แนวข้อสอบ วิ แพ่ง 1 มสธ โจทก์ฟ้องขอบังคับให้จำเลยโอนชำระเงินที่ยืม 400,000 บาท ตามสัญญากู้ | เล้ง นิติ มสธ


หน้าหนังสืออ่านประกอบ

แนวข้อสอบ(อัตนัย) วิ แพ่ง 1: วิธีพิจารณาความแพ่ง 1

สวัสดี ผม เล้ง นิติศาสตร์ มสธ จะมีใครที่กังวลเรื่องการเรียน สอน และการสอบในช่วงที่ต้องเก็บกักตัวอยู่แต่พื้นที่ตัวเองบ้างครับ

Tab ติดตามวิชากฏหมาย: ATtorney's journey: หนทางนักกฏหมาย
Tab ดู: แหล่งวิทยาการ นิติศาสตร์ มสธ

หากว่ากำลังมองหาแนวการตอบข้อสอบวิชากฏหมายแล้วล่ะก็ ติดตามที่นี่ได้เลยครับ เรามีของดีๆให้ติดตามกันครับ

ก่อนอื่นเราต้องการทราบครับว่าโจทย์แบบอัตนัย มสธ จะมี 3 ข้อด้วยกัน แต่ละข้อมี 20 คะแนนและปรนัยอีก 60 ข้อ

วันนี้เราจะมาดูแนวข้อสอบและการตอบกันอีก 1 ข้อครับ

โจทย์เกี่ยวกับเรื่อง หลักเกณฑ์การตกลงหรือประนีประนอมยอมความ ซึ่งจะอยู่ในหน่วยที่ 6 ตอน 6.3 หน้า 6-26 ถึง 6-35 หนังสือของ มสธ วิชา กฏหมายสบัญญัติ 1

มาตราที่ต้องใช้ประกอบคำตอบของโจทย์ข้อนี้คือ มาตรา...

มาตรา 138 วรรคแรก

โจทย์

โจทก์ฟ้องขอบังคับให้จำเลยโอนชำระเงินที่ยืม 400,000 บาท ตามสัญญากู้ จำเลยให้การว่า จำเลยไม่ได้ยืมเงินจากโจทก์ โจทก์ปลอมสัญญาเงินกู้ ขอให้ยกฟ้อง ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น คู่ความตกลงท้ากันว่า

หากศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญาซึ่งโจทก์คดีนี้ถูกฟ้องเป็นจำเลย มีความผิดฐานปลอมสัญญาเงินกู้ตามฟ้อง โจทก์คดีนี้ยอมแพ้ หากไม่มีความผิด จำเลยคดีนี้ยอมแพ้ คู่ความตกลงไม่ติดใจเอาสืบพยาน

ปรากฏว่าในคดีอาญามีคำพิพากษาถึงที่สุด โดยศาลฎีกายกฟ้องโจทก์ เพราะโจทก์ขาดอายุความ ศาลชั้นต้นจึงวินิจฉัยว่า ผลคำพิพากษาดังกล่าวเป็นไปตามคำท้าโดยโจทก์ไม่มีความผิดฐานปลอมสัญญากู้ และพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 400,000 บาทแก่โจทก์

ให้วินิจฉัยว่า คำวินิฉัยและคำพิพากษาของศาลชั้นต้นชอบหรือไม่

แนวการตอบ

กรณีตามปัญหา ประมวลกฏหมายพิจารณาความแพ่ง (มาตรา 138 วรรคแรก) วางหลักไว้ว่า

ในคดีที่คู่ความตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีโดยมิได้มีการถอนคำฟ้องนั้นและข้อตกลงหรือหารประนีประนอมยอมความกันนั้นไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฏหมาย ให้ศาลจดรายงานพิสดารแสดงข้อความแห่งข้อตกหรือประนีประนอมยอมความเหล่านั้นไว้ แล้วพิพากษาไปตามนั้น

จากข้อเท็จจริงตามปัญหา เมื่อปรากฏว่าคดีอาญาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดโดยศาลฏีกาพิพากษายกฟ้องโจทก์ เพราะฟ้องโจทก์ขาดอายุความนั้น ศาลฎีกามิได้พิพากษาว่าจำเลยซึ่งเป็นโจทก์ในคดีนี้มีความผิดหรือไม่มีความผิดตามฟ้องดังคำท้า

ศาลชั้นต้นไม่อาจวินิจฉัยชี้ขาดให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดชนะหรือแพ้คดีตามคำท้าได้ เพราะศาลฎีกามิได้พิพากษาอย่างหนึ่งอย่างใดตามคำท้าคู่ความ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องรับฟังพยานหลักฐานอื่นของโจทก์และจำเลยต่อไป

แม้หลังจากท้ากันแล้ว คู่ความแถลงไม่ติดใจสืบพยานก็มีความหมายเพียว่าหากคำพิพากษาถึงที่สุดอย่างใดอย่างหนึ่งตามคำท้าแล้ว คู่ความจะไม่ติดใจสืบพยาน จะถือว่าในกรณีที่คำพิพากษาถึงที่สุด ไม่ชี้ขาดว่าจำเลยมีความผิดหรือไม่ คู่ความก็ไม่ติดใจสืบพยานไม่ได้

The End

จากกันวันนี้แล้วเพื่อจะไปหาเรื่องใหม่ๆมา update กันอีกยังล่ะครับ

หวังว่าคงมีประโยชน์และช่วยให้เพื่อนๆคลายวิตกกันลงไปได้บ้างนะครับ

อย่าหยุดตามหาฝันก่อนที่จะเจอมันก่อนนะครับ


Thanks for reading.





ถ้าชอบอย่าลืมกด Like ถ้าใช่อย่าลืมกด Share เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ/ ขอบคุณมากครับ

คลิกดูแนวข้อสอบอื่นๆ

ความคิดเห็น