แนวข้อสอบอาญา 1 มสธ มาตรา 59, 80, 60 นาย ก ตั้งใจจะยิงนาย ข แต่นาย ข หลบทัน | เล้ง นิติศาสตร์ มสธ

พบกับโจทย์ 3 ข้อ+เฉลย +เทคนิคการเรียน + ข้อคิดสกิดต่อมขยันให้คันๆสู่เป้าหมาย 555

สวัสดี
ครับเพื่อนๆนักศึกษานิติศาสตร์และผู้สนใจความรู้ด้านกฏหมาย วันนี้ผม พี่เล้ง นิติศาสตร์ มสธ จะนำแนวข้อสอบกฏหมายอาญา 1 ของ มสธ มาเฉลยให้เพื่อนๆพอทราบและใช้เป็นแนวในการสอบครับ

แนวข้อสอบอาญา 1 มสธ มาตรา 59, 80, 60
แนวข้อสอบอาญา 1 [ดูครบจบแน่]



อนึ่ง ข้อความทั้งหมดนี้เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้น

เคล็ดลับสอบผ่าน และได้เกรดดีๆ

💚ดูหน่วยเน้นของภาคการศึกษานั้นๆให้เข้าใจ
💚ท่องมาตราเน้นให้ได้
💚หัดเขียนตอบอัตนัยบ่อยๆ
💚ทำแบบประเมินตนเอง ก่อนเรียน และ หลังเรียน ครบทุกบท และทำทบทวนหลายๆครั้ง

ข้อสอบอัตนัยมี 3 ส่วน ได้แก่

1 ท่อนแรก ยกบทกฏหมาย

2 ท่อนสอง วินิจฉัย

3 ท่อนท้าย สรุปธงคำตอบ

โจทย์ข้อ 1

    นาย ก ตั้งใจจะยิงนาย ข แต่นาย ข หลบทันกระสุนจึงไปโดนกระจกรถนาย ค ที่จอดอยู่ข้างทาง ถามว่านาย ก มีความผิดหรือไม่

แนวตอบ

กรณีตามปัญหา ประมวลกฏหมายอาญาวางหลักไว้ว่า

(ม.59) บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา เว้นแต่จะได้กระทำโดยประมาท ในกรณีที่

   กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท หรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา

   กระทำโดยเจตนา ได้แก่กระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น


(ม.80) ผู้ใดลงมือกระทำความผิดแต่กระทำไปไม่ตลอด หรือกระทำไปตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล ผู้นั้นพยายามกระทำความผิด

ผู้ใดพยายามกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น

(ม.60) ผู้ใดเจตนาที่จะกระทำต่อบุคคลหนึ่ง แต่ผลของการกระทำเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่งโดยพลาดไป ให้ถือว่าผู้นั้น

กระทำโดยเจตนาแก่บุคคลซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทำนั้น แต่ในกรณีที่กฏหมายบัญญัติให้ลงโทษหนักขึ้นเพราะ

ฐานะของบุคคล หรือเพราะความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำกับบุคคลที่ได้รับผลร้าย มิให้นำกฏหมายนั้นมาใช้บังคับเพื่อลงโทษผู้กระทำให้หนักขึ้น

จากข้อเท็จจริงตามปัญหา การที่นาย ก ตั้งใจจะยิงนาย ข นับได้ว่า นาย ก มีเจตนาฆ่านาย ข เพราะนาย ก มีความตั้งใจและใช้อาวุธปืนซึ่งมีอานุภาพร้ายแรงสามารถทำให้ผู้ถูกยิงถึงแก่ความตายได้ซึ่งก็คือนาย ข

กระทำโดยเจตนานั้น กล่าวคือ ผู้กระทำได้กระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น

แต่ปรากฏว่านาย ข หลบกระสุนปืนของนาย ก ทัน กระสุนได้พลาดไปโดนกระจกรถนาย ค ที่จอดอยู่ข้างทาง ดังนั้น

ในกรณีนี้จะเห็นได้ว่านาย ข มิได้ตายตามประสงค์ของนาย ก แต่อย่างใด นาย ก จึงมีความผิดเพียงฐานพยายฆ่านาย ข

สำหรับกรณีที่กระสุนได้พลาดไปโดนกระจกรถนาย ค ที่จอดอยู่ข้างทางนั้น กรณีนี้นาย ก จะไม่มีความผิดทางอาญาต่อนาย ค เพราะการกระทำโดยพลาดนั้นผลของการกระทำเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่งโดยพลาดไป

จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่นี้ กระสุนของนาย ก ได้พลาดไปโดนกระจกรถนาย ค มิใช่ร่างกายของนาย ค แต่อย่างใด นาย ก จึงไม่มีความผิดฐานการกระทำโดยพลาดต่อนาย ค

การกระทำโดยพลาดนั้น ต้องเป็นการกระทำต่อบุคคลหนึ่งแต่พลาดไปโดนบุคคลอื่น หรือมุ่งกระทำต่อทรัพย์แต่พลาดไปโดนทรัพย์อื่นที่มิได้มุ่งกระทำต่อ เป็นต้น

สรุป ด้วยเหตุผลและหลักกฏหมายดังที่ได้ปรับวินิจฉัยแล้วข้างต้น นาย ก มีความผิดฐานพยายามฆ่านาย ข

---

โจทย์ข้อ 2
 
     นาง ก เชื่อว่านาย ข เป็นภูติผีปีศาจ แม้นาย ข จะตายไปแล้วก็กลัวว่าจะฟื้นคืนชีพมา จึงเอาตะปูไปตอกที่ศพและนำยันต์ไปปิดที่ตัวนาย ข เพราะไม่อยากให้ฟื้นคืนชีพมา ถามว่านาง ก มีความผิดหรือไม่

แนวตอบ

กรณีตามปัญหา ประมวลกฏหมายอาญาวางหลักไว้ว่า

(ม.81) ผู้ใดกระทำการโดยมุ่งต่อผลซึ่งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด แต่การกระทำนั้นไม่สามารถจะบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เพราะเหตุปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำหรือเหตุแห่งวัตถุที่มุ่งหมายกระทำต่อ ให้ถือว่าผู้นั้นพยายามกระทำความผิด แต่ให้ลงโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น

ถ้าการกระทำดังกล่าวในวรรคแรกได้กระทำไปโดยความเชื่ออย่างงมงาย ศาลจะไม่ลงโทษก็ได้

จากข้อเท็จจริงตามปัญหา การที่นาง ก เชื่อว่านาย ข เป็นภูติผีปีศาจ แม้นาย ข จะตายไปแล้วก็กลัวว่าจะฟื้นคืนชีพมาจึงเอาตะปูไปตอกที่ศพและนำยันต์ไปปิดที่นาย ข เพราะไม่อยากให้ฟื้นคืนชีพมานั้น

จะเห็นได้ว่าการกระทำของนาง ก ด้วยการตอกตะปูที่ศพนั้นไม่ถือว่านาง ก มีเจตนาฆ่านาย ข แต่อย่างใด เพราะนาย ข ตายไปก่อนหน้านั้นแล้วและไม่เข้าหลักกฏหมายเหตุแห่งวัตถุมุ่งกระทำต่อแต่อย่างใด

ดังจะเห็นจากข้อเท็จจริงได้ว่า นาง ก มีความเชื่ออย่างงมงายว่านาย ข เป็นภูติผีปีศาจ กลัวว่านาย ข จะฟื้นจึงได้เอาตะปูไปตอกที่ศพและนำยันต์ไปปิดที่ตัวนาย ข ซึ่งเป็นศพอยู่

สรุป นาง ก จึงไม่มีความผิดฐานฆ่าคนตายแต่อย่างใด แต่อาจมีความผิดเกี่ยวกับศพได้ดังวินิจฉัยมาตามเบื้องต้น

---

โจทย์ข้อ 3

    นายแดงทะเลาะกับนายเหลือง นายแดงจึงยุยงให้นายเขียวทำร้ายนายเหลือง โดยการพูดว่า "ตีมันเลย" ต่อมานายเขียวจึงทำร้ายนายเหลือง นายแดงอยู่ในที่เกิดเหตุด้วย แต่ไม่ได้ทำร้ายนายเหลือง มีเพียงนายเขียวที่ทำร้ายนายเหลือง ถามว่านายแดงต้องรับผิดหรือไม่ อย่างไร


แนวตอบ


กรณีตามปัญหา ประมวลกฏหมายอาญาวางหลักไว้ว่า

(ม.83) ในกรณีความผิดใดเกิดขึ้นโดยการกระทำของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ผู้ที่ได้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันนั้นเป็นตัวการ ต้องระวาง โทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น

จากข้อเท็จจริงตามปัญหา การที่นายแดงทะเลาะกับนายเหลือง นายแดงจึงยุยงให้นายเขียวทำร้ายนายเหลือง โดยการพูดว่า "ตีมันเลย" ต่อมานายเขียวจึงทำร้ายนายเหลือง นายแดงอยู่ในที่เกิดเหตุด้วย แต่ไม่ได้ทำร้ายนายเหลือง มีเพียงนายเขียวที่ทำร้ายนายเหลือง

จะเห็นได้ว่านายแดงและนายเขียวทั้งสองคนทะเลาะกับนายเหลืองอริฝ่ายตรงข้าม นับได้ว่านายแดงและนายเขียวเป็นตัวการโดยมีการกระทำของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปแล้ว

แม้ข้อเท็จจริงจะปรากฏว่านายแดงได้พูดยุยงให้นายเขียวทำร้ายนายเหลืองด้วยการกล่าวว่า "ตีมันเลย" โดยที่ตนเองมิได้ร่วมทำร้ายนายเหลืองด้วยก็ตาม ก็ถือว่าทั้งนายแดงมีเจตนาร่วมกันกับนายเขียวกระทำความผิดคือทำร้ายร่างกายนายเหลืองแล้ว

สรุป ดังนั้นนายแดงต้องรับผิดฐานเป็นตัวการร่วมกันกับนายเขียวทำร้ายร่ายกายนายเหลืองดังวินิจฉัยมาแต่เบื้องต้น

---

ข้อสอบกฏหมายเป็นเรื่องของการดูข้อเท็จจริงจากโจทย์ จากนั้นเราต้องหาว่าบทบัญญัติใดๆที่ตรงกับข้อเท็จจริง เมื่อทราบแล้ว เราก็ยกบทบัญญัตินั้นๆมาเขียนในคำตอบท่อนแรก


ต่อจากนั้นนำบทบัญญัติมาวินิจฉัยสิครับ การวินิจฉัยคือการเขียนเรียบเรียงเรื่องราวให้เข้ากับบทบัญญัตินั่นเองครับ พูดง่ายๆก็คือ จะตอบอะไรแบบยกเมฆมามันไม่ได้ มันต้องมีหลักกฏหมายมาอ้างเสียก่อนยังไงล่ะครับ

ส่วนท่อนท้าย คือท่อนสรุป เป็นการฟันธงคำตอบครับ การตอบกฏหมายคล้ายๆกับการตัดสินคดีความของผู้พิพากษา คุณต้องตอบได้เพียง 2 ทางเลือกเท่านั้น ได้แก่ การกระทำตามข้อเท็จจริงตามโจทย์ ผิด หรือ ถูก ครับ

ดังนั้นก็ลองคิดดูครับว่าก่อนที่เราจะสอบผ่านนิติศาสตร์และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ตัดสินคนอื่นๆนั้นเราจะต้องศึกษากันมากน้อยขนาดไหนล่ะครับ (คิดถึงอาชีพหมอเข้าใว้ เพราะมันจะคล้ายๆกันในด้านประกอบวิชาชีพ)

👉พี่เล้งมีคำแนะนำดังต่อไปนี้ครับ

✅ฝึกทำข้อสอบอัตนัยให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (หาข้อสอบจากลิ้งค์ของบทความของพี่เล้งได้ที่นี่)
✅ทำความเข้าใจกฏหมายมาตราหลักๆของหมวดวิชากฏหมายให้ครอบคลุม
✅่่ขาดไม่ได้ เรียนกฏหมายจะต้องท่องมาตราให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ครับ

คำคมน่าคิด ช่วยสกิดให้เราเดินต่อไป

"กระแสน้ำไม่ไหลย้อนกลับเช่นไร วันเวลาก็เช่นเดียวกันฉันนั้น" 

Time and Tide Wait for No man.


ขอบคุณที่ติดตามบล็อกและเฟสบุคของ พี่เล้ง นิติศาสตร์ มสธ

สวัสดีครับ

ขอให้เพื่อนโชคดีได้ H กันทุกๆคนนะครับ




ช่วยกด Like กด Share จะได้ช่วยกันเผยแพร่ให้พวกๆเรากันเองครับ

ดูเรื่องอื่นเพิ่ม

ความคิดเห็น

  1. ข้อ 3 ไม่ใช่มาตรา 84 หรอครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ใช่มาตรา 84 ครับ เพราะว่าเป็นตัวการร่วม และนายแดงอยู่ร่วมกันกับนายเขียวในสถานที่เกิดเหตุด้วยที่สามารถเข้าช่วยเหลือผู้กระทำคนอื่นทันทีก็ได้

      หลักเกณฑ์ของการเป็น "ตัวการร่วม" คือ
      1. มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป > นายแดง + นายเขียว
      2. ได้ร่วมกันกระทำความผิดด้วยกัน > นายแดงพูด นายเขียวตี
      3. มีเจตนาที่จะร่วมกันกระทำความผิดนั้น > ทั้ง 2 คนมีเจตนาทำร้ายนายเหลือง

      หวังว่าจะช่วยให้คุณ Pakorn เห็นภาพชัดขึ้นนะครับ

      ลบ

แสดงความคิดเห็น