แนว [แพ่ง 2 มสธ] โจทย์และแนวการตอบกฏหมายแพ่ง 2 มาตรา 420 ความรับผิดฐานละเมิด | เล้ง นิติศาสตร์ มสธ
เจอแล้ว แนว แพ่ง 2 มสธ คำถามอัตนัย + หลักการตอบ(เสมือนจริง)
สวัสดีครับเพื่อนที่เรียนกฏหมายหรือสนใจวิชากฏหมายทุกๆคนเลย พบกับพี่เล้ง นิติศาสตร์ มสธ เช่นเคยนะครับ
ก่อนเข้าเรื่องเรียน ขอทักทายคุณและทุกๆคนก่อนนะว่า ยังอยู่ดีมีแรงกันนะครับ เรื่องร่างกาย คุณคงต้องรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเข้าไว้ เพราะเราจะรู้ตัวเราเองดีกว่าคนอื่น
ส่วนเรื่องเรียน พี่เล้งพอช่วยได้ครับ เพราะว่าเรียนอยู่ปีท้ายๆแล้วครับ หากคุณหรือทุกๆคนที่ติดตามพี่เล้งอยู่ อยากถามเรื่องอะไรก็ไม่ต้องรีรอหรอกนะครับ เพราะพี่เล้งใจดี และ willing ที่จะช่วยเหลืออยู่แล้วครับ
วันนี้ผมจะหยิบมาตราแพ่งมาหนึ่งมาตราเพื่อเอามาวินิจฉัยตัวบทแบบสไตล์ง่ายๆเพื่อให้เข้าใจ จดจำและนำไปใช้ทั้งในเรื่องการเรียนหรือการใช้กฏหมายในการประกอบวิชาชีพครับ
ก่อนอื่นเรามาดูตัวบทของมาตรา 420 แพ่งกันก่อนครับ
หมวด 1
ความรับผิดเพื่อละเมิด
มาตรา 420
หมวด 1
ความรับผิดเพื่อละเมิด
มาตรา 420
ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
สำหรับมาตราดังกล่าวท่านได้เขียนเป็นภาษาอังกฤษไว้ดังกล่าวไว้ด้านล่างนี้ครับ
CHAPTER I
LIABILITY FOR WRONGFUL ACTS
Section 420. A person who, willfully or negligently, unlawfully injures the life, body, health, liberty, property or any right of another person, is said to commit a wrongful act and is bound to make compensation therefore.
หลักการจำตัวบทนี้ก็คือ ทำการแยกแยะตัวบทออกมาให้ได้ 3 ส่วนเสียก่อน ซึ่งประกอบด้วย
1 ส่วนของผู้กระทำ
2 ส่วนของการกระทำ หรืออาการกริยาของผู้กระทำ
3 ส่วนของผู้ถูกกระทำ หรือสิ่งที่ถูกทำละเมิด
ส่วนที่ 1 ผู้กระทำ (A person)
ในมาตรา 420 แพ่ง คือ ผู้ใด กล่าวคือ บุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล ที่ได้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด
ส่วนที่ 2 การกระทำ หรืออาการกริยาของผู้กระทำ (Act)
กระทำการ 5 ประการโดยผิดกฎหมายให้เกิดความเสียหายแก่
⃟ ชีวิต
⃟ ร่างกาย
⃟ อนามัย
⃟ เสรีภาพ
⃟ ทรัพย์สิน หรือ
⃟ สิทธิ
อนึ่ง การกระทำดังกล่าวทั้ง 5 นั้นจะต้องเป็นการกระทำที่เกิดจากการ "จงใจ" หรือ "ประมาทเลินเล่อ" อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นสำคัญเท่านั้นตามเจตนารมณ์ของมาตรานี้
* ดูภาพประกอบ
ส่วนที่ 3 ผู้ถูกกระทำซึ่งก็คือบุคคลผู้ถูกทำละเมิด
บุคคลหนึ่งบุคคลใดที่มิใช่ตัวผู้กระทำการเอง
เพิ่มเติมในส่วนท้ายของบทก็คือการกล่าวถึงการลงโทษผู้ที่ทำละเมิดซึ่งก็จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น ซึ่งก็คือการต้องเสียเงินเสียทองชดใช้ให้กับผู้เสียหายจากการถูกละเมิดประการหนึ่งประการใดใน 5 ประการด้วยกันตามที่กฏหมายได้เขียนไว้ในมาตรานี้นั่งเองครับ (มาตราแพ่ง 420)
ลำดับต่อไป เราจะไปดูอุทาหรณ์ด้วยกันครับ
ฎีกาที่ 1172/2492
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าคณะตรวจการภาค 2 และจำเลยที่ 2 เป็นผู้รักษาการแทนสังฆนายก โจทก์ถูกจำเลยที่ 1 บังคับให้สึกจากพระภิกษุ และเมื่อสึกแล้วจำเลยที่ 2 ได้สั่งห้ามมิให้โจทก์อุปสมบท การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการละเมิดสิทธิโจทก์ ดังนี้ ไม่ใช่เป็นคดีเกี่ยวด้วยสิทธิตามสภาพบุคคล โจทก์ฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้
สำหรับจำเลยที่ 1 แม้จะบอกให้โจทก์สึก แต่โจทก์ก็ยอมสึกเอง จะว่าจำเลยที่ 1 ลงทัณฑกรรมแก่โจทก์ไม่ได้ ส่วนจำเลยที่ 2 ที่ห้ามไม่ให้อุปัชฌาย์อุปสมบทให้โจทก์นั้น ไม่มีกฎหมายบังคับว่า ถ้าโจทก์จะบวชคณะสงฆ์จะต้องยอมให้บวช หรืออุปัชฌาย์จะต้องบวชให้
สำหรับมาตราดังกล่าวท่านได้เขียนเป็นภาษาอังกฤษไว้ดังกล่าวไว้ด้านล่างนี้ครับ
CHAPTER I
LIABILITY FOR WRONGFUL ACTS
Section 420. A person who, willfully or negligently, unlawfully injures the life, body, health, liberty, property or any right of another person, is said to commit a wrongful act and is bound to make compensation therefore.
หลักการจำตัวบทนี้ก็คือ ทำการแยกแยะตัวบทออกมาให้ได้ 3 ส่วนเสียก่อน ซึ่งประกอบด้วย
1 ส่วนของผู้กระทำ
2 ส่วนของการกระทำ หรืออาการกริยาของผู้กระทำ
3 ส่วนของผู้ถูกกระทำ หรือสิ่งที่ถูกทำละเมิด
ส่วนที่ 1 ผู้กระทำ (A person)
ในมาตรา 420 แพ่ง คือ ผู้ใด กล่าวคือ บุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล ที่ได้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด
ส่วนที่ 2 การกระทำ หรืออาการกริยาของผู้กระทำ (Act)
กระทำการ 5 ประการโดยผิดกฎหมายให้เกิดความเสียหายแก่
⃟ ชีวิต
⃟ ร่างกาย
⃟ อนามัย
⃟ เสรีภาพ
⃟ ทรัพย์สิน หรือ
⃟ สิทธิ
อนึ่ง การกระทำดังกล่าวทั้ง 5 นั้นจะต้องเป็นการกระทำที่เกิดจากการ "จงใจ" หรือ "ประมาทเลินเล่อ" อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นสำคัญเท่านั้นตามเจตนารมณ์ของมาตรานี้
* ดูภาพประกอบ
ส่วนที่ 3 ผู้ถูกกระทำซึ่งก็คือบุคคลผู้ถูกทำละเมิด
บุคคลหนึ่งบุคคลใดที่มิใช่ตัวผู้กระทำการเอง
เพิ่มเติมในส่วนท้ายของบทก็คือการกล่าวถึงการลงโทษผู้ที่ทำละเมิดซึ่งก็จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น ซึ่งก็คือการต้องเสียเงินเสียทองชดใช้ให้กับผู้เสียหายจากการถูกละเมิดประการหนึ่งประการใดใน 5 ประการด้วยกันตามที่กฏหมายได้เขียนไว้ในมาตรานี้นั่งเองครับ (มาตราแพ่ง 420)
ลำดับต่อไป เราจะไปดูอุทาหรณ์ด้วยกันครับ
ฎีกาที่ 1172/2492
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าคณะตรวจการภาค 2 และจำเลยที่ 2 เป็นผู้รักษาการแทนสังฆนายก โจทก์ถูกจำเลยที่ 1 บังคับให้สึกจากพระภิกษุ และเมื่อสึกแล้วจำเลยที่ 2 ได้สั่งห้ามมิให้โจทก์อุปสมบท การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการละเมิดสิทธิโจทก์ ดังนี้ ไม่ใช่เป็นคดีเกี่ยวด้วยสิทธิตามสภาพบุคคล โจทก์ฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้
สำหรับจำเลยที่ 1 แม้จะบอกให้โจทก์สึก แต่โจทก์ก็ยอมสึกเอง จะว่าจำเลยที่ 1 ลงทัณฑกรรมแก่โจทก์ไม่ได้ ส่วนจำเลยที่ 2 ที่ห้ามไม่ให้อุปัชฌาย์อุปสมบทให้โจทก์นั้น ไม่มีกฎหมายบังคับว่า ถ้าโจทก์จะบวชคณะสงฆ์จะต้องยอมให้บวช หรืออุปัชฌาย์จะต้องบวชให้
ฉะนั้นจึงเป็นสิทธิของคณะสงฆ์และผู้เป็นอุปัชฌาย์ที่จะยอมรับให้บวชหรือจะบวชให้หรือไม่ การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นละเมิดตามมาตรา 420 และทั้งไม่เข้าตามมาตรา 421,422ด้วย
อนึ่งจะว่าคำสั่งจำเลยที่ 2 เป็นการเพิ่มทัณฑกรรมอันขัดต่อพ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2484 มาตรา 23 และประมวลระเบียบวิธีพิจารณาวินิจฉัยอธิกรณ์มาตรา 107 ก็ไม่ได้เพราะประการแรกคำแนะนำของจำเลยที่ 1 ไม่ใช่เป็นการลงทัณฑกรรมดังกล่าว
อนึ่งจะว่าคำสั่งจำเลยที่ 2 เป็นการเพิ่มทัณฑกรรมอันขัดต่อพ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2484 มาตรา 23 และประมวลระเบียบวิธีพิจารณาวินิจฉัยอธิกรณ์มาตรา 107 ก็ไม่ได้เพราะประการแรกคำแนะนำของจำเลยที่ 1 ไม่ใช่เป็นการลงทัณฑกรรมดังกล่าว
คำสั่งของจำเลยที่ 2 ก็เป็นการเพิ่มทัณฑกรรมไม่ได้ ประการที่ 2 มาตรา 23 และมาตรา 107 ดังกล่าวเป็นบทบัญญัติสำหรับสงฆ์ เมื่อโจทก์ได้สึกจากสมณะเพศแล้วคำสั่งของจำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่เป็นการลงทัณฑ์กรรมตามกฎหมายนั้น
ฎีกาที่ 1201/2502
จำเลยเป็นเทศบาลละเว้นหน้าที่อันจะต้องกระทำ กล่าวคือจัดให้ถมบ่อทำให้เป็นพื้นเดียวกับพื้นถนนเสียก่อนที่จะเปิดถนนให้รถผ่านไปมาได้
ฎีกาที่ 1201/2502
จำเลยเป็นเทศบาลละเว้นหน้าที่อันจะต้องกระทำ กล่าวคือจัดให้ถมบ่อทำให้เป็นพื้นเดียวกับพื้นถนนเสียก่อนที่จะเปิดถนนให้รถผ่านไปมาได้
ทั้งยังปรากฏว่าจำเลยมิได้จัดให้มีสิ่งกีดกั้นบ่อนี้เป็นเครื่องหมายให้สดุดตาแก่ผู้คนที่ผ่านไปมา และในเวลากลางคืนก็มิได้จัดให้มีโคมไฟจุดให้ความสว่างตามสมควร
จำเลยย่อมเห็นได้อยู่แล้วว่าเป็นสิ่งอันตรายแก่รถและผู้คนสัญจรไปมาอย่างมากที่จะปล่อยให้มีบ่ออยู่เช่นนั้น จนเป็นเหตุให้รถโจทก์ขับไปชนขอบบ่อนี้เข้าและเกิดการเสียหายขึ้น
ดังนี้ต้องถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับ ความเสียหายจำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์
ตัวอย่างโจทย์ที่ 1
ไข่ ขโมยรถของกู้ไป 2 วัน ต่อมาสำนึกผิดจึงนำรถดังกล่าวไปล้างอัดฉีดขัดสีให้อย่างดีแล้วนำรถไปคืนและขอโทษกู้ แต่กู้ก็ยังยืนยันให้ไข่ชดใช้ค่าเสียหายให้ตน ไข่ไม่เห็นว่ากู้เสียหายอะไร จึงไม่ชดใช้ค่าเสียหาย ท่านเห็นด้วยกับไข่หรือไม่ เพราะเหตุใด
แนวการตอบ
กรณีดังปัญหา ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ วางหลักไว้ว่า (มาตรา 420)
ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฏหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิด จำต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
จำเลยย่อมเห็นได้อยู่แล้วว่าเป็นสิ่งอันตรายแก่รถและผู้คนสัญจรไปมาอย่างมากที่จะปล่อยให้มีบ่ออยู่เช่นนั้น จนเป็นเหตุให้รถโจทก์ขับไปชนขอบบ่อนี้เข้าและเกิดการเสียหายขึ้น
ดังนี้ต้องถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับ ความเสียหายจำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์
ตัวอย่างโจทย์ที่ 1
ไข่ ขโมยรถของกู้ไป 2 วัน ต่อมาสำนึกผิดจึงนำรถดังกล่าวไปล้างอัดฉีดขัดสีให้อย่างดีแล้วนำรถไปคืนและขอโทษกู้ แต่กู้ก็ยังยืนยันให้ไข่ชดใช้ค่าเสียหายให้ตน ไข่ไม่เห็นว่ากู้เสียหายอะไร จึงไม่ชดใช้ค่าเสียหาย ท่านเห็นด้วยกับไข่หรือไม่ เพราะเหตุใด
แนวการตอบ
กรณีดังปัญหา ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ วางหลักไว้ว่า (มาตรา 420)
ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฏหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิด จำต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
ตามข้อเท็จจริงตามปัญหา การที่ไข่ขโมยรถของกู้ไป 2 วันนั้นถือได้ว่าไข่ได้ทำละเมิดอันมิชอบด้วยกฏหมายต่อกู้แล้ว เพราะไข่ได้กระทำโดยจงใจ ไข่ต้องรับผิดฐานละเมิดต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่กู้
แม้ต่อมา ไข่จะนำรถไปล้างอัดฉีดขัดสีอย่างดีและนำรถไปคืนให้กู้และได้กล่าวขอโทษกู้ด้วยนั้นก็ตาม กู้ก็คงได้รับความเสียหายอยู่ เพราะการที่ไข่ขโมยรถของกู้ไปเป็นเวลา 2 วันนั้น ทำให้กู้ไม่สามารถใช้รถของตนได้ตามปกติ
ดังนี้ ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับไข่ เพราะไข่ได้ทำละเมิดต่อกู้ ดังนั้นจำต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่กู้ตามที่วินิจฉัยไว้ดังข้างต้น
ตัวอย่างโจทย์ที่ 2
เอกมีหมายจับโทอยู่กับคดีเช็ค เอกเห็นใจโทกำลังจัดเตรียมงานแต่งงาน เอกจึงยังไม่นำหมายจับไปจับตัวโท เมื่อถึงวันแต่งงาน ขณะที่โทขึ้นไปกล่าวขอบคุณแขกในฐานะเจ้าบ่าว เอกจึงนำเจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมหมายจับไปจับตัวโทบนเวทีแต่งงานนั้น
แม้ต่อมา ไข่จะนำรถไปล้างอัดฉีดขัดสีอย่างดีและนำรถไปคืนให้กู้และได้กล่าวขอโทษกู้ด้วยนั้นก็ตาม กู้ก็คงได้รับความเสียหายอยู่ เพราะการที่ไข่ขโมยรถของกู้ไปเป็นเวลา 2 วันนั้น ทำให้กู้ไม่สามารถใช้รถของตนได้ตามปกติ
ดังนี้ ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับไข่ เพราะไข่ได้ทำละเมิดต่อกู้ ดังนั้นจำต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่กู้ตามที่วินิจฉัยไว้ดังข้างต้น
ตัวอย่างโจทย์ที่ 2
เอกมีหมายจับโทอยู่กับคดีเช็ค เอกเห็นใจโทกำลังจัดเตรียมงานแต่งงาน เอกจึงยังไม่นำหมายจับไปจับตัวโท เมื่อถึงวันแต่งงาน ขณะที่โทขึ้นไปกล่าวขอบคุณแขกในฐานะเจ้าบ่าว เอกจึงนำเจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมหมายจับไปจับตัวโทบนเวทีแต่งงานนั้น
ต่อมาโทจึงฟ้องละเมิดให้เอกชดใช้ค่าเสียหาย เอกต่อสู้ว่าไม่เป็นละเมิด เพราะตนมีสิทธิจะจับได้ตามหมายจับนั้น ท่านเห็นว่าข้ออ้างของเอกถูกต้องหรือไม่
แนวการตอบ
กรณีดังปัญหา ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ วางหลักไว้ว่า (มาตรา 420)
ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฏหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิด จำต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
แนวการตอบ
กรณีดังปัญหา ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ วางหลักไว้ว่า (มาตรา 420)
ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฏหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิด จำต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
และ (มาตรา 421) วางหลักไว้ว่า
การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น ท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฏหมาย
การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น ท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฏหมาย
ข้อเท็จจริงตามปัญหา การที่เอกมีหมายจับโท ซึ่งเอกสามารถที่จะทำการจับโทได้เลย แต่ก็ยังไม่จับ รอจนถึงวันแต่งงานแล้วจึงจับในขณะที่โทกล่าวขอบคุณแขกอยู่นั้น แม้ว่าเอกจะเป็นผู้มีสิทธิจับได้โดยชอบด้วยกฏหมายตามหมายจับก็จริง
การที่เอกสามารถที่จะจับได้ตั้งแต่โทเตรียมงานแต่งงานแต่กลับไม่จับและไปจับในขณะที่โทกล่าวขอบคุณแขกนั้น ถือว่าเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่โท ดังนั้น การใช้สิทธิเช่นนี้ ถือว่าเป็นการกระทำอันมิชอบด้วยกฏหมาย
ดังนั้น การกระทำดังกล่าวของเอกจึงเป็นการกระทำโดยมิชอบด้วยกฏหมาย โดยจงใจทำให้โทต้องเสียหายมากขึ้น ได้รับความอับอายในงานแต่งงานของตน จึงเป็นการทำละเมิดต่อโทแล้ว ดังนี้ เอกต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในการที่ตนทำละเมิดนั้น
สรุป ตามข้ออ้างของเอก ข้าพเจ้าเห็นว่าถูกต้องหาได้ไม่ เพราะเป็นการใช้สิทธิที่จะให้เกิดความเสียหายจึงเป็นละเมิด
Thanks for reading.
ดูเรื่องอื่นเพิ่ม
ดังนั้น การกระทำดังกล่าวของเอกจึงเป็นการกระทำโดยมิชอบด้วยกฏหมาย โดยจงใจทำให้โทต้องเสียหายมากขึ้น ได้รับความอับอายในงานแต่งงานของตน จึงเป็นการทำละเมิดต่อโทแล้ว ดังนี้ เอกต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในการที่ตนทำละเมิดนั้น
สรุป ตามข้ออ้างของเอก ข้าพเจ้าเห็นว่าถูกต้องหาได้ไม่ เพราะเป็นการใช้สิทธิที่จะให้เกิดความเสียหายจึงเป็นละเมิด
Thanks for reading.
ขอให้เพื่อนโชคดีได้ H กันทุกๆคนนะครับ
ช่วยกด Like กด Share จะได้ช่วยกันเผยแพร่ให้พวกๆเรากันเองครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น