิให้ชี้ชวนประชาชนให้ซื้อหุ้น |
มาตรา
1104 ต้องเข้าชื่อซื้อหุ้นครบก่อนจดทะเบียน |
จำนวนหุ้นทั้งหมดซึ่งบริษัทคิดจะจดทะเบียนนั้น
ต้องมีผู้เข้าชื่อซื้อหรือออกให้กันเสร็จก่อนการจดทะเบียนของบริษัท |
มาตรา
1105 การขายหุ้นครั้งแรกให้ผู้เป็นหุ้นส่วน |
อันหุ้นนั้น ท่านห้ามมิให้ออกโดยราคาต่ำไปกว่ามูลค่า
ของหุ้นที่ตั้งไว้ |
มาตรา
1106 การเรียกให้ชำระค่าหุ้น |
การที่เข้าชื่อซื้อหุ้นนั้นย่อมผูกพันผู้เข้าชื่อโดยเงื่อนไข
ว่าถ้าบริษัทตั้งขึ้นแล้วจะใช้จำนวนเงินค่าหุ้นนั้น ๆ ให้แก่บริษัทตามหนังสือ ชี้ชวนและข้อบังคับของบริษัท |
มาตรา
1107 การประชุมตั้งบริษัท |
เมื่อหุ้นชนิดซึ่งจะต้องลงเงินนั้นได้มีผู้เข้าชื่อซื้อหมดแล้ว
ผู้เริ่มก่อการต้องนัดบรรดาผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นมาประชุมกันเป็นการประชุมใหญ่ โดยไม่ชักช้า
ประชุมอันนี้ให้เรียกว่าประชุมตั้งบริษัท |
มาตรา
1108 กิจการที่พึงประชุม |
กิจการอันจะพึงทำในที่ประชุมตั้งบริษัทนั้น
คือ |
มาตรา
1109 ออกสอบ องค์ประชุมและการออกเสียงลงมติ |
ผู้เริ่มก่อการหรือผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นจะออกเสียงลงคะแนนไม่
ได้ ถ้าตนมีส่วนได้เสียโดยพิเศษในปัญหาที่ยกขึ้นวินิจฉัยนั้น |
มาตรา
1110 การเรียกให้ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นชำระค่าหุ้น |
เมื่อได้ประชุมตั้งบริษัทแล้ว
ให้ผู้เริ่มก่อการบริษัทมอบ การทั้งปวงให้แก่กรรมการของบริษัท |
มาตรา
1111 |
เมื่อจำนวนเงินซึ่งว่าไว้ใน
มาตรา
1110 ได้ใช้เสร็จ แล้ว
กรรมการต้องไปขอจดทะเบียนบริษัทนั้น |
มาตรา
1111/1 |
ในการจัดตั้งบริษัท ถ้าได้ดำเนินการครบทุกขั้นตอนดังต่อไปนี้
ภายในวันเดียวกับวันที่ผู้เริ่มก่อการจัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ กรรมการจะขอจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและจดทะเบียนบริษัทไปพร้อมกัน
ภายในวันเดียวกันก็ได้ |
มาตรา
1112 กรรมการบริษัทต้องยื่นขอจดทะเบียนใน
3 เดือน |
ถ้าการจดทะเบียนมิได้ทำภายในสามเดือนนับแต่ประชุม
ตั้งบริษัทไซร้ ท่านว่าบริษัทนั้นเป็นอันไม่ได้ตั้งขึ้น
และบรรดาเงินที่ได้รับไว้จากผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นนั้นต้องใช้คืนเต็มจำนวนมิให้ลดเลย |
มาตรา
1113 ผู้เริ่มก่อการต้องรับผิดในหนี้ก่อนจดทะเบียน |
ผู้เริ่มก่อการบริษัทต้องรับผิดร่วมกันและโดยไม่จำกัด ในบรรดาหนี้และการจ่ายเงินซึ่งที่ประชุมตั้งบริษัทมิได้อนุมัติ
และแม้จะได้มีอนุมัติก็ยังคงต้องรับผิดอยู่เช่นนั้นไปจนกว่าจะได้จดทะเบียนบริษัท |
มาตรา
1114 เมื่อจดทะเบียนแล้วจะอ้างว่าสำคัญผิด
ข่มขู่ ลวง ฉ้อฉลไม่ได้ |
เมื่อบริษัทได้จดทะเบียนแล้ว
ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นจะร้องฟ้อง ขอให้ศาลเพิกถอนการที่ตนได้เข้าชื่อซื้อ
โดยยกเหตุว่าสำคัญผิดหรือต้อง ข่มขู่หรือถูกลวงล่อฉ้อฉลนั้น ท่านว่าหาอาจทำได้ไม่ |
|
หุ้นและผู้ถือหุ้น |
มาตรา
1117 มูลค่าหุ้น |
อันมูลค่าของหุ้น ๆ
หนึ่งนั้น มิให้ต่ำกว่าห้าบาท |
มาตรา
1118 |
อันหุ้นนั้น
ท่านว่าจะแบ่งแยกหาได้ไม่ |
มาตรา
1119 จะหักหนี้เป็นค่าหุ้นไม่ได้ |
หุ้นทุก ๆ หุ้นจำต้องให้ใช้เป็นเงินจนเต็มค่า
เว้นแต่หุ้น ซึ่งออกตามบทบัญญัติ |
มาตรา
1120 |
บรรดาเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกนั้น
กรรมการจะ เรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งใช้เสียเมื่อใดก็ได้ เว้นแต่ที่ประชุมใหญ่จะได้วินิจฉัย
เป็นอย่างอื่น |
มาตรา
1121 วิธีเรียกให้ชำระค่าหุ้น |
การเรียกเงินค่าหุ้นแต่ละคราวนั้น
ท่านบังคับว่าให้ ส่งคำบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่ต่ำกว่า 21วันด้วยจดหมายส่งลง
ทะเบียนไปรษณีย์ และผู้ถือหุ้นทุกคนจะต้องใช้เงินตามจำนวนที่เรียกนั้น
สุดแต่กรรมการจะได้กำหนดไปว่าให้ส่งไปยังผู้ใด ณ ที่ใด และเวลาใด |
มาตรา
1122 ผู้ถือหุ้นต้องเสียเบี้ยปรับ |
ถ้าและเงินอันจะพึงส่งใช้เป็นค่าหุ้นตามเรียกนั้น
ผู้ถือหุ้น คนใดมิได้ส่งใช้ตามวันกำหนดไซร้ ผู้นั้นจำต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันที่กำหนด ให้ส่งใช้จนถึงวันที่ได้ส่งเสร็จ |
|
ถ้ามิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ให้บังคับตามอัตราร้อยละ
7.5 ต่อปี มาตรา 224 |
มาตรา
1123 ผู้ถือหุ้นอาจถูกริบหุ้น |
ถ้าผู้ถือหุ้นคนใดละเลยไม่ส่งใช้เงินที่เรียกค่าหุ้นตามวัน
กำหนดกรรมการจะส่งคำบอกกล่าวด้วยจดหมายส่งลงทะเบียนไปรษณีย์ ไปยังผู้นั้น ให้ส่งใช้เงินที่เรียกกับทั้งดอกเบี้ยด้วยก็ได้ |
มาตรา
1124 การริบหุ้น |
ถ้าในคำบอกกล่าวมีข้อแถลงความถึงการริบหุ้นด้วยแล้ว
หากเงินค่าหุ้นที่เรียกกับทั้งดอกเบี้ยยังคงค้างชำระอยู่
ตราบใด กรรมการจะบอกริบหุ้นนั้น ๆ
เมื่อใดก็ได้ |
มาตรา
1125 หุ้นที่ถูกริบ |
หุ้นซึ่งริบแล้วนั้นให้เอาออกขายทอดตลาดโดยไม่ชักช้าได้
จำนวนเงินเท่าใดให้เอาหักใช้ค่าหุ้นที่เรียกกับดอกเบี้ยค้างชำระ ถ้ายังมีเงิน
เหลือเท่าใดต้องส่งคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นนั้น |
มาตรา
1126 สิทธิของผู้รับซื้อหุ้นที่ถูกริบ(ขายทอดตลาด) |
แม้ว่าวิธีการริบหุ้นขายหุ้นจะไม่ถูกต้องด้วยระเบียบก็ดี
ท่านว่าหาเหตุให้สิทธิของผู้ซื้อหุ้นซึ่งริบนั้นเสื่อมเสียไปอย่างไรไม่ |
มาตรา
1127 บริษัทต้องทำใบหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นทุกคน |
ให้บริษัททำใบหุ้น คือใบสำคัญสำหรับหุ้นใบหนึ่งหรือหลายใบ
มอบให้เป็นคู่มือแก่ผู้ถือหุ้นจงทุก ๆ
คน |
มาตรา
1128 |
ในใบหุ้นทุก ๆ ใบ
ท่านให้กรรมการลงลายมือชื่อเองคน หนึ่งเป็นอย่างน้อย และประทับตราของบริษัทเป็นสำคัญ |
มาตรา 1129 หุ้นสามารถโอนกันได้ |
อันว่าหุ้นนั้นย่อมโอนกันได้โดยมิต้องได้รับความยินยอม
ของบริษัท เว้นแต่เมื่อเป็นหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นซึ่งมีข้อบังคับของบริษัท
กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น |
มาตรา
1130 ข้อจำกัดการโอนโดยกฎหมาย |
หุ้นใดเงินที่เรียกค่าหุ้นยังค้างชำระอยู่
หุ้นนั้นบริษัทจะไม่ ยอมรับจดทะเบียนให้โอนก็ได้ |
มาตรา
1131 ปิดสมุดพักการโอนหุ้น |
ในระหว่าง 14 วันก่อนการประชุมใหญ่สามัญ บริษัทจะปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นเสียก็ได้ |
มาตรา
1132 การได้หุ้นมาโดยเหตุบางอย่าง |
ในเหตุบางอย่าง เช่นผู้ถือหุ้นตายก็ดี
หรือล้มละลายก็ดี
อันเป็นเหตุให้บุคคลอื่นเป็นผู้มีสิทธิจะได้หุ้นขึ้นนั้น
หากว่าบุคคลนั้นนำใบหุ้นมาเวนคืน เมื่อเป็นวิสัยจะทำได้ ทั้งได้นำหลักฐานอันสมควรมาแสดงด้วย แล้ว
ก็ให้บริษัทรับบุคคลนั้นลงทะเบียนเป็นผู้ถือหุ้นสืบไป |
|
การได้หุ้นมาโดยเหตุบางอย่าง เช่น
การได้หุ้นมาจากการขายทอดตลาด
ในการบังคับคดีของศาล หรือได้หุ้นตามคำพิพากษาของศาล |
มาตรา
1133 |
หุ้นซึ่งโอนกันนั้นถ้าเป็นหุ้นอันยังมิได้ส่งเงินใช้เต็มจำนวน
ค่าหุ้น ท่านว่าผู้โอนยังคงต้องรับผิดในจำนวนเงินที่ยังมิได้ส่งใช้ไม่ครบถ้วน นั้น
แต่ว่า |
มาตรา
1134 หุ้นผู้ถือจะออกได้ต้องมีทั้ง
2 กรณี |
ใบหุ้นออกให้แก่ผู้ถือนั้น จะออกได้ก็แต่เมื่อมีข้อบังคับของ บริษัทอนุญาตไว้
และจะออกให้ได้แต่เฉพาะเพื่อหุ้นซึ่งได้ใช้เต็มค่าแล้ว ในกรณีเช่นว่านี้ ผู้ทรงใบหุ้นชนิดระบุชื่อย่อมมีสิทธิจะได้รับใบหุ้นชนิดออกให้แก่
ผู้ถือ เมื่อเวนคืนใบหุ้นชนิดระบุชื่อนั้นให้ขีดฆ่าเสีย |
มาตรา
1135 การโอนหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ |
หุ้นชนิดที่มีใบหุ้นออกให้แก่ผู้ถือนั้น
ย่อมโอนกันได้เพียง ด้วยส่งมอบใบหุ้นแก่กัน |
มาตรา
1136 |
ผู้ทรงใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ ย่อมมีสิทธิจะมาขอ
เปลี่ยนเอาใบหุ้นชนิดระบุชื่อได้ เมื่อเวนคืนใบหุ้นฉบับออกให้แก่ผู้ถือนั้น ให้ขีดฆ่าเสีย |
มาตรา
1137 กรรมการจะต้องถือหุ้นชนิดระบุชื่อ
จะถือหุ้นชนิดออกให้ผู้ถือไม่ได้ |
ถ้าข้อบังคับของบริษัทมีกำหนดไว้เป็นองค์คุณอันหนึ่ง
สำหรับผู้จะเป็นกรรมการ ว่าจำจะต้องเป็นผู้ถือหุ้นเป็นจำนวนเท่าหนึ่ง
เท่าใดไซร้ หุ้นเช่นนี้ท่านว่าต้องเป็นหุ้นระบุชื่อ |
มาตรา
1138 รายการในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น |
บริษัทจำกัดต้องมีสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น
มีรายการดั่ง ต่อไปนี้คือ |
มาตรา
1143 ห้ามบริษัทถือหุ้นหรือรับจำนำหุ้นตนเอง |
ห้ามมิให้บริษัทจำกัดเป็นเจ้าของถือหุ้นของตนเอง
หรือรับจำนำหุ้นของตนเอง |
|
แต่บริษัทสามารถถือหุ้นหรือรับจำนำหุ้นของบริษัทคนอื่นได้ |
|
บทเบ็ดเสร็จทั่วไป(
วิธีจัดการบริษัทจำกัด) |
มาตรา
1144 กรรมการจัดการตามข้อบังคับของที่ประชุมใหญ่ |
บรรดาบริษัทจำกัด ให้มีกรรมการคนหนึ่งหรือหลายคน
ด้วยกันจัดการตามข้อบังคับของบริษัท และอยู่ในความครอบงำของที่
ประชุมใหญ่แห่งผู้ถือหุ้นทั้งปวง |
มาตรา
1145 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อความที่จดทะเบียนไว้ |
จำเดิมแต่ได้จดทะเบียนบริษัทแล้ว
ท่านห้ามมิให้ ตั้งข้อบังคับขึ้นใหม่ หรือเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงข้อบังคับหรือข้อความใน
หนังสือบริคณห์สนธิแต่อย่างหนึ่งอย่างใด เว้นแต่จะได้มีการลงมติพิเศษ |
มาตรา
1146 จดทะเบียนข้อบังคับใหม่ |
บรรดาข้อบังคับอันได้ตั้งขึ้นใหม่
หรือได้เพิ่มเติม เปลี่ยนแปลงนั้น เป็นหน้าที่ของบริษัทที่จะจัดให้ไปจดทะเบียนภายใน
กำหนดสิบสี่วันนับแต่วันที่ได้มีการลงมติพิเศษ |
|
กรรมการ |
มาตรา
1150 จำนวนกรรมการ |
ผู้เป็นกรรมการจะพึงมีจำนวนมากน้อยเท่าใดและจะพึง
ได้บำเหน็จเท่าใด ให้สุดแล้วแต่ที่ประชุมใหญ่จะกำหนด |
มาตรา
1152 วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการ |
ในเมื่อมีการประชุมสามัญครั้งแรกภายหลังแต่
จดทะเบียนบริษัทก็ดี และในเมื่อมีการประชุมสามัญครั้งแรกในปี ทุก ๆ ปีต่อไปก็ดี
ผู้เป็นกรรมการต้องออกจากตำแหน่งโดยจำนวน หนึ่งในสามเป็นอัตราถ้าและจำนวนกรรมการจะแบ่งออกให้ตรงเป็น
ส่วนสามไม่ได้ ให้ออกโดยจำนวนใกล้ที่สุดกับส่วนหนึ่งในสาม |
มาตรา
1153 |
ตัวกรรมการที่จะต้องออกจากตำแหน่งในปีแรก
และปีที่สองภายหลังจดทะเบียนบริษัทนั้น ถ้ากรรมการมิได้ตกลงกัน
ไว้เองเป็นวิธีอื่นไซร้ ก็ให้จับสลากกัน ส่วนปีหลัง ๆ ต่อไปให้กรรมการ
คนที่ได้อยู่ในตำแหน่งนานที่สุดนั้นเป็นผู้ต้องออก |
มาตรา
1154 คุณสมบัติของกรรมการ |
ถ้ากรรมการคนใดล้มละลาย
หรือตกเป็นผู้ไร้ ความสามารถไซร้ ท่านว่ากรรมการคนนั้นเป็นอันขาดจากตำแหน่ง |
|
ล้มละลาย หมายถึง ศาลพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว
ดังนั้นการที่กรรมการบริษัทถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดยังไม่ถือว่าเป็นบุคคลล้มละลายตามความหมายของมาตราดังกล่าว |
มาตรา
1155 การเลือกตั้งซ่อม |
ถ้าตำแหน่งว่างลงในสภากรรมการเพราะเหตุอื่น
นอกจากถึงคราวออกตามเวรไซร้ ท่านว่ากรรมการจะเลือกผู้อื่นตั้งขึ้น ใหม่ให้เต็มที่ว่างก็ได้
แต่บุคคลที่ได้เป็นกรรมการใหม่เช่นนั้น ให้มีเวลา อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาที่กรรมการผู้ออกไปนั้นชอบที่
จะอยู่ได้ |
มาตรา
1157 ตั้งกรรมการใหม่ |
การตั้งกรรมการขึ้นใหม่นั้น
ตั้งใครเมื่อใดท่านให้ นำความไปจดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง |
มาตรา
1167 กรรมการมีฐานะเป็นตัวแทนบริษัท |
ความเกี่ยวพันกันในระหว่างกรรมการและบริษัท
และบุคคลภายนอกนั้น ท่านให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวล
กฎหมายนี้ ว่าด้วยตัวแทน |
มาตรา
1169 ความรับผิดของกรรมการต่อบริษัท |
ถ้ากรรมการทำให้เกิดเสียหายแก่บริษัท
บริษัทจะฟ้อง ร้องเรียกเอาสินไหมทดแทนแก่กรรมการก็ได้ หรือในกรณีที่บริษัทไม่ยอม
ฟ้องร้อง ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดจะเอาคดีนั้นขึ้นว่าก็ได้ |
มาตรา
1170 กรรมการปฏิบัติหน้าที่ภายในขอบวัตถุประสงค์กรรมการไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว |
เมื่อการซึ่งกรรมการคนใดได้ทำไปได้รับอนุมัติของที่
ประชุมใหญ่แล้ว ท่านว่ากรรมการคนนั้นไม่ต้องรับผิดในการนั้นต่อผู้ถือหุ้น
ซึ่งได้ให้อนุมัติหรือต่อบริษัทอีกต่อไป |
|
ประชุมใหญ่ |
มาตรา
1171 การประชุมสามัญ |
ให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นทั่วไปเป็นประชุมใหญ่ภายใน
6 เดือนนับแต่วันที่ได้จดทะเบียนบริษัท
และต่อนั้นไปก็ให้มีการประชุมเช่นนี้ครั้งหนึ่งเป็นอย่างน้อยทุกระยะเวลา12
เดือน |
มาตรา
1172 การประชุมวิสามัญ |
กรรมการจะเรียกประชุมวิสามัญเมื่อใดก็ได้สุดแต่จะเห็นสมควร |
มาตรา
1173 ผู้ถือหุ้นสามารถเรียกประชุมวิสามัญได้ |
การประชุมวิสามัญจะต้องนัดเรียกให้มีขึ้นในเมื่อผู้ถือหุ้น
มีจำนวนหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าแห่งจำนวนหุ้นของบริษัทได้เข้า
ชื่อกันทำหนังสือร้องขอให้เรียกประชุมเช่นนั้น ในหนังสือร้องขอนั้นต้อง ระบุว่าประสงค์ให้เรียกประชุมเพื่อการใด |
มาตรา
1174 |
เมื่อผู้ถือหุ้นยื่นคำร้องขอให้เรียกประชุมวิสามัญ
ดังที่กล่าวมาใน มาตราก่อนนี้แล้ว ให้กรรมการเรียกประชุมโดยพลัน |
มาตรา
1175 วิธีการเรียกประชุมใหญ่ |
คำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ให้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่
อย่างน้อยหนึ่งคราวก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน และส่งทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนที่มีชื่อในทะเบียนของบริษัท
ก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เว้นแต่เป็นคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่เพื่อลงมติพิเศษ
ให้กระทำการดังว่านั้นก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าสิบสี่วัน |
มาตรา
1176 ผู้มีสิทธิเข้าประชุม |
ผู้ถือหุ้นทั่วทุกคนมีสิทธิจะเข้าประชุมในที่ประชุมใหญ่
ได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นประชุมชนิดใดคราวใด |
มาตรา
1177 วิธีการประชุม |
วิธีดั่งบัญญัติไว้ในมาตราต่อ
ๆ ไปนี้ ท่านให้ใช้บังคับ แต่การประชุมใหญ่ เว้นแต่จะมีข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้เป็นข้อ
ความขัดกัน |
มาตรา
1178 |
ในการประชุมใหญ่
ถ้าไม่มีผู้ถือหุ้นมาเข้าประชุมรวม
กันแทนหุ้นได้ถึงจำนวนหนึ่งในสี่แห่งทุนของบริษัทเป็นอย่างน้อยแล้ว ท่านว่าที่ประชุมอันนั้นจะปรึกษากิจการอันใดหาได้ไม่ |
มาตรา
1179 กรณีไม่ครบองค์ประชุม |
การประชุมใหญ่เรียกนัดเวลาใด
เมื่อล่วงเวลานัดนั้นไป แล้วถึงชั่วโมงหนึ่ง จำนวนผู้ถือหุ้นซึ่งมาเข้าประชุมยังไม่ครบถ้วนเป็นองค์ประชุมดั่งบัญญัติไว้ใน
มาตรา
1178 นั้นไซร้ หากว่าการประชุม
ใหญ่นั้นได้เรียกนัดเพราะผู้ถือหุ้นร้องขอ ท่านให้เลิกประชุม |
มาตรา
1180 ประธานในที่ประชุม |
ในการประชุมผู้ถือหุ้นทั่วไปเป็นประชุมใหญ่ทุก
ๆ ครั้ง ให้ผู้เป็นประธานในสภากรรมการนั่งเป็นประธาน |
มาตรา
1181 การเลื่อนประชุม |
ผู้นั่งเป็นประธานจะเลื่อนการประชุมใหญ่ใด
ๆ ไป เวลาอื่นโดยความยินยอมของที่ประชุมก็ได้ แต่ในที่ประชุมซึ่งได้เลื่อน
มานั้นท่านมิให้ปรึกษากิจการอันใดนอกไปจากที่ค้างมาแต่วันประชุมก่อน |
|
การเลื่อนการประชุมไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
7 วันเพราะมิใช่เป็นวันที่นัดประชุม |
มาตรา
1182 การนับคะแนน
2 แบบ |
ในการลงคะแนนโดยวิธีชูมือนั้น
ท่านให้นับว่าผู้ถือหุ้น ทุกคนที่มาประชุมเอง หรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นมาประชุมแทนมีเสียงหนึ่ง
เป็นคะแนน แต่ในการลงคะแนนลับท่านให้นับว่าผู้ถือหุ้นทุกคนมีคะแนนเสียง
เสียงหนึ่งต่อหุ้นหนึ่งที่ตนถือ |
มาตรา
1183 ผู้มีสิทธิลงคะแนน |
ถ้ามีข้อบังคับของบริษัทวางเป็นกำหนดไว้ว่า
ต่อเมื่อ
ผู้ถือหุ้นเป็นผู้มีหุ้นแต่จำนวนเท่าใดขึ้นไปจึ่งให้ออกเสียงเป็นคะแนนได้ ไซร้
ท่านว่าผู้ถือหุ้นทั้งหลายซึ่งไม่มีหุ้นถึงจำนวนเท่านั้น ย่อมมีสิทธิ ที่จะเข้ารวมกันให้ได้จำนวนหุ้นดั่งกล่าว
แล้วตั้งคนหนึ่งในพวกของตน ให้เป็นผู้รับฉันทะออกเสียงแทนในการประชุมใหญ่ใด ๆ
ได้ |
มาตรา
1184 ถ้ายังไม่ได้ชำระค่าหุ้นก็ไม่มีสิทธิลงคะแนน |
ผู้ถือหุ้นคนใดยังมิได้ชำระเงินค่าหุ้นซึ่งบริษัทได้เรียก
เอาแต่ตนให้เสร็จสิ้น ท่านว่าผู้ถือหุ้นคนนั้นไม่มีสิทธิออกเสียงเป็นคะแนน |
มาตรา
1185 ห้ามผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้เสียออกเสียง |
ผู้ถือหุ้นคนใดมีส่วนได้เสียเป็นพิเศษในข้ออันใดซึ่ง
ที่ประชุมจะลงมติ ท่านห้ามมิให้ผู้ถือหุ้นคนนั้นออกเสียงลงคะแนนด้วย
ในข้อนั้น |
มาตรา
1186 หุ้นชนิดผู้ถือออกเสียงไม่ได้ |
ผู้ทรงใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือหาอาจออกเสียงเป็นคะแนนได้ไม่ เว้นแต่จะได้นำใบหุ้นของตนนั้นมาวางไว้แก่บริษัทแต่ก่อน เวลาประชุม |
มาตรา
1187 มอบฉันทะในการออกเสียง |
ผู้ถือหุ้นทุกคนจะมอบฉันทะให้ผู้อื่นออกเสียงแทนตนก็ได้
แต่การมอบฉันทะเช่นนี้ต้องทำเป็นหนังสือ |
มาตรา
1188 การมอบฉันทะ(มอบครั้งใดคราวใด) |
หนังสือตั้งผู้รับฉันทะนั้น
ให้ลงวันและลงลายมือชื่อผู้ถือหุ้น และให้มีรายการดั่งต่อไปนี้ คือ |
มาตรา
1189 |
อันหนังสือตั้งผู้รับฉันทะนั้น
ถ้าผู้มีชื่อรับฉันทะ ประสงค์จะออกเสียงในการประชุมครั้งใด ต้องนำไปวางต่อผู้เป็น
ประธานแต่เมื่อเริ่ม หรือก่อนเริ่มประชุมครั้งนั้น |
มาตรา
1190 การลงคะแนน |
ในการประชุมใหญ่ใด ๆ
ข้อมติอันเสนอให้ลงคะแนน ท่านให้ตัดสินด้วยวิธีชูมือ เว้นแต่เมื่อก่อนหรือในเวลาที่แสดงผลแห่ง
การชูมือนั้นจะได้มีผู้ถือหุ้นสองคนเป็นอย่างน้อยติดใจร้องขอให้ลง คะแนนลับ |
มาตรา
1191 |
ในการประชุมใหญ่ใด
ๆเมื่อผู้เป็นประธานแสดงว่ามติ อันใดนับคะแนนชูมือเป็นอันว่าได้หรือตกก็ดี และได้จดลงไว้ในสมุด
รายงานประชุมของบริษัทดั่งนั้นแล้ว ท่านให้ถือเป็นหลักฐานเพียงพอ ที่จะฟังได้ตามนั้น |
มาตรา
1192 |
ถ้ามีผู้ติดใจร้องขอโดยชอบให้ลงคะแนนลับ
การลงคะแนนเช่นนั้นจะทำด้วยวิธีใดสุดแล้วแต่ผู้เป็นประธานจะสั่ง |
มาตรา
1193 ประธานชี้ขาด |
ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน
จะเป็นในการชูมือก็ดี หรือในการลงคะแนนลับก็ดี ให้ผู้เป็นประธานในที่ประชุมมีคะแนนอีกเสียง
หนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด |
|
ประธานในที่ประชุมมีสิทธิ
2 เสียงคือตอนลงคะแนนเสียงครั้งแรก ประธานก็มีสิทธิลงได้ และตอนตัดสินชี้ขาดอีก 1 เสียง |
มาตรา 1194 การประชุมเพื่อมีมติพิเศษ |
การใดที่กฎหมายกำหนดให้ต้องทำโดยมติพิเศษ ที่ประชุมใหญ่ต้องลงมติในเรื่องนั้นโดยคะแนนเสียงข้างมากไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน |
มาตรา 1195 การเพิกถอนมติในที่ประชุมใหญ่ |
การประชุมใหญ่นั้นถ้าได้นัดเรียกหรือได้ประชุมกัน
หรือได้ลงมติฝ่าฝืนบทบัญญัติในลักษณะนี้ก็ดี หรือฝ่าฝืนข้อบังคับของ
บริษัทก็ดีเมื่อกรรมการหรือผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดร้องขึ้นแล้วให้ศาลเพิก ถอนมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบนั้นเสีย
แต่ต้องร้องขอภายในกำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันลงมตินั้น |
|
บัญชีงบดุล |
มาตรา
1196 |
อันบัญชีงบดุลนั้น
ท่านว่าต้องทำอย่างน้อยครั้งหนึ่งทุก รอบสิบสองเดือน คือเมื่อเวลาสุดรอบสิบสองเดือนอันจัดว่าเป็นขวบปีใน
ทางบัญชีเงินของบริษัทนั้น |
|
เงินปันผลและเงินสำรอง |
มาตรา
1200 สิทธิที่จะได้รับเงินปันผล |
การแจกเงินปันผลนั้น
ต้องคิดตามส่วนจำนวน ซึ่งผู้ถือหุ้น ได้ส่งเงินแล้วในหุ้นหนึ่ง ๆ เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นในเรื่องหุ้นบุริมสิทธิ |
|
EX.
ถ้าหุ้นสามัญที่ยังชำระมูลค่าหุ้นยังไม่ครบ
จะได้เงินปันผลเท่ากับราคาหุ้นที่ชำระแล้วเท่านั้น
เช่นหุ้นสามัญราคาหุ้นละ 100 บาท แต่ชำระแล้ว
50 บาท เงินปันผลต่อหุ้นหุ้นละ 10 บาท
จะได้เงินปันผลเพียง 5 บาท/หุ้นเท่านั้น แต่กรณีของหุ้นบุริมสิทธิ
แม้จะชำระค่าหุ้นยังไม่ครบก็มีสิทธิรับเงินปันผลเต็มจำนวน |
มาตรา
1201 ห้ามจ่ายเงินปันผลโดยไม่ได้รับมติจากที่ประชุมใหญ่ |
ห้ามมิให้ประกาศอนุญาตเงินปันผล
นอกจากโดยมติของที่ประชุมใหญ่ |
|
จะจ่ายเงินปันผลจากเงินทุนของบริษัทไม่ได้ ต้องจ่ายจากเงินกำไรเท่านั้น |
มาตรา
1202 ต้องจัดสรรกำไรสมทบทุนสำรองก่อนจ่ายปันผล หักเงินสำรอง
5%ของกำไรเข้าทุนสำรองจนกว่าจะได้ 10%ของทุนบริษัท |
ทุกคราวที่แจกเงินปันผล
บริษัทต้องจัดสรรเงินไว้เป็นทุนสำรองอย่างน้อยหนึ่งในยี่สิบส่วนของจำนวนผลกำไร
ซึ่งบริษัททำมาหาได้จาก กิจการของบริษัท จนกว่าทุนสำรองนั้นจะมีจำนวนถึงหนึ่งในสิบของจำนวนทุน
ของบริษัทหรือมากกว่านั้น แล้วแต่จะได้ตกลงกำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัท |
|
เงินทุนสำรอง= เงินส่วนที่กฎหมายบังคับให้บริษัทต้องจัดสรรไว้เพื่อเสริมสร้างฐานะและความสามารถในการชำระหนี้และการใช้จ่ายของบริษัทให้มั่นคงยิ่งขึ้น |
มาตรา
1203 การจ่ายปันผลฝ่าฝืนมาตรา
1201,1202 |
ถ้าจ่ายเงินปันผลไปโดยฝ่าฝืนความในมาตราทั้งสองซึ่ง
กล่าวมาไซร้ เจ้าหนี้ทั้งหลายของบริษัทชอบที่จะเรียกเอาเงินจำนวนซึ่งได้
แจกไปคืนมายังบริษัทได้
แต่ว่าถ้าผู้ถือหุ้นคนใดได้รับเงินปันผลไปแล้วโดย สุจริต
ท่านว่าจะกลับบังคับให้เขาจำคืนนั้นหาได้ไม่ |
มาตรา
1204 การจ่ายปันผลต้องบอกกล่าวให้ผู้ถือหุ้นทราบ |
การบอกกล่าวว่าจะปันผลอย่างใด
ๆ อันได้อนุญาตให้จ่ายนั้น ให้บริษัทมีจดหมายบอกกล่าวไปยังตัวผู้ถือหุ้นที่ปรากฏชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหุ้นทุกคน แต่ในกรณีที่บริษัทมีหุ้นชนิดที่มีใบหุ้นออกให้แก่ผู้ถือ
ให้โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราวด้วย |
มาตรา
1205 ห้ามคิดดอกเบี้ยในเงินปันผลค้างจ่าย |
เงินปันผลนั้น
แม้จะค้างจ่ายอยู่ ท่านว่าหาอาจจะคิดเอา ดอกเบี้ยแก่บริษัทได้ไม่ |
|
การสอบบัญชี |
มาตรา
1209 การตั้งผู้สอบบัญชี |
ผู้สอบบัญชีนั้น
ให้ที่ประชุมสามัญเลือกตั้งทุกปี ผู้สอบบัญชี คนซึ่งออกไปนั้นจะเลือกกลับเข้ารับตำแหน่งอีกก็ได้ |
|
การเพิ่มทุนและลดทุน (ใช้เฉพาะหุ้นสามัญเท่านั้น) |
มาตรา 1220 หลักเกณฑ์การเพิ่มทุน |
บริษัทจำกัดอาจเพิ่มทุนของบริษัทขึ้นได้ด้วยออกหุ้นใหม่
โดยมติพิเศษของประชุมผู้ถือหุ้น |
มาตรา 1221 ออกหุ้นใหม่โดใช้เป็นเงิน |
บริษัทจำกัดจะออกหุ้นใหม่ให้เสมือนหนึ่งว่าได้ใช้เต็มค่า
แล้ว หรือได้ใช้แต่บางส่วนแล้วด้วยอย่างอื่นนอกจากให้ใช้เป็นตัวเงินนั้นไม่ได้ เว้นแต่จะทำตามมติพิเศษของประชุมผู้ถือหุ้น |
|
การเพิ่มทุนในบริษัท
จำกัดให้ออกหุ้นใหม่ขายเท่านั้น
ไม่อนุญาตให้เพิ่มมูลค่าหุ้น |
มาตรา
1222 การออกหุ้นใหม่ต้องเสนอขายให้กับผู้ถือหุ้นเดิมเท่านั้น |
บรรดาหุ้นที่ออกใหม่นั้น
ต้องเสนอให้แก่ผู้ถือหุ้นทั้งหลาย ตามส่วนจำนวนหุ้นซึ่งเขาถืออยู่ |
มาตรา 1224 หลักเกณฑ์การลดทุน |
บริษัทจำกัดจะลดทุนของบริษัทลงด้วยลดมูลค่าแต่
ละหุ้น ๆ ให้ต่ำลง หรือลดจำนวนหุ้นให้น้อยลงโดยมติพิเศษของประชุม
ผู้ถือหุ้นก็ได้ |
มาตรา
1225 ลดทุนได้ต่ำสุดไม่เกิน |
อันทุนของบริษัทนั้นจะลดลงไปให้ถึงต่ำกว่าจำนวนหนึ่งในสี่ของทุนทั้งหมดหาได้ไม่ |
|
ห้ามลดทุนลงเหลือต่ำกว่า
1 ใน 4 แห่งทุนเดิมที่จดทะเบียนไว้ EX.
หากกรณีหุ้นมีราคาหุ้นละ 100 บาท
จะลดมูลค่าหุ้นลงเหลือต่ำสุดได้เพียง 25 บาทเท่านั้น จะต่ำกว่า 25 บาทไม่ได้ |
มาตรา
1226 การลดทุนต้องโฆษณาในหนังสือพิมพ์ |
เมื่อบริษัทประสงค์จะลดทุน
ต้องโฆษณาความประสงค์นั้นในหนังสือพิมพ์ แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราว
และต้องมีหนังสือบอกกล่าวไปยังบรรดาผู้ซึ่งบริษัทรู้ว่าเป็นเจ้าหนี้ของบริษัท บอกให้ทราบรายการซึ่งประสงค์จะลดทุนลง และขอให้เจ้าหนี้
ผู้มีข้อคัดค้านอย่างหนึ่งอย่างใดในการลดทุนนั้น ส่งคำคัดค้านไปภายใน 30
วันนับแต่วันที่บอกกล่าวนั้น |
มาตรา
1228 นำมติพิเศษเพิ่มทุนลดทุน |
มติพิเศษซึ่งอนุญาตให้เพิ่มทุนหรือลดทุนนั้น บริษัทต้อง จดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ได้ลงมตินั้น |
|
การเลิกบริษัทจำกัด |
มาตรา 1236 การเลิกบริษัทตามวัตถุประสงค์ |
อันบริษัทจำกัดย่อมเลิกกันด้วยเหตุดั่งจะกล่าวต่อไปนี้
คือ |
มาตรา
1237 การเลิกบริษัทตามคำสั่งศาล |
นอกจากนี้ศาลอาจสั่งให้เลิกบริษัทจำกัดด้วยเหตุต่อไปนี้
คือ |
|
การควบบริษัทจำกัดเข้ากัน |
มาตรา 1238 การควบบริษัท |
อันบริษัทจำกัดนั้นจะควบเข้ากันมิได้
เว้นแต่จะเป็นไป โดยมติพิเศษ |
|
การลงมติพิเศษ = สำหรับการควบบริษัท จะต้องมีการลงมติ 2 ครั้งด้วยกัน โดยครั้งแรกต้องได้เสียงสนับสนุน 3 ใน 4 และการประชุมครั้งหลังต้องได้เสียงสนับสนุนอย่างน้อย
2 ใน 3 |
มาตรา
1239 มติพิเศษควบบริษัท |
มติพิเศษซึ่งวินิจฉัยให้ควบบริษัทจำกัดเข้ากันนั้นบริษัท ต้องนำไปจดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับตั้งแต่วันลงมติ |
มาตรา
1240 หลักเกณฑ์การควบบริษัท |
บริษัทต้องโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราว
และส่งคำบอกกล่าวไปยังบรรดาผู้ซึ่งบริษัทรู้ว่าเป็นเจ้าหนี้ของบริษัท บอกให้ทราบรายการที่ประสงค์จะควบบริษัทเข้ากัน
และขอให้เจ้าหนี้ผู้มีข้อคัดค้านอย่างหนึ่งอย่างใดในการควบบริษัทเข้ากัน นั้น ส่งคำคัดค้านไปภายใน
60 วันนับแต่วันที่บอกกล่าว |
|
การควบบริษัทมี
4 ชนิดคือ 1.
Consolidation หรือ
บริษัท ก.+บริษัท ข.=บริษัท ค. 2.
Merger หรือ บริษัท
ก.+บริษัท ข.=บริษัท ก. 3.
Acquisition คือการเข้าซื้อทรัพย์สิน
+ หนี้สิน พอที่จะเข้าบริหารกิจการ 4.
Take over คือ การเข้าซื้อหุ้น พอที่จะเข้าบริหารกิจการ |
มาตรา
1241 เมื่อควบกันแล้วต้องจดทะเบียน |
บริษัทได้ควบเข้ากันแล้วเมื่อใด
ต่างบริษัทต้องนำความไปจดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ควบเข้ากัน
และบริษัทจำกัดอันได้ ตั้งขึ้นใหม่ด้วยควบเข้ากันนั้น
ก็ต้องจดทะเบียนเป็นบริษัทใหม่ |
ไม่เน้น |
การชำระบริษัทห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดและบริษัทจำกัด |
มาตรา
1247 การชำระบัญชี |
การชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วน
จำกัดหรือบริษัทจำกัดซึ่งล้มละลายนั้น ให้จัดทำไปตามบทกฎหมาย
ลักษณะล้มละลายที่คงใช้อยู่ตามแต่จะทำได้ |
มาตรา
1249 กรณีห้างหุ้นส่วนเลิกกัน |
ห้างหุ้นส่วนก็ดี
บริษัทก็ดี แม้จะได้เลิกกันแล้วก็ให้
พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี |
มาตรา
1250 หน้าที่สะสางการงานของห้างหุ้นส่วน |
หน้าที่ของผู้ชำระบัญชี
คือชำระสะสางการงานของ ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นให้เสร็จไป กับจัดการใช้หนี้เงินและแจกจำหน่ายสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น |
มาตรา
1251 การแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี |
ห้างหุ้นส่วนก็ดี
บริษัทก็ดี ในเมื่อเลิกกันเพราะเหตุอื่น นอกจากล้มละลาย หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหรือกรรมการของบริษัทย่อมเข้า
เป็นผู้ชำระบัญชี เว้นไว้แต่ข้อสัญญาของห้าง
หรือข้อบังคับของบริษัท จะมีกำหนดไว้เป็นสถานอื่น |
มาตรา
1252 อำนาจของผู้ชำระบัญชี |
หุ้นส่วนผู้จัดการ
หรือกรรมการบริษัทมีอำนาจโดย ตำแหน่งเดิมฉันใด เมื่อเป็นผู้ชำระบัญชีก็ยังคงมีอำนาจอยู่ฉันนั้น |
มาตรา
1253 หน้าที่ของผู้ชำระบัญชี |
ภายใน 14 วันนับแต่ได้เลิกห้างเลิกบริษัท
หรือถ้าศาล ได้ตั้งผู้ชำระบัญชีนับแต่วันที่ศาลตั้ง ผู้ชำระบัญชีต้องกระทำดังจะกล่าว
ต่อไปนี้คือ |
มาตรา
1254 จดทะเบียนเลิกหุ้นส่วน |
การเลิกหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น
ผู้ชำระบัญชีต้องนำ บอกให้จดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่เลิกกัน และในการนี้ต้อง
ระบุชื่อผู้ชำระบัญชีทุก ๆ คนให้จดลงทะเบียนไว้ด้วย |
มาตรา
1255 จัดทำงบดุลและเรียกประชุมใหญ่ |
ผู้ชำระบัญชีต้องทำงบดุลขึ้นโดยเร็วที่สุดที่เป็นวิสัย
จะทำได้ ส่งให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบลงสำคัญว่าถูกต้อง
แล้วต้องเรียก ประชุมใหญ่ |
มาตรา
1257 การถอดถอนผู้ชำระบัญชี |
ผู้ชำระบัญชีซึ่งมิใช่เป็นขึ้นเพราะศาลตั้งนั้น ท่านว่าจะถอนเสียจากตำแหน่งและตั้งผู้อื่นแทนที่ก็ได้
ในเมื่อผู้เป็น หุ้นส่วนทั้งหลายออกเสียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน หรือที่ประชุม
ใหญ่ของผู้ถือหุ้นได้ลงมติดังนั้น แต่ศาลย่อมสั่งถอนผู้ชำระบัญชี จากตำแหน่งและตั้งผู้อื่นแทนที่ได้
ไม่เลือกว่าจะเป็นผู้ชำระบัญชี ซึ่งศาลตั้งหรือมิใช่ศาลตั้ง ในเมื่อมีคำร้องขอของผู้เป็นหุ้นส่วน
ในห้างคนใดคนหนึ่ง หรือของผู้ถือหุ้นในบริษัทมีหุ้นรวมกันนับได้ ถึงหนึ่งในยี่สิบแห่งทุนของบริษัท
โดยจำนวนที่ส่งใช้เงินเข้าทุนแล้วนั้น |
|
การถอดถอนผู้ชำระบัญชีแยก
2 กรณี 1.
ถ้าแต่งตั้งโดยศาล ศาลเท่านั้นเป็นผู้ถอดถอนได้ 2.
ถ้าไม่ได้แต่งตั้งโดยศาล อาจถอดถอนในที่ประชุมใหญ่ ผู้ถือหุ้นมีมติให้ถอนหรือศาลสั่งถอดถอนได้ |
มาตรา
1261 ผู้ชำระบัญชีหลายคน |
ถ้ามีผู้ชำระบัญชีหลายคนการใด
ๆ ที่ผู้ชำระบัญชี กระทำย่อมไม่เป็นอันสมบูรณ์นอกจากผู้ชำระบัญชีทั้งหลายจะได้ทำ
ร่วมกัน เว้นแต่ที่ประชุมใหญ่หรือศาลจะได้กำหนดอำนาจไว้เป็นอย่าง อื่นในเวลาตั้งผู้ชำระบัญชี |
มาตรา
1272 อายุความการฟ้องเรียกหนี้สินของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท |
ในคดีฟ้องเรียกหนี้สินซึ่งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทหรือ
ผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้น หรือผู้ชำระบัญชีเป็นลูกหนี้อยู่ในฐานเช่นนั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 2 ปีนับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี |
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น