แนวข้อสอบ วิ แพ่ง 1 มสธ โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรกดกจากจำเลย จำเลยให้การต่อสู้ว่า เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้ตนแต่เพียงผู้เดียว..| เล้ง นิติ มสธ

แนวข้อสอบ(อัตนัย) วิ แพ่ง 1: วิธีพิจารณาความแพ่ง 1

Hello, nice to come back to see you again. พบกับผม เล้ง นิติศาสตร์ กันอีกแล้วครับ ปัจจุบันผมทำงานไปด้วยและก็เรียนปริญาญาใบที่ 2 ที่คณะนิติศาสตร์ มสธ ครับ 

วันนี้ผมนำแนววิชา วิ แพ่ง 1 มาทำอีกหนึ่งข้อเพื่อเป็นแนวให้กับเพื่อนๆที่เพิ่งเข้าเรียนได้เห็นลู่ทางในการทำข้อสอบของ มสธ ครับ

  • อัตนัย ข้อละ 20 คะแนน เท่ากับว่า 3 ข้อ x 20 รวมเป็น 60 คะแนน
  • ปรนัย ข้อละ 1 คะแนน เท่ากับ 60 ข้อ x 1 รวมเป็น 60 คะแนน
คะแนนรวมทั้งสิ้นของวิชานี้คือ 120 คะแนน 

มสธ มีระเบียบการให้คะแนนดังนี้ครับ

ร้อยละ 76 ขึ้นไปนักศึกษาจะได้ผลสอบเป็น "H" = สอบได้เกียรตินิยม (Honour)
ร้อยละ 60 – 75 นักศึกษาจะได้ผลสอบเป็น "S" = สอบผ่าน (Satisfactory)

โจทย์วันนี้เกี่ยวกับเรื่อง การยื่นบัญชีระบุพยาน ซึ่งจะอยู่ในหน่วยที่ 13 เรื่องที่ 13.1.2 หน้า 13-13 ถึง 13-24 หนังสือของ มสธ วิชา กฏหมายวิธีสบัญญัติ 1

บทมาตราที่ต้องอ้างยกขึ้นประกอบตอบโจทย์ข้อที่กล่าวถึงนี้คือ มาตรา...

มาตรา 88 วรรคแรก

ตัวอย่างโจทย์

โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรกดกจากจำเลย จำเลยให้การต่อสู้ว่า เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกตามฟ้องให้จำเลยแต่เพียงผู้เดียว ต้นฉบับพินัยกรรมที่พิพาทอยู่ที่จำเลย จำเลยได้รับรองสำเนาพินัยกรรมนั้นยื่นให้เจ้าพนักงานที่ดินเก็บรักษาไว้ฉบับหนึ่ง โดยจำเลยยื่นไว้เพื่อขอรับมรดก 

จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเกี่ยวกับพินัยกรรมเพียงว่า สำเนาพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 1 มกราคม 2549 อยู่ที่เจ้าพนักงานที่ดินเป็นผู้รักษา โดยมิได้ระบุอ้างต้นฉบับพินัยกรรมที่มีอยู่ที่จำเลย 

ศาลกำหนดให้จำเลยเป็นฝ่ายที่มีหน้าที่นำสืบก่อน ต่อมาเจ้าพนักงานที่ดินซึ่งสำเนาพินัยกรรมที่จำเลยเป็นผู้รับรองว่าถูกต้องมายังศาลตามที่จำเลยขอให้ศาลเรียก แล้วจำเลยนำพยานบุคคลเข้าสืบว่า เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้จำเลยแต่เพียงผู้เดียว ตามสำเนาพินัยกรรมนั้น

ต่อมาในวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยส่งต้นฉบับพินัยกรรมซึ่งอยู่ที่จำเลยต่อศาล โจทก์คัดค้านว่าจำเลยมิได้ระบุพยานอ้างต้นฉบับพินัยกรรมซึ่งอยู่ที่จำเลยไว้

ดังนี้ จำเลยมีสิทธิ์ส่งต้นฉบับพินัยกรรมที่มีอยู่ที่จำเลยเป็นพยานต่อศาลได้หรือไม่

แนวการตอบ

กรณีตามปัญหา ประมวลกฏหมายพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคแรก วางหลักไว้ว่า

เมื่อคู่ความฝ่ายใดมีความจำนงที่จะอ้างอิงเอกสารฉบับใดหรือคำเบิกความของพยานคนใด หรือมีความจำนงที่จะให้ศาลตรวจบุคคล วัตถุ สถานที่ หรืออ้างอิงความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเป็นพยานหลักฐานสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของตน ให้คู่ความฝ่ายนั้นยื่นบัญชีระบุพยานศาลก่อนวันนัดสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน โดยแสดงเอกสารหรือสภาพของเอกสารที่จะอ้าง และรายเชื่อ ที่อยู่ของบุคคล ผู้มีความเชี่ยวชาญ วัตถุ หรือสถานที่ซึ่งคู่ความฝ่ายนั้นระบุอ้างเป็นพยานหลักฐาน หรือขอให้ศาลไปตรวจหรือขอให้ตั้งผู้เชี่ยวชาญ แล้วแต่กรณี พร้อมทั้งสำเนาบัญชีระบุพยานดังกล่าวในจำนวนที่เพียงพอ เพื่อให้คู่ความฝ่ายอื่นมารับไปจากเจ้าพนักงานศาล

จากข้อเท็จจริงตามปัญหา การที่จำเลยมิได้ระบุอ้างต้นฉบับพินัยกรรมที่มีอยู่ที่จำเลยไว้ในบัญชีระบุพยาน ได้ระบุอ้างแต่เพียงว่า สำเนาพินัยกรรมที่เจ้าพนักงานที่ดินเป็นผู้เก็บรักษาไว้เท่านั้น ดังนี้ บัญชีระบุพยานของจำเลยคงอ้างแต่เพียงพินัยกรรมที่เจ้าพนักงานที่ดินเป็นผู้เก็บรักษาซึ่งเป็นเพียงสำเนาพินัยกรรมที่จำเลยรับรองและยื่นไว้โดยมิได้ระบุอ้างต้นฉบับพินัยกรรมที่มีอยู่ที่จำเลย จำเลยย่อมไม่มีสิทธิ์ที่จะยื่นส่งต้นฉบับพินัยกรรมที่มีอยู่ต่อศาลได้ตามประมวลกฏหมายพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคแรก

จำเลยจึงไม่มีสิทธิ์ส่งต้นฉบับพินัยกรรมต่อศาลตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

The End

รู้กฏหมายดี เข้าใจกฏหมายชัด ชีวิตจัดว่าเด็ด!


อย่าลืมกด Like กด Share ให้ด้วยจ้าาา

คลิกดูแนวข้อสอบอื่นๆ

ความคิดเห็น