ข้อสอบ พา 1 มสธ ขาย"ประกัน(Insurance)"เป็นสัญญาซื้อขายหรือไม่ มาตราเน้น 453 กฎหมายพาณิชย์ 1 I เล้งถนัดสอน

  ต่อเสี้ยวหนึ่งของคลิปนี้ ช่วงนาทีที่ 28 อาจารย์บรรยายและมีคำถามทิ้งท้ายให้นักศึกษาคิด เลยต้องเอามาขยายย "การขายประกัน (Insurance sales) เป็นการโอนการกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์หรือไม่?"



ปพพ.มาตรา 453 ท่อง**

สวัสดีครับเพื่อนๆ ผมชื่อเล้ง นิติศาสตร์ มสธ ครับ เรื่องนี้เป็นการเขียนที่ตั้งใจและเห็นว่าเพื่อนๆจะได้ประโยชน์เน้นๆเมื่อติดตามถึงบรรทัดสุดท้าย

Tab ฉัน update กฏหมายที่นี่: Attorney's journey: หนทางนักกฏหมาย


ต่อคำถามที่ว่า "การขายประกัน (Insurance)เป็นสัญญาซื้อขายหรือไม่?" ตามประมวลกฏหมายพาณิชย์ มาตรา 453 หรือไม่

ก่อนอื่นเราจะไปดูบทกฏหมายของมาตราที่กล่าวข้างต้นกันก่อนครับ

ข้อบัญญัติ บรรพ 3

เอกเทศสัญญา

ลักษณะ 1

ซื้อขาย

หมวด 1

💬 สภาพและหลักสำคัญของสัญญาซื้อขาย

ส่วนที่ 1

บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

มาตรา 453 บัญญัติว่า "อันว่าซื้อขายนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย"

ตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น กล่าวถึงสัญญาซื้อขายซึ่งมีลักษณะสำคัญ 3 ประการด้วยกัน คือ

1 สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทน

2 สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาที่ฝ่ายผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อ และ

3 สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาที่ฝ่ายผู้ซื้อตกลงจะใช้ราคาทรัพย์สินให้แก่ผู้ขาย

เมื่อครบองค์ประกอบทั้ง 3 ประการด้านบนที่กล่าวมาสัญญาหนึ่งสัญญาใดที่ถูกทำขึ้นก็จะถือว่าเป็นสัญญาซื้อขาย


ขยายความเพิ่มเติมลักษณะของสัญญาซื้อขายเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ครับ

1 สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทน

 เป็นสัญญาซื้อขายกันระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย ซึ่งต่างฝ่ายก็มีฐานะเป็นลูกหนี้และเจ้าหนี้อยู่ในตัวเองทั้ง 2 ฝ่าย เช่น 

อุทธาหรณ์

นายมั่งมีซื้อ(เช่า: ภาษาที่ใช้กันทั่วไป)พระเครื่องจากนายขุนเดชในราคา 9,999 บาท สัญญาซื้อขายนั้นมีผลให้บุคคลทั้ง 2 ต่างมีภาระผูกพันที่ต้องกระทำการตามสัญญาซึ่งก็คือ

นายมั่งมี:  การแสดงเจตนา(จะซื้อ)ของและหน้าที่ผูกพันธ์

นายมั่งมี           นายขุนเดช
    👲⮘--------------⮚👱

🛒 ซื้อพระเครื่อง นายมั่งมีจะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ที่จะทวงถามเอาพระเครื่องจากนายขุนเดช

💸 ชำระค่าราคาพระเครื่อง นายมั่งมีจะมีฐานะเป็นลูกหนี้ที่จะใช้เงินค่าพระเครื่องแก่นายขุนเดช

นายขุนเดช:  การแสดงเจตนา(จะขาย)ของและหน้าที่ผูกพันธ์

นายขุนเดช         นายมั่งมี           
    👱⮘--------------⮚👲

🚚 ส่งมอบพระเครื่องพร้อมทั้งโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่นายมั่ง Way นี้นายขุนเดชมีฐานะเป็น ลน.

💰 รับค่าชำระราคาพระเครื่องจากนายมั่งมี ตรงนี้นายขุนเดชจะมีฐานะเป็น จน.

🗣 ขอยกคำสุภาษิตมาเทียบเคียง "สัญญาต่างตอบแทน" เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นคือคำว่า
"ยื่นหมูยื่นแมว" ซึ่งจะคล้ายกับคำในภาษาอังกฤษว่า
"quid pro quo" หรือ
"Give and Take"

2 สัญญาที่ฝ่ายผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์ของฝ่ายตนไปให้แก่ฝ่ายผู้ซื้อ

✍ ตามตัวอย่างจากข้อ 1 นายขุนเดช(ผู้ขาย)โอนกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของผู้ครอบครองพระเครื่องไปให้แก่นายมั่งมี(ผู้ซื้อ) ภาษาอังกฤษก็คือ To transfer of ownership

3 สัญญาที่ฝ่ายผู้ซื้อตกลงใช้ราคาทรัพย์สินให้แก่ฝ่ายผู้ขาย

✍ ตามตัวอย่างจากข้อ 1 เช่นเดียวกัน นายมั่งมีจะต้องชำระค่าราคาพระเครื่องเป็นเงิน💸 9,999 บาทให้แก่นายขุนเดช

จบคำอธิบายเรื่องลักษณะของสัญญาซื้อขายไปแล้ว ต่อไปจะกล่าวถึงลักษณะของการประกันภัย(Insurance)

💬 ลักษณะประกันภัย(Insurance)

มาตรา 861 บัญญัติว่า “อันว่าสัญญาประกันภัยนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง ตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัย หากมีขึ้น หรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดั่งได้ระบุไว้ในสัญญาและใน การนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกันภัย”

มาตรา 862 “ตามข้อความในลักษณะนี้

                   คำว่า “ผู้รับประกันภัย” ท่านหมายความว่า คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้

                   คำว่า “ผู้เอาประกันภัย” ท่านหมายความว่า คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัย

                   คำว่า “ผู้รับประโยชน์” ท่านหมายความว่า บุคคลผู้จะพึงได้รับค่าสินไหมทดแทนหรือรับจำนวนเงินใช้ให้

                   อนึ่ง ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์นั้น จะเป็นบุคคลคนหนึ่งคนเดียวกันก็ได้”

💭 ตีความมาตรา 861 

เป็นสัญญานี้สัญญาประกันภัย (EN: contract of insurance, FR: contrat d'assurance) ที่ทำขึ้นแบบมีเงื่อนไขบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้รับประกันภัย (EN: Insurer, FR: Assureur

ซึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งคือผู้รับประโยชน์ ( EN: Beneficiary, FR: Bénéficiaire)

เมื่อเกิดเหตุการณ์อันเป็นเหตุวินาศภัยหรือเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดขึ้นในอนาคตอันได้ระบุไว้ในสัญญาโดยผู้เอาประกันภัย (EN: Insured, FR: Assuré) ตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกัน(Insurance premuim)ให้แก่ผู้รับประกันภัย (EN: Insurer, FR: Assureur

ตัวอย่าง 

บริษัท Promise insurance company ตกลงทำสัญญากับนายวอร์รี ถ้าเมื่อบ้านของนายวอร์รีเสียหายจากภัยธรรมชาติใดๆ 

ทางบริษัทจะชดใช้ค่าเสียหายจากเหตุดังกล่าวตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง 

แต่ไม่เกินทุนประกันภัย (Coverage) หรือเรียกตามภาษาทั่วๆไปคือวงเงินที่รับประกัน(Insurance coverage) 50 ล้านให้กับผู้รับประโยชน์ ( EN: Beneficiary, FR: Bénéficiaire)

โดยนายวอร์รี ผู้เอาประกัน (EN: Assured, FR: Assuré) จ่ายค่าเบี้ยประกัน (Insurance premium single payment) ครั้งเดียวจำนวน 50,000 บาทโดยสัญญาระบุระยะเวลาคุ้มครอง 5 ปี 

เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1-1-2020 ถึงวันที่ 31-12-2025

💭 ตีความมาตรา 862

ตามบทบัญญัติ (Provision) มาตรา 862 กล่าวถึงบุคคล 3 ฝ่าย

ซึ่งเป็นคู่สัญญาตามสัญญากรมธรรม์ประกันภัย (Insurance policy)

1. ผู้รับประกันภัย (EN: Insurer, FR: Assureur) หมายถึง

บุคคลฝ่ายรับประกันภัยความเสียหายตามสัญญากรมธรรม์ประกันภัย (Insurance policy)

โดยตกลงกับฝ่ายคู่สัญญาคือผู้เอาประกันภัย (EN: Insured, FR: Assuré)

คุณสมบัติผู้รับประกันภัย (EN: Insurer, FR: Assureur)

   - ต้องเป็นบริษัทเอกชน (Company limited) หรือบริษัทมหาชน (Public company limited)

   - มีใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ให้เป็นผู้ประกอบการการประกันภัย (Holding Insurance business operator licence)

   - มีหลักทรัพย์วางไว้กับนายทะเบียนตามมูลค่าที่กำหนด

   - มีเงินกองทุนเกิน ซึ่งได้หักจากเบี้ยประกันที่ได้จากผู้เอาประกันภัยในแต่ละปี

2. ผู้เอาประกัน (EN: Assured, FR: Assuré) หมายถึง

บุคคลฝ่ายเอาประกันภัยจากฝ่ายคู่สัญญาคือผู้รับประกันภัย (EN: Insurer, FR: Assureur)

คุณสมบัติผู้เอาประกัน (EN: Assured, FR: Assuré)

   - มีส่วนได้ส่วนเสียในเหตุที่ประกันภัยในสัญญา (Insurance policy)

   - เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล

   - ส่งเบี้ยประกันภัย (Insurance premium) หรือบุคคลอื่นส่งแทน

3. ผู้รับประโยชน์ ( EN: Beneficiary, FR: Bénéficiaire) หมายถึง

บุคคลฝ่ายที่มีชื่อระบุเป็นผู้รับประโยชน์ซึ่งก็คือค่าสินไหมทดแทนเป็นจำนวนเงินตามวงเงินคุ้มครอง

หรือตามจำนวนตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงตามที่ระบุไว้ในสัญญาประกันภัย (Insurance policy)

อนึ่ง ผู้รับประโยชน์ ( EN: Beneficiary, FR: Bénéficiaire) อาจเป็น
บุคคลคนเดียวกันกับผู้เอาประกัน (EN: Assured, FR: Assuré) ก็ได้ 
หมายความว่า ผู้เอาประกันทำประกันให้กับตนเอง เช่น 
การประกับเงินบำนาญหลังเกษียณเป็นต้น 

เมื่อผู้เอาประกันส่งเบี้ยประกันครบตามสัญญาแล้วก็จะได้รับผลตอบแทนเป็นจำนวนเงินรายเดือนหรือรายปีตามที่ตกลงกันในสัญญาประกันเป็นต้น

คุณสมบัติผู้รับประโยชน์ ( EN: Beneficiary, FR: Bénéficiaire)

   - ไม่จำต้องเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเหตุที่ประกันภัย (เป็นบุคคลใดๆที่มีชื่อระบุเป็นผู้รับประโยชน์)

   - เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้

   - เป็นบุคคลเดียวกันกับผู้เอาประกันภัย (EN: Assured, FR: Assuré) ก็ได้ (ทำประกันคุ้มครองตนเอง)


👁‍🗨ตัวอย่าง (1) สัญญาประกันบุคคล 3 ฝ่าย

นายวอร์รีตกลงซื้อประกันคุ้มครองชีวิตวงเงิน 1 ล้านบาทกับบริษัท Sure insurance company ltd. 
โดยระบุในสัญญากรมธรรม์กรณีเมื่อตนตายให้นางลูซี่เป็นผู้รับประโยชน์

เช่นนี้เมื่อนายวอร์รี่ตาย บริษัท Sure insurance company ltd. มีหน้าที่ชำระเงินค่าสินไหมทดแทนจำนวน 1 ล้านบาทให้แก่นางลูซี่เป็นผู้รับประโยชน์
Sure insurance co.                  
             🏫
ผู้รับประกันภัย (EN: Insurer, FR: Assureur)
             ⏫ᐠ
               |      ᐠ👵นางลูซี่
               |             ผู้รับประโยชน์ ( EN: Beneficiary, FR: Bénéficiaire)
             ⏬
       นายวอร์รี่
             👴
ผู้เอาประกัน (EN: Assured, FR: Assuré)



👁‍🗨ตัวอย่าง (2) สัญญาประกันบุคคล 2 ฝ่าย

นายวอร์รีตกลงซื้อประกันคุ้มครองชีวิตวงเงิน 1 ล้านบาทกับบริษัท Sure insurance company ltd. โดยระบุชื่อตนเองเป็นผู้รับประโยชน์ในสัญญากรมธรรม์กรณีเมื่อเหตุภัยใด

เช่นนี้เมื่อนายวอร์รี่ตาย บริษัท Sure insurance company ltd. มีหน้าที่ชำระเงินค่าสินไหมทดแทนจำนวน 1 ล้านบาทให้แก่ทายาทโดยธรรมของนายวอร์รี่
Sure insurance co.                  
             🏫
ผู้รับประกันภัย (EN: Insurer, FR: Assureur)
             ⏫
               |      
               |             
             ⏬
         นายวอร์รี่
             👴
ผู้เอาประกัน (EN: Assured, FR: Assuré)
ผู้รับประโยชน์ (EN: Beneficiary, FR: Bénéficiaire)

ข้อดีข้อเสีย (Pro and con) ของแบบสัญญาประกันทั้ง 2 คือ

แบบที่มีชื่อครบ 3 ฝ่าย

👍ข้อดี การจ่ายเงินสินไหนทดแทนไม่ยุ่งยากเพราะมีชื่อผู้รับประโยชน์ระบุไว้เรียบร้อยแล้ว

👎ข้อเสีย กรณีผู้รับประโยชน์เสียชีวิตก่อน ต้องแจ้งเปลี่ยนชื่อผู้รับประโยชน์คนใหม่แทนกับบริษัทฝ่ายที่รับประกัน

แบบที่มีชื่อ 2 ฝ่าย

👍ข้อดี ผู้เอาประกันไม่ต้องกังวลว่าจะมีครหาใดๆกรณีที่ระบุชื่อผู้รับประโยชน์แล้วมีบุคคลอื่นไม่พอใจด้วย

👎ข้อเสีย กรณีที่ผู้เอาประกันเสียชีวิต ทายาทโดยธรรมต้องยื่นความประสงค์ขอเป็นผู้รับประโยชน์ ถ้าผู้เอาประกันมิได้แจ้งให้ทายาทหรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดทราบว่าตนได้ทำประกันไว้ ก็จะไม่มีผู้ใดไปแจ้งขอรับประโยชน์จากบริษัทที่รับประกัน

หลังจากกล่าวถึงลักษณะสัญญาซื้อขายและลักษณะรูปแบบของประกัน (Insurance program) ไปแล้ว ต่อไปเราจะไปดูกันว่า ขายประกัน (Insurance sales) เป็นสัญญาซื้อขายหรือไม่

ธงคำตอบคือ ไม่เป็นสัญญาซื้อขาย แต่ไม่เป็นอย่างไร เดี๋ยวจะเล่าให้ฟังครับ

ต้องย้อนกลับไปดูลักษณะในช่วงต้นๆที่เขียนไปแล้วครับ

สัญญาซื้อขายมีลักษนะสำคัญ 3 ประการด้วยกัน คือ

1 สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทน

2 สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาที่ฝ่ายผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อ และ

3 สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาที่ฝ่ายผู้ซื้อตกลงจะใช้ราคาทรัพย์สินให้แก่ผู้ขาย

ดังนั้นเมื่อจับเอาการซื้อขายประกัน (Insurance sales) มาเทียบเคียงดูไปทีละข้อครับว่าจะครบองค์ประกอบทั้ง 3 หรือ

❓ เป็นสัญญาประกัน (Insurance policy) เป็นสัญญาต่างตอบแทนหรือไม่

🤔 ตอบ เป็นสัญญาต่างตอบแทน

เมื่อคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายแสดงเจตนาถูกต้องตรงกันว่าฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้เอาประกัน (EN: Assured, FR: Assuré

ยินยอมตกลงว่าตนจะเป็นผู้ชำระค่าเบี้ยประกัน (Insurance premium) ให้กับผู้รับประกันภัย (EN: Insurer, FR: Assureur
และในขณะเดียวกันผู้รับประกันภัย (EN: Insurer, FR: Assureur) ก็ยินดีที่จะรับค่าเบี้ยประกัน (Insurance premium)

โดยฝ่ายตนเข้ารับเสี่ยงภัยแทนหากเกิดวินาศภัยในอนาคตผู้รับประกัน (EN: Insurer, FR: Assureur) ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ อันมีลักษณะเจ้าหนี้และลูกหนี้ซึ่งกันและกันตามมาตรา 369

❓ เป็นสัญญาซื้อขายเป็นสัญญาที่ฝ่ายผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อหรือไม่

🤔 ตอบ ไม่เป็นสัญญาที่มีการโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สิน เหตุผลเพราะไม่มีการโอนกรรสิทธิ์แห่งทรัพย์สินแต่อย่างใด 

*เมื่อไม่เข้าองค์ประกอบตามข้อ 2 ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า การซื้อขายประกันมิได้เป็นสัญญาซื้อขายแต่อย่างใด จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยต่อไปว่าจะเข้าเงื่อนไของค์ประกอบข้อ 3 หรือไม่

แต่อย่างไรก็ ผมจะนำมาวินิจฉัยให้ดูเพื่อเป็นการฝึกทักษะไปด้วยกันด้วย Concept ที่ว่า "Practice will help to increase skills."

❓ ซื้อขายประกันเป็นสัญญาซื้อขายที่ฝ่ายผู้ซื้อตกลงจะใช้ราคาทรัพย์สินให้แก่ผู้ขาย

🤔 ตอบ เป็นการใช้ราคาทรัพย์สินกันตามจำนวนเงินที่ระบุใว้ในสัญญากรมธรรม์ เพราะว่าสัญญากรมธรรม์ประกันภัย (Insurance policy) เป็นสัญญาที่ผู้ซื้อประกันหรือผู้เอาประกัน (EN: Assured, FR: Assuré) จ่ายชำระค่าเบี้ยประกัน (Insurance premium) ให้แก่ผู้ขายประกันหรือผู้รับประกันภัย (EN: Insurer, FR: Assureur)

🤑 อธิบายลักษณะของทรัพย์

ทรัพย์สินตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ตามมาตรา 137 และ มาตรา 138

มาตรา 137  ทรัพย์ หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง

มาตรา 138  ทรัพย์สิน หมายความรวมทั้งทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้

จากความหมายของคำว่าทรัพย์และทรัพย์สินดังกล่าว จะเห็นได้ว่าสิ่งใดจะเป็นทรัพย์และทรัพย์สินตามความหมายของกฎหมายจะต้องประกอบด้วยลักษณะสำคัญรวม 3 ประการด้วยกัน หากขาดลักษณะหนึ่งลักษณะใดไปก็จะไม่เป็นทรัพย์หรือทรัพย์สิน ลักษณะดังกล่าว ได้แก่

1. เป็นวัตถุมีรูปร่างหรือวัตถุไม่มีรูปร่างก็ได้

คำว่า “วัตถุมีรูปร่าง” หมายถึง สิ่งที่มองเห็นได้ด้วยตาและสามารถหยิบ จับ หรือถือได้เพราะสิ่งต่างๆ เหล่านั้นประกอบขึ้นด้วยโมเลกุลซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของสสาร


ทำให้เราสามารถมองเห็นรูปร่างลักษณะได้ เช่น กระเป๋า ปากกา แก้วน้ำ โต๊ะ เก้าอี้ รถ บ้านเรือน เป็นต้น มีข้อสังเกตเกี่ยวกับเรื่อง “กระแสไฟฟ้า” ซึ่งเราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า


แต่กระแสไฟฟ้าประกอบขึ้นด้วยอณูต่างๆ ที่ก่อให้เกิดเป็นกระแสไฟฟ้า อณูเหล่านี้เป็นสิ่งที่มีรูปร่าง ดังนั้น กระแสไฟฟ้าจึงถือว่าเป็นวัตถุมีรูปร่างอันจัดว่าเป็นทรัพย์ตามกฎหมาย


ดังนั้น ผู้ใดลักกระแสไฟฟ้าใช้จึงมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา

คำว่า “วัตถุไม่มีรูปร่าง” หมายถึง สิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา ไม่สามารถสัมผัส หยิบหรือจับได้ เช่น พลังงานน้ำตก พลังงานปรมาณู พลังลม แก๊ส เป็นต้น

2. วัตถุนั้นอาจมีราคาได้

คำว่า “อาจมีราคาได้” หมายถึง วัตถุนั้นมีคุณค่าอยู่ในตัวของมันเอง กล่าวคือ ของบางอย่างถึงแม้จะไม่มีราคาที่จะซื้อขายกันในท้องตลาด แต่หากมีคุณค่าทางจิตใจของบุคคลหนึ่งบุคคลใดแล้ว ย่อมถือว่าของนั้นอาจมีราคาได้ เช่น กระดูกของบรรพบุรุษ ศพของบุพการี เลือดของมนุษย์ ชื่อสกุล เป็นต้น

3. วัตถุนั้นอาจถือเอาได้

คำว่า “อาจถือเอาได้” หมายถึง การที่มนุษย์สามารถเข้าหวงแหนหรือเข้ายึดถือเอาเป็นเจ้าของได้ เช่น ที่ดิน บ้านเรือน รถยนต์ เงินตรา เป็นต้น 

สำหรับสิ่งที่มนุษย์ยังไม่สามารถเข้าถือเอาได้ เช่น ก้อนเมฆ ดวงจันทร์ ดวงดาว เหล่านี้ไม่ถือเป็นทรัพย์หรือทรัพย์สิน

นอกจากนี้ คำว่า “อาจถือเอาได้” มิได้หมายถึงเฉพาะสิ่งของที่บุคคลอาจหยิบ จับ หรือถือเอาได้อย่างจริงจังเท่านั้น 

แต่ยังหมายความรวมถึงสิ่งที่ไม่มีรูปร่างซึ่งบุคคลสามารถแสดงอาการหวงห้าม หวงแหน หรือยึดถือไว้เพื่อตน และห้ามมิให้บุคคลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องกับทรัพย์นั้นได้อีกด้วย เช่น 

บรรดาสิทธิต่างๆ ที่บุคคลพึงมีพึงได้ตามกฎหมาย อันได้แก่ กรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ลิขสิทธิ์ สิทธิในเครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร เป็นต้น


วันนี้จบเรื่องต่อคำถามที่ว่า "การซื้อขายประกัน (Insurance sales)เป็นสัญญาซื้อขายหรือไม่?" แค่นี้ครับ แล้วพบกันใหม่กับเรื่องกฏหมายดีๆ ที่ให้ทั้งความรู้และช่วยให้ทำข้อสอบได้อีกด้วย

เคล็ดลับสอบผ่าน และได้เกรดดีๆ

💚ดูหน่วยเน้นของภาคการศึกษานั้นๆให้เข้าใจ

💚ท่องมาตราเน้นให้ได้

💚หัดเขียนตอบอัตนัยบ่อยๆ

💚ทำแบบประเมินตนเอง ก่อนเรียน และ หลังเรียน ครบทุกบท และทำทบทวนหลายๆครั้ง

แล้วพบกันใหม่นะครับ สวัสดีครับ

ความคิดเห็น

  1. ยินดีมากครับ และก็ดีใจที่ทำแล้วได้เห็นว่ามีประโยชน์ต่อเพื่อนๆครับ

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณที่ช่วยแชร์สรุปดีๆค่า

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น