แนวข้อสอบกฏหมายพาณิชย์ 3 กนกทำสัญญากู้เงินจากมนัส... | เล้ง นิติศาสตร์ มสธ
สวัสดีครับเพื่อนๆที่กำลังเรียนวิชากฏหมาย วันนี้เรามีแนวข้อสอบวิชากฏหมายพาณิชย์ 3 มาทำให้เพื่อนๆได้ดูเพื่อเป็นแนวนำไปใช้ในการทำข้อสอบกันครับ
Tab ติดตามวิชากฏหมาย: ATtorney's journey: หนทางนักกฏหมาย
Tab ดู: แหล่งวิทยาการ นิติศาสตร์ มสธ
เริ่มกันเลยครับ
โจทย์
กนกทำสัญญากู้เงินจากมนัส 100,000 บาท กำหนดชำระคืนภายใน 1 ปี โดยในสัญญากู้ฉบับดังกล่าว กนกลงชื่อเป็นผู้กู้ และวิชัยลงชื่อต่อท้ายสัญญากู้ระบุข้อความแต่เพียงว่า "ผู้ค้ำประกัน" เมื่อครบกำหนดชำระหนี้แล้ว กนกไม่ชำระหนี้ มนัสจึงทวงถามให้วิชัยชำระหนี้แทนในฐานะผู้ค้ำประกัน วิชัยอ้าวว่า ตนไม่ต้องรับผิด เพราะสัญญาค้ำประกันไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือจึงฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้
ดังนี้ ท่านเห็นว่าข้ออ้างของวิชัยฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด
แนวการตอบ
กรณีตามปัญหา ปพพ. วางหลักไว้ว่า
(มาตรา 680) อันว่าค้ำประกันนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ค้ำประกัน ผูกพันต่อเจ้าหนี้คนหนึ่งเพื่อชำหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น
อนึ่ง สัญญาค้ำประกันนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
Section 680 Suretyship is a contract whereby a third person, called the surety, binds himself to a creditor to satisfy an obligation in the event that the debtor fails to perform it.
A contract of suretyship is not enforceable by action unless there is some written evidence signed by the surety.
จากข้อเท็จจริงตามปัญหา การที่กนกทำสัญญาเงินกู้จากพนัส โดยมีกนกลงชื่อเป็นผู้กู้และวิชัยลงชื่อเป็นผู้ค้ำประกัน แม้ในสัญญากู้ฉบับดังกล่าว จะมิได้ระบุถึงความรับผิดของวิชัยในฐานะผู้ค้ำประกัน แต่เมื่อพิเคราะห์ตามหลักกฏหมายเรื่องค้ำประกันแล้ว กฏหมายมิได้บังคับว่า หลักฐานนั้นจะต้องมีข้อความบรรยายความรับผิดของผู้ค้ำประกันได้ด้วย ดังนั้นแม้มีเพียงหนังสือสัญญากู้ซึ่งแสดงถึงหนี้ประธานเป็นหนี้ระหว่างใครเป็นหนี้กับใครเป็นลูกหนี้และมีลายมือชื่อผู้ค้ำประกันซึ่งระบุว่าลงชื่อในฐานะผู้ค้ำประกันก็สามารถใช้บังคับเป็นหลักฐานแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหนี้กับผู้ประกัน จึงถือได้ว่าหนังสือสัญญากู้ดังกล่าวเป็นหลักฐานเป็นหนังสือลงรายมือชื่อผู้ค้ำประกันตามนัยของมาตรา 680 วรรค 2
สรุป ดังนั้น ข้ออ้างของวิชัยที่ว่าสัญญาค้ำประกันไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือจึงฟังไม่ขึ้น วิชัยยังต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว
วิเคราะห์โจทย์
เป็นโจทย์ตุ๊กตาที่มีตัวละคร 3 คนด้วยกันคือ
1) กนก เป็นผู้กู้เงิน
2) มนัส เป็นผู้ให้กู้เงิน
3) วิชัย เป็นผู้ค้ำประกัน
ประเด็นสำคัญของโจทย์คือ วิชัยเป็นผู้ประกันโดยลงชื่อต่อท้ายสัญญากู้เงินที่ทำขึ้นระหว่างกนกกับมนัส และวิชัยนำมาเป็นข้ออ้างเพื่อไม่ต้องรับผิดเพราะเขาลงชื่อเป็นผู้ค้ำประกันท้ายสัญญาเท่านั้น หรือในความหมายว่าถ้าจะเอาผิดกับตนต้องมีการลงชื่อในหนังสือสัญญาผู้ค้ำประกันด้วยนั่นเอง
เพื่อนๆก็คงจะรู้คำตอบกันเรียบร้อยแล้วว่าข้ออ้างของวิชัยนั้นฟังขึ้นหรือไม่
แล้วพบกันใหม่นะครับ ขอบคุณที่ติดตามบล็อกของเราครับ
คลิกดูเรื่องอื่นเพิ่ม
โจทย์
กนกทำสัญญากู้เงินจากมนัส 100,000 บาท กำหนดชำระคืนภายใน 1 ปี โดยในสัญญากู้ฉบับดังกล่าว กนกลงชื่อเป็นผู้กู้ และวิชัยลงชื่อต่อท้ายสัญญากู้ระบุข้อความแต่เพียงว่า "ผู้ค้ำประกัน" เมื่อครบกำหนดชำระหนี้แล้ว กนกไม่ชำระหนี้ มนัสจึงทวงถามให้วิชัยชำระหนี้แทนในฐานะผู้ค้ำประกัน วิชัยอ้าวว่า ตนไม่ต้องรับผิด เพราะสัญญาค้ำประกันไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือจึงฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้
ดังนี้ ท่านเห็นว่าข้ออ้างของวิชัยฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด
แนวการตอบ
กรณีตามปัญหา ปพพ. วางหลักไว้ว่า
(มาตรา 680) อันว่าค้ำประกันนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ค้ำประกัน ผูกพันต่อเจ้าหนี้คนหนึ่งเพื่อชำหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น
อนึ่ง สัญญาค้ำประกันนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
Section 680 Suretyship is a contract whereby a third person, called the surety, binds himself to a creditor to satisfy an obligation in the event that the debtor fails to perform it.
A contract of suretyship is not enforceable by action unless there is some written evidence signed by the surety.
จากข้อเท็จจริงตามปัญหา การที่กนกทำสัญญาเงินกู้จากพนัส โดยมีกนกลงชื่อเป็นผู้กู้และวิชัยลงชื่อเป็นผู้ค้ำประกัน แม้ในสัญญากู้ฉบับดังกล่าว จะมิได้ระบุถึงความรับผิดของวิชัยในฐานะผู้ค้ำประกัน แต่เมื่อพิเคราะห์ตามหลักกฏหมายเรื่องค้ำประกันแล้ว กฏหมายมิได้บังคับว่า หลักฐานนั้นจะต้องมีข้อความบรรยายความรับผิดของผู้ค้ำประกันได้ด้วย ดังนั้นแม้มีเพียงหนังสือสัญญากู้ซึ่งแสดงถึงหนี้ประธานเป็นหนี้ระหว่างใครเป็นหนี้กับใครเป็นลูกหนี้และมีลายมือชื่อผู้ค้ำประกันซึ่งระบุว่าลงชื่อในฐานะผู้ค้ำประกันก็สามารถใช้บังคับเป็นหลักฐานแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหนี้กับผู้ประกัน จึงถือได้ว่าหนังสือสัญญากู้ดังกล่าวเป็นหลักฐานเป็นหนังสือลงรายมือชื่อผู้ค้ำประกันตามนัยของมาตรา 680 วรรค 2
สรุป ดังนั้น ข้ออ้างของวิชัยที่ว่าสัญญาค้ำประกันไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือจึงฟังไม่ขึ้น วิชัยยังต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว
วิเคราะห์โจทย์
เป็นโจทย์ตุ๊กตาที่มีตัวละคร 3 คนด้วยกันคือ
1) กนก เป็นผู้กู้เงิน
2) มนัส เป็นผู้ให้กู้เงิน
3) วิชัย เป็นผู้ค้ำประกัน
ประเด็นสำคัญของโจทย์คือ วิชัยเป็นผู้ประกันโดยลงชื่อต่อท้ายสัญญากู้เงินที่ทำขึ้นระหว่างกนกกับมนัส และวิชัยนำมาเป็นข้ออ้างเพื่อไม่ต้องรับผิดเพราะเขาลงชื่อเป็นผู้ค้ำประกันท้ายสัญญาเท่านั้น หรือในความหมายว่าถ้าจะเอาผิดกับตนต้องมีการลงชื่อในหนังสือสัญญาผู้ค้ำประกันด้วยนั่นเอง
เพื่อนๆก็คงจะรู้คำตอบกันเรียบร้อยแล้วว่าข้ออ้างของวิชัยนั้นฟังขึ้นหรือไม่
แล้วพบกันใหม่นะครับ ขอบคุณที่ติดตามบล็อกของเราครับ
ขอให้เพื่อนโชคดีได้ H กันทุกๆคนนะครับ
ช่วยกด Like กด Share จะได้ช่วยกันเผยแพร่ให้พวกๆเรากันเองครับ
คลิกดูเรื่องอื่นเพิ่ม
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น