แนวข้อสอบ พา 1 พร้อมเฉลย การซื้อขายสัตว์พาหนะ ทำสัญญาโดยวาจาได้หรือไม่ | พี่ เล้งถนัดสอน

หากคุณกำลังหาเฉลยข้อสอบวิชากฏหมาย พา 1 ของ มสธ พี่เล้งมีโจทย์อัตนัย "การซื้อขายสัตว์พาหนะ" มา share ให้แล้วครับ

วิชา กฎหมายพาณิชย์ 1: ซื้อขาย เช่าทรัพย์ เช่าซี้อ (พา 1 ของ มสธ) รหัส 41321

สวัสดีครับเพื่อนๆ ผม พี่ "เล้งถนัดสอน" ครับ

วันนี้ผมมีเฉลย พา1 เรี่อง การซื้อลูกโคนมมาให้วินิจฉัยกัน 1 ข้อครับ

โจทย์ตัวอย่าง

ต้อม ได้ซื้อลูกโคนมพันธุ์ดี 10 ตัวให้กับโบว์ โดยได้ส่งมอบและชำระราคาเรียบร้อยแล้ว สัปดาห์หนึ่งต่อมา ต้อมรู้สึกเสียดายที่ขายลูกโคนมไปในราคาถูก จึงขอคืนเงินให้กับโบว์ โดยอ้างว่าการขายลูกโคนมพันธ์ดีโดยวาจา ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะ คู่กรณีต้องกลับสู่ฐานะเดิม

เช่นนี้ให้ท่านวินิฉัยว่า ข้ออ้างของต้อมรับฟังได้หรือไม่

😏สิ่งควรทำก่อนทำคำตอบ (Things to do before writing an answer) 

1) ใครทำสัญญากับใคร
2) สัญญาที่ทำเป็นสัญญาอะไร
3) เข้าหลักกฏหมายมาตราใด
4) โจทย์ถามอะไรบ้าง
5) ตกผลึกคำตอบก่อนเขียนคำตอบ

😏สิ่งไม่ควรทำก่อนทำคำตอบ (Things NOT to do before writing an answer) 

1) ทำข้อสอบทันทีโดยไม่รู้ว่าใครเกี่ยวข้องกับใคร อย่างไร
2) ยังไม่รู้ว่าเป็นสัญญาประเภทไหน
3) ยังไม่ทราบว่าเข้าหลักกฏหมายมาตราไหน
4) ไม่ดูคำถามตอนท้ายโจทย์ให้ละเอียด
5) เขียนไปคิดไปโดยไม่ได้ตกผลึกคำตอบเสียก่อน

แนวการตอบ

กรณีตามปัญหา ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ วางหลักว่า 

(มาตรา 456)

ในการซื้อขายอสังหาริมทรพัย์ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย

สัญญาจะขายหรือจะซื้อ หรือคำมั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญหรือได้วางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ให้ใช้บังคับถึงสัญญาซื้อขายสังหาริมทรพัย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคาสองหมื่นบาท หรือกว่านั้นขึ้นไปด้วย

ข้อเท็จจริงตามปัญหา กรณีที่นายต้อมได้ตกลงด้วยวาจาขายลูกโคนมพันธ์ดี 10 ตัวให้กับโบว์โดยได้ส่งมอบและชำระราคากันเรียบร้อยแล้ว จะเห็นได้ว่าลูกโคนมซึ่งมิใช่สัตว์พาหนะจึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องทำตั๋วรูปพรรณตามกฏหมาย และไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคแรก การซื้อขายโคนมจึงไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่ประการใด

ดังนั้น ข้ออ้างของนายต้อมจึงรับฟังไม่ได้ ด้วยหลักเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น

💝💝💝

ข้าพเจ้ามี พรบ สัตว์พาหนะพุทธศักราช 2482 มาฝากแต่เพียงบางส่วนซึ่งเห็นว่ามีประโยชน์ในการทำข้อสอบทั้ง ปรนัยและอัตนัย

พระราชบัญญัติสัตว์พาหนะพุทธศักราช 2482

1. หลักการและเหตุผล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้กำหนดให้สัตว์พาหนะเป็นสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ ซึ่งในการทำนิติกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับสัตว์พาหนะนั้นต้องมีการจดทะเบียน อีกทั้งบางกรณีกฎหมายที่ใช้บังคับกับสัตว์พาหนะก็มีลักษณะแตกต่างจากสังหาริมทรัพย์ทั่วไป นอกจากนี้ยังมีการกำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับสัตว์พาหนะรวมทั้งสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองกรรมสิทธิ์และการป้องกันการลักสัตว์พาหนะให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

 2. สาระสำคัญ

คำว่า “สัตว์พาหนะ” ตามพระราชบัญญัติสัตว์พาหนะ หมายถึง ช้าง ม้า โค กระบือ ล่อ ลา ซึ่งได้ทำหรือต้องทำตั๋วรูปพรรณตามพ.ร.บ. นี้ และ “ตำหนิรูปพรรณ” หมายถึง ลักษณะสัณฐานโดยเฉพาะของสัตว์พาหนะแต่ละตัวซึ่งอาจแตกต่างกันไป ทั้งนี้อาจเป็นตำหนิที่มีอยู่แล้วหรือซึ่งทำขึ้นใหม่เพื่อใช้เป็นเครื่องหมาย เนื่องจากสัตว์พาหนะต่างๆ เหล่านี้มีลักษณะและรูปพรรณเหมือนกัน การที่จะจำแนกเป็นการเฉพาะตัวจึงต้องมีการทำเครื่องหมายไว้และสัตว์พาหนะตามพ.ร.บ. นี้ ไม่รวมถึงกรณีที่เป็นสัตว์พาหนะของราชการทหารเว้นแต่ได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในสัตว์นั้นให้แก่เอกชน

ตามพ.ร.บ. ฉบับนี้ได้กำหนดประเภทของสัตว์พาหนะที่ต้องจดทะเบียนทำ
ตั๋วรูปพรรณ ได้แก่

1) ช้างที่มีอายุย่างเข้าปีที่แปด

2) สัตว์พาหนะอื่นนอกจากโคตัวเมียที่มีอายุย่างเข้าปีที่หก

3) สัตว์ที่ได้ใช้ขับขี่หรือใช้งานลากเข็ญแล้ว

4) สัตว์ที่มีอายุย่างเข้าปีที่สี่ กรณีที่จะนำสัตว์นั้นออกนอกราชอาณาจักร

5) โคตัวเมียที่มีอายุย่างเข้าปีที่หก เมื่อจะทำการโอนกรรมสิทธิ์เว้นแต่กรณีที่เป็นการรับมรดก

ซึ่งเจ้าของหรือตัวแทนพร้อมด้วยผู้ใหญ่บ้านหรือพยานในกรณีที่ไม่มีผู้ใหญ่บ้านต้องนำสัตว์พาหนะนั้นไปขอจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณจากนายทะเบียนท้องที่ (ซึ่งโดยหลักแล้วคือนายอำเภอประจำท้องที่นั้น) ทั้งนี้โดยมีการกำหนดระยะเวลาในการขอจดทะเบียนไว้ โดยกำหนดระยะเวลานี้แตกต่างกันไปตามประเภทของสัตว์พาหนะ...




👉 คุณ เพื่อนทุกๆคนครับ สังเกตุข้อ 2 ให้ดีๆจะเห็นว่า  สัตว์พาหนะใดๆที่ไม่ใช่โคตัวเมียที่มีอายุย่างเข้าปีที่หกต้องจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณ

ส่วนข้อที่ 5 กลับมากล่าวถึงโคตัวเมียที่มีอายุย่างเข้าปีที่หก อีกครั้งหนึ่งว่าจะต้องจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณในกรณีที่เมื่อจะทำการโอนกรรมสิทธิ์ แต่ก็มีข้อยกเว้นไว้อีกหนึ่งท่อนว่า กรณีเป็นการรับมรดก ก็ไม่ต้องจด...

ขอบคุณที่ติดตามบล็อกและเฟสบุคของ พี่เล้ง นิติศาสตร์ มสธ นะครับ

ขอให้เพื่อนโชคดีได้ H ทุกวิชาต่อแต่นี้ไป ณ เบื้องหน้า 555



ช่วยกด Like กด Share จะได้ช่วยกันเผยแพร่ให้พวกๆเรากันเองครับ

สไลด์ดูแนวข้อสอบอื่นๆ

ความคิดเห็น