⚖️หน่วยเน้นภาค 1/2563 มสธ หน่วยเน้นหมายถึงอะไร เรามาทำความเข้าใจกันครับ | เล้งถนัดสอน
หลายคน ถามว่าหน่วยเน้น คืออะไรกันบ่อยมาก และก็จะมีคำถามแบบนี้ตลอดไปเท่าที่ มสธ จะยังคงกำหนดให้มีหน่วยเน้นไว้
สวัสดีครับเพื่อนๆทุกคน วันนี้ผมเล้ง เล้ง นิติศาสตร์ มสธ จะนำเรื่องหน่วยเน้นมาอธิบายให้เพื่อนๆเข้าใจกันครับ โดยเฉพาะผู้ที่เพิ่งเริ่มจะเข้ามาศึกษาที่ มสธ ส่วนใหญ่ก็จะยังไม่รู้ความหมายของหน่วยเน้น
Tab ติดตามวิชากฏหมาย: Attorney's journey: หนทางนักกฏหมาย
Tab ดู: แหล่งวิทยาการ นิติศาสตร์ มสธ
ตารางด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างหน่วยเน้น สาขาวิชา นิติศาสตร์ มสธ ภาค 1/2563
จากการได้ฟังการบรรยายสอนเสริม ได้พบกับอาจารย์ที่สอน ท่านก็ได้อธิบายให้ฟัง ซึ่งผมจะจำแนกเป็นข้อๆเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ดังนี้
วัตถุประสงค์
👀 เพื่อให้นักศึกษาได้ให้ความสนใจหน่วยเน้นเป็นพิเศษซึ่งเป็นหน่วยที่อาจจะนำมาออกเป็นข้อสอบอัตนัย(เขียนตอบ)ในภาคการศึกษานั้นๆ
👀 เพื่อให้นักศึกษาได้เตรียมการท่องจำบทบัญญัติ(Section)ของกฏหมายหรือประโยคหรือคำที่เป็นแก่นสาร สาระสำคัญ(Keywords)ในหน่วยการศึกษานั้นๆ
แนวคิด เนื่องเพราะหลักสูตรของ มสธ เป็นการนำสาขาวิชาต่างๆหลายวิชามาจัดรวมเป็นหน่วยการศึกษา ดังจะเห็นได้จากหนังสือเรียนของ มสธ ในแต่ละหน่วยจะประกอบไปด้วยหน่วยการเรียนทั้งหมด 15 หน่วยด้วยกัน
อาจกล่าวได้ว่าในแต่ละหน่วยวิชานั้นเปรียบเสมือนกัน 1 สาขาวิชาก็ได้ ดังนั้นเท่ากับว่าในหนึ่งหน่วยการเรียนการสอนจะมีวิชาความรู้บรรจุอยู่ทั้งสิ้นจำนวน 15 วิชาทีเดียว เรียกว่ารับความรู้กันไปแบบจัดให้จัดเต็มกันเลย
ที่กล่าวมาข้างต้นอาจจะสรุปในท่อนความช่วงนี้ได้ว่า นักศึกษา มสธ ได้ความรู้ครบ ครอบคลุมเช่นเดียวกันกับสถาบันการศึกษาอื่นๆ
ต่อมาจะพาไปดูการสอบของ มสธ
การสอบนั้นจะจำแนกข้อสอบเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1] ข้อสอบปรนัยล้วน
2] ข้อสอบแบบผสม
👉 ลักษณะข้อสอบแบบ ปรนัยล้วน
ข้อสอบปรนัย โดยทั่วไปแล้ว ถ้าหน่วยวิชาใดมีข้อสอบออกเป็นปรนัยล้วนแบบเพียวๆ(Pure) ซึ่งจะมีลักษณะดังนี้
รูปแบบโจทย์คำถาม (Question form) โดยทั่วไปจะมีจำนวน 120 ข้อ
รูปแบบการตอบ (Answer form) จะประกอบด้วยตัวเลือกทั้งสิ้นจำนวน 5 คำตอบ (5 Choices) ได้แก่
ก
ข
ค
ง
จ
เลือกเพียง 1 ข้อ และทำการฝนด้วยดินสอที่แกนมีความเข้มที่ 2B (Blackness)
👉 ลักษณะข้อสอบแบบผสม
ข้อสอบลักษณะนี้จะประกอบด้วยข้อสอบ 2 ประเภทด้วยคือ
ข้อสอบปรนัย และ
ข้อสอบอัตนัย
💓 ข้อสอบปรนัย
ข้อสอบปรนัยที่อยู่ในลักษณะข้อสอบแบบผสมนี้ ปกติแล้วจะมีข้อสอบจำนวน 60 ข้อด้วยกัน โดยมีตัวเลือก 5 ตัวเลือกเช่นเดียวกันกับข้อสอบปรนัยล้วนดังที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ หากมีสิ่งที่แผกแตกต่างออกไปก็คือ จำนวนข้อสอบที่ไม่เท่ากันนั่นเอง ซึ่งก็คือจะน้อยกว่าข้อสอบปรนัยล้วน 60 ข้อ
💕 ข้อสอบอัตนัย (เขียน(Writing))
ข้อสอบอัตนัยหรือข้อสอบโดยการเขียนตอบด้วยมือ (ยกเว้นการเข้าสอบผ่านระบบออนไลน์-Walk-in Exam)
โจทย์อัตนัยจะมี 3 ข้อด้วยกัน อาจมีบางหน่วยวิชาที่จะมีข้อสอบอัตนัยเพียง 2 ข้อแต่จะเพิ่มโจทย์ปรนัยเป็น 80 ข้อแทน เช่น กฏหมายมหาชน เป็นต้น
หลักการตอบวิชากฏหมายโจทย์อัตนัย สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากลิ้งค์นี้ แนะแนวการเตรียมตัวก่อนสอบ การตอบโจทย์อัตนัยวิชากฏหมาย
สรุปได้ว่า หน่วยเน้นคือหน่วยวิชาในตำราเรียนของ มสธ ที่นักศึกษาต้อง Focus เป็นพิเศษ ด้วยเหตุผลที่ว่า จะเป็นหน่วยวิชาที่มีโอกาสถูกหยิบยกมาออกเป็นข้อสอบอัตนัยในภาคการศึกษานั้นๆ
ควรทำอย่างไรหลังจากที่ทราบหน่วยเน้นแล้ว
1) อ่านทบทวนหน่วยเน้นนั้นๆเพิ่มเติม
2) ท่องบทมาตราสำคัญของหน่วยเน้นนั้นๆให้ได้
3) ฝึกเขียนคำตอบอัตนัยจากแนวข้อสอบเก่าของหน่วยเน้นที่ มสธ ประกาศ
สุดท้ายนี้ในฐานะที่เป็นนักศึกษาของ มสธ รู้สึกดีใจที่ได้มีโอกาสเรียนที่นี่ และได้มีส่วนช่วยให้เพื่อนๆทุกๆคนที่สนใจที่จะเรียน หรือเรียนแล้วแต่ยังมีข้อสงสัยบางสิ่งบางอย่างอยู่ในใจ ก็สามารถสอบถามกันมาได้ตลอดเวลาครับ
ความสำเร็จอยู่ที่การลงมือทำครับ หากทุกคนหรือคุณเป็นคนช่างคิด ช่างพูด แต่ไม่ใช่คนช่างทำ ก็ไม่สามารถปั้นความฝันตัวเองให้สำเร็จได้หรอกนะครับ
ขอให้โชคดีได้ H ในการสอบนะครับ ซึ่งถามว่ายากไหม ไม่ยากครับถ้าเราเดินถูกทาง เพียงแค่
💚ดูหน่วยเน้น
💚ท่องมาตราเน้น
💚หัดเขียนตอบอัตนัย
💚ทำแบบประเมินตนเอง ก่อนเรียน และ หลังเรียน ครบทุกบท และทำทบทวนบ่อยๆ
พบกันใหม่ สวัสดีครับ
ช่วยกด Like กด Share จะได้ช่วยกันเผยแพร่ให้พวกๆเรากันเองครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น