เคล็ดลับเด็ด! เขียน "หนังสือบอกกล่าวทวงถาม" อย่างไร ให้สอบใบอนุญาตทนายความฉลุย

 อยากทำข้อสอบเป็นทนายความได้ หนังสือบอกกล่าวทวงถามต้องเป๊ะ!

 คู่มือนี้รวบรวมเทคนิคการเขียนหนังสือทวงถามแบบมืออาชีพ ครบถ้วน ชัดเจน เข้าใจง่าย เตรียมสอบให้มั่นใจ สอบฉลุยแน่นอน 

ฝันอยากเป็นทนายความแต่ติดขัดเรื่องการสอบใบอนุญาต?  กังวลเรื่องการเขียนหนังสือบอกกล่าวทวงถาม?  บทความนี้มีคำตอบ!

มาไขข้อสงสัย เผยเทคนิคง่ายๆ  เขียนหนังสือบอกกล่าวทวงถามอย่างไร  ให้สอบใบอนุญาตทนายความแบบทันเวลา พร้อมตัวอย่างประโยค  เคล็ดลับเด็ด  และคำศัพท์ที่จำเป็น อย่าพลาดอ่านตอนท้ายมีความรู้ดีและลิงค์เด็ดๆให้เอาไปค้นคว้าหา...

อ่านต่อเลย  แล้วคุณจะพร้อมพิชิตฝันสู่เส้นทางทนายความ!

หนังสือบอกกล่าวทวงถามเป็นหนึ่งในกลุ่มของวิชาที่มีการออกเป็นข้อสอบเพื่อให้ได้ใบอนุญาตให้เป็นทนายความ มีสถิติการออกสอบเกีอบทุกรุ่น และมีการออกสอบติดต่อกัน 5 ครั้งจากสถิติการสอบภาคทฤษฎี 5 ครั้ง ซึ่งก็แปลว่า  สอบ 5 ครั้ง = ออก 5 ครั้ง จากสถิติดังกล่าวนั้น ซึ่งจะออกบ่อยกว่าคำแถลงขอปิดหมายคำแถลงขอปิดหมายอีกด้วย จึงทำให้เราได้เห็นความจำเป็นและความสำคัญของรื่องนี้กันแล้วใช่ไหม่ครับ ดังนั้นผู้ที่จะเข้าสอบใบอนุญาตว่าความจึงจะต้องเรียนและฝึกเขียน "✨หนังสือบอกกล่าวทวงถามเพื่อเตรียมตัวเข้าสอบกันยังไงล่ะครับ

สถิติการออกข้อสอบใบอนุญาตว่าความภาคทฤษฎี 5 รุ่นสุดท้าย

ภายในบทความนี้ พบกับ:

  • โครงสร้างหนังสือทวงถามที่ถูกต้อง
  • เทคนิคการเขียนเนื้อหาให้น่าเชื่อถือ
  • กลยุทธ์การใช้ภาษาที่ชัดเจน ตรงประเด็น
  • ตัวอย่างหนังสือทวงถามหลากหลายรูปแบบ
  • เคล็ดลับพิเศษ เพิ่มคะแนนสอบให้พุ่ง

พร้อมเอาชนะข้อสอบใบอนุญาตทนายความไปด้วยกัน? คลิกอ่านต่อเลย! 

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จัก หนังสือบอกกล่าวทวงถาม: โดยจะอธิบายแบบ 5W1H เพื่อที่เพื่อนๆจะได้เข้าใจเนื้อหาได้ง่าย

1. อะไรคือหนังสือบอกกล่าวทวงถาม?

หนังสือบอกกล่าวทวงถาม คือ เอกสารทางกฎหมายที่ใช้แจ้งให้บุคคลที่ผิดนัดชำระหนี้ทราบถึงหนี้สินที่ค้างชำระ และกำหนดเวลาให้ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนด

*ข้อสังเกต กฎหมายมิได้กำหนดไว้ว่าจะต้องทำ หนังสือบอกกล่าวทวงถาม เพื่อบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อนที่จะทำการฟ้องเป็นคดีแพ่ง แต่มีใช้ในทางปฏิบัติ เพราะลูกหนี้บางรายจะชำระหนี้เมื่อได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถาม ซึ่งก็จะทำให้ประเด็นการเป็นลูกหนี้-เจ้าหนี้จบลงโดยไม่ต้องนำไปฟ้องร้องเป็นคดีต่อศาล

2. ทำไมต้องใช้หนังสือบอกกล่าวทวงถาม?
  • เพื่อเป็นหลักฐานแสดงเจตนาในการทวงถามหนี้สิน
  • เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการฟ้องร้องคดีในภายหลัง
  • เพื่อสร้างแรงกดดันให้ลูกหนี้รีบชำระหนี้
  • เพื่อป้องกันสิทธิของเจ้าหนี้
3. ใครบ้างที่สามารถใช้หนังสือบอกกล่าวทวงถาม?
  • เจ้าหนี้ที่เป็นบุคคลธรรมดาหรือบุคคลนิติบุคคล
  • ทนายความที่ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้
4. เนื้อหาของหนังสือบอกกล่าวทวงถามมีอะไรบ้าง?
  1. ชื่อและที่อยู่ของเจ้าหนี้
  2. ชื่อและที่อยู่ของลูกหนี้
  3. รายละเอียดของหนี้สินที่ค้างชำระ (เช่น จำนวนเงิน สถานที่และเวลาที่กู้ยืม อัตราดอกเบี้ย)
  4. หลักฐานที่แสดงถึงการกู้ยืมเงิน (เช่น สัญญา ใบเสร็จรับเงิน)
  5. กำหนดเวลาให้ชำระหนี้
  6. ผลที่จะตามมาหากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนด
5. เขียนหนังสือบอกกล่าวทวงถามอย่างไร?
  • ไม่มีรูปแบบตายตัว แต่ควรเขียนให้ชัดเจน ครบถ้วน ถูกต้อง ตรงประเด็น
  • ภาษาที่ใช้ควรสุภาพ เรียบง่าย เข้าใจง่าย
  • ควรแนบหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหนี้สิน
กรณีการเขียนหนังสือบอกกล่าวทวงถามสำหรับการสอบมีรูปแบบดังต่อไป

หนังสือบอกกล่าวทวงถามประกอบด้วยข้อความหลัก 8+2 ประการ คือ
1 ทำที่
2 วันที่
3 เรื่อง
4 เรียน
5 อ้างถึง (ถ้ามีกรณีที่คำถามข้อสอบให้มาด้วย)
6 สิ่งที่แนบมาด้วย (ถ้ามีกรณีคำถามข้อสอบให้มาด้วย)
นิติสัมพันธ์
8 เหตุโต้แย้ง
9 สิ่งที่ขอ
10 ส่วนลงท้าย



❤️แบบฟอร์มที่ต้องจำ❤️

หนังสือบอกกล่าวทวงถาม
ทำที่...[สถานที่เขียนหนังสือนี้].
................................................................
................................................................
วันที่...[วันที่เขียนหนังสือนี้]...
เรื่อง......[ เช่น ขอให้ชำระหนี้ / ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย / ขอให้ส่งมอบ / ขอให้จดทะเบียนโอน / ขอให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ขนย้ายทรัพย์สินและบริวาร / ......เป็นต้น]
เรียน.....[ชื่อลูกหนี้  เช่น กรณี ห้างหุ้นส่วนจำกัด: หุ้นส่วนผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด.../ กรณีบริษัทจำกัด : กรรมการผู้จัดการ บริษัท..../ กรณีบุคคลธรรมดา : นาย..../ นาง..../ นางสาว...]
  ตามที่...ท่าน / ห้างหุ้นส่วนจำกัด / บริษัท ได้ตกลง [เขียนเนื้อหาข้อเท็จจริงของนิติสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้] ..................................................................................
  ปรากฏว่า...[เขียนเนื้อหาข้อเท็จจริงของข้อโต้แย้ง/ข้อพิพาท] ...............................................................  
.........................................................................................................................................................................................................................................................................................
   ข้าพเจ้าในฐานะทนายความผู้รับมอบอำนาจจาก....[ชื่อเจ้าหนี้].... จึงขอแจ้งให้ท่านดำเนินการ....[ข้อเรียกร้องของเจ้าหนี้ตามคำถามของข้อสอบ]....ภายในระยะเวลา........วันนับแต่วันที่ท่านได้รับหนังสือฉบับนี้ หากท่านเพิกเฉย ข้าพเจ้ามีความจำเป็นต้องดำเนินคดีกับท่านตามกฎหมายโดยเด็ดขาดต่อไป
ขอแสดงความนับถือ
                                   ลงชื่อ.........................................................
(.......................................................................)
ทนายความผู้รับมอบอำนาจ


ตัวอย่าง หนังสือบอกกล่าวทวงถาม
                                                          ทำที่ สำนักงาน แก้วเพชรทนายความ
                                                          เลขที่ 123 หมู่ที่ 8 ตำบลบางแก้ว
                                                          อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540
วันที่ 1 พฤษภาคม 2567
เรื่อง ขอให้ชำระหนี้เงินกู้
เรียน นางสาว ลอดช่อง แตงไท
อ้างถึง สัญญากู้ยืมเงินฉบับลงวันที่ 16 ธันวาคม 2566
  ตามที่ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2565 นาวสาว น้ำกัด กล่อมลูก ได้กู้ยืมเงินไปจากนาย น้ำใส ใจซื่อ เป็นเงินจำนวน 20,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันทำสัญญา โดยกำหนดคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยเป็นงวด ๆละ 1,805 บาท จำนวน 12 งวด เริ่มชำระงวดแรกวันที่ 31 มกราคม 2566 และครบกำหนดชำระงวดสุดท้าย 31 มกราคม 2566 ตามสัญญากู้ยิมเงินซึ่งท่านทราบดีแล้วนั้น
  ปรากฎว่า ท่านได้ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาตั้งแต่งวดแรกวันที่ 31 มกราคม 2566 เป็นต้นมา เมื่อนายน้ำใส ใจซื่อ พยายามติดต่อท่านไปทางโทรศัพท์ ทางโลน์ และทางข้อความเฟสบุ๊ค ท่านก็ผัดผ่อนเรื่อยมาจนสุดท้ายท่านก็ปิดช่องทางติดต่อสื่อสารจนไม่สามารถติดต่อท่านได้อีกเลย
  ข้าพเจ้าในฐานะทนายความผู้รับมอบอำนาจจาก นายน้ำใส ใจซื่อ จึงขอแจ้งให้ท่าน ชำระหนี้เงินกู้จำนวนต้นเงิน 20,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อย 15 ต่อปี รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 21,662 บาท ภายในระยะเวลา 15 วันนับแต่วันที่ท่านได้รับหนังสือฉบับนี้ หากท่านเพิกเฉย ข้าพเจ้ามีความจำเป็นต้องดำเนินคดีกับท่านตามกฎหมายโดยเด็ดขาดต่อไป
ขอแสดงความนับถือ
                                     ลงชื่อ  แก้วเพชร เจ็ดสี
( นายแก้วเพชร เจ็ดสี )
ทนายความผู้รับมอบอำนาจ
                                           ............................................
อ่านเพิ่มเติมเรื่องหนี้

ตามกฎหมายหนี้มีกี่ประเภท

ตามกฎหมายไทย แบ่งประเภทของหนี้ตาม วัตถุแห่งหนี้ ซึ่งหมายถึง สิ่งที่ลูกหนี้ต้องกระทำต่อเจ้าหนี้ ไว้ดังนี้

1. หนี้ที่ต้องชำระด้วยการกระทำ

  • เป็นหนี้ที่ลูกหนี้ต้อง ทำ สิ่งใดสิ่งหนึ่งให้แก่เจ้าหนี้ เช่น
    • การส่งมอบสินค้า
    • การให้บริการ
    • การชำระค่าเสียหาย
    • การทำงานตามสัญญาจ้าง

2. หนี้ที่ต้องชำระด้วยการงดเว้นกระทำ

  • เป็นหนี้ที่ลูกหนี้ต้อง งดเว้น การกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น
    • ห้ามมิให้ก่อความรำคาญ
    • ห้ามมิให้ใช้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
    • ห้ามมิให้เปิดเผยความลับ

3. หนี้ที่ต้องชำระด้วยการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน

  • เป็นหนี้ที่ลูกหนี้ต้อง โอนกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้ เช่น
    • การซื้อขายสินค้า
    • การจำนองที่ดิน
    • การให้มรดก

นอกจากนี้ ยังมีการจำแนกประเภทของหนี้ตาม บ่อเกิดแห่งหนี้ ไว้ดังนี้

1. หนี้ที่เกิดจากนิติกรรมสัญญา

  • เกิดจากการที่บุคคลสองฝ่ายหรือหลายฝ่ายทำสัญญาต่อกัน เช่น
    • สัญญาซื้อขาย
    • สัญญาเช่าซื้อ
    • สัญญาจ้างแรงงาน

2. หนี้ที่เกิดจากนิติเหตุ

  • เกิดจากกฎหมายโดยไม่ต้องอาศัยสัญญา เช่น
    • หนี้จากละเมิด
    • หนี้จากการจัดการงานนอกสั่ง
    • หนี้จากการได้มาซึ่งลาภมิควรได้

3. หนี้ที่เกิดจากบทบัญญัติกฎหมาย

  • เกิดจากบทบัญญัติกฎหมายโดยตรง เช่น
    • ภาษี
    • ค่าธรรมเนียม
    • เบี้ยปรับ

ตัวอย่าง

  • หนี้ที่ต้องชำระด้วยการกระทำ: ก. ซื้อโทรศัพท์มือถือจากร้านบี ก. มีหน้าที่ต้องชำระเงินให้กับร้านบี (หนี้ที่ต้องชำระด้วยการกระทำ)
  • หนี้ที่ต้องชำระด้วยการงดเว้นกระทำ: ข. เช่าบ้านจากค. ข. มีหน้าที่ต้องไม่ส่งเสียงดังรบกวนเพื่อนบ้าน (หนี้ที่ต้องชำระด้วยการงดเว้นกระทำ)
  • หนี้ที่ต้องชำระด้วยการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน: ง. ซื้อรถยนต์จาก จ. จ. มีหน้าที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ให้กับง. (หนี้ที่ต้องชำระด้วยการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน)
  • หนี้ที่เกิดจากนิติกรรมสัญญา: ฉ. ทำสัญญาจ้างเหมาแรงงานกับ ช. ฉ. มีหน้าที่ต้องทำงานให้กับ ช. ตามสัญญา (หนี้ที่เกิดจากนิติกรรมสัญญา)
  • หนี้ที่เกิดจากนิติเหตุ: ฌ. ขับรถชนรถของ ญ. ฌ. มีหน้าที่ชดใช้ค่าเสียหายให้กับ ญ. (หนี้ที่เกิดจากนิติเหตุ)
  • หนี้ที่เกิดจากบทบัญญัติกฎหมาย: ฎ. มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (หนี้ที่เกิดจากบทบัญญัติกฎหมาย)

หมายเหตุ: การจำแนกประเภทของหนี้สามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับมุมมองและวัตถุประสงค์

แหล่งข้อมูล

ความคิดเห็น