แนวแพ่ง 1 การแสดงเจตนาซ่อนเร้น ตาม ปพพ. มาตรา 154 โจทย์ตัวอย่างข้อสอบอัตนัย(แพ่ง 1 มสธ) | เล้ง นิติศาสตร์ มสธ

ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 154 การแสดงเจตนาซ่อนเร้น เป็นเช่นไร ที่นี่มีตำตอบ

Tab ติดตามวิชากฏหมาย: Attorney's journey: หนทางนักกฏหมาย


ปพพ. ลักษณะ 4 นิติกรรม หมวด 2 บทบัญญัติเกี่ยวกับการแสดงเจตนา


ปพพ. มาตรา 154

การแสดงเจตนาใดแม้ในใจจริงผู้แสดงจะมิได้เจตนาให้ตนต้องผูกพันตามที่ได้แสดงออกมาก็ตาม หาเป็นมูลเหตุให้การแสดงเจตนานั้นเป็นโมฆะไม่ เว้นแต่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะได้รู้ถึงเจตนาอันซ่อนอยู่ในใจของผู้แสดงนั้น

Section 154. A declaration of intention is not void on the ground that the declarant in the recesses of his mind does not intended to be bound by his expressed intention, unless this hidden intention was known to the other party.

เจตนาอันซ่อนอยู่ในใจ(Hidden intention) เป็นเจตนาซ่อนเร้นที่บุคคลอื่นมิสามารถรู้ความในใจนั้นได้ เจตนาซ่อนเร้น คือการแสดงเจตนาที่ไม่ตรงกันระหว่างเจตนาที่แสดงออกมาและเจตนาที่ซ่อนอยู่ในใจของผู้นั้น กฏหมายให้ยึดตามเจตนาที่แสดงออกมาเป็นเช่นไรต้องรับผิดผูกพันตามนั้น "หลักความศักดิ์สิทธิ์ของการแสดงเจตนา"

ผลของการแสดงเจตนาซ่อนเร้นไม่เป็นโมฆะ(Void) เว้นแต่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะได้รู้ถึงเจตนาอันซ่อนอยู่นั้น

สรุป "เจตนาซ่อนเร้น" คืออะไร และมีผลทางกฏหมายอย่างไร

เจตนาซ่อนเร้น มีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

1. ผู้แสดงเจตนามีความตั้งใจหรือเจตนาที่แท้จริง แต่เก็บไว้ในใจไม่แสดงออกประการหนึ่ง และ
2. ผู้แสดงเจตนากลับแสดงเจตนาเป็นอย่างอื่นซึ่งแตกต่างไปจากเจตนาที่ตั้งใจไว้และได้แสดงเจตนานั้นออกไปยังผู้รับการแสดงเจตนาโดยมิได้มุ่งผูกนิติสัมพันธ์หรือก่อให้เกิดผลทางกฏหมาย

ผลในทางกฏหมาย

เจตนาที่แสดงออกมามีผลสมบูรณ์ เว้นแต่คู่กรณีจะรู้ถึงเจตนาที่แท้จริงนิติกรรมนั้นตกเป็นโมฆะ

ตัวอย่างการแสดงเจตนาซ่อนเร้น(Hidden intention)

นายม่วงเสนอขายโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ให้กับนายส้ม นายส้มตกลงซื้อโทรศัพท์เครื่องดังกล่าวทันที ภายหลังนายส้มนำโทรศัพท์มาคืนนายม่วงโดยอ้างว่าต้องการเอาไปอวดเพื่อนเพียงสองสามวันเท่านั้น แต่นายม่วงไม่รู้เจตนาภายในของนายส้ม ผลนิติกรรมการซื้อขายโทรศัพท์เป็นเช่นไร

แนวการตอบ

วางหลักบทกฏหมาย (แสดงให้รู้ว่าผู้ตอบรู้กฏหมาย)

ตาม ปพพ. มาตรา 154 วางหลักไว้ว่า

การแสดงเจตนาใดแม้ในใจจริงผู้แสดงจะมิได้เจตนาให้ตนต้องผูกพันตามที่ได้แสดงออกมาก็ตาม หาเป็นมูลเหตุให้การแสดงเจตนานั้นเป็นโมฆะไม่ เว้นแต่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะได้รู้ถึงเจตนาอันซ่อนอยู่ในใจของผู้แสดงนั้น

วินิจฉัย (แสดงให้เห็นถึงการใช้กฏหมายเป็น)

การแสดงเจตนาอันซ่อนเร้น(Hidden intention) คือการแสดงเจตนา(Intention)ที่เข้าหลักเกณฑ์ 2 ประการคือ

1 ผู้แสดงเจตนามีความตั้งใจหรือเจตนาที่แท้จริง แต่เก็บไว้ภายในใจไม่แสดงออกมา และ

2 ผู้แสดงเจตนากลับแสดงเจตนาเป็นอย่างอื่นซึ่งแตกต่างไปจากเจตนาที่ตั้งใจไว้และได้แสดงเจตนานั้นออกไปยังผู้รับการแสดงเจตนา โดยมิได้มุ่งผูกนิติสัมพันธ์หรือก่อให้เกิดผลทางกฏหมาย
 การที่นายส้มมิได้แสดงเจตนาที่แท้จริงออกมาให้นายม่วงได้รู้ จึงเป็นการแสดงเจตนาที่ซ่อนเร้น โดยนายส้มอ้างว่ามีเจตนาเพียงเพื่อนำโทรศัพท์ไปอวดเพื่อนเท่านั้น มิได้ต้องการซื้อโทรศัพท์มือถือเครื่องดังกล่าวจริงๆ การอ้างนั้นเป็นโมฆะเพราะนายม่วงมิได้รู้เจตนาของนายส้ม

ตามหลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งการแสดงเจตนาตามกฏหมายให้ผู้แสดงเจตนาต้องรับผิดต่อเจตนาที่แสดงออกไปนั้น ดังนั้นผลนิติกรรมการซื้อขายโทรศัพท์จึงสมบูรณ์

สรุป (ตอบให้ตรงคำถาม)

นิติกรรมการซื้อขายโทรศัพท์มือถือระหว่างนายม่วงกับนายส้มสมบูรณ์ตามที่วินิจฉัยไว้ตามข้างต้น...

----

👀 ต่อไปเป็นภาคภาษาอังกฤษที่ผมนำมาเขียนเพิ่มเติมไว้สำหรับผู้สนใจครับ (เวลาตอบไม่ต้องใช้ภาษาอังกฤษครับ)

Ex. The hidden intention of the juristic act.

Mr. A offered for sale the cell phone to Mr. B. Mr. B bought it with the hidden intention that he just wanted to show off his friends for several days. Mr. A sold the cell phone to Mr. B by the unknown that such a hidden intention.

Later on, Mr. B came to return the cell phone to Mr. A and said that he didn't want to buy it at all. He just only wanted to show off to his friends.

What does the result of this case?

Answer:

Refer to the Thailand Civil and Commercial Code section 154

A declaration of intention is not void on the ground that the declarant in the recesses of his mind does not intended to be bound by his expressed intention, unless this hidden intention was known to the other party.

Case Analysis:

A declaration of hidden intent is an intention that meets two criteria:

1 The person which has the intention, but keeps within his mind, not showing, and

2 He has expressed his other intention to show otherwise is different from what it is in his mind to the other without aiming to intend to be bound.

The fact that Mr A did not show his true intentions to Mr B. Therefore is a hidden intention. Later on, Mr. B claimed that he bought such as the cell phone just only to bring the phone to show off to friends. He didn't really want to buy such that mobile phone at all. The claim was null and void because Mr. A did not know the hidden intention of the mind of Mr. B at all.

In accordance with the sacred principles of the intent, according to the law section 154, the actors are liable for the intent expressed. Therefore, the result of the cell phone trading juristic act is complete.

Summary (Answer to the question)

The juristic act of selling mobile phones between Mr. A and Mr. B is complete as mention above.

THE END

สนใจกฏหมายในมาตราอื่นๆ สามารถอ่านได้ตามลิ้งค์ด้านล่างครับ และถ้าเพื่อนๆมีคำแนะนำก็ส่งมาได้ตามกล่อง comment ตามด้านล่างนี้ได้เช่นกันครับ

คำศัพท์ภาษาอังกฤษในบทความวันนี้ที่สำคัญคือ

เจตนา = Intention
 เจตนาซ่อนเร้น = Hidden intention
 โมฆะ = Void
 ถูกผูกมัด ผูกพัน = Bound
 การแสดงเจตนา = Declaration of intention
 ผู้แถลงการณ์ = Declarant
 ซ่อน หยุดพัก = Recess
เจตนาที่ซ่อนอยู่ในใจ = The declarant in the recesses of his mind
จิตใจ = Mind
บุคคลอื่น ผู้อื่น = The other party

แล้วพบกันใหม่ครับ
สวัสดีครับ

ขอให้เพื่อนโชคดีได้ H กันทุกๆคนนะครับ




ช่วยกด Like กด Share จะได้ช่วยกันเผยแพร่ให้พวกๆเรากันเองครับ

💌 กฏหมายอาญา1 แนวข้อสอบอัตนัย ฐานความผิดมาตรา 68 (ผู้สนับสนุน)
💌 สภาพบุคคลตาม ปพพ. มาตรา 15 คำอธิบายภาษากฏหมายเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น
💌 แบบประเมินตนเองก่อนเรียนกฏหมายอาญา 1 หน่วยที่ 7 (การพยายามกระทำความผิด) รู้ผลคะแนนทันที

ความคิดเห็น